Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ประยูรวงศ์, ประยูร, วงศ์ , then ประยุร, ประยูร, ประยูรวงศ์, พงศ์, วงศ, วงศ์, วงษ์, วงส์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ประยูรวงศ์, 1632 found, display 551-600
  1. ข้าวเย็นใต้ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Smilax glabra Roxb. ในวงศ์ Smilacaceae เหง้าใช้ทํายาได้.
  2. ข้าวเย็นเหนือ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Smilax china L. ในวงศ์ Smilacaceae เหง้าใช้ทํายาได้.
  3. ข้าวไรย์ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Secale cereale L. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ เมล็ดใช้ทําอาหารและเลี้ยงสัตว์. (อ. rye).
  4. ข้าวละมาน : (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Oryza minuta J. Presl ในวงศ์ Gramineae เป็นข้าวป่าชนิดหนึ่ง มักขึ้นแซมต้นข้าว.
  5. ข้าวสาลี : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Triticum aestivum L. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ เมล็ดบดเป็นแป้ง เรียกว่า แป้งสาลี ใช้ทํา ขนมปังเป็นต้น.
  6. ข้าวโอ๊ต : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Avena sativa L. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ เมล็ดใช้เป็นอาหาร. (อ. oat).
  7. ข้าหลวง ๒ : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scolopsis leucotaenia ในวงศ์ Nemipteridae มีแถบสีขาวเด่นพาดตามยาวใกล้แนวสันหลังข้างละเส้น พบอาศัย อยู่ตามแนวหินปะการัง.
  8. ข้าหลวงหลังลาย : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Asplenium nidus L. ในวงศ์ Aspleniaceae รูปทรงคล้ายชาม แตกใบอ่อนตรงกลาง.
  9. ขิง : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zingiber officinale Roscoe ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้ามีกลิ่น รสเผ็ด ใช้ประกอบอาหารและทํายาได้, ขิงแกลง หรือ ขิงแครง ก็เรียก.
  10. ขี้กา : น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Cucurbitaceae ผลกลมขนาดผลมะนาวถึงผลส้มเกลี้ยง สุกสีแดง เมล็ดสีเขียวแก่ มีเยื่อเป็นเมือก ๆ หุ้ม และมีรสขม เช่น ขี้กาแดง หรือ กระดึงช้างเผือก (Trichosanthes tricuspidata Lour.).
  11. ขี้กาแดง : น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนชนิด Trichosanthes tricuspidata Lour. ในวงศ์ Cucurbitaceae เถาเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะแยกเป็น ๓ แฉก ใบใหญ่มน บางทีเป็น ๕ เหลี่ยม กลีบเลี้ยงสีแดง กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมชมพู ผลกลมใหญ่ขนาดผลส้ม สุกสีแดง เมล็ดเป็นพิษเบื่อเมา, กระดึงช้างเผือก ก็เรียก.
  12. ขี้ขม : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Osteochilus hasselti ในวงศ์ Cyprinidae เกล็ด ข้างตัวมีจุดสีดําจนเห็นเรียงกันเป็นลายตามยาว ๖-๘ เส้น ที่โคนครีบ หางมีจุดสีดําใหญ่ ครีบต่าง ๆ สีแดงส้ม เฉพาะครีบอกสีเขียวอ่อน พบทั้งในแหล่งนํ้านิ่งและนํ้าไหลทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขนาดยาว ได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ซ่าสร้อยนกเขา นกเขา หรือ พรหมหัวเหม็น ก็เรียก.
  13. ขี้ครอก ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Urena lobata L. ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีชมพู ผลมีขนปลายเงี่ยงคลุม. (๒) ดู กระชับ.
  14. ขี้ควาย : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Polycaulus uranoscopus ในวงศ์ Synanceiidae ตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวสั้น ปากกว้างเชิดขึ้น ลําตัวมีรอยด่างสีนํ้าตาล มักมีจุดขาวประปราย ขอบครีบเป็นสีดําคลํ้า เงี่ยงมีพิษ ซ่อนตัวอยู่ตาม ซอกหินหรือพื้นท้องทะเล, ขี้ขุย ก็เรียก.
  15. ขี้มอด : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็ก ๒ ชนิด ในวงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dalbergia lanceolaria L.f. var. lakhonensis (Gagnep.) Niyomdham ดอกสีขาวหรือขาวแกมม่วงน้ำเงิน และชนิด Derris robusta Benth. ดอกสีชมพูถึงม่วงอ่อน เนื้อไม้ฟ่าม ใช้ทําหีบหรือลัง.
  16. ขี้ยอก : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Mystacoleucus marginatus ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบหลัง ออกไปข้างหน้า, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น ในเขต แม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า.
  17. ขี้หนอน : [-หฺนอน] น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Zollingeria dongnaiensis Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าโปร่งที่ตํ่า ผลมี ๓ ครีบ. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Scleropyrum wallichianum (Wight et Arn.) Arn. ในวงศ์ Santalaceae ลําต้นมีหนามแข็ง ใบอ่อนและดอกเป็นพิษ อย่างแรง. (๓) ดู สําเภา๒.
  18. ขี้หนู ๑ : น. (๑) ชื่อพริกชนิด Capsicum frutescens L. ในวงศ์ Solanaceae เม็ดเล็ก, พริกแกว ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coleus parvifolius Benth. ในวงศ์ Labiatae หัวกินได้ เรียกว่า มันขี้หนู.
  19. ขี้เหล็ก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Cassia siamea Lam. ในวงศ์ Leguminosae มักขึ้นตามริมนํ้าหรือป่าชื้น ดอกเหลืองดกเป็นช่อใหญ่ เนื้อไม้สีนํ้าตาลแก่หรือบางทีเกือบดํา มีลายเป็นเส้นสีแก่หรือสีอ่อนกว่าพื้น แข็ง เหนียว และหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ใบอ่อน และดอกกินได้.
  20. ขึ้นฉ่าย : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Apium graveolens L. ในวงศ์ Umbelliferae ใบคล้ายผักชีแต่โตกว่า กลิ่นฉุน เป็นพรรณไม้ที่นําเข้ามาปลูก เพื่อเป็นอาหาร.
  21. ขุนทอง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดําเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลือง ติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียน เสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคํา.
  22. ขุนแผน ๒ : น. ชื่อนกชนิด Urocissa erythrorhyncha ในวงศ์ Corvidae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับอีกา ปากสีแดง หัวและคอสีดํา ลําตัวสีฟ้าอมเทา หางยาว กินนกเล็ก ๆ และสัตว์เลื้อยคลาน.
  23. เขนงนายพราน : [ขะเหฺนง-] น. ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบขึ้นตามพงหญ้าบนดินทรายที่ชุ่มแฉะ ปลาย ใบเปลี่ยนเป็นรูปคล้ายกระบอก มีฝาปิด ใช้ดักจับแมลง, กระดึงพระราม แล่งพระราม เหนงนายพราน หรือ ลึงค์นายพราน ก็เรียก.
  24. เข็ม ๓ : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Dermogenys pusillus ในวงศ์ Hemirhamphidae ปากล่างยื่นยาวแหลม ลําตัวกลมเรียวยาวคล้ายเข็ม ขอบหางกลม ยาวไม่เกิน ๘ เซนติเมตร ออกลูกเป็นตัว พบว่ายตาม ผิวนํ้าในแหล่งนํ้านิ่งทั่วไป. (๒) ดู กระทุงเหว.
  25. เขยตาย : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Glycosmis pentaphylla (Retz.) Correa ในวงศ์ Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ ๒ เมตร ผลกลม ขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน กินได้ รากใช้ทํายา, กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว หรือ นํ้าข้าว ก็เรียก, พายัพและอีสาน เรียก ส้มชื่น.
  26. เขา ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกลุมพูและนกพิราบ ขนสีนํ้าตาล บางชนิดออกสีนํ้าตาลแดง ลําตัวมีลาย มักอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง หากินเมล็ดพืชบนพื้นดิน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขาใหญ่ หรือ เขาหลวง (Streptopelia chinensis) เขาไฟ (S. tranquebarica) เขาชวา (Geopelia striata). เขาเปล้า ดู เปล้า.
  27. เขาแกะ : น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Rhynchostylis coelestis Rchb.f. ในวงศ์ Orchidaceae ใบโค้ง ๆ คล้ายเขาแกะ ดอกสีฟ้าอมม่วง.
  28. เขียด : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว กับกบแต่มักมีขนาดเล็กกว่า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขียดอ๋อง (Rana nigrovittata) เขียดหลังขาว . (R. limnocharis)
  29. เขียว ๓ : น. ชื่องูสีเขียวหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น เขียวพระอินทร์ (Chrysopelea ornata) ในวงศ์ Colubridae ลําตัวเรียวยาว อาศัย ตามต้นไม้และชายคาบ้านเรือน ออกหากินเวลากลางวัน มีพิษ อ่อนมาก, เขียวหางไหม้ท้องเหลือง (Trimeresurus albolabris) ในวงศ์ Viperidae ลําตัวอ้วนสั้น หางแดง ออกหากินเวลากลางคืน มีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย.
  30. เขี้ยวกระแต : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Coffea bengalensis Heyne ex Roem. et Schult. ในวงศ์ Rubiaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอมแรงคล้ายพุทธชาด.
  31. เขี้ยวเนื้อ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Lagerstroemia undulata Koehne var. subangulata Craib ในวงศ์ Lythraceae ช่อดอกเรียวแหลม ดอกเล็ก สีชมพูคล้ำ.
  32. เขียวพระอินทร์ ๑ : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Thalassoma lunare ในวงศ์ Labridae ลําตัวยาวรี แบนข้าง สีเขียว และมีริ้วสีนํ้าเงินพาดขวางตลอดตัว บริเวณหัวมีแถบ ลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่ สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างสีแดง พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง เมื่อขนาดยังเล็ก มีพื้นสีนํ้าตาลแดงที่ บริเวณกลางครีบหลังและโคน ครีบหางมีจุดใหญ่สีดํา.
  33. เขียวหางไหม้ : น. ชื่องูเขียวหลายชนิดในวงศ์ Viperidae ลําตัวอ้วนสั้น หัวโต คอเล็ก หลายชนิดปลายหางสีแดงหรือสีน้ำตาล ทุกชนิดออกหากิน เวลากลางคืน มักมีนิสัยดุมีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย เช่น เขียวหางไหม้ ท้องเขียว (Trimeresurus popeorum).
  34. แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
  35. แขม ๑ : [แขมฺ] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum arundinaceum Retz. ในวงศ์ Gramineae มักขึ้นตามชายนํ้า ชายป่า และชายเขาที่ชุ่มชื้น, พง ก็เรียก.
  36. แขยง ๑ : [ขะแหฺยง] น. ชื่อปลานํ้าจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ ครีบหลังตอนแรกมีก้านครีบแข็ง หยักเป็นหนามคม เช่นเดียวกับครีบอก ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อ ขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากด แต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหิน (Leiocassis siamensis) แขยงใบข้าว (Mystus cavasius) แขยงธง หรือ แขยงหมู (Heterobagrus bocourti) แขยงวัง หรือ แขยงหนู (Bagroides macropterus).
  37. แขวก : [แขฺวก] น. ชื่อนกชนิด Nycticorax nycticorax ในวงศ์ Ardeidae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับนกยาง หัวค่อนข้างโต คอสั้น ขาสั้นกว่านกยางชนิดอื่น ลําตัวส่วนบนสีเขียวอมเทา ท้ายทอยมีเปียสีขาว ๒-๓ เส้น ลําตัว ส่วนล่างสีขาว อยู่เป็นฝูง กินปลาและสัตว์เล็ก ๆ หากินในเวลากลางคืน.
  38. โข่ง ๑ : น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Ampullariidae เปลือกสีเขียวคลํ้ามีขนาด เท่าหัวแม่มือจนถึงกําปั้น เวียนเป็นวง ยอดสั้น วงสุดท้ายค่อนข้างกลม มีหลายชนิดในสกุล Pila เช่น ชนิด P. ampullacea, P. polita.
  39. ไข่เต่า ๒ : น. (๑) ชื่อมะเขือขื่นพันธุ์หนึ่ง สีขาว เนื้อกรอบ. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Polyalthia debilis (Pierre) Finet et Gagnep. ในวงศ์ Annonaceae ขึ้นตามป่าโปร่งดินทราย ผลเป็นข้อ ๆ.
  40. ไข่เน่า ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vitex glabrata R. Br. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ สุกสีดํา กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้ทํายาได้.
  41. ไข่หิน ๒ : น. ชื่อสาหร่ายสีเขียวชนิด Nostochopsis lobatus Wood ในวงศ์ Nostochopsidaceae ลักษณะรูปไข่ ค่อนข้างกลมเล็ก สีเขียวแก่ เกิดในนํ้าใสสะอาด เกาะอยู่กับหิน กินได้, ดอกหิน ก็เรียก.
  42. ไข่แหน : [-แหฺน] น. ชื่อไม้นํ้าชนิด Wolffia globosa (Roxb.) Hartog et Plas ในวงศ์ Lemnaceae เกาะกันเป็นกลุ่มลอยอยู่ในนํ้า ลักษณะเป็นเม็ด เขียว ๆ กลม ๆ เล็ก ๆ ขนาดเม็ดทราย ไม่มีรากcเป็นพืชที่เล็กที่สุด ในจําพวกพืชมีดอก กินได้, ไข่นํ้า หรือ ผํา ก็เรียก.
  43. คงคาเดือด : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Arfeuillea arborescens Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง สูง ๘-๑๐ เมตร มีพุ่มใหญ่ ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย ๓-๔ คู่ ดอกเล็กสีม่วงดํา หอมมาก ผล มีปีกบาง ๆ ๓ ปีก เปลือกใช้ทํายาได้, ราชบุรีเรียก ตะไล, พายัพเรียก ช้างเผือก.
  44. คนทา : [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Harrisonia perforata (Blanco) Merr. ในวงศ์ Simaroubaceae มักขึ้นเป็นหมู่ในป่าโปร่ง สูงได้ถึง ๘ เมตร มีหนาม ทั่วต้น ใบคล้ายมะขวิดแต่เขื่องกว่า ดอกสีขาว ผลกลมแป้นขนาดราว หัวแม่มือ ทุกส่วนมีรสขม ใช้ทํายาได้ กิ่งใช้ทําไม้สีฟัน, สีฟันคนทา หรือ กะลันทา ก็เรียก, พายัพเรียก จี้ หรือ หนามจี้.
  45. คนที ๒ : [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex trifolia L. var. simplicifolia Cham. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามชายทะเล ลําต้นเลื้อย ใบและดอกเหมือนคนทีสอ ใช้แก้พิษแมงกะพรุน, คนทิสอทะเล ก็เรียก.
  46. คนทีเขมา : [คนทีขะเหฺมา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex negundo L. ในวงศ์ Labiatae คล้ายต้นคนทีสอ แต่ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓-๕ ใบ และมีขนาดใหญ่กว่า ดอกสีขาว ปลูกไว้ตามบ้าน ใช้ทํายาได้, ปัตตานี เรียก กุโนกามอ.
  47. คนทีสอ : [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex trifolia L. ในวงศ์ Labiatae มักขึ้นในที่โล่งริมนํ้า สูงได้ถึง ๖ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ท้องใบสีนวล เมื่อขยี้มีกลิ่นฉุน ดอกสีครามอ่อน ใช้ทํายาได้, คนทิสอ โคนดินสอ หรือ สีสอ ก็เรียก, พายัพเรียก สีเสื้อน้อย หรือ ผีเสื้อน้อย.
  48. ครอบจักรวาล ๕ : [คฺรอบ-] น. ชื่อไม้พุ่มในวงศ์ Malvaceae ใบมน ดอกเหลือง ผลใช้ทํายาได้ มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Abutilon hirtum (Lam.) Sweet ผลมักมี ๒๐-๒๕ ซีก, ครอบตลับ หรือ ยักเพรีย ก็เรียก; และชนิด Hibiscus vitifolius L. ผลมี ๕ ปีก.
  49. ครั่ง ๑ : [คฺรั่ง] น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด Laccifer lacca ในวงศ์ Lacciferidae ตัวเมีย ไม่มีปีก เมื่อเป็นตัวอ่อนระยะแรกจะมีขาและหนวด เคลื่อนไหวได้ เมื่อ ลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา หยุดอยู่กับที่ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากพืชและ ผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นําไปใช้ทําประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง.
  50. คราง ๒ : [คฺราง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Scapharca inaequivalvis ในวงศ์ Arcidae ลักษณะคล้ายหอยแครงแต่ขนาดใหญ่กว่า ที่เปลือกมีขน อาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นที่มีโคลนปนทราย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1632

(0.0835 sec)