Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: โต๊ะเครื่องแป้ง, เครื่อง, โต๊ะ, แป้ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : โต๊ะเครื่องแป้ง, 1692 found, display 51-100
  1. แป้งมี่ : น. แป้งข้าวสาลี, แป้งสาลี หรือ แป้งหมี่ ก็เรียก.
  2. แป้งสารภี : [-สาระพี] น. แป้งที่เอาเกสรสารภีตําปนกับแป้ง สําหรับทาตัว.
  3. แป้งสิงคโปร์ : น. แป้งมันสําปะหลัง, แป้งมัน ก็เรียก.
  4. แป้งหมัก : น. แป้งขนมจีนที่ทำจากข้าวที่หมักไว้ก่อน, ตรงข้ามกับ แป้งสด.
  5. แป้งหมี่ : น. แป้งข้าวสาลี, แป้งสาลี หรือ แป้งมี่ ก็เรียก.
  6. แป้งเหล้า : [-เล่า] น. แป้งที่เป็นเชื้อสําหรับทําเหล้า.
  7. เครื่องแกง : น. สิ่งที่ใช้ในการปรุงแกง มีพริก กะปิ หอม กระเทียม เป็นต้น.
  8. เครื่องคาด : น. เครื่องรางบางชนิด เช่น ตะกรุด ลูกสะกด ปลัดขิก ใช้ร้อยเชือกสำหรับคาดเอว.
  9. เครื่องเคียง : (ราชา) น. ของเคียง, ของกินที่เอามาตั้งเทียบข้างเพื่อกิน ประกอบกับอาหารบางชนิด.
  10. เครื่องเซ่น : น. ของกินของไหว้ผี.
  11. เครื่องเทศ : น. ของหอมฉุนและเผ็ดร้อนที่ได้มาจากพืช โดยมากมาจาก ต่างประเทศสําหรับใช้ทํายาไทยและปรุงอาหาร เช่น ลูกผักชี ยี่หร่า.
  12. เครื่องบน : น. ตัวไม้ที่เป็นส่วนของหลังคา เช่น ขื่อ จันทัน แป กลอน.
  13. เครื่องบิน : น. อากาศยานชนิดหนึ่งซึ่งหนักกว่าอากาศ ลอยตัวอยู่ได้ ด้วยการให้พลังงานกลแก่อากาศโดยรอบก่อให้เกิดแรงพยุงขึ้นโต้ตอบ กับความโน้มถ่วงของโลกและใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน.
  14. เครื่องบูชา : น. สิ่งที่ใช้บูชาของไทย ใช้ของ ๔ อย่างเป็นสําคัญ คือ ข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน.
  15. เครื่องปรุงรส : น. สิ่งที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร เช่น น้ำตาล น้ำปลา เกลือ.
  16. เครื่องมั่น : น. สัปคับช้างชนิดที่มีศัสตราวุธทั้ง ๒ ข้าง.
  17. เครื่องร่ำ : น. สิ่งที่ใช้อบให้มีกลิ่นหอม เช่น กํายาน.
  18. เครื่องเล่น : น. แหล่เทศน์มหาชาตินอกเรื่องเดิม มักมีทํานองตลกขบขัน หรือเป็นเชิงสั่งสอนเป็นต้น โดยเฉพาะในกัณฑ์ชูชก มหาพน และมหาราช.
  19. เครื่องว่าง : (ราชา) น. ของว่าง, ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย.
  20. เครื่องสะดุ้ง : (โบ) น. นาคสะดุ้ง.
  21. เครื่องสุกำศพ : น. สิ่งของที่ใช้ในการทําสุกําศพ มีผ้าขาว ด้ายดิบ กระดาษฟาง นํ้ายาฟอร์มาลิน.
  22. เครื่องหลัง : น. สัมภาระที่ทหารหรือนักเดินทางเป็นต้นนําติดตัวไป โดยผูกรัดไว้ข้างหลัง.
  23. เครื่องอังทราย : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถาดบรรจุ ทราย ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยวิธีตั้งสิ่งนั้น บนถาดทราย แล้วเผาก้นถาดให้ร้อนจัด. (อ. sand bath).
  24. เครื่องอังน้ำ : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหม้อต้มนํ้า ทําด้วยโลหะ มีฝาเป็นแผ่นวงแหวนขนาดต่างกันหลาย ๆ วงวางซ้อน เหลื่อมกัน ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดย วิธีตั้งสิ่งนั้นบนช่องว่างของแผ่นฝา แล้วต้มนํ้าให้ร้อนเพื่อให้ไอนํ้าร้อน ส่งถ่ายความร้อนให้สิ่งนั้น. (อ. water bath).
  25. แป้งแช่ : (ถิ่น) น. ปลาทุงงะ. (ดู ทุงงะ).
  26. แป้งนวล : น. ผงสีขาวที่ทําด้วยหินปูนเป็นต้น แล้วทําเป็นเม็ด ๆ สําหรับผัดหน้า.
  27. แป้งสิบ : น. ปั้นสิบ.
  28. กระชาเดิม : (โบ) น. ร้านหรือเรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้งและน้ำหอม เป็นต้น.
  29. กวยจั๊บ : น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งที่ใช้ทําเส้นก๋วยเตี๋ยว แต่หั่นเป็นชิ้นใหญ่ ๆ ต้มสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ).
  30. ก๋วยเตี๋ยว : น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า เป็นเส้น ๆ ลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ).
  31. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  32. เกรอะ : [เกฺรอะ] ก. แยกเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำใสหรือส่วนละเอียดที่นอนก้น อยู่ด้วยเครื่องกรองมีผ้าหนาหรือกระดาษฟางเป็นต้น เช่น เกรอะน้ำปลา เกรอะแป้ง. ว. เป็นตะกอนทับถมอย่างของที่นอนก้นซับซ้อนอยู่ เช่น ตะกอนเกรอะ, เขรอะ หรือ เขลอะ ก็ว่า.
  33. ครก : [คฺรก] น. เครื่องใช้ที่มีลักษณะอย่างหลุมสําหรับตําหรือโขลกด้วยสาก, เครื่องใช้ที่ทําด้วยไม้ทั้งท่อนขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ขุดเนื้อในออกให้เป็นหลุมลึก สําหรับตําหรือซ้อมข้าวเป็นต้นด้วยสาก หรือตะลุมพุก เรียกว่า ครกซ้อมมือ, ถ้าใช้ตําด้วยกระเดื่อง เรียกว่า ครก กระเดื่อง; เรียกขนมที่ทําด้วยแป้งกับกะทิหยอดในภาชนะกระเบื้องหรือโลหะ ที่ทําเป็นหลุม ๆ ตั้งบนไฟ ว่า ขนมครก; ชื่อปืนใหญ่ขนาดสั้นใช้สําหรับยิง โดยมีวิถีกระสุนโค้งมาก, เครื่องยิงลูกระเบิด มีลํากล้องขนาดใหญ่และสั้น ผิวลํากล้องเป็นเกลียวหรือเรียบก็ได้ บรรจุลูกระเบิดทางปากกระบอก ใช้สําหรับยิงลูกระเบิดโดยมีวิถีกระสุนโค้งมาก.
  34. ค็อกเทล : น. เครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ใช้เหล้าชนิดต่าง ๆ ผสมกัน ใส่นํ้าแข็ง แล้วเขย่า และอาจใส่นํ้าผลไม้หรือชิ้นผลไม้ เพื่อเพิ่มสีหรือรสให้แปลก ๆ ออกไป นิยมดื่มก่อนอาหาร; อาหารเรียกน้ำย่อยที่กินก่อนอาหารจานหลัก; เรียก งานเลี้ยงแบบหนึ่งที่ไม่นั่งโต๊ะกินอาหารเสิร์ฟเฉพาะเครื่องดื่มและอาหาร ว่าง ว่า งานเลี้ยงค็อกเทล. (อ. cocktail; cocktail party).
  35. เคาน์เตอร์ : น. โต๊ะสําหรับรับจ่ายเงินหรือแสดงสินค้าตามร้านค้าหรือสํานักงาน มักมีลักษณะยาวและสูงกว่าโต๊ะธรรมดา, เครื่องเรือนที่มีลักษณะ เช่นนั้น. (อ. counter).
  36. ชา ๓ : (โบ) น. เรียกร้านหรือเรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้ง และนํ้าหอมเป็นต้น.
  37. โถปริก : [–ปฺริก] น. โถเครื่องแป้งเป็นต้นที่ฝามียอดทําด้วยทองอย่าง หัวแหวนนพเก้า.
  38. ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
  39. แท่นลา : น. แท่นสี่เหลี่ยมที่ทําขึ้นเพื่อเคลื่อนย้ายไปตั้งในพิธีต่าง ๆ ได้ตามประสงค์มีขนาดกว้างยาวพอตั้งพระเก้าอี้และโต๊ะเครื่อง ราชูปโภคเป็นต้น สูงประมาณ ๖-๘ นิ้ว.
  40. บะหมี่ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งสาลี เป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเหลือง ลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ.).
  41. เม่า ๑ : น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตําให้แบนว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่า รางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าว ขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสม น้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรย ด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.
  42. เรือชา : น. เรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้งและน้ำหอมเป็นต้น.
  43. สังเค็ด : น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรมโต๊ะหมู่เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์ หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ เรียกว่า เครื่องสังเค็ด.
  44. หมูแนม : น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือ โขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้ เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรส เปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับ ผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลก หรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วย ข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.
  45. หูช้าง ๑ : น. แผ่นกระดานที่ทําเป็นรูปฉากหรือพัดด้ามจิ้วสําหรับติดกับ มุมสิ่งของ, ชื่อฉากซึ่งเป็นเครื่องมือวัดมุมของช่างไม้; แผ่นกระจกหรือ พลาสติกที่รถยนต์เป็นรูปคล้ายหูช้าง สําหรับเปิดรับลมหรือระบายลม; ชื่อขนมชนิดหนึ่งปรุงด้วยแป้งกับนํ้าตาลทำเป็นแผ่น ๆ.
  46. กินโต๊ะ : ก. กินเลี้ยงด้วยอาหารอย่างดีแบบนั่งโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า รุมทําร้าย.
  47. เข้าเครื่อง : ก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสําคัญ ๆ; คําพูด สําหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้า ตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียง เข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง.
  48. ฉกรรจ์ลำเครื่อง : (โบ) น. ทหารที่เลือกคัดและแต่งเครื่องรบพร้อมที่จะ เข้ารบได้ทันทีเช่น พลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย. (พงศ. เลขา).
  49. ช่างเครื่อง : น. ผู้ควบคุมเครื่อง.
  50. ดับเครื่อง : ก. ทําให้เครื่องยนต์เครื่องกลไกเป็นต้นหยุด, ถ้าเครื่องยนต์ เครื่องกลไกเป็นต้นหยุดเอง เรียกว่า เครื่องดับ.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1692

(0.0534 sec)