Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ละครโทรทัศน์, โทรทัศน์, ละคร , then โทรทัศน์, ลครทรทศน, ละคร, ละครโทรทัศน์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ละครโทรทัศน์, 166 found, display 51-100
  1. เครื่องห้า ๒ : น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สําหรับการแสดงละครและหนัง ในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สําหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบ ด้วย เครื่องทําลํานํา ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.
  2. เครือวัลย์พันไม้ : น. ท่ารําละครชนิดหนึ่ง.
  3. ฆ้องคู่ : น. ฆ้องที่ใช้บรรเลงในการเชิดหนังตะลุงและละครโนราชาตรี ชุดหนึ่งมี ๒ ลูก, ปักษ์ใต้เรียก โหม่ง.
  4. งิ้ว ๑ : น. ละครจีนแบบโบราณ.
  5. จอ ๒ : น. ผ้าขาวที่ขึงไว้สําหรับเชิดหนังหรือฉายภาพยนตร์เป็นต้น; โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จอโทรทัศน์.
  6. จุลอุปรากร : น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบท สนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. (อ. operetta).
  7. โจงกระเบนตีเหล็ก : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  8. ฉับฉ่ำ : (กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำ ที่ตำนานอนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).
  9. ฉัยยา : (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละคร สังข์ทอง). (ดู ชายา๒).
  10. ฉากตั้ง : น. ฉากละครที่ทําเป็นรูปต่าง ๆ แล้วนํามาตั้งไว้, ฉากแข็ง ก็เรียก.
  11. ฉากทิ้ง : น. ฉากลิเกละครเป็นต้นเขียนเป็นภาพต่าง ๆ แขวนทิ้งไว้กับที่ อาจชักรอกขึ้นลงได้, ฉากอ่อน ก็เรียก.
  12. ฉากน้อย, ฉากใหญ่ : น. ท่าละครชนิดหนึ่ง.
  13. ฉุยฉายเข้าวัง : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  14. ไฉยา : (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็น สมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา๒).
  15. ชวนหัว : ว. ที่ทําให้ขบขัน เช่น เรื่องชวนหัว ละครชวนหัว.
  16. ชะนี ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่มเดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้ สูง ๆ ร้องเสียงดัง เสียงร้องแสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่ เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว (Hylobates lar) สีดํา และนํ้าตาล, ชะนีหัวมงกุฎ (H. pileatus) ตัวผู้สีดํา ตัวเมีย สีเทา, ชะนีมือดํา (H. agilis) สีดํา นํ้าตาล และเทา. ชะนีร่ายไม้ น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  17. ชักกระบี่สี่ท่า : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  18. ชักซอสามสาย : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  19. ชักแป้งผัดหน้า : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  20. ช้า ๓ : น. ชื่อเพลงในบทละคร เรียกว่า เพลงช้า, ชื่อเพลงบทละคร อื่น ๆ มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ช้า เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ ช้ากล่อม. ก. ขับ, กล่อม.
  21. ช้างทำลายโรง : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  22. ช้างประสานงา : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ท่าละครท่าหนึ่ง; ชื่อเพลงบทละคร.
  23. ช้างสะบัดหญ้า : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  24. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  25. ช้านางนอน : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  26. ดาวเทียม : น. วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์ เพื่อให้โคจรรอบโลกหรือรอบเทห์ฟากฟ้าอื่น มีอุปกรณ์สําหรับเก็บ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศและถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก, วัตถุลักษณะ ดังกล่าวที่โคจรรอบโลก ใช้เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมด้วย เช่น ถ่ายทอด คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ข้ามทวีป.
  27. ดู : ก. ใช้สายตาเพื่อให้เห็น เช่น ดูภาพ ดูละคร, ระวังรักษา เช่น ดูบ้านให้ด้วย ไม่มีคนดูเด็ก, พินิจพิจารณา เช่น ดูให้ดี, ศึกษาเล่าเรียน เช่น ดูหนังสือ, เห็นจะ เช่น ดูจะเกินไปละ, ทํานาย เช่น ดูโชคชะตาราศี, ใช้ประกอบกริยา เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์แจ้ง เช่น คิดดูให้ดี ลองกินดู.
  28. ตระเวนเวหา : น. วิธีรำละครท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา. (ฟ้อน).
  29. ตะขาบ ๓ : น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
  30. ตั้วโผ : น. หัวหน้าคณะมหรสพ มีละคร งิ้ว เป็นต้น, โต้โผ ก็เรียก. (จ.).
  31. ถ่ายทอด : ก. กระจายเสียงหรือแพร่ภาพรายการที่รับจากสถานีอื่น หรือสถานที่อื่น (ใช้แก่วิทยุและโทรทัศน์), โดยปริยายหมายความว่า นําเรื่องที่รู้ไปเล่าต่อ.
  32. โทรภาพ : (เลิก) น. โทรทัศน์; โทรสาร.
  33. นวนิยาย : น. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครง เรื่อง เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ เรื่อง สี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่องเรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น เรื่องดรรชนีนาง.
  34. นาง ๑ : น. คําประกอบหน้าคําเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบําเรอ นางละคร นางพระกํานัล; คําแทนชื่อหญิง เช่น นางก็ร้อยพวงมาลัย; (กฎ) คํานําหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว, คํานําหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราช ทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา; คำเรียกสัตว์ตัวเมีย โดยสุภาพ เช่น นางช้าง นางม้า; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
  35. นางรอง : น. ตัวรองฝ่ายหญิงในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
  36. นางเอก : น. ตัวเอกฝ่ายหญิงในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
  37. นาฏ, นาฏ : [นาด, นาตะ, นาดตะ] น. นางละคร, นางฟ้อนรํา, ใช้ประกอบกับ คําอื่น หมายความว่า หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ. (ป., ส.). นาฏกรรม [นาดตะกํา] น. การละครหรือการฟ้อนรํา; (กฎ) งานเกี่ยวกับ การรํา การเต้น การทําท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และ หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย. (ส.).
  38. นาฏย : [นาดตะยะ] (แบบ) ว. เกี่ยวกับการฟ้อนรํา, เกี่ยวกับการแสดงละคร, เช่น นาฏยศาลา. (ส. นาฏฺย).
  39. นาฏศิลป์ : [นาดตะสิน] น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรํา. (ส.).
  40. นำแสดง : ก. แสดงบทบาทสําคัญในภาพยนตร์หรือละคร, มีบทบาท นําในการแสดงภาพยนตร์หรือละคร.
  41. บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
  42. บทเจรจา : น. คําที่ตัวละครพูดเป็นร้อยกรองหรือถ้อยคําธรรมดา.
  43. บอกบท : ก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก; บอกหรือ สั่งให้ทําสิ่งใด ๆ ตามที่ผู้บอกต้องการ.
  44. บังใบ ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้ขับร้องประกอบการ แสดงโขนและละคร.
  45. บัดนั้น : ว. คําขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่ไม่ใช่ ตัวเจ้าหรือมิได้เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).
  46. บานพับ : น. เหล็กหรือทองเหลืองที่ใช้ติดบานประตูหรือหน้าต่าง เป็นต้น เพื่อให้พับเข้ามาหรือเปิดออกได้, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานพับเครื่องแต่งตัวละคร บานพับขา.
  47. เบญจดุริยางค์ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบา ใช้เล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่งและเครื่องอย่างหนักใช้เล่นโขน ชนิดหนึ่ง, อย่างเบามี ปี่ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ เป็นเครื่องทํา จังหวะ ๑, อย่างหนักมี ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) ๑. (ตํานานเครื่องมโหรีปี่พาทย์).
  48. ปฐมทัศน์ : [ปะถมมะ-] น. การแสดงครั้งแรก, เรียกการแสดงละคร หรือการฉายภาพยนตร์รอบแรกว่า รอบปฐมทัศน์.
  49. ประสมโรง : ก. เอาคนที่เป็นลิเกหรือละครเป็นต้นต่างโรงมาเล่น รวมกัน; พลอยเข้าด้วย.
  50. ปล่อยตัว : ก. ไม่เอาธุระในการแต่งตัว; ไม่สงวนตัว; ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ก็ว่า; ให้ตัวละครออกแสดงตามวาระ.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-166

(0.0634 sec)