Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องทำความเย็น, เครื่อง, ทำความ, เย็น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องทำความเย็น, 1625 found, display 451-500
  1. ค้าน : ก. แย้งกัน เช่น ข้อความตอนหน้ากับตอนหลังค้านกัน, กล่าวแย้ง ไม่เห็นด้วย; (โบ; กลอน) หัก, พัง, ทําลาย, เช่น เครื่องบนกระบาล ผุค้าน. (คําฤษฎี), สยงสรเทือนพ้ยงค้าน ค่นเมรุ. (ยวนพ่าย).
  2. ค่าน้ำ : (โบ) น. อากรจับสัตว์นํ้า, เงินที่ต้องเสียภาษีในการที่มีเครื่องมือ จับสัตว์นํ้า.
  3. ค่านิยม : น. สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ และ กำหนดการกระทำของตนเอง.
  4. ค่ายผนบบ้านหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสา สูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบ พระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
  5. ค่ำ : น. เรียกวันตามจันทรคติ เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า, เวลามืดตอนต้น ของกลางคืน. ว. ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่เย็นจนถึงเวลามืดตอนต้น ของกลางคืน เช่น รอบค่ำ. ก. สิ้นแสงเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินแล้ว เช่น จวนจะค่ำแล้ว.
  6. คำประสม : น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คํา ขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมา อีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.
  7. คิด : ก. ทําให้ปรากฏเป็นรูปหรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ; ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, เช่น เรื่องนี้ยากยังคิดไม่ออก; คาดคะเน เช่น คิดว่าเย็นนี้ฝนอาจจะตก; คํานวณ เช่น คิดเลขในใจ; มุ่ง, จงใจ, ตั้งใจ, เช่น อย่าคิดร้ายเขาเลย; นึก เช่น คิดละอาย.
  8. คิลานปัจจัย : น. ปัจจัยสําหรับคนไข้, วัตถุเป็นเครื่องอาศัยของผู้เจ็บไข้, ยารักษาโรค. (ป.).
  9. คีม : น. เครื่องมือชนิดหนึ่งมี ๒ ขาคล้ายกรรไตรสําหรับคีบของต่างมือ ทําด้วยเหล็กเป็นต้น.
  10. คุณ ๑, คุณ- : [คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.); คําที่ใช้เรียกนําหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร; คํานําหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษขึ้นไป; (ไว) คําแต่งชื่อ. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคําสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.
  11. คุณหญิง : น. คํานําหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า; (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นเอกภรรยาของพระยา; (ปาก) คำที่ใช้เรียก หม่อมราชวงศ์ที่เป็นหญิง.
  12. คู ๑ : น. ร่องนํ้าที่ขุดขึ้นเพื่อชักน้ำหรือเก็บนํ้าไว้ใช้เป็นต้น เช่น คูสวน, ร่องน้ำที่ขุดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องกีดขวางป้องกันที่นอกกำแพงเมือง เช่น คูเมือง.
  13. คูปอง : น. บัตรหรือตั๋วชนิดหนึ่งที่ใช้แลกของ ซื้อของ หรือใช้บริการขึ้นดอกเบี้ย หรือปันส่วนเครื่องอุปโภคบริโภคในเมื่อมีการควบคุม. (ฝ. coupon).
  14. คู่สายโทรศัพท์ : น. สายที่ใช้ประกอบการสื่อสารทางโทรศัพท์ ๒ เส้น ต่อจากห้องเครื่องชุมสายโทรศัพท์ไปยังบ้านผู้ใช้โทรศัพท์, คู่สาย ก็ว่า.
  15. เคน ๑ : (โบ) น. เครื่องเป่า เช่น ปยวปี่แก้วเคนผสาร. (ม. คําหลวง มหาราช).
  16. เครื่องกล : น. เครื่องมือที่ประกอบด้วยส่วนที่อยู่กับที่และส่วนที่ เคลื่อนที่ได้ สามารถปรับเปลี่ยนและส่งถ่ายพลังงานกลไปยังจุดอื่น ในรูปที่เป็นประโยชน์มากขึ้น เช่น รอก คาน ลิ่ม. (อ. machine).
  17. เครื่องควบแน่น : น. เครื่องมือที่ใช้สําหรับทําให้ไอแปรสภาพเป็น ของเหลวโดยวิธีลดอุณหภูมิลง; (ไฟฟ้า) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ สําหรับเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้เป็นปริมาณมากกว่าแผ่นตัวนําธรรมดา ที่มีขนาดเท่ากัน, มักเรียกทับศัพท์ว่า คอนเดนเซอร์. (อ. condenser).
  18. เครื่องเครา : (ปาก) น. เครื่อง, สิ่ง, สิ่งของ.
  19. เครื่องจักร : น. กลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่อง เพื่อ ใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. machinery).
  20. เครื่องต้น : (ราชา) น. เครื่องทรงสําหรับพระเจ้าแผ่นดินในพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า ฉลองพระองค์เครื่องต้น; ของใช้ของเสวยสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน.
  21. เครื่องร่อน : น. อากาศยานชนิดหนึ่งซึ่งหนักกว่าอากาศ คล้ายเครื่องบิน แต่ไม่ใช้เครื่องยนต์ เคลื่อนที่ไปในอากาศโดยอาศัยกระแสลมและ ความโน้มถ่วงของโลก.
  22. เคล้า : [เคฺล้า] ก. ใช้มือเป็นต้นคนเบา ๆ ให้ทั่ว เช่น เคล้าเครื่องปรุงให้เข้ากัน ในการทำอาหาร; คลอเคลีย เช่น เคล้าแข้งเคล้าขา, เกลือก เช่น แมลงภู่ เคล้าเกสรดอกไม้.
  23. เค้า ๑ : น. สิ่งที่เป็นเครื่องกําหนดหมายบอกให้รู้ เช่น ฝนตั้งเค้า; สิ่งที่ส่อแสดง ให้รู้ได้ว่ามีลักษณะเหมือนสิ่งอื่น เช่น นาย ก มีเค้าหน้าเหมือนนาย ข; ต้นเงื่อน เช่น ต้นเค้า; รูปหรือรูปความโดยย่อ เช่น เขียนพอให้เห็นเป็น เค้า; ร่องรอย เช่น พอได้เค้า; เหง้า เช่น โคตรเค้าเหล่ากอ; ข้า. (อนันตวิภาค); ตัวเงินหรือวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน เช่นเมล็ดมะขามเป็นต้นที่เป็นทุนซึ่งตั้ง ไว้สําหรับเล่นในบ่อนการพนันบางชนิด, เรียกผู้ถือต้นทุนในการพนัน ว่า ถุงเค้า.
  24. เคาน์เตอร์ : น. โต๊ะสําหรับรับจ่ายเงินหรือแสดงสินค้าตามร้านค้าหรือสํานักงาน มักมีลักษณะยาวและสูงกว่าโต๊ะธรรมดา, เครื่องเรือนที่มีลักษณะ เช่นนั้น. (อ. counter).
  25. เคียว ๑ : น. เครื่องมือเกี่ยวข้าวและหญ้าเป็นต้น ทําด้วยเหล็ก รูปโค้ง มีคม.
  26. เคี่ยวเข็ญ : ก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลําบาก เช่น เคี่ยวเข็ญ เย็นค่ำกรำไปตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖); บังคับ ให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.
  27. แคดเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๘ สัญลักษณ์ Cd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๑ํซ. เป็นตัวดูดกลืนอนุภาคนิวตรอน ได้ดี จึงทําเป็นแท่ง เรียกว่า แท่งควบคุมในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. cadmium).
  28. แค็ตตาล็อก : น. หนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ เป็นต้น ที่มีภาพสินค้าเช่นเสื้อผ้า เครื่องใช้ ไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดของสินค้าเพื่อเผยแพร่หรือสําหรับให้ลูกค้า เลือกซื้อ. (อ. catalogue, catalog).
  29. แคโทด : น. แผ่นหรือแท่งตัวนําที่โยงต่อกับขั้วลบของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ไฟฟ้า. (อ. cathode).
  30. แคน : น. เครื่องดนตรีทางถิ่นอีสาน ทําด้วยไม้ซางผูกเรียงต่อกับเต้าแคน สําหรับเป่าเป็นเพลง.
  31. แคร่ ๑ : [แคฺร่] น. ที่สําหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทําด้วยฟาก หรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทําเสาเป็น เครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้วางบนคานหาม สําหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แคร่สำหรับวางเครื่องยนต์. (รูปภาพ แคร่คานหาม)
  32. แครง ๔ : [แคฺรง] ว. ตกแต่ง เช่น ธก็ผลัดแผลงแครงเครื่องอันบริสุทธิ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). ว. งามพรายแพรว, หมดจด, ผ่องใส, เช่น ธก็ทรงพสตรพาสแครง ดุจแสงสังข์ใสสุทธ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อนนธกทําด้วยไหมประไพแครงเครื่องฟ้า. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), พายคํ่าจํารัสแครง ใสส่อง. (ทวาทศมาส). น. ผ้า เช่น นางก็ทรงพัสตราภรณ์ พาดแครง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (เทียบ อีสาน แครง ว่า ผ้า, ผ้าพันคอชนิดผืนยาว).
  33. แคลเซียมไซคลาเมต : น. ชื่อสารประกอบ มีสูตรเคมี (C6H11NHSO3)2 Ca?2H2O ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานมากกว่า นํ้าตาลทรายมาก ใช้เป็นตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่า สารนี้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้. (อ. calcium cyclamate).
  34. โคบอลต์ : น. ธาตุลําดับที่ ๒๗ สัญลักษณ์ Co เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๙๕ํซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือเพื่อให้มี สมบัติพิเศษบางประการ เช่น ผสมกับเหล็กทําให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเมื่อนําไปทําเป็นแม่เหล็กก็จะได้แม่เหล็กที่มีกําลังมากเป็นพิเศษ ใน อุตสาหกรรมเครื่องแก้วและเครื่องดินเผาใช้สารประกอบของโคบอลต์ เป็นตัวให้สีนํ้าเงิน. (อ. cobalt).
  35. โคม : น. เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ, ตะเกียงเครื่อง ตามไฟ หรือเครื่องให้แสงสว่างซึ่งมีเครื่องบังลมหรือเครื่องบังคับ แสงไฟเช่นนั้น ใช้ตั้ง หิ้ว หรือแขวน เช่น โคมไฟฟ้า, ลักษณนามว่า โคม, ดวง, ใบ, ลูก, เรียกชามอย่างเก่าขนาดใหญ่ รูปคล้ายโคม ว่า ชามโคม, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.
  36. โคมลอย : น. ชื่อเครื่องตามไฟชนิดหนึ่งที่จุดไฟแล้วปล่อยให้ลอยไป ในอากาศ. (ปาก) ว. ไม่มีมูล, เหลวไหล, เช่น ข่าวโคมลอย.
  37. โครเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๒๔ สัญลักษณ์ Cr เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอม ละลายที่ ๑๘๗๕?ซ.ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า ไม่เป็นสนิม อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงเป็น พิเศษเพื่อใช้ทําเครื่องมือช่าง และในอุตสาหกรรมชุบโลหะ ด้วยโครเมียม. (อ. chromium).
  38. โคโรค : น. ปรวดเป็นก้อนอยู่ในหนังโค ใช้เป็นเครื่องยา. (ส. โคโรจน).
  39. ฆ้อง : น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทําด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็น แผ่นวงกลม มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีปุ่มกลม ตรงกลางสําหรับตี มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง.
  40. ฆ้องโหม่ง : น. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับ เชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะ ในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลา กลางวันเป็นสัญญาณบอก ''โมง'' คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลา กลางคืนบอก ''ทุ่ม''.
  41. งอบ : น. เครื่องสวมหัวสําหรับกันแดดและฝน สานด้วยตอกไม้ไผ่ กรุด้านนอก ด้วยใบลาน รูปคล้ายกระจาดควํ่า มีรังสําหรับสวม.
  42. งัด : ก. ทําให้เผยอหรือเคลื่อนที่โดยใช้วัตถุยาวคัด เช่น งัดตะปู งัดซุง; นํา ออกมาจากที่เก็บ เช่น งัดเอาเครื่องลายครามมาอวด, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งัดเอาเรื่องเก่ามาพูด.
  43. งา ๓ : น. ส่วนหนึ่งของเครื่องดักสัตว์เช่นลอบหรือไซ ทําเป็นซี่ ๆ ปลายสอบ เข้าหากันเพื่อไม่ให้ปลาที่เข้าไปแล้วออกมาได้.
  44. งาตัด : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยงากวนกับนํ้าตาลแล้วตัดเป็นชิ้น สี่เหลี่ยมคล้ายข้าวพองในเครื่องจันอับ.
  45. แง่งขิง : น. เครื่องประดับยอดปรางค์ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบ แตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, ฝักเพกา ลําภุขัน สลัดได นพศูล หรือ นภศูล ก็เรียก.
  46. จงกล : [-กน] น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); สิ่งที่ทําให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง สําหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน; ก้าน ของพู่ที่ประดับหัวม้าติดอยู่กับขลุมทั้ง ๒ ข้าง ตั้งขึ้นไป. (รูปภาพ จงกล)
  47. จดหมายเหตุ : น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อ ใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน.
  48. จตุปัจจัย : [จะตุปัดไจ] น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). (ป.).
  49. จตุปาริสุทธิศีล : [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
  50. จรณะ : [จะระ-] น. ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1625

(0.0741 sec)