Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องทำความเย็น, เครื่อง, ทำความ, เย็น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องทำความเย็น, 1625 found, display 651-700
  1. ดอม ๒ : น. เครื่องหอม. ก. ดม, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ดม เป็น ดอมดม หรือ ดมดอม.
  2. ดัก ๑ : ก. คอยสกัด เช่น ดักทําร้าย, วางเครื่องดักสัตว์มีกับเป็นต้น เพื่อให้สัตว์ เข้ามาติด เช่น ดักไก่ ดักนก.
  3. ดักษณะ : [ดักสะนะ] (แบบ) น. เครื่องตัดและกรางสิ่งของ มีมีด พร้า บุ้ง ตะไบ เป็นต้น; การตัด, การปอก, การทอน; ตัวหารเฉพาะ (วิชาเลข). (ส. ตกฺษณ; ป. ตจฺฉน).
  4. ดั้ง ๑ : ด้าง ก็มี; เรียกเสาเรือนเครื่องสับที่ตั้งอยู่กึ่งกลางบนหลังรอดขึ้นไปรับ อกไก่ว่า เสาดั้ง, เรียกเสาที่ตั้งบนขื่อสําหรับรับอกไก่ว่า ดั้งแขวน; เรียก เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบ เรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งไชยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ ก็ได้ ว่า เรือดั้ง; ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและ, ล้อมทัพ ช้างกัน ก็เรียก. ก. ป้องกัน.
  5. ดับ ๑ : ก. สูญสิ้นไป เช่น วิญญาณดับ อนาคตดับ, สิ้นแสง เช่น ไฟดับ เดือนดับ, ทําให้สิ้นแสง เช่น ดับไฟ, ทําให้สิ้น เช่น ดับกิเลส ดับทุกข์, ทําให้ระงับ เช่น ดับโทสะ ดับโมโห, หยุดหรือทําให้หยุด เช่น เครื่องดับ ดับเครื่อง; เรียกวันสิ้นเดือนตามจันทรคติว่า วันดับ.
  6. ดารา : น. ดาว, ดวงดาว; เรียกบุคคลที่แสดงนําหรือมีชื่อเสียงในศิลปะการแสดงใน ทางใดทางหนึ่ง เช่น ดาราภาพยนตร์; เครื่องประกอบราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ ชั้นทวีติยาภรณ์ขึ้นไป มีลักษณะเป็นดาวรัศมี ๘ แฉกบ้าง ๑๖ แฉกบ้าง, ถ้าเป็นดาราจักรี ก็ทําเป็นรูปจักร ๑๐ กลีบ. (ป., ส. ตารา).
  7. ดำนาณ : (แบบ) น. เครื่องห้าม, เครื่องป้องกัน, เครื่องต้านทาน, ที่พึ่ง, ที่อาศัย. (ป. ตาณ; ส. ตฺราณ).
  8. ดำหัว : น. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทําในวันปีใหม่เพื่อเป็นการแสดง ความเคารพนับถือและรักใคร่ วิธีดําหัว คือ เอาสิ่งของและนํ้าที่ใส่เครื่องหอม เช่นนํ้าอบไทยไปให้แก่ผู้ที่เคารพ และขอให้ท่านรดนํ้าใส่หัวของตนเพื่อให้ อยู่เย็นเป็นสุข.
  9. ดิ่ง : ว. แน่ว เช่น เสาต้นนี้ตั้งตรงดิ่ง ทางตรงดิ่ง จมดิ่ง; เรียกโลหะรูปทรง กรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพง เป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่ว่า ลูกดิ่ง; เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬาว่า ลูกดิ่ง; วัตถุ มงคลมีลักษณะคล้ายลูกดิ่งหรือเม็ดมะยมซ้อนกันเป็นต้น สำหรับห้อย สายลูกประคำ พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทาน แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนสติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้พิจารณาให้รอบคอบด้วยวิธีบริกรรมนับลูกประคำ ทำให้มีสติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาได้.
  10. ดินขาว : น. ดินเหนียวบริสุทธิ์ที่มีไฮเดรเตดอะลูมิเนียมซิลิเกตเป็น องค์ประกอบสําคัญ ปรกติมีสีขาว ใช้ทําเครื่องเคลือบดินเผา.
  11. ดินสอ : น. เครื่องเขียนอย่างหนึ่ง ทําด้วยวัตถุต่าง ๆ ชนิดที่ไส้ทําด้วยแกรไฟต์ ผสมดินเหนียว มีไม้หุ้ม เรียกว่า ดินสอ หรือ ดินสอดํา, ถ้าทําจากหินชนวน เรียกว่า ดินสอหิน, ถ้าไส้มีสีต่าง ๆ เรียกว่า ดินสอสี.
  12. ดิเรกคุณาภรณ์ : น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.
  13. ดีด ๒, ดีดขัน ๑ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดในวงศ์ Elateridae ลําตัวยาว แบน เล็กน้อย และเรียวไปทางหาง สีดํา นํ้าตาล หรือเทาปลอด บางชนิดมีจุด เป็นลาย แผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องแรกมีแกนยาวเป็นเครื่องดีด ซึ่ง ยึดโดยร่องของแผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องที่ ๒ ทําให้สามารถดีดตัว กลับได้เมื่อถูกจับให้หงายท้อง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ดีดกะลา คอลั่น.
  14. ดีปลี : [-ปฺลี] น. ชื่อไม้เถา ๓ ชนิดในสกุล Piper วงศ์ Piperaceae คือ ชนิด P. longum L., P. peepuloides Roxb. และ P. retrofractum Vahl มีราก ตามข้อของลําต้นเพื่อยึดเกาะ ผลอัดแน่นเป็นช่อ ทุกส่วนมีกลิ่น โดย เฉพาะผลกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อนใช้เป็นเครื่องเทศและทํายาได้.
  15. ดุม : น. ส่วนกลางของล้อเกวียนหรือล้อรถที่มีรูสําหรับสอดเพลา; เครื่องกลัด ส่วนต่าง ๆ ของเสื้อผ้าไม่ให้แยกออกจากกัน ทําเป็นรูปต่าง ๆ มักมีรังดุม สําหรับขัดหรือบางทีก็ติดเป็นเครื่องประดับ, กระดุม ลูกกระดุม หรือ ลูกดุม ก็เรียก.
  16. ดุริย-, ดุริยะ : น. เครื่องดีดสีตีเป่า. (ป. ตุริย).
  17. ดุริยางค-, ดุริยางค์ : น. เครื่องดีดสีตีเป่า. (ป. ตุริย + องฺค).
  18. ดุริยางคศาสตร์ : [ดุริยางคะ-] น. วิชาว่าด้วยการบรรเลงเครื่องดุริยางค์.
  19. ดุริยางคศิลป์ : [ดุริยางคะ-] น. ศิลปะของการบรรเลงเครื่องดุริยางค์.
  20. เดิน : ก. ยกเท้าก้าวไป; โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อนไปด้วยกําลังต่าง ๆ เช่น นาฬิกาเดิน รถเดิน, ทําให้เคลื่อนไหว เช่น เดินเครื่อง, ทําให้เคลื่อนไป เช่น เดินหมากรุก, คล่องไม่ติดขัด เช่น รับประทานอาหารเดิน สมองเดินดี, นําไปส่ง เช่น เดินข่าว เดินหนังสือ เดินหมาย, ประกอบกิจการขนส่ง เช่น เดินรถ เดินเรือ เดินอากาศ. (ข. เฎีร).
  21. เดินโต๊ะ : ก. ยกอาหารและเครื่องดื่มมาให้ผู้นั่งโต๊ะกิน.
  22. เดือย ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coix lachryma-jobi L. ในวงศ์ Gramineae ลําต้นและ ใบคล้ายต้นข้าวโพด แต่ใบสั้นกว่า ผลกลมหรือยาวรี สีขาว เหลือง หรือ นํ้าเงิน พันธุ์ที่เปลือกหุ้มอ่อนใช้ทําเป็นอาหารและเหล้า พันธุ์ที่เปลือกหุ้ม แข็ง เรียก เดือยหิน ใช้ทําเครื่องประดับ.
  23. โดยปริยาย : ว. โดยอ้อม, โดยผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม, เช่น โดดร่ม ความหมายตรงว่า โดดจากเครื่องบินโดยมีร่มชูชีพเป็นเครื่องพยุง ความหมายโดยปริยายว่า หนีงาน, หนีโรงเรียน.
  24. ตกเบ็ด : ก. หย่อนเบ็ดล่อปลา, โดยปริยายหมายความว่า ล่อให้หลง โดยมีเครื่องล่อ. น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง.
  25. ตง ๑ : น. ไม้เครื่องเรือนที่วางบนรอดหรือคานสําหรับรองพื้นกระดานหรือฟาก.
  26. ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง : น. เครื่องราชบรรณาการที่ทำเป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เป็นคู่ ซึ่งเมืองขึ้นส่งมาถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินทุก ๆ ๓ ปี; เครื่องสักการะ ที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายพระเจ้า แผ่นดินเมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับ พระราชทานตั้งยศ.
  27. ตบะ : น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบําเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). (ป., ส. ตป ว่า ความ เพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).
  28. ตรละ ๒ : [ตะระละ] (แบบ) น. พลอยเม็ดกลางของเครื่องสร้อยคอ, สร้อยคอ; เพชร, เหล็ก; พื้นล่าง, พื้นราบ; ส่วนลึก. ว. กลับกลอก; หวั่นไหว, สั่น. (ป., ส.).
  29. ตรวจการณ์ : ก. ตรวจค้นด้วยสายตาหรือใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าช่วย เพื่อรวบรวมข่าวสารหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในเขตพื้นที่รับผิดชอบ.
  30. ตรวน : [ตฺรวน] น. เครื่องจองจํานักโทษชนิดหนึ่ง เป็นห่วงเหล็ก ใช้สวมขานักโทษ มีโซ่ล่ามถึงกัน.
  31. ตราชู : [ตฺรา-] น. เครื่องชั่งชนิดที่มีถาดชั่งห้อยอยู่ ๒ ข้างคันชั่ง มีตุ้มน้ำหนักบอก นํ้าหนักของของที่ชั่ง.
  32. ตรียัมปวาย : [ตฺรียําปะ-] น. พิธีพราหมณ์ฝ่ายใต้กระทํารับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญ ว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทําในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุเวมปาไว).
  33. ตวัก : [ตะหฺวัก] น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทําด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า จวัก หรือ จ่า ก็ว่า.
  34. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  35. ต่อโทรศัพท์ : ก. เดินสายเพื่อติดตั้งโทรศัพท์; ติดต่อสื่อสารโดยการหมุนหรือกด เลขหมายบนหน้าปัดเครื่องโทรศัพท์.
  36. ต้อน : ก. สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ, ไล่ไปโดยวิธีกันไม่ให้แตกฝูง, เช่น ต้อนควายเข้า คอก, ดักหน้าดักหลัง เช่น รําต้อน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ต้อนเข้ามุม ต้อนให้ จนมุม. น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง ใช้เฝือกกั้นเป็นคอก ๓ ด้าน ด้านหนึ่งมีประตู เปิดปิดได้ในคอกสะด้วยกิ่งไม้เพื่อ ล่อให้ปลาเข้าอยู่, กะตํ้า ก็ว่า.
  37. ตอม่อ : น. เสาขนาดสั้น มักใช้ไม้ไผ่ปักขึ้นสำหรับรับรอดในเรือนเครื่องผูก, ส่วนบนของฐานรากที่รองรับโครงสิ่งก่อสร้าง, เสาตอม่อ ก็ว่า, โดยปริยาย หมายถึงมีรูปร่างล่ำเตี้ย เช่น เตี้ยม่อต้อเหมือนตอม่อค้ำยุ้ง; เสาชาน เสาแคร่ หรือเสาช่วยค้ำจุนเรือนโดยปักแนบกับเสาเรือน, เสาตอม่อ หรือ เสาหมอ ก็ว่า; ใช้ว่า ตะม่อ ก็มี. (รูปภาพ ตอม่อ)
  38. ตอร์ปิโด : น. เครื่องกลจําพวกลูกระเบิดที่ปล่อยให้แล่นไปในนํ้า เพื่อทําลายที่หมายในการศึก, ลักษณนามว่า ลูก. (อ. torpedo).
  39. ตะกรน ๑ : [-กฺรน] น. อุปกรณ์ของเครื่องทอผ้า ใช้อย่างกระสวย แต่เป็นกระบอกมีหลอดด้าย อยู่ข้างใน.
  40. ตะกร้อ : [-กฺร้อ] น. ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นต้นเป็นตา ๆ สําหรับเตะ; เครื่องมือสอยผลไม้ มีด้ามยาว ทําด้วยไม้หวาย หรือไม้ไผ่เป็นซี่ รูปป่องยาวรีคล้ายกาบปลี ตรงปากมี ฟันสําหรับสอย; เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ, กร้อ ก็เรียก; เครื่องสานรูปทรงกระบอก สําหรับใส่ไว้ในกระถางยาดองและกะปิเป็นต้น เพื่อกั้น เนื้อ ให้แต่นํ้าซึมเข้า ข้างใน; เครื่องสานมีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สําหรับสวมปากม้า หรือปากหมาเป็นต้น; (โบ) เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อ พันผ้าชุบนํ้า มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา, กระตร้อ ก็เรียก.
  41. ตะกร่อม : [-กฺร่อม] น. เครื่องมือจับปูทะเล. (ดู กะกร่อม).
  42. ตะกอ ๑ : น. ส่วนของเครื่องทอผ้าทําด้วยเส้นด้ายร้อยกับกรอบไม้ สําหรับแยกเส้นด้ายยืนให้ ขึ้นลงเพื่อให้ขัดกับเส้นด้ายพุ่ง.
  43. ตะกาง : น. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้างสำหรับผูกเหยื่อลอยน้ำไว้; เครื่องล่อใจ; สะกาง ก็เรียก.
  44. ตะเกียง ๑ : น. เครื่องใช้สําหรับตามไฟ มีรูปต่าง ๆ บางชนิดมีหลอดบังลม, ลักษณนาม ว่า ดวง.
  45. ตะเกียบ : น. เครื่องใช้สําหรับคีบอาหารทําด้วยไม้หรืองาเป็นต้นเป็นคู่ ๆ; ชื่อเสาสั้นคู่หนึ่งที่ ฝังลงดินสำหรับขนาบเสากลางซึ่งอยู่เหนือพื้นดินอย่างเสาดอกไม้พุ่ม เสาหงส์ เสาโคม เสาธง ให้ ตั้งตรงมีสลัก ๒ อัน เมื่อถอดสลักอันหนึ่งออกแล้วโน้มเสา กลางลงมาได้; โดยปริยายใช้เรียก ของที่เป็นคู่สําหรับคีบ เช่น ตะเกียบรถ จักรยาน; ครีบคู่ที่อยู่ตรงอกปลา, ขาม้า ก็เรียก; เรียกขาคนที่ ลีบเล็กว่า ขาตะเกียบ; ส่วนล่างของกระดูกเชิงกรานที่แตะพื้นในเวลานั่ง; กระดูกอ่อน ๒ อันที่ก้น ของสัตว์ปีกมีนก เป็นต้น.
  46. ตะไกร ๑ : [-ไกฺร] น. เครื่องมือสําหรับตัดโดยใช้หนีบ มี ๒ ขา, ลักษณนามว่า เล่ม, เขียนเป็น กรรไกร หรือ กรรไตร ก็มี.
  47. ตะขาบ ๓ : น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
  48. ตะค้าทอง : น. ชื่อหวายชนิด Calamus caesius Blume ในวงศ์ Palmae ผิวเป็นมัน ใช้จักสานทําภาชนะและเครื่องเรือนชั้นดี.
  49. ตะเฆ่ : น. เครื่องลากเข็นของหนัก รูปเตี้ย ๆ มีล้อ.
  50. ตะนาว ๑ : น. ชื่อกระแจะเครื่องหอมชนิดหนึ่ง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1625

(0.0675 sec)