Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องทำความเย็น, เครื่อง, ทำความ, เย็น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องทำความเย็น, 1625 found, display 301-350
  1. กากเพชร : น. ส่วนของเพชรที่คัดออก; ผงแวววาวคล้ายกระจก สําหรับโรยแต่งเครื่องประดับเป็นต้น; เครื่องใช้ตัดกระจก; เครื่องใช้เจียระไนรัตนชาติ; เครื่องบดวาล์ว, เรียกเครื่องลับมีดเป็นต้น ชนิดหนึ่ง ว่า หินกากเพชร.
  2. กากะเยีย : น. เครื่องสําหรับวางหนังสือใบลาน ทําด้วยไม้ ๘ อันร้อยเชือกไขว้กัน. (รูปภาพ กากะเยีย)
  3. กางเกง : น. เครื่องนุ่งมี ๒ ขา.
  4. กางเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของ วงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, วงเวียน หรือ กงเวียน ก็ว่า; การหมุนเวียนชนิดหนึ่ง เช่น แล้วจับเท้าทั้งสองหันเวียนไปดั่งบุคคล ทํากางเวียน. (กฎหมายเก่า).
  5. กาจับหลัก ๑ : น. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลัก มีวัตถุรูปกระจับสําหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ; เครื่องดักทําร้าย ของโบราณ มีของแหลมอยู่ข้างล่าง เมื่อคนนั่งกระทบไกเข้าก็ลัดขึ้น เสียบทวาร; ท่าถือขอช้างอย่างหนึ่ง. (ตําราขี่ช้าง).
  6. กานพลู : [-พฺลู] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Syzygium aromaticum (L.) Merr. et L.M. Perry ในวงศ์ Myrtaceae ดอกตูมมีรสเผ็ดร้อน ตากแห้งแล้วใช้เป็นเครื่องเทศและทํายา. (ทมิฬ กิรามบู).
  7. กาแฟ ๑ : น. ชื่อเครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ทํามาจากเมล็ดต้นกาแฟ.
  8. กาแฟ ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Coffea วงศ์ Rubiaceae เช่น ชนิด C. arabica L., C. canephora Pierre ex Froehner และ C. liberica Bull. ex Hiern ชนิดหลังนี้ กาแฟใบใหญ่ ก็เรียก, กาแฟเป็นพืชแถบทวีปแอฟริกา ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เมล็ดแก่คั่วแล้วบด ใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม ในเมล็ดกาแฟมีสารเคมี ชนิดหนึ่ง เรียกว่า กาเฟอีน.
  9. กายพันธน์ : น. เครื่องรัดตัว คือ รัดประคด. (ป., ส.).
  10. กาลักน้ำ : น. เครื่องมืออย่างง่ายซึ่งอาศัยความดันของอากาศเพื่อใช้ ถ่ายเทของเหลวออกจากภาชนะ โดยใช้หลอดหรือท่อที่ใช้ถ่ายเท ของเหลวจากระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่ต่ากว่า โดยไหลผ่านระดับ ที่สูงกว่าระดับทั้ง ๒ นั้น. (อ. siphon).
  11. กาแล : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้านไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลักลวดลายตามแต่ จะเห็นงาม, เรียก กะแล หรือ แกแล ก็มี.
  12. กำจัด ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Zanthoxylum rhetsa (Roxb.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งก้านเป็นหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕-๘ คู่ ผลเล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖-๗ มิลลิเมตร ผิวขรุขระ มีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูกผักชี เมล็ดกลมดําเป็นมัน ผลใช้เป็นเครื่องแกงเพื่อชูรส, พายัพเรียก มะข่วง หรือ หมากข่วง.
  13. กำนล : [-นน] น. เงินค่าคำนับครู, เงินคํานับบูชาครูปี่พาทย์ คือ พระประคนธรรพ หรือ พระนารท ซึ่งถือว่าเป็นครูเดิมของตน มีเทียนสําหรับจุดที่ตะโพนด้วย. (ข. กํณล่ ว่า เครื่องคํานับ, ค่ากำนล; ไม้สำหรับหนุนอย่างไม้หมอน).
  14. กำแพง : น. เครื่องกั้น เครื่องล้อม ที่ก่อด้วยอิฐ ดิน หรือ หิน เป็นต้น. (ข. กํแพง).
  15. กำมะลอ : น. เรียกของลงรักแบบญี่ปุ่นและจีน เช่นหีบ โอ กระบะ ว่า เครื่องกํามะลอ, เรียกไม้ดัดชนิดหนึ่งที่ดัดให้เหมือน รูปต้นไม้ที่ญี่ปุ่นและจีนเขียนลงในเครื่องกํามะลอว่า ไม้กํามะลอ; เรียกกลดที่ทําด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สําหรับใช้กับ เจ้านายหรือพระพุทธรูปว่า กลดกํามะลอ, เรียกลายที่เขียนที่เครื่อง กํามะลอเป็นลายสี ลายทอง หรือ ลายทองแทรกสี หรือเขียนบนผ้าขาว หรือแพรขาวว่า ลายกํามะลอ; เรียกของทําเทียมหรือของเล็กน้อย ที่ทําหยาบ ๆ ไม่ทนทานว่า ของกํามะลอ. ว. เลวไม่ทนทาน, ไม่ดี, ไม่งาม.
  16. กำราล : [-ราน] (แบบ) น. เครื่องลาด เช่น นั่งในกําราลไพโรจน์ ในนิโครธารามรังเรจน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. กํราล).
  17. กำไล : น. ชื่อเครื่องประดับสําหรับสวมข้อมือหรือข้อเท้า ทําด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, ราชาศัพท์เรียกกําไลมือว่า ทองพระกร กําไลเท้าว่า ทองพระบาท.
  18. กำหนด : [-หฺนด] ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้; (เลิก) บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการ บางจําพวก เช่น พระราชกําหนดเครื่องแบบแต่งกาย ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน.
  19. กำเหน็จ : [-เหฺน็ด] น. ค่าจ้างทําเครื่องเงินหรือทองรูปพรรณ.
  20. กินบวช : ก. กินเครื่องกระยาบวชในลัทธิพิธี เช่นพิธีตรุษ, ใช้เข้าคู่กับคํา ถือศีล เป็น ถือศีลกินบวช, กินในเวลาตามกําหนด ของการถือพรตในลัทธิศาสนา.
  21. กินเพรา : [-เพฺรา] น. กินอาหารมื้อเย็น.
  22. กิโมโน : น. เครื่องแต่งกายประจําชาติญี่ปุ่น เป็นเสื้อยาว หลวม แขนกว้าง มีผ้าคาดเอว, โดยปริยายใช้เรียกเสื้อสตรีที่มีลักษณะเช่นนั้น.
  23. กิโยตีน : น. เครื่องมือประหารชีวิตแบบหนึ่ง ประกอบด้วยใบมีดขนาดใหญ่ ด้านคมมีลักษณะเฉียง เลื่อนลงมาตามร่องเสาให้ตัดคอนักโทษ. (ฝ. guillotine).
  24. กิเลส, กิเลส- : [-เหฺลด, -เหฺลดสะ-] น. เครื่องทําใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เช่น ยังตัดกิเลสไม่ได้ กิเลสหนา; กิริยามารยาท ในคําว่า กิเลสหยาบ.
  25. กิโล, กิโล- : เป็นคําประกอบข้างหน้าหน่วยมาตราเมตริก หมายความว่า พัน เช่น กิโลเมตร กิโลกรัม. (ปาก) น. เครื่องชั่ง เช่น กิโลนี้ไม่เที่ยง; คำเรียกสั้น ๆ ของกิโลกรัมและกิโลเมตร.
  26. กี๋ : น. ฐานสําหรับรองสิ่งของหรือสำหรับนั่ง ทําด้วยวัตถุต่าง ๆ มีรูปต่าง ๆ กัน เช่น กี๋รองแจกัน กี๋รองกระถางต้นไม้; ภาชนะมีรูปต่าง ๆ สําหรับใส่เครื่องน้าชาแบบจีน เช่น กี๋ญวน.
  27. กี่ ๑ : น. เครื่องทอผ้า, เครื่องเย็บสมุด; ที่ตั้งพระกลดหรือ พระแสงง้าวเป็นต้น.
  28. กี่กระตุก : น. เครื่องทอผ้าชนิดหนึ่งที่มีสายกระตุก เพื่อให้กระสวยพุ่งไปได้เอง.
  29. กีตาร์ : น. เครื่องดีดชนิดหนึ่ง รูปคล้ายซอฝรั่ง มี ๖ สาย ใช้มือดีด. (อ. guitar).
  30. กึ๋น : น. กระเพาะที่ ๒ ของสัตว์ประเภทสัตว์ปีก มีหน้าที่ย่อยอาหารต่อ จากกระเพาะที่ ๑ ประกอบด้วยผนังที่มีกล้ามเนื้อหนาและเหนียว สําหรับบดอาหาร โดยมีหินก้อนเล็ก ๆที่กลืนเข้าไปเป็นเครื่องช่วย.
  31. กุก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน. ก. กิริยาที่หนูร้องดังเช่นนั้น เรียกว่า หนูกุก. น. เครื่องดักหนูเป็นหีบมีกระดานหก มีลูกกลิ้ง เมื่อหนูเข้าไปเหยียบกระดานหกลูกกลิ้งจะกลิ้งมาปิดช่อง แล้วหนูจะกระโดดเข้าไปยังอีกที่หนึ่ง และถูกขังอยู่ในนั้น; เสียงส่งท้ายการขันของนกเขาหลวง ซึ่งอาจมีได้ถึง ๓ กุก.
  32. กุญแจ : น. เครื่องสําหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือ สลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุ?ฺจิกา ว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี).
  33. กุญแจปากตาย : น. เครื่องมือโลหะชนิดหนึ่ง รูปร่างตอนปลายทั้ง ๒ ข้างคล้ายก้ามปู มีขนาดปากตายตัว ใช้สําหรับขัน หรือคลายนอตเป็นต้น.
  34. กุญแจเลื่อน : น. เครื่องมือโลหะชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบสําหรับ เลื่อนเพื่อปรับขนาดปากได้ ใช้สําหรับขันหรือคลายนอตเป็นต้น.
  35. กุญแจแหวน : [-แหฺวน] น. เครื่องมือโลหะชนิดหนึ่ง ตอนปลายทั้ง ๒ ข้างมีลักษณะคล้ายแหวน ขอบเหลี่ยม มีขนาดตายตัว ใช้สําหรับ ขันหรือคลายนอต เป็นต้น.
  36. กุดั่น : น. ทองแกมแก้ว คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจก เช่น ลายปั้นกุดั่น คือ ลายปั้นปิดทองประดับกระจก, โกศกุดั่น คือ โกศทําด้วยไม้จําหลักปิดทอง ประดับกระจก; ชื่อลายเป็นดอกไม้ ๔ กลีบรวมกันอยู่เป็นพืด, ถ้าแยกอยู่ห่าง ๆ เรียกว่า ประจํายาม.
  37. กู้ ๑ : ก. ทําให้กลับคืนดีอย่างเดิม เช่น กู้เรือ กู้ชาติ กู้ชื่อ; เก็บเข้าที่ เช่น กู้ข้าว กู้ผ้า; เอาเครื่องจับปลาขึ้นจากน้า เช่น กู้ไซ กู้ลอบ.
  38. เก๋ง : น. เรือนตึกมีรูปหลังคาแบบศาลเจ้าจีน; เครื่องบังมีฝาและ หลังคาแบนสําหรับเรือและรถ, เรียกเรือหรือรถที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า เรือเก๋ง รถเก๋ง.
  39. เกณฑ์ตะพัด : น. เครื่องผูกสําหรับหัดช้างให้เดินฝีเท้าเรียบ. (สิบสองเดือน).
  40. เก็ด : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Dalbergia วงศ์ Leguminosae เช่น เก็ดดํา เก็ดแดง เนื้อไม้ใช้ทําเครื่องเรือนได้.
  41. เก็บ ๒ : น. เรียกวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองทั่วไป ที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นมากกว่าทำนอง เนื้อเพลงธรรมดาว่า ทางเก็บ.
  42. เก็บกวาด : ก. เก็บข้าวของให้เข้าที่และกวาดทำความสะอาด.
  43. เกรอะ : [เกฺรอะ] ก. แยกเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำใสหรือส่วนละเอียดที่นอนก้น อยู่ด้วยเครื่องกรองมีผ้าหนาหรือกระดาษฟางเป็นต้น เช่น เกรอะน้ำปลา เกรอะแป้ง. ว. เป็นตะกอนทับถมอย่างของที่นอนก้นซับซ้อนอยู่ เช่น ตะกอนเกรอะ, เขรอะ หรือ เขลอะ ก็ว่า.
  44. เกราะ ๑ : [เกฺราะ] น. เครื่องสวมใส่หรือเครื่องหุ้มสําหรับป้องกันอาวุธ หรืออันตราย เช่น เสื้อเกราะ รถเกราะ.
  45. เกราะ ๒ : [เกฺราะ] น. เครื่องสัญญาณทําด้วยไม้ ใช้ตีหรือสั่นให้ดัง.
  46. เกริ่น ๒ : [เกฺริ่น] (ถิ่น-จันทบุรี) น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ ผูกด้วยหวายให้เป็นแผง, ปัจจุบันเรียกว่า เฝือก.
  47. เกรียง ๑ : [เกฺรียง] น. เครื่องมือสําหรับใช้ในการถือปูน ทําด้วยไม้หรือเหล็ก เป็นรูปแบน ๆ.
  48. เกลือแกง : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ มีมากในน้ำทะเล ใช้ปรุงอาหาร ทําเครื่องดองเค็ม, เมื่ออยู่ในสภาพบริสุทธิ์ที่สุด ใช้ละลายในน้ำกลั่น เรียกว่า น้ำเกลือ สําหรับให้ผู้ป่วยโดยให้ทางเส้นเลือด ใช้ในอุตสาหกรรมทําสบู่ อุตสาหกรรมผลิตโซดาแผดเผา. (อ. common salt).
  49. เกาเหลียง ๒ : [-เหฺลียง] น. ชื่อดินชนิดหนึ่ง ใช้ปั้นทําเครื่องเคลือบดินเผาได้ดี, ดินเกาลิน ก็เรียก. (จ.).
  50. เกียรติมุข : [เกียดมุก] น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกัน บ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครองนับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหิน บางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1625

(0.0811 sec)