Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ระ , then , ระ, รา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ระ, 1697 found, display 1551-1600
  1. ปราสัย : [ปฺราไส] ก. ปราศรัย.
  2. ปราสาท : [ปฺราสาด] น. เรือนมียอดเป็นชั้น ๆ สําหรับเป็นที่ประทับของ พระเจ้าแผ่นดินหรือเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปฺราสาท; ป. ปาสาท).
  3. ปรี่ : [ปฺรี่] ก. รี่ เช่น ปรี่เข้าใส่. ว. เกือบล้น ในลักษณะเช่นนํ้าเต็มจนเกือบล้น มิล้นแหล่, ริน ๆ เช่น ไหลปรี่.
  4. ปะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้มีอาการ ปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมปะกัง, ตะกัง ก็ว่า.
  5. ปัจจามิตร : น. ข้าศึก, ศัตรู. (ส. ปจฺจามิตฺร; ป. ปจฺจามิตฺต).
  6. ปัตคาด : [ปัดตะคาด] น. ชื่อเส้นในร่างกายของคน ในตําราหมอนวดว่า ตั้งแต่ท้องน้อยถึงโคนขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง.
  7. ปัตนิ, ปัตนี : [ปัดตะหฺนิ, -นี] น. หญิงแม่เรือน, เมีย. (ในตําราหมอดูว่า เนื้อคู่). (ส.; ป. ปตานี).
  8. ปาจนะ : ปาจะ-] (แบบ) น. ประตัก. (ป.; ส. ปฺราชน).
  9. ปาจรีย์, ปาจารย์ : [ปาจะรี, ปาจาน] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป.; ส. ปฺราจารฺย = ปฺราคต + อาจารฺย).
  10. ปาทุกา : (แบบ) น. รองเท้า, เขียงเท้า, เขียนเป็น บราทุกรา หรือ ปราทุกรา ก็มี. (ป., ส.).
  11. ป่าน : น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เปลือกเป็น ใยเหนียว ใช้ทอผ้าและทําเชือก เช่น ป่านรามี [Boehmeria nivea (L.) Gaudich.] ในวงศ์ Urticaceae, ป่านมนิลา (Musa textilis L.) ในวงศ์ Musaceae; เชือกที่ทําด้วยป่าน, ถ้าใช้ชักว่าวเรียกว่า ป่านว่าว, ถ้าเป็นเส้นเล็กเรียกว่า ป่านแลบ, ถ้ายังเป็นกาบอยู่ ยัง ไม่ได้ฟั่นเชือกเรียกว่า ป่านกลีบ; ชื่อผ้าเนื้อละเอียดและบางโปร่ง ที่ทอจากเส้นใยพืชบางชนิด เรียกว่า ผ้าป่าน.
  12. ปานดง : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่ามีอาการ เจ็บปวดแล่นไปตามผิวหนัง.
  13. ปาวาร : [ปาวาน] (แบบ) น. ผ้าห่มใหญ่. (ป.; ส. ปฺราวาร).
  14. เปรมปรา : [-ปฺรา] (กลอน) ตัดมาจาก เปรมปราโมทย์.
  15. เปรา : [เปฺรา] (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อปีนักษัตรของไทยเหนือ ตรงกับ ปีฉลู, คําเดียวกับ เป๊า.
  16. เปลี่ยวดำ : น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเกิดจากความ เย็นมาก, เกลี่ยวดํา ก็ว่า.
  17. ผสาย : [ผะ] ก. กระจาย, เรียงราย, เช่น ตรีมุขสิงหาสน์แก้ว กรองผสาย. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ข. ผฺสายร).
  18. ผัสสาหาร : น. อาหารคือผัสสะ หมายเอาการประจวบกันแห่ง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยแห่ง เจตสิกอันจะพึงเกิดโดยวิถีมีเวทนาเป็นต้น เป็นประการหนึ่ง ในอาหารทั้ง ๔ (อีก ๓ อย่าง คือ กวลิงการาหาร อาหารคือ คําข้าว ๑ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ๑ และ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ ๑). (ป.).
  19. แผ่กระจาด : (ปาก) ก. นอนแผ่เต็มที่ เช่น ลงไปแผ่กระจาดอยู่บนร้าน ข้างโรงยี่เกแล้ว. (รัตนทวารา).
  20. ฝีหมอบ : ดู พญารากดํา.
  21. พยุหบาตร : (โบ), พยุหบาตรา [บาด, บาดตฺรา] (กลอน) น. กระบวนทัพ.
  22. พยุหร : [พะยุหอน] น. เกณฑ์เลขผลหารของวิธีฉวาง. (ศัพท์ใช้ในตํารา เลขโบราณ).
  23. พรหมชาติ : น. ชื่อตําราหมอดู.
  24. พรหม, พรหม : [พฺรม, พฺรมมะ] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลกจําพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จําพวกไม่มี รูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้นตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอน ใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหาร ทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหม ของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).
  25. ระบท : น. ตําราหมอดูโบราณสําหรับใช้เสี่ยงทายโดยวิธีเอาไม้แทง.
  26. ระราชกฤษฎีกา : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน.
  27. พาเหียร : ว. ภายนอก. (ป. พาหิร).
  28. พำลา : น. เรียกช้างซึ่งมีลักษณะอันชั่วร้ายชนิดหนึ่ง ตําราไม่ให้เอามาใช้ เป็นพาหนะ.
  29. พิจิตร : ว. ต่าง ๆ, หลายหลาก; งาม, น่าดู. (ส. วิจิตฺร; ป. วิจิตฺต).
  30. พิชัยสงคราม : น. ตําราว่าด้วยกลยุทธ์, ตําราว่าด้วยวิธีการเอาชนะ ในสงคราม.
  31. เพชรายุธ : [เพ็ดชะรายุด] น. อาวุธเพชรของพระอินทร์, ชื่อหนึ่งของ พระอินทร์. (ส. วชฺร + อาวุธ).
  32. เพรา ๑ : [เพฺรา] น. เวลาเย็น เช่น เกลออย่ากินเข้าเพราเลย เกลออดเข้าเพรา ให้เถิงรุ่ง. (ไตรภูมิ); มื้อ.
  33. เพรา ๒ : [เพฺรา] ว. งาม, น่าดู. เพราพริ้ง, เพราเพริศ ว. สวยงาม, พริ้งเพรา ก็ว่า.
  34. แพทยศาสตร์ : [แพดทะยะ, แพด] น. ตําราหมอ; วิชาการป้องกัน และบําบัดโรค.
  35. ไพจิตร : [จิด] ว. งาม; แตกต่าง, หลายหลาก. (ป. วิจิตฺร; ส. วิจิตฺร, ไวจิตฺรฺย).
  36. ภัตตาคาร : ดู ภัต, ภัต–, ภัตร.
  37. ภัตตาหาร : ดู ภัต, ภัต–, ภัตร.
  38. ภัสตรา : [พัดสะตฺรา] (แบบ) น. สูบลม. (ส.).
  39. มกราคม : [มะกะรา-, มกกะรา-] น. ชื่อเดือนที่ ๑ ตามสุริยคติ มี ๓๑ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๐ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ป. มกร + อาคม).
  40. มโนราห์ ๑ : น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารํา อย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.
  41. มหาโชตรัต : [มะหาโชตะรัด] น. ชื่อตําราแพทย์แผนโบราณว่าด้วยระดูสตรี.
  42. มหาสดมภ์ : [มะหาสะดม] น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่งตามตําราแพทย์แผนโบราณซึ่งอาจทําให้ขากรรไตรแข็ง.
  43. มหาสาวก : น. พระสาวกชั้นผู้ใหญ่ของพระพุทธเจ้า ๘๐ องค์ ซึ่งรวมพระอัครสาวกทั้ง ๒ องค์ เข้าไว้ในจํานวนนั้นด้วย. (ป.; ส. มหาศฺราวก).
  44. มะงุมมะงาหรา : [-หฺรา] ก. เที่ยวป่า เช่น ก็จะพาดวงใจไคลคลา ไปมะงุมมะงาหรา สำราญ. (อิเหนา). (ช.); (ปาก) ก. อาการที่ดั้นด้นไปโดยไม่รู้ทิศทาง, โดยปริยายหมายถึงงุ่มง่าม.
  45. มัตตา : น. มาตรา. (ป. มตฺต; ส. มาตฺรา).
  46. มันปลา : ดู กันเกรา.
  47. มิคสัญญี : น. ชื่อยุคหนึ่งที่มีแต่รบราฆ่าฟันเบียดเบียนกัน. (ป.).
  48. มินตรา : [-ตฺรา] น. ต้นกระถิน. (ช.).
  49. มุขยประโยค : น. ชื่อประโยคในตําราไวยากรณ์ได้แก่ ประโยคที่มี ประโยคอื่นเป็นส่วนขยาย.
  50. มุททา : [มุด-] น. ตรา, พิมพ์, เครื่องสําหรับตีตรา, เครื่องหมาย; แหวน, แหวนตรา. (ป. มุทฺทา; ส. มุทฺรา, มุทฺริกา).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | [1551-1600] | 1601-1650 | 1651-1697

(0.0987 sec)