Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ประยูรวงศ์, ประยูร, วงศ์ , then ประยุร, ประยูร, ประยูรวงศ์, พงศ์, วงศ, วงศ์, วงษ์, วงส์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ประยูรวงศ์, 1632 found, display 1051-1100
  1. ปากจอบ : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Isopachys gyldenstolpei ในวงศ์ Scincidae ตัวกลมเป็นมัน สีนํ้าตาลเหลืองลายดํา หางสั้น ปลายตัดอาศัยตามดินร่วนหรือดินปนทราย, จิ้งเหลนด้วง ก็เรียก.
  2. ปากจิ้งจก ๒ : น. ชื่องูชนิด Ahaetulla prasina ในวงศ์ Colubridae หัวและตัว เรียวยาว ส่วนมากตัวสีเขียวปลายหางสีนํ้าตาลแดง ยาวประมาณ ๑.๓ เมตร ตัวสีส้มเรียก งูง่วงกลางดง ตัวสีเทาเรียก งูกล่อมนางนอน มีพิษอ่อนมาก.
  3. ปากซ่อม : น. ชื่อนกในวงศ์ Scolopacidae ลําตัวป้อม ลายนํ้าตาลและขาว ปากยาวแหลมเล็ก ขาสั้น หากินในเวลาพลบคํ่าและเวลากลางคืน ใช้ปากแทงหาอาหารจําพวกหนอนและไส้เดือนในดิน มักอยู่ตาม ลําพัง มีหลายชนิด เช่น ปากซ่อมหางเข็ม (Gallinago stenura) ปากซ่อมหางพัด (G. gallinago) ปากซ่อมดง (Scolopax rusticola).
  4. ปากเป็ด ๒ : น. ชื่องูหลามชนิด Python curtus ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วนสั้น สีแดงหรือส้ม มีลายดําและเทา อาศัยตามโพรงไม้โพรงดิน หากิน ตามพื้นดิน ตามปรกติไม่ขึ้นต้นไม้ พบทางภาคใต้ของประเทศไทย และมาเลเซีย ไม่มีพิษ.
  5. ปากห่าง : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Anastomus oscitans ในวงศ์ Ciconiidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกกาบบัวแต่ตัวเล็กกว่า ลําตัวสีเทาอมขาว แต่ จะเป็นสีเทาเข้มในฤดูผสมพันธุ์ ปากหนาแหลมตรง เมื่อจะงอยปาก สบกัน ส่วนกลางของปากบนและปากล่างแยกห่างจากกัน ทั้งนี้เพื่อ สะดวกในการคาบเหยื่อ กินหอยเป็นอาหารหลักโดยเฉพาะหอยโข่ง มีที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี เป็นจํานวนมาก.
  6. ป้างป่า : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Chlorophytum orchidastrum Lindl. ในวงศ์ Anthericaceae โคนต้นเมื่อลอกเอาใบออกจะเห็นด้านในมีเนื้อ สีขาว ๆ กินได้.
  7. ปาด ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบก ในวงศ์ Rhacophoridae รูปร่างคล้ายเขียดแต่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ปลายนิ้วแบนช่วยใน การเกาะ ทํากองฟองวางไข่ตามกิ่งไม้ชายนํ้า มีหลายชนิด เช่น ชนิด Rhacophorus leucomystax ซึ่งพบทั่วไป, ปาดบิน (R. nigropalmatus), เขียดตะปาด ก็เรียก.
  8. ปาทังกา : น. ชื่อตั๊กแตนชนิด Patanga succincta ในวงศ์ Acrididae ตัวยาว ๖-๗ เซนติเมตร กว้าง ๗-๘ มิลลิเมตร สีแตกต่างกันไป เป็นสีนํ้าตาล นํ้าตาลแก่ แดงอมเขียว มีแถบสีครีมทอดจากหน้า ไปสันหลังปล้องอกจนถึงปีก ใต้ตามีแถบสีครีมยาวเรียวรูปดาบ ปีกมีรอยจุดและรอยด่างกระจายทั่วไป อาจพบอยู่เดี่ยว ๆ หรือเป็นฝูง ทําลายพืชต่าง ๆ.
  9. ป่าน : น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เปลือกเป็น ใยเหนียว ใช้ทอผ้าและทําเชือก เช่น ป่านรามี [Boehmeria nivea (L.) Gaudich.] ในวงศ์ Urticaceae, ป่านมนิลา (Musa textilis L.) ในวงศ์ Musaceae; เชือกที่ทําด้วยป่าน, ถ้าใช้ชักว่าวเรียกว่า ป่านว่าว, ถ้าเป็นเส้นเล็กเรียกว่า ป่านแลบ, ถ้ายังเป็นกาบอยู่ ยัง ไม่ได้ฟั่นเชือกเรียกว่า ป่านกลีบ; ชื่อผ้าเนื้อละเอียดและบางโปร่ง ที่ทอจากเส้นใยพืชบางชนิด เรียกว่า ผ้าป่าน.
  10. ปาล์ม : น. ชื่อเรียกไม้ต้นหรือไม้พุ่มในวงศ์ Palmae ชนิดที่นําเข้ามาจาก ต่างประเทศ เช่น ปาล์มขวด [Roystonea regia (Kunth) Cook] ปลูกเป็นไม้ประดับ, ปาล์มนํ้ามัน (Elaeis guineensis Jacq.) ปลูกใช้ผลและเมล็ดทํานํ้ามัน.
  11. ปีบ ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Millingtonia hortensis L.f. ในวงศ์ Bignoniaceae ใบเป็นใบประกอบ ดอกยาว สีขาว กลิ่นหอม ดอกแห้งใช้ประสม ยาสูบ, พายัพเรียก กาซะลอง, อีสานเรียก กางของ.
  12. ปุด ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าชนิด Etlingera megalocheilos Griff. ในวงศ์ Zingiberaceae ลําต้นกินได้.
  13. ปู ๑ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea มีรยางค์ขา ๕ คู่ คู่แรกเป็นก้าม รยางค์ที่ปล้องท้องไม่ใช้ในการว่ายนํ้า มีหลายวงศ์ เช่น ปูดําหรือปูทะเล ปูม้า ปูแสม; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวสิธยะ ดาวสมอสําเภา ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก. ปูจ๋า น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่ง เอาเนื้อปูผสมเครื่องกับไข่แล้ว ใส่กระดองปูนึ่งหรือทอด.
  14. ปูลู ๒ : น. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด Platysternon megacephalum ในวงศ์ Platysternidae หัวโตมาก หางยาวกว่ากระดอง อาศัยอยู่ตาม ลําธารบนภูเขา พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศไทย.
  15. ปูเสฉวน : น. ชื่อสัตว์ทะเลจําพวกปู ส่วนท้องอ่อนนิ่ม พบตามชายฝั่งหรือ นํ้าลึก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเปลือกหอยกาบเดี่ยวที่ว่างเปล่า เช่น สกุล Clibanarius ในวงศ์ Paguridae อยู่ตามโขดหินชายทะเล, สกุล Coenobita ในวงศ์ Coenobitidae อยู่บนบกริมทะเล, สกุล Parapagurus ในวงศ์ Parapaguridae อยู่ในนํ้าลึก ระหว่าง ๘๐-๒๐๐ เมตร.
  16. เป็ด ๑ : น. ชื่อสัตว์ปีกในวงศ์ Anatidae ปากแบน ตีนแบน ระหว่างนิ้ว มีพังผืดยึดติดกันเพื่อสะดวกในการว่ายนํ้า ตัวมีหลายสี เช่น นํ้าตาล ขาว เขียว ขนาดเล็กกว่าห่าน ว่ายนํ้าเก่ง กินปลา พืชนํ้า และสัตว์เล็ก ๆ มีต้นตระกูลมาจากเป็ดหัวเขียว (Anas platyrhynchos).
  17. เป็ดก่า : (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อนกเป็ดนํ้าชนิด Cairina scutulata ในวงศ์ Anatidae หัวและคอสีขาวประดํา อกสีเขียวเกือบดํา ทํารังในโพรง ไม้ริมลําธาร มักเกาะนอนบนต้นไม้สูง ๆ เวลาบินจะเห็นแถบสีขาว ที่ปีกได้ชัดเจน เป็นนกเป็ดนํ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย.
  18. เป็ดเทศ : น. ชื่อเป็ดชนิด Cairina moschata ในวงศ์ Anatidae ขนาดโตกว่าเป็ดธรรมดา เหนือปากมีติ่งเนื้อสีแดงคล้ายเนื้องอก ติดอยู่ มีถิ่นกําเนิดในอเมริกากลาง.
  19. เป็ดน้ำ : น. ชื่อนกในวงศ์ Anatidae ซึ่งมีปากแบน ปลายมน ตีนเป็นพังผืดว่ายนํ้าเก่ง กินพืชและสัตว์นํ้า บินได้เร็วมาก ตัวผู้ มักจะมีขนสีสวยกว่าตัวเมีย มักอยู่เป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น เป็ดหอม หรือ เป็ดหางแหลม (Anas acuta) เป็ดลาย (A. querquedula) เป็ดแดง (Dendrocygna javanica).
  20. เป็ดผี ๑ : น. ชื่อตั๊กแตนหนวดยาวพวกหนึ่งในวงศ์ Tettigoniidae ทําเสียงดัง หวีดหวิวในเวลากลางคืนโดยใช้ปีกกรีดกัน มีทั้งชนิดที่มีปีกยาว คลุมลําตัว ลักษณะปีกเหมือนใบไม้ เวลาเกาะเหมือนเอาใบไม้ ๒ ใบมาประกบกัน เช่น ชนิด Holochlora siamensis และชนิด ปีกสั้นซึ่งไม่สามารถหุ้มลําตัวได้ เช่น ชนิด Eleandrus titan.
  21. เป็ดผี ๒ : น. ชื่อนกชนิด Tachybaptus ruficollis ในวงศ์ Podicipedidae ปากแหลม นิ้วตีนแผ่ออกเป็นแผ่นแบนเป็นช่วง ๆ จากโคนถึง ปลายนิ้ว แต่ละนิ้วแยกกัน ไม่ติดเหมือนตีนเป็ด บินได้ในระยะ ทางสั้น ๆ มักลอยอยู่ในนํ้า หากินตามบึงหรือบริเวณที่มีพืชนํ้า จํานวนมาก ดํานํ้าได้เหมือนเป็ด เป็นนกซึ่งคล้ายเป็ด.
  22. เป็ดหงส์ : น. ชื่อนกเป็ดนํ้าขนาดใหญ่ชนิด Sarkidiornis melanotos ในวงศ์ Anatidae หัว คอ หน้าอก และท้องสีขาวประดํา ปีกสีเขียว เป็นมัน ตัวผู้มีตุ่มคล้ายหงอนอยู่เหนือโคนปากบนและจะโตขึ้น ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ตัวเมียขนาดเล็กกว่าตัวผู้และสีหม่นกว่า อาศัย อยู่ในป่าทึบ โดยทำรังในโพรงไม้ มักเกาะตามต้นไม้สูง ๆ.
  23. เป็นหน้าเป็นตา : ว. เป็นที่เชิดหน้าชูตา เช่น บ้านนี้มีลูกชายเก่ง และขยัน เป็นหน้าเป็นตาของวงศ์ตระกูล.
  24. เปราะ ๑ : [เปฺราะ] น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Kaempferia galanga L. ในวงศ์ Zingiberaceae หัวและใบมีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหารและ ทํายาได้, เปราะหอม ก็เรียก. (๒) ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่ง.
  25. เปล้า ๒ : [เปฺล้า] น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา และนกพิราบ ลําตัวสีเขียวเห็นได้ชัด แต่ละชนิดแตกต่างกันตรงสี ที่หน้าอกและไหล่ซึ่งอาจมีสีม่วงหรือนํ้าตาล กินผลไม้ หากินเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น ชนิด Treron curvirostra ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เปล้าขาเหลือง (T. phoenicoptera) เปล้าคอสีม่วง (T. vernans) เปล้าใหญ่ปักษ์ใต้ (T. capellei), เขาเปล้า ก็เรียก, พายัพเรียก เป้า.
  26. เป๋าฮื้อ ๒ : น. ชื่อเห็ดชนิด Pleurotus abalonus Han ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นเป็นกลุ่มโคนก้านดอกติดกัน ดอกเห็ดเนื้อหนา มี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์สีเทาดํา และ พันธุ์สีนํ้าตาลอ่อน กินได้.
  27. เปี้ยว : น. ชื่อปูขนาดเล็กชนิด Uca dussumerii ในวงศ์ Ocypodidae ตัวผู้มีก้ามข้างหนึ่งใหญ่เท่าลําตัว และอีกข้างหนึ่งเล็กมาก ส่วนตัวเมียมีก้ามเท่ากันทั้ง ๒ ข้าง, ก้ามดาบ ก็เรียก.
  28. แปดสาแหรก : [-แหฺรก] น. คําเรียกต้นวงศ์สกุล คือ บิดามารดาของ ปู่และย่า ๔ ของตาและยาย ๔ รวมเป็น ๘ ที่เป็นผู้ดีทั้งฝ่ายบิดาและ มารดา เรียกว่า ผู้ดีแปดสาแหรก (เทียบสาแหรกที่มีข้างละ ๔ ขา ๒ ข้างเป็น ๘ ขา). (ดู ผู้ดีแปดสาแหรก ที่ ผู้). แปดเหลี่ยมแปดคม, แปดเหลี่ยมสิบสองคม (สํา) ว. มีเล่ห์เหลี่ยมมาก.
  29. แปรงล้างขวด : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Callistemon viminalis (Sol. ex Gaertn.) G. Don ex Loud. ในวงศ์ Myrtaceae ก้านชูอับเรณูสีแดง เป็นฝอยเหมือนแปรง.
  30. โป่งวิด : น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Rostratula benghalensis ในวงศ์ Rostratulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายนกปากซ่อม ตัวสีนํ้าตาลลาย ขอบและหางตาสีขาว ปากยาวแหลม ตัวเมียขนาดใหญ่และสีเข้ม สวยกว่าตัวผู้ อาศัยอยู่ตามท้องทุ่งที่แฉะ ๆ.
  31. โป๊ยเซียน ๑ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Euphorbia milii Des Moul. ในวงศ์ Euphorbiaceae ต้นเป็นเหลี่ยม มีหนามแหลมเรียงเวียน รอบต้น มียางขาว ดอกเล็ก มีหลายสี เช่น สีแดง ชมพู เหลืองอ่อน ออกเป็นกระจุก.
  32. โปร่งฟ้า : [โปฺร่ง-] น. ชื่อไม้เถามีรากสะสมอาหารชนิด Asparagus setaceus (Kunth) Jessop ในวงศ์ Asparagaceae กิ่งเป็นเส้นเล็กละเอียดโปร่ง ออกเป็นแผงคล้ายใบ ใบเป็นเกล็ดเล็กสีน้ำตาลอ่อน ปลูกเป็น ไม้ประดับ.
  33. ผมนาง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Alectis ciliaris, A. indica และ Carangoides armatus ในวงศ์ Carangidae ลําตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหาง เล็ก เกล็ดละเอียด เว้นแต่ที่ส่วนท้ายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะ บริเวณคอดหางเกล็ดจะขยายใหญ่เป็นสันแข็ง มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น ที่สําคัญคือ ต่างก็มีก้านครีบหลังตอนที่ ๒ และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลําตัวสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลัง เป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็น บั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดํา จึงได้ ชื่อว่า ผมนาง เฉพาะชนิด A. indica มีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
  34. ผักหนาม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lasia spinosa (L.) Thwaites ในวงศ์ Araceae ก้านใบ ก้านช่อดอกและต้นมีหนาม ใบอ่อนมีพิษ แต่ดองหรือต้ม แล้วกินได้ เหง้าใช้ทํายาได้.
  35. ผักหวาน : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Sauropus androgynus (L.) Merr. ในวงศ์ Euphorbiaceae ยอดกินได้, ผักหวานบ้าน ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ต้น ชนิด Melientha suavis Pierre ในวงศ์ Opiliaceae ยอดและดอกอ่อน กินได้, ผักหวานป่า ก็เรียก.
  36. ผัน ๑ : น. ชื่อบัวชนิด Nymphaea cyanea Roxb. ในวงศ์ Nymphaeaceae ดอกสีคราม, บัวขาบ ก็เรียก.
  37. ผาก ๒ : น. ชื่อไผ่ชนิด Gigantochloa hasskarliana Backer ในวงศ์ Gramineae ไม่มีหนาม ปล้องยาว กาบหุ้มลําต้นแข็ง สีส้ม มีขนดํา.
  38. ผ้าขี้ริ้ว ๒ : น. ชื่องูทะเลชนิด Acrochordus granulatus ในวงศ์ Colubridae ตัวสีเทาลายเทาเข้มปนนํ้าเงิน นุ่มนิ่มเหมือนกองผ้าขี้ริ้ว อาศัย ตามทะเลโคลนมากกว่าทะเลนํ้าใส ไม่มีพิษ.
  39. ผีเสื้อ ๒ : น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Chaetodontidae ยกเว้นปลาโนรี (Heniochus spp.) ลําตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก ปากเล็ก บางชนิด ปากยื่นยาวเป็นท่ออยู่ปลายสุดของหัว เกล็ดสากมือคลุมถึงบน ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหาง สีสวยสด มักเป็นบั้ง แถบ หรือ จุดคละกันหลายสี อาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง ขนาดยาวตั้งแต่ ๑๐–๓๐ เซนติเมตร.
  40. ผีเสื้อเงิน : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Monodactylus argenteus ในวงศ์ Monodactylidae ลำตัวสั้นมาก รูปไข่แบนข้าง ครีบหลังและ ครีบก้นยาวพื้นลําตัวและครีบสีเทาเงิน มีแถบสีดําพาดขวาง ผ่านตา ๑ แถบและอีกแถบโค้งผ่านแผ่นปิดเหงือกไปยังขอบ หน้าของครีบหลังและครีบก้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร อยู่ในนํ้าจืดได้, โสร่งแขก ก็เรียก.
  41. ผีเสื้อยักษ์ ๒ : น. ชื่อผีเสื้อขนาดใหญ่หลายชนิด เช่น ชนิด Attacus atlas ในวงศ์ Saturniidae ตัวเมียเมื่อกางปีก วัดจากขอบปีกหนึ่งถึงอีกขอบปีกหนึ่ง ยาวได้ถึง ๒๑–๒๕ เซนติเมตร ลําตัวยาว ๔–๕ เซนติเมตร กว้าง ๑.๕–๒ เซนติเมตร ลําตัวและอกคลุมด้วยขนสีนํ้าตาลแดง ปีกสี นํ้าตาลแดงมีลวดลายโดยเฉพาะบริเวณเกือบกึ่งกลางปีกมีลักษณะ บางใสรูปคล้ายใบโพ.
  42. ผึ้ง ๑ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Apidae มีปีกบางใส ๒ คู่ ปีกคู่หลัง เล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากใช้ทั้งกัดอาหารและดูดกินของเหลวได้ ท้องปล้องแรกที่ติดกับอกเล็กมาก ปล้องที่ ๒ มีขนาดไล่เลี่ยกัน ปล้องที่เหลือมีขนาดไล่เลี่ยกับอก ยกเว้นปล้องสุดท้ายที่มีขนาด เล็กกว่ามีขนปกคลุมตามลําตัว รวมตัวอยู่เป็นฝูง แบ่งชั้นวรรณะ เก็บเกสรและนํ้าหวานดอกไม้มาทํานํ้าผึ้ง เช่น ผึ้งหลวง (Apis dorsata) ผึ้งโพรง (A. cerana) ผึ้งมิ้ม (A. florea) ผึ้งเลี้ยง (A. mellifera) ผึ้งหอยโข่ง (Trigona spp.) และหลายชนิดในวงศ์ Megachilidae ซึ่งเป็นผึ้งที่อาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่รวมตัวเป็นฝูง ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ได้แก่ ผึ้งกรวย เช่น ชนิด Megachile griseopicta และผึ้งหลอด เช่น ชนิด Chalicodoma atrata, เผิ้ง ก็เรียก.
  43. ผู้ดีแปดสาแหรก : น. ผู้ดีที่สืบทอดกันลงมาตั้งแต่ต้นวงศ์สกุลคือ บิดามารดาของปู่และย่า ๔ บิดามารดาของตาและยาย ๔ รวมเป็น ๘; โดยปริยายหมายถึงคนที่ทํากรีดกรายเอาอย่างผู้ดี. (ดู แปดสาแหรก).
  44. ผู้สืบตระกูล : น. ลูกหลานที่เป็นชายซึ่งสืบวงศ์สกุลโดยไม่ขาดสาย.
  45. เผาะ ๒ : น. ชื่อเห็ดชนิด Astraeus hygrometricus (Pers.) Morgan ในวงศ์ Astraeaceae เกิดใต้ดินดอกเห็ดอ่อน เป็นก้อนกลม เมื่อแก่โผล่ขึ้น มาเหนือดิน เปลือกนอกแข็งแล้วแตกเป็นแฉกคล้ายดาว กลาง ดอกเห็ดเป็นถุงกลมมีสปอร์สีนํ้าตาล ดอกอ่อนต้มสุกแล้วกินได้, พายัพเรียก เห็ดถอบ.
  46. เผือก ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Colocasia esculenta Schott ในวงศ์ Araceae ต้นและใบคล้ายบอน หัวทําให้สุกแล้วกินได้.
  47. ไผ่ : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ ลําต้นเป็นปล้อง ๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Retz.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดํา (Phyllostachys nigra Munro).
  48. ฝรั่ง ๓ : [ฝะหรั่ง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Psidium guajava L. ในวงศ์ Myrtaceae ผลกินได้ มีหลายพันธุ์ เช่น ฝรั่งขี้นก.
  49. ฝอยทอง ๒ : น. ชื่อพืชเบียนล้มลุกชนิด Cuscuta chinensis Lam. ในวงศ์ Convolvulaceae ไม่มีใบ ต้นเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเหลือง เมล็ดใช้ทํายาได้.
  50. ฝาง : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Caesalpinia sappan L. ในวงศ์ Leguminosae ต้นมีหนามดอกสีเหลือง เนื้อไม้สีแดงใช้ย้อมผ้าและทํายาได้; สีแดงสด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | [1051-1100] | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1632

(0.0790 sec)