Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ประยูรวงศ์, ประยูร, วงศ์ , then ประยุร, ประยูร, ประยูรวงศ์, พงศ์, วงศ, วงศ์, วงษ์, วงส์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ประยูรวงศ์, 1632 found, display 951-1000
  1. นวลน้อย : น. ชื่อหญ้าชนิด Zoysia matrella (L.) Merr. ในวงศ์ Gramineae ใช้เป็น หญ้าสนาม.
  2. น่อง ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Antiaris toxicaria Leschen. ในวงศ์ Moraceae ยางมีพิษ ใช้ทำยางน่อง.
  3. น้อยหน่า : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Annona squamosa L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกสีเหลืองแกมเขียว กลีบดอกหนา มี ๓ กลีบ ผลสีเขียว ผิวนูนเป็น ตา ๆ เนื้อในผลหนาขาว รสหวาน มีเมล็ดมาก.
  4. น้อยโหน่ง : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Annona reticulata L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกคล้ายดอกน้อยหน่า แต่ผลโตกว่า เปลือกบางแต่เหนียว ค่อนข้างเรียบ ไม่นูนเป็นตา ๆ สีเขียวจาง ๆ ปนสีแดงเรื่อ ๆ เนื้อในผล หนาขาว รสหวานไม่สนิทเหมือนน้อยหน่า มีเมล็ดมาก.
  5. นาก ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Mustelidae ขนลําตัวสีนํ้าตาลอมเทา มี ๒ ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ หัวกว้างและแบน ระหว่างนิ้วมี แผ่นพังผืดขึงอยู่คล้ายตีนเป็ดหางแบน ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่า ขาหน้า ใช้ว่ายนํ้าร่วมกับหาง ไล่จับปลาและสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศ ไทย มี ๔ ชนิด ที่มีจํานวนมากและรู้จักกันทั่วไป คือ นากใหญ่ขนเรียบ (Lutra perspicillata) และนากเล็กเล็บสั้น (Aonyx cinerea).
  6. นากบุด : (ถิ่นปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Mesua nervosa Planch. et Triana ในวงศ์ Guttiferae กลีบดอกสีขาว มีเกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวน มาก.
  7. นางกวัก ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Eucharis grandiflora Planch. et Link. ในวงศ์ Amaryllidaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอมในตอนเย็น นิยมปลูกไว้ ในบ้านโดยเชื่อว่านําโชคลาภมาให้, ว่านนางกวัก ก็เรียก.
  8. นางเกล็ด : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Thynnichthys thynnoides ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัว เพรียวแบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๕๘-๖๕ เกล็ด พื้นลําตัวสีเงินเป็นประกาย พบ ทั่วไปแต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เกล็ดถี่ พรม หรือ ลิง ก็เรียก.
  9. นางนวล : น. ชื่อนกนํ้าในวงศ์ Laridae มี ๒ วงศ์ย่อย คือ นางนวลใหญ่ ในวงศ์ ย่อย Larinae ตัวใหญ่แข็งแรง ปากงองุ้มเล็กน้อย ปีกกว้าง ปลายหาง กลม กินปลาโดยโฉบกินตามผิวนํ้าหรือรวมฝูงกันจับปลาขณะว่ายนํ้า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นางนวลธรรมดา (Larus brunnicephalus) นางนวลขอบปีกขาว (L. ridibundus), และนางนวล แกลบในวงศ์ย่อย Sterninae ตัวเล็กเพรียวลม ปลายปากแหลม ปลาย หางมี ๒ แฉก กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็กโดยดําลงไปจับเหยื่อหรือ โฉบกินตามผิวนํ้า แต่มักไม่ชอบว่ายนํ้าเหมือนนางนวลใหญ่ มีหลาย ชนิด เช่น นางนวลแกลบธรรมดา (Sterna hirundo) นางนวลแกลบ ท้ายทอยดํา (S. sumatrana) นางนวลแกลบเล็ก (S. albifrons).
  10. นางแย้ม : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb. ในวงศ์ Labiatae ใบออกตรงข้ามกัน โคนใบเว้าแบบหัวใจ ขอบใบหยัก มีขนเล็กน้อย ดอกเป็นช่อสั้น ๆเบียดกันแน่น กลีบดอกมักซ้อน สีขาว หรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม.
  11. นางรม ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Ostreidae รูปร่างค่อนข้างกลม หรือยาวรี มีสีต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่เป็นสีเทา เปลือกด้านล่างโค้งเล็กน้อย ยึดติดกับวัสดุที่เกาะ นิยมใช้เป็นอาหาร เช่น ชนิด Saccostrea forskali, อีรม ก็เรียก.
  12. นางรม ๒ : น. ชื่อเห็ดชนิด Pleurotus ostreatus (Fr.) Qu?l. ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นเป็นกลุ่มบนขอนไม้ โคนก้านดอกติดกัน มีหลายพันธุ์ ดอกเห็ด สีขาวหรือขาวอมเทา เนื้อนุ่มกินได้, ชื่อที่ถูกต้องคือ เห็ดหอยนางรม.
  13. นางล้อม : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Proiphys amboiensis (L.) Hebert ในวงศ์ Amaryllidaceae เชื่อว่าป้องกันขโมยได้, ว่านนางล้อม ก็เรียก. (๒) ชื่อกกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
  14. น้ำดอกไม้ ๒ : น. (๑) ชื่อชมพู่ชนิด Syzygium jambos (L.) Alston ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง เนื้อบาง กลิ่นหอมเหมือนกุหลาบ. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ; ผลยาว ดิบรสเปรี้ยวจัด สุกรสหวานหอม เมล็ดแบนมาก.
  15. น้ำเต้า : น. (๑) ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Lagenaria siceraria Standl. ในวงศ์ Cucurbitaceae อยู่ในจําพวกฟักแฟง ดอกสีขาว ผลกินได้ เมื่อแก่แห้ง ใช้เป็นภาชนะได้; อวัยวะส่วนที่อยู่โคนงวงช้าง มีรูปโป่งคล้ายลูกนํ้าเต้า; ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือจะเป็นผู้ซัดหรือ ฝัดลูกบาศก์ ซึ่งมี ๖ หน้า เขียนเป็นรูป นํ้าเต้า ปู ปลา เสือ ไก่ และกุ้ง ให้ลูกค้าแทง. (๒) โกฐนํ้าเต้า. (ดู โกฐนํ้าเต้า ที่ โกฐ).
  16. น้ำนอง ๑ : น. ชื่อปลวกหลายชนิดในหลายวงศ์ สีดําหรือนํ้าตาลแก่ อาศัยอยู่ใต้ดิน เมื่อมีนํ้านองเกิดตะไคร่ขึ้น พอนํ้าลดจะเดินแถวมาเก็บตะไคร่ไปเลี้ยง ลูกซึ่งบางครั้งอาจจะทํางานกันทั้งคืน จึงเห็นตัวเฉพาะในเวลานํ้านอง เช่น ชนิด Hospitalitermes monoceros,H. asahinai, H. birmanicus ในวงศ์ Termitidae.
  17. น้ำมันระกำ : น. นํ้ามันระเหยง่ายชนิดหนึ่ง กลิ่นหอมฉุน กลั่นได้จาก นวดไม้ล้มลุกชนิด Gaultheria procumbens L. ในวงศ์ Ericaceae ใช้ทาแก้เคล็ดบวม และใช้เป็นสารแต่งกลิ่นได้.
  18. นิล ๒ : [นิน] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tilapia nilotica ในวงศ์ Cichlidae ลําตัวสี เขียวอมนํ้าตาลหรือเหลือง มีจุดดําด่างทั่วตัว ปลาขนาดเล็กจะมีลายเข้ม พาด ขวางลําตัว ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีลายหรือแนวจุดสีคลํ้า หรือขาวพาดขวางหรือทแยงอยู่โดยตลอด ขนาดยาวได้ถึง ๔๖ เซนติเมตร ทํารังเป็นแอ่งดินและปกป้องดูแลลูกอ่อนไว้ในโพรงปาก นํามาจาก ต่างประเทศเพื่อเลี้ยงเป็นอาหาร.
  19. นุ่น : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Ceiba pentandra (L.) Gaertn. ในวงศ์ Bombacaceae ลําต้นและกิ่งก้านสีเขียว มีหนามสั้น ๆ ที่โคนต้น กิ่ง ทอดขนานกับพื้น ทิ้งใบในฤดูแล้ง ดอกสีขาวนวล ผลรูปทรงกระสวย ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าวและงิ้ว.
  20. เนระพูสี : น. ชื่อเฟินชนิด Microlepia speluncae (L.) Moore ในวงศ์ Dennstaedtiaceae ต้นเป็นกอใช้ทํายาได้.
  21. เนียง ๒ : (ถิ่นปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Archidendron jiringa Nielsen ในวงศ์ Leguminosae ฝักบิดเป็นวง เมล็ดค่อนข้างแบน กินได้, พะเนียง ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ชะเนียง.
  22. เนียม ๑ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Chloranthus spicatus (Thunb.) Makino ในวงศ์ Chloranthaceae ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม, พายัพเรียก เนียมอ้ม. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Strobilanthes nivea Craib ในวงศ์ Acanthaceae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ใบมีกลิ่นหอมใช้ประสมปูนกินกับหมาก, เนียมสวน ก็เรียก, อีสานเรียก อ้ม.
  23. เนื้อ ๒ : น. ชื่อสัตว์ป่าประเภทกวาง. เนื้อทราย น. ชื่อกวางชนิด Cervus porcinus ในวงศ์ Cervidae เป็น กวางขนาดกลาง ตัวสีนํ้าตาลเข้มแต่ตอนล่างสีจางกว่า ตามลําตัวมีจุด ขาวจาง ๆ อยู่ทั่วไป ลูกที่เกิดใหม่จุดขาวนี้จะชัดเจนมากเช่นเดียวกับ ลูกกวางดาว ตัวผู้มีเขาผลัดเขาปีละครั้ง อยู่เป็นฝูงตามทุ่งหญ้า กินหญ้า ระบัด ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย, กวางแขม กวาง ทรายหรือ ตามะแน ก็เรียก. เนื้อสมัน ดู สมัน.
  24. เนื้ออ่อน : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟันเล็กแต่ แหลมคม ลําตัวแบนข้างมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ชนิด Kryptopterus apogon, K. cryptopterus, K. bleekeri, K. limpok, Ompok bimaculatus, Siluroides hypophthalmus, Ceratoglanis scleronema ข้างท้องมักเป็น สีเงิน ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๒๐-๗๗ เซนติเมตร อาจมีหรือไม่มีครีบ หลังก็ได้บางชนิดลําตัวด้านหลังสีเทาอมเขียวหรือสีนํ้าตาล, มีชื่อไทยที่ เรียกแตกต่างกันหรือซํ้าซ้อนกันระหว่างชนิด ได้แก่ ชะโอน โอน แดง นาง เกด ปีกไก่ นํ้าเงิน หน้าสั้น สยุมพร หรือ เซือม.
  25. โนรี ๑ : น. ชื่อนกปากขอในวงศ์ Loriidae คล้ายนกแก้ว ตัวมีสีสันสวยงาม เช่น สีแดงสดหรือเลือดหมู นํ้าเงิน ม่วง เขียว ปีกสีเขียวหรือเหลือง หางสั้น มีถิ่นกําเนิดอยู่ในหมู่เกาะนิวกินี อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย มีหลายชนิด เช่น ชนิด Lorius chlorocercus, L. tibialis, L. lory.
  26. โนรี ๒ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Hiptage lucida Pierre ในวงศ์ Malpighiaceae ใบและดอกคล้ายโนราแต่เล็กกว่า ดอกสีชมพู กลิ่นหอม.
  27. ไน ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Cyprinus carpio ในวงศ์ Cyprinidae ตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ ขอบเรียบ ในบางประเภทของปลา อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดําคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก.
  28. บง ๑ : น. ชื่อไผ่ชนิด Bambusa tulda Roxb. ในวงศ์ Gramineae ไม่มีหนาม ปล้องสั้น เนื้อลําหนา ใช้จักตอก.
  29. บรรพบุรุษ : ( น. ผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูลซึ่งมีผู้สืบสายโลหิตมา, บุคคล ที่นับตั้งแต่ปู่ย่าตายายขึ้นไป.
  30. บรรพสตรี : ( น. หญิงผู้เป็นต้นวงศ์.
  31. บ๊วย ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Myrica rubra Sieb. et Zucc. ในวงศ์ Myricaceae ผลกลม ผิวขรุขระ สุกสีแดงคลํ้า กินได้ รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Prunus mume Sieb. et Zucc. ในวงศ์ Rosaceae ผลกลม แบน มีขน ผลสุกสีเหลือง รสเปรี้ยวจัดและขม ดองเกลือแล้วกินได้.
  32. บวร, บวร- : [บอวอน, บอวอระ-] (แบบ) ว. ประเสริฐ, ลํ้าเลิศ, ราชาศัพท์ใช้นําหน้า คํานามที่เกี่ยวกับวังหน้า เช่น บวรวงศ์ คู่กับ บรม ซึ่งใช้กับวังหลวง เช่น บรมวงศ์. (ป. ปวร; ส. ปฺรวร).
  33. บอน : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Araceae คือ ชนิด Colocasia esculenta (L.)Schott var. antiquorum (Schott) Hubb. et Rehder ขึ้นตามชายนํ้าหรือที่ลุ่มนํ้าขัง ยางคัน ก้านใบทําให้สุกแล้วกินได้ และอีกหลายชนิดในสกุล Caladium ใบมีสีและลายต่าง ๆ ปลูก เป็นไม้ประดับ เช่น บอนสี [C. bicolor (Ait.) Vent.] บอนเสวก (C. argyrites Lem.). ว. อาการที่ปากหรือมืออยู่ไม่สุข เรียกว่า ปากบอน หรือ มือบอน เช่น ซนมือบุกซุกมือบอน ซนปากบุก ซุกปากบอน.
  34. บอระเพ็ด : น. ชื่อไม้เถาชนิด Tinospora crispa (L.) Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Menispermaceae เถาเป็นตุ่ม รสขม ใช้ทํายาได้.
  35. บัว : น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล Nelumbo ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบ เป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอก สีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล Nymphaea ในวงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ หรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอก สีม่วงอ่อน, สกุล Victoria ในวงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบ กระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่น กลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่ บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้าน ดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทําเป็นรูป กลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐาน เป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อ ประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มี ความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุม หรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็น รูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็น ไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.
  36. บัวตูม : น. ชื่อพืชเบียนชนิด Rafflesia kerrii Meijer ในวงศ์ Rafflesiaceae เกิดตามป่าดิบ เกาะเบียนรากไม้เถา ดอกตูมสีนวล ใช้ทํายาได้ เมื่อบานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สีนํ้าตาล แดงประเหลือง กลิ่นเหม็น, บัวผุด ก็เรียก.
  37. บัวบก : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centella asiatica (L.) Urban ในวงศ์ Umbelliferae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยว กลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบและต้นกินได้และใช้ทํายาได้, พายัพ และอีสานเรียก ผักหนอก, ปักษ์ใต้และตราดเรียก ผักแว่น. (๒) ชื่อ ไม้เถาชนิด Stephania pierrei Diels ในวงศ์ Menispermaceae ขึ้น ในป่าเบญจพรรณ รากพองเป็นหัวกลม ๆ ใบค่อนข้างกลมปลาย แหลม ใช้ทํายาได้.
  38. บัวสวรรค์ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Gustavia gracillima Miers ในวงศ์ Lecythidaceae ดอกสีชมพูแก่ กลีบดอกซ้อนกันเป็น ชั้น ๆ เหมือนดอกบัว.
  39. บ้า ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Leptobarbus hoevenii ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวค่อนข้างยาวหนาเกือบเป็นรูปทรงกระบอก หัวกว้าง มีหนวด ๒ คู่ ท้องกลมมน ด้านหลังและข้างตัวสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีขาว แต้มเหลือง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหลังสีแดงอ่อน ในปลา ขนาดเล็กมีแถบสีดําคลํ้าพาดตลอดข้างตัว พบอาศัยตามแม่นํ้า ลําคลองและบึงใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ใน ธรรมชาติกินผลไม้รวมทั้งผลกระเบา เมื่อมีผู้นําไปบริโภค ทําให้เกิดอาการมึนเมา, อ้ายบ้า หรือ พวง ก็เรียก.
  40. บ่าง : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Cynocephalus variegatus ในวงศ์ Cynocephalidae รูปร่างคล้ายกระรอก แต่มีหนังเป็นพังผืด ๒ ข้าง ของลําตัวตั้งแต่คอไปถึงปลายนิ้วตีนและปลายหางสําหรับใช้กาง ออกคล้ายปีก ถลาร่อนจากที่สูงมายังที่ตํ่าได้ค่อนข้างไกล ขนนุ่ม สีนํ้าตาลคลํ้าหรือนํ้าตาลจาง ๆ เป็นหย่อม ๆ เล็บโค้งแหลมใช้ปีน ป่ายต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน กลางวันมักหลบอยู่ตามโพรงไม้ หรือเกาะห้อยอยู่ตามพุ่มทึบ, พุงจง หรือ พะจง ก็เรียก
  41. บานชื่น : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zinnia violacea Cav. ในวงศ์ Compositae ลําต้นกลวง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ดอกออกที่ยอด มีหลายสี เช่น ขาว แดง ม่วง ชมพู เหลือง.
  42. บานบุรี : น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Allamanda cathartica L. ในวงศ์ Apocynaceae ลําต้นแข็ง ปลายกิ่งอ่อนโค้ง ดอกสีเหลืองสด.
  43. บานบุรีม่วง : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Allamanda violacea Gard. et Field ในวงศ์ Apocynaceae ลักษณะเช่นเดียวกับบานบุรี แต่ดอกสีม่วง. (๒) ชื่อไม้พุ่ม รอเลื้อยชนิด Cryptostegia grandiflora R. Br. ในวงศ์ Asclepiadaceae ใบมีขน ดอกสีม่วงชมพู. (๓) ชื่อไม้เถาชนิด Saritaea magnifica (Steenis) Dugand ในวงศ์ Bignoniaceae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยเป็นคู่ ระหว่างใบย่อยมีมือจับ ดอกสีม่วงชมพู ภายในหลอดดอกสีเหลือง.
  44. บานไม่รู้โรย : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Gomphrena globosa L. ในวงศ์ Amaranthaceae ลําต้นค่อนข้างแข็งแตกแขนงเป็นพุ่มเล็ก ๆ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ดอกกลม ๆ สีขาว ชมพู หรือม่วงแดง ดอกทนอยู่ได้นาน.
  45. บานเย็น : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Mirabilis jalapa L. ในวงศ์ Nyctaginaceae รากอวบ ใบเดี่ยว โคนดอกเป็นหลอด ปลายบานเป็น ๕ แฉก บานใน เวลาเย็น มีหลายสี เช่น ขาว แดงอมม่วง เหลือง รากใช้ทํายาได้. ว. สีแดงอมม่วง.
  46. บึก : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pangasianodon gigas ในวงศ์ Schilbeidae ไม่มีเกล็ด ตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม มีหนวดสั้นมาก ข้างละ ๑ เส้นที่มุมปาก ไม่มีฟัน ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่นเนื้อ ขนาดเล็ก ลําตัวด้านหลังสีเทาอมนํ้าตาลแดง ด้านท้องสีขาว มีใน ลําแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร เป็นปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ดที่ ใหญ่ที่สุดในโลก.
  47. บุ้ง ๒ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Ipomoea aquatica Forssk. ในวงศ์ Convolvulaceae ทอดเลื้อยตามพื้นดินหรือบนผิวนํ้า ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน ลําต้น กลวง ยอดกินได้ เรียก ผักบุ้ง, พันธุ์ดอกขาวเรียก ผักบุ้งจีน, ราชาศัพท์ เรียก ผักทอดยอด.
  48. บุ้งทะเล : น. ชื่อไม้เถาชนิด Ipomoea pescaprae (L.) R. Br. ในวงศ์ Convolvulaceae ทอดเลื้อยตามหาดทรายชายทะเล ดอกสีม่วงแดง ใบไม่มีขน ต้นและใบใช้แก้พิษแมงกะพรุน เรียก ผักบุ้งทะเล.
  49. บุ้งฝรั่ง : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Ipomoea crassicaulis (Benth.) B.L. Robinson ในวงศ์ Convolvulaceae ดอกสีชมพูอ่อน ใบมีขนอ่อน เรียก ผักบุ้งฝรั่ง, ผักบุ้งรั้ว ก็เรียก.
  50. บุ้งร้วม : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Convolvulus arvensis L. ในวงศ์ Convolvulaceae ทอดเลื้อยตามพื้นดิน ต้นมีขน ดอกเล็ก สีขาว รากใช้ทํายาได้ เรียก ผักบุ้งร้วม. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Enydra fluctuans Lour. ในวงศ์ Compositae ขึ้นในนํ้าและที่ชื้นแฉะ ดอกเล็กสีขาว ๆ ใบมีรสขม ใช้ทํายาได้ เรียก ผักบุ้งร้วม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | [951-1000] | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1632

(0.0969 sec)