Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องบูชา, เครื่อง, บูชา , then ครอง, ครองบชา, เครื่อง, เครื่องบูชา, บุชา, บูชา, ปูชา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องบูชา, 1661 found, display 601-650
  1. เซลล์ : น. (ชีว) หน่วยชีวิตที่เล็กที่สุด; (ไฟฟ้า) เครื่องสําเร็จที่มีส่วนประกอบ ที่เหมาะสม ซึ่งใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นแหล่งกําเนิดพลังงานเป็นผลให้ เกิดมี กระแสไฟฟ้าขึ้นได้. (อ. cell). เซลล์ทุติยภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องนําไป อัดไฟเสียก่อน แล้วจึงจะนําไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองและแปรสภาพไป แต่อาจทําให้กลับคงคืนสู่สภาพเดิมได้อีก โดยวิธีนําเซลล์ไฟฟ้าไปอัด ไฟใหม่ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์. (อ. secondary cell). เซลล์ปฐมภูมิ น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นําไปใช้ เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ทันที เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบ บางส่วนจะหมดเปลืองไปโดยไม่กลับคงคืนเป็นสภาพเดิมได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย. (อ. primary cell).
  2. แซะ ๑ : ก. เอาเครื่องมือแบน ๆ เช่นตะหลิวหรือเสียมแทงเบา ๆ โดยรอบแล้ว ช้อนขึ้นให้หลุดล่อนจากที่เดิม, โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัด เช่น ต้องคอยแซะให้ทํางานอยู่เรื่อย.
  3. โซเดียมไซคลาเมต : น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H11NHSO3Na ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานกว่านํ้าตาลทรายมาก ใช้เป็นตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่าสารนี้ก่อให้เกิด โรคมะเร็งได้. (อ. sodium cyclamate).
  4. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHCO3 ลักษณะเป็นผงสีขาว ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําให้ขนมมีลักษณะฟูพรุน เช่น ขนมปัง ใช้เป็นองค์ประกอบเคมีในเครื่องดับเพลิง ทางแพทย์ใช้ เป็นตัวลดกรดในกระเพาะอาหาร. (อ. Sodium hydrogen carbonate).
  5. ไซ ๑ : น. เครื่องสานสําหรับดักปลา มีหลายชนิด เช่น ไซมาน ไซตั้ง ไซนอน.
  6. ไซเรน : น. เครื่องส่งสัญญาณเสียงเพื่อเตือนภัย บอกหมดภัย หรือเตือนให้ ยวดยานอื่นหลีกทางให้ เป็นต้น; เสียงที่เกิดจากเครื่องเตือนภัย เรียก เสียงไซเรน. (อ. siren).
  7. ฐานกรณ์ : [ถานกอน] (ไว) น. ที่ตั้งและเครื่องทําให้เกิดเสียงในการพูด.
  8. ดนตรี : น. เสียงที่ประกอบกันเป็นทํานองเพลง, เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทําให้ รู้สึกเพลิดเพลินหรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตาม ทํานองเพลง. (ส. ตนฺตฺรินฺ).
  9. ด้วง ๓ : น. ชื่อเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ทําด้วยกระบอกไม้ยาวประมาณ ๕-๖ เซนติเมตร มีคันยาว ประมาณ ๑ เมตร มีสายห่วงติดกับกระบอกไม้ไผ่ ส่วนล่าง โยงไปผูกติดกับปลายคันมีไม้คํ้าอันหนึ่งเพื่อให้คันโก่ง กับไม้ลิ้น พาดปากกระบอกอีกอันหนึ่งทําหน้าที่เสมือนไก สําหรับดักแย้เป็นต้น. (รูปภาพ ด้วง)
  10. ด้วย : ว. คําแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือ ในทํานองเดียวกันเช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. บ. คํานําหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้หรือเป็นสิ่งที่ใช้เป็น เครื่องกระทํา เช่น ฟันด้วยมีด; ตาม เช่นทําด้วยอารมณ์. สัน. เพราะ, เหตุ, เช่น ด้วยปรากฏว่า.
  11. ดอก ๑ : น. ส่วนหนึ่งของพรรณไม้ที่ผลิออกจากต้นหรือกิ่ง มีหน้าที่ทําให้เกิดผล และเมล็ดเพื่อสืบพันธุ์ มีเกสรและเรณูเป็นเครื่องสืบพันธุ์, เรียกเต็มว่า ดอกไม้; ลวดลายที่เป็นดอกเป็นดวงตามผืนผ้าเป็นต้น; (ปาก) ค่าตอบแทน ที่บุคคลหนึ่งต้องใช้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อการที่ได้ใช้เงินของบุคคล นั้น หรือเพื่อทดแทนการไม่ชําระหนี้หรือชําระหนี้ไม่ถูกต้อง, เรียกเต็มว่า ดอกเบี้ย; ลักษณนามของสิ่งของบางอย่าง เช่น ข้าวโพดดอกหนึ่ง สว่าน หนึ่งดอก.
  12. ดอกไม้จีบ : น. เรียกลายแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จัดเป็นดอกเล็ก ๆ สําหรับประดับที่รังดุมคอพับของเสื้อสากลเบื้องซ้ายแทนเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์, ภาษาปากใช้ว่า ดอกจอก.
  13. ดอกไม้เพลิง, ดอกไม้ไฟ : น. เครื่องสําหรับจุดในงานเทศกาลหรืองานศพ เป็นต้น ทําด้วยกระบอกไม้อ้อหรือไม้ไผ่เป็นต้น บรรจุดินดํา มีชื่อต่าง ๆ กันตามชนิด.
  14. ดอกลำโพง : น. เครื่องช่วยในการขยายเสียง รูปเหมือนดอกลําโพง, เรียก สั้น ๆ ว่า ลําโพง.
  15. ดองยา : ก. แช่เครื่องยาไว้ในของเหลวมีเหล้าเป็นต้น.
  16. ด่อน ๓ : น. เครื่องมือสําหรับแทงช้างเมื่อเวลาขี่ รูปเป็นเดือยแหลม ทําด้วยเหล็ก.
  17. ดอม ๒ : น. เครื่องหอม. ก. ดม, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ดม เป็น ดอมดม หรือ ดมดอม.
  18. ดัก ๑ : ก. คอยสกัด เช่น ดักทําร้าย, วางเครื่องดักสัตว์มีกับเป็นต้น เพื่อให้สัตว์ เข้ามาติด เช่น ดักไก่ ดักนก.
  19. ดักษณะ : [ดักสะนะ] (แบบ) น. เครื่องตัดและกรางสิ่งของ มีมีด พร้า บุ้ง ตะไบ เป็นต้น; การตัด, การปอก, การทอน; ตัวหารเฉพาะ (วิชาเลข). (ส. ตกฺษณ; ป. ตจฺฉน).
  20. ดั้ง ๑ : ด้าง ก็มี; เรียกเสาเรือนเครื่องสับที่ตั้งอยู่กึ่งกลางบนหลังรอดขึ้นไปรับ อกไก่ว่า เสาดั้ง, เรียกเสาที่ตั้งบนขื่อสําหรับรับอกไก่ว่า ดั้งแขวน; เรียก เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบ เรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งไชยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ ก็ได้ ว่า เรือดั้ง; ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและ, ล้อมทัพ ช้างกัน ก็เรียก. ก. ป้องกัน.
  21. ดับ ๑ : ก. สูญสิ้นไป เช่น วิญญาณดับ อนาคตดับ, สิ้นแสง เช่น ไฟดับ เดือนดับ, ทําให้สิ้นแสง เช่น ดับไฟ, ทําให้สิ้น เช่น ดับกิเลส ดับทุกข์, ทําให้ระงับ เช่น ดับโทสะ ดับโมโห, หยุดหรือทําให้หยุด เช่น เครื่องดับ ดับเครื่อง; เรียกวันสิ้นเดือนตามจันทรคติว่า วันดับ.
  22. ดารา : น. ดาว, ดวงดาว; เรียกบุคคลที่แสดงนําหรือมีชื่อเสียงในศิลปะการแสดงใน ทางใดทางหนึ่ง เช่น ดาราภาพยนตร์; เครื่องประกอบราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ ชั้นทวีติยาภรณ์ขึ้นไป มีลักษณะเป็นดาวรัศมี ๘ แฉกบ้าง ๑๖ แฉกบ้าง, ถ้าเป็นดาราจักรี ก็ทําเป็นรูปจักร ๑๐ กลีบ. (ป., ส. ตารา).
  23. ดำนาณ : (แบบ) น. เครื่องห้าม, เครื่องป้องกัน, เครื่องต้านทาน, ที่พึ่ง, ที่อาศัย. (ป. ตาณ; ส. ตฺราณ).
  24. ดำหัว : น. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทําในวันปีใหม่เพื่อเป็นการแสดง ความเคารพนับถือและรักใคร่ วิธีดําหัว คือ เอาสิ่งของและนํ้าที่ใส่เครื่องหอม เช่นนํ้าอบไทยไปให้แก่ผู้ที่เคารพ และขอให้ท่านรดนํ้าใส่หัวของตนเพื่อให้ อยู่เย็นเป็นสุข.
  25. ดิ่ง : ว. แน่ว เช่น เสาต้นนี้ตั้งตรงดิ่ง ทางตรงดิ่ง จมดิ่ง; เรียกโลหะรูปทรง กรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพง เป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่ว่า ลูกดิ่ง; เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬาว่า ลูกดิ่ง; วัตถุ มงคลมีลักษณะคล้ายลูกดิ่งหรือเม็ดมะยมซ้อนกันเป็นต้น สำหรับห้อย สายลูกประคำ พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทาน แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนสติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้พิจารณาให้รอบคอบด้วยวิธีบริกรรมนับลูกประคำ ทำให้มีสติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาได้.
  26. ดินขาว : น. ดินเหนียวบริสุทธิ์ที่มีไฮเดรเตดอะลูมิเนียมซิลิเกตเป็น องค์ประกอบสําคัญ ปรกติมีสีขาว ใช้ทําเครื่องเคลือบดินเผา.
  27. ดินสอ : น. เครื่องเขียนอย่างหนึ่ง ทําด้วยวัตถุต่าง ๆ ชนิดที่ไส้ทําด้วยแกรไฟต์ ผสมดินเหนียว มีไม้หุ้ม เรียกว่า ดินสอ หรือ ดินสอดํา, ถ้าทําจากหินชนวน เรียกว่า ดินสอหิน, ถ้าไส้มีสีต่าง ๆ เรียกว่า ดินสอสี.
  28. ดิเรกคุณาภรณ์ : น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.
  29. ดีด ๒, ดีดขัน ๑ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดในวงศ์ Elateridae ลําตัวยาว แบน เล็กน้อย และเรียวไปทางหาง สีดํา นํ้าตาล หรือเทาปลอด บางชนิดมีจุด เป็นลาย แผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องแรกมีแกนยาวเป็นเครื่องดีด ซึ่ง ยึดโดยร่องของแผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องที่ ๒ ทําให้สามารถดีดตัว กลับได้เมื่อถูกจับให้หงายท้อง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ดีดกะลา คอลั่น.
  30. ดีปลี : [-ปฺลี] น. ชื่อไม้เถา ๓ ชนิดในสกุล Piper วงศ์ Piperaceae คือ ชนิด P. longum L., P. peepuloides Roxb. และ P. retrofractum Vahl มีราก ตามข้อของลําต้นเพื่อยึดเกาะ ผลอัดแน่นเป็นช่อ ทุกส่วนมีกลิ่น โดย เฉพาะผลกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อนใช้เป็นเครื่องเทศและทํายาได้.
  31. ดุม : น. ส่วนกลางของล้อเกวียนหรือล้อรถที่มีรูสําหรับสอดเพลา; เครื่องกลัด ส่วนต่าง ๆ ของเสื้อผ้าไม่ให้แยกออกจากกัน ทําเป็นรูปต่าง ๆ มักมีรังดุม สําหรับขัดหรือบางทีก็ติดเป็นเครื่องประดับ, กระดุม ลูกกระดุม หรือ ลูกดุม ก็เรียก.
  32. ดุริย-, ดุริยะ : น. เครื่องดีดสีตีเป่า. (ป. ตุริย).
  33. ดุริยางค-, ดุริยางค์ : น. เครื่องดีดสีตีเป่า. (ป. ตุริย + องฺค).
  34. ดุริยางคศาสตร์ : [ดุริยางคะ-] น. วิชาว่าด้วยการบรรเลงเครื่องดุริยางค์.
  35. ดุริยางคศิลป์ : [ดุริยางคะ-] น. ศิลปะของการบรรเลงเครื่องดุริยางค์.
  36. เดิน : ก. ยกเท้าก้าวไป; โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อนไปด้วยกําลังต่าง ๆ เช่น นาฬิกาเดิน รถเดิน, ทําให้เคลื่อนไหว เช่น เดินเครื่อง, ทําให้เคลื่อนไป เช่น เดินหมากรุก, คล่องไม่ติดขัด เช่น รับประทานอาหารเดิน สมองเดินดี, นําไปส่ง เช่น เดินข่าว เดินหนังสือ เดินหมาย, ประกอบกิจการขนส่ง เช่น เดินรถ เดินเรือ เดินอากาศ. (ข. เฎีร).
  37. เดินโต๊ะ : ก. ยกอาหารและเครื่องดื่มมาให้ผู้นั่งโต๊ะกิน.
  38. เดือย ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coix lachryma-jobi L. ในวงศ์ Gramineae ลําต้นและ ใบคล้ายต้นข้าวโพด แต่ใบสั้นกว่า ผลกลมหรือยาวรี สีขาว เหลือง หรือ นํ้าเงิน พันธุ์ที่เปลือกหุ้มอ่อนใช้ทําเป็นอาหารและเหล้า พันธุ์ที่เปลือกหุ้ม แข็ง เรียก เดือยหิน ใช้ทําเครื่องประดับ.
  39. โดยปริยาย : ว. โดยอ้อม, โดยผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม, เช่น โดดร่ม ความหมายตรงว่า โดดจากเครื่องบินโดยมีร่มชูชีพเป็นเครื่องพยุง ความหมายโดยปริยายว่า หนีงาน, หนีโรงเรียน.
  40. ตก : ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  41. ตกเบ็ด : ก. หย่อนเบ็ดล่อปลา, โดยปริยายหมายความว่า ล่อให้หลง โดยมีเครื่องล่อ. น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง.
  42. ตง ๑ : น. ไม้เครื่องเรือนที่วางบนรอดหรือคานสําหรับรองพื้นกระดานหรือฟาก.
  43. ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง : น. เครื่องราชบรรณาการที่ทำเป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เป็นคู่ ซึ่งเมืองขึ้นส่งมาถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินทุก ๆ ๓ ปี; เครื่องสักการะ ที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายพระเจ้า แผ่นดินเมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับ พระราชทานตั้งยศ.
  44. ตบะ : น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบําเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). (ป., ส. ตป ว่า ความ เพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).
  45. ตรละ ๒ : [ตะระละ] (แบบ) น. พลอยเม็ดกลางของเครื่องสร้อยคอ, สร้อยคอ; เพชร, เหล็ก; พื้นล่าง, พื้นราบ; ส่วนลึก. ว. กลับกลอก; หวั่นไหว, สั่น. (ป., ส.).
  46. ตรวจการณ์ : ก. ตรวจค้นด้วยสายตาหรือใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าช่วย เพื่อรวบรวมข่าวสารหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในเขตพื้นที่รับผิดชอบ.
  47. ตรวน : [ตฺรวน] น. เครื่องจองจํานักโทษชนิดหนึ่ง เป็นห่วงเหล็ก ใช้สวมขานักโทษ มีโซ่ล่ามถึงกัน.
  48. ตราชู : [ตฺรา-] น. เครื่องชั่งชนิดที่มีถาดชั่งห้อยอยู่ ๒ ข้างคันชั่ง มีตุ้มน้ำหนักบอก นํ้าหนักของของที่ชั่ง.
  49. ตวัก : [ตะหฺวัก] น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทําด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า จวัก หรือ จ่า ก็ว่า.
  50. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1661

(0.1225 sec)