Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ระ , then , ระ, รา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ระ, 1697 found, display 951-1000
  1. ละหมาด : น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการนมัสการในศาสนาอิสลามเพื่อชําระจิตใจ ให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติวันละ ๕ เวลา, นมาซ ก็เรียก.
  2. ลาก : ก. ทําให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไป โยงไป เช่น ลากเกวียน ม้าลากรถ กระโปรงยาวลากดิน; โดยปริยาย หมายความว่า ใช้อย่างสมบุกสมบัน, ใช้ถูไถ, เช่น เอาผ้าซิ่นไหม มานุ่งลากอยู่กับบ้าน. ว. ที่ทำให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไปโยงไป เช่น รถลาก.
  3. ล้าง : ก. ทําให้หมดสิ้นไปโดยใช้สิ่งเช่นนํ้าหรือไฟเป็นต้น และมีกรรมวิธี ต่าง ๆ เช่น กวาดล้าง ชะล้าง ชําระล้าง ล้างกลิ่น ล้างคาว ล้างถู, โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฆ่าล้างโคตร สงคราม ล้างชาติ.
  4. ลาภมิควรได้ : (กฎ) น. ทรัพย์ที่บุคคลได้มาเพราะบุคคลอีกคนหนึ่ง กระทําเพื่อชําระหนี้ หรือได้มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้ มีมิได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว หรือได้มา เพราะประการอื่น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็น ทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ.
  5. ลายน้ำ : น. ลวดลายหรือภาพในเนื้อกระดาษที่ทําขึ้นพร้อม ๆ กับ กระดาษจะมองเห็นได้ชัดเมื่อยกกระดาษนั้นขึ้นส่องกับแสงสว่าง.
  6. ลำปำ : (ถิ่น–ปักษ์ใต้) น. ปลากระแห. (ดู ระแห, ระแหทอง).
  7. ลิ้นกับฟัน : (สำ) น. การกระทบกระทั่งกันบ้างแต่ไม่รุนแรงของคน ที่ใกล้ชิดกัน เช่น ระหว่างสามีกับภรรยาหรือคนที่ทำงานร่วมกัน.
  8. ลิเภา : น. ชื่อเฟินเถาหลายชนิดในสกุล Lygodium วงศ์ Schizaeaceae เปลือกเถาใช้สานเป็นกระเป๋าและเครื่องใช้อื่น ๆ เช่น ชนิด L. circinatum (Burm.f.) Sw., L. salicifolium Presl, ย่านลิเภา หญ้าลิเภา หรือ หญ้ายายเภา ก็เรียก.
  9. ลิ่ว ๑ : ก. เคลื่อนไปโดยเร็วจากตํ่าไปหาสูง หรือจากใกล้ไปหาไกล, เคลื่อนไปโดยเร็วด้วยอํานาจกระแสลมหรือกระแสนํ้า. ว. อาการ ที่ตรงเข้ามาหรือออกไปในลักษณะเช่นนั้น เช่น ตรงลิ่วเข้าไป.
  10. ลูกฟัก : น. แผ่นกระดานที่ใส่ในกรอบบานประตูหน้าต่างเป็นต้น ของเรือนฝากระดานแบบทรงไทย.
  11. ลูกหลง : น. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้าง อยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่น ซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับ เคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มี เจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไป หมอบกับพื้นเวที.
  12. เลขาธิการ : น. ผู้ดํารงตําแหน่งบริหารระดับสูงตําแหน่งหนึ่ง เช่น เลขาธิการสหประชาชาติ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน เลขาธิการ รัฐสภา เลขาธิการสมาคม. (ส. เลขาธิการี ว่า เสมียนของพระเจ้า แผ่นดิน).
  13. เล่นการพนัน : ก. ลักษณะการกระทำที่เสี่ยงต่อการแพ้ชนะหรือ ได้เสียโดยใช้เงินเป็นต้นเป็นเดิมพัน เช่นในการเล่นไพ่เล่นม้า.
  14. เลีย : ก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟ ที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือด ไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผม ตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยา ประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้ง เลียขาเพื่อให้นายรัก.
  15. โลกอุดร, โลกุตระ : [โลกอุดอน, โลกุดตะระ] ว. เหนือโลก, พ้น วิสัยของโลก. (ป., ส. โลก + อุตฺตร). โลกัตถจริยา
  16. โลกาภิวัตน์ : น. การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลก ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจาก สิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนา ระบบสารสนเทศเป็นต้น. (ป. โลก + อภิวตฺตน; อ. globalization).
  17. โลกุตรภูมิ : [โลกุดตะระ–] น. ภูมิที่พ้นจากโลก; ระดับจิตใจของ พระอริยบุคคล.
  18. โลกุตร–, โลกุตระ : [โลกุดตะระ] ว. เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, เช่น โลกุตรธรรม เรื่องโลกุตระ.
  19. ไล่เบี้ย : ก. ไล่เลียงหาคนทำผิดตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว; (กฎ) เรียกร้องให้รับผิดในการชําระหนี้ย้อนขึ้นไปเป็นลําดับ, โดยปริยาย หมายถึงการกระทําในลักษณะเช่นนั้น.
  20. วร : [วะระ, วอระ] น. พร; ของขวัญ. ว. ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, เลิศ. (ป., ส.).
  21. วรณะ : [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.).
  22. วรทะ : [วะระทะ, วอระทะ] น. การให้พร. (ป.).
  23. วรทาน : [วะระทาน, วอระทาน] น. การให้พร. (ป.); การให้ของขวัญ แก่เจ้าบ่าว. (ส.).
  24. วรมหาวิหาร : [วอระ] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดตํ่าสุด ว่าชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ วัดพระธาตุพนม, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิด ราชวรวิหาร ว่า ชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดจักรวรรดิ วัดระฆัง.
  25. วรวิหาร : [วอระ] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดตํ่าสุดว่า ชั้นโทชนิดวรวิหาร เช่น วัดบพิตรพิมุข วัดอนงคาราม, เรียกพระ อารามหลวงชั้นตรีชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรวิหาร ว่า ชั้นตรีชนิดวรวิหาร เช่น วัดราชนัดดา วัดเทพธิดา.
  26. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  27. วรูถะ : [วะระ, วอระ] น. พร; ของขวัญ. ว. ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, เลิศ. (ป., ส.).
  28. วัชร, วัชระ : [วัดชะระ] น. วชิระ. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
  29. วัตรปฏิบัติ : [วัดตฺระ] น. การปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามศีล.
  30. วัตร, วัตร : [วัด, วัดตฺระ] น. กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตรอุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
  31. ว่าความ : ก. (กฎ) ว่าต่างหรือแก้ต่างแทนคู่ความในคดี; (โบ) ชําระความ เช่น ท้าวมาลีวราชว่าความ.
  32. วางเงิน : ก. ชําระเงินตามเงื่อนไขที่มีต่อกัน เช่น วางเงินมัดจำ.
  33. วิกัป : [กับ] น. การใคร่ครวญอย่างไม่แน่ใจ; คําแสดงความหมาย ให้เลือกเอาอย่างใดอย่าง หนึ่ง. ก. กำหนด; ให้, ฝาก (ตามพระวินัยบัญญัติ). (ป. วิกปฺป; ส. วิกลฺป).
  34. วิ่งกระโดดข้ามรั้ว, วิ่งข้ามรั้ว : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขัน ต้องวิ่งเร็วแล้วกระโดดข้ามรั้วที่วางไว้เป็นระยะ ๆ ตามเส้นทางที่ กําหนดไว้ ใครถึงหลักชัยก่อนถือว่าชนะ.
  35. วิจรณะ : [จะระ] ก. เที่ยวไป. (ป.).
  36. วิจารณญาณ : [วิจาระนะยาน] น. ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผล ที่ถูกต้องได้.
  37. วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  38. วิจิตรตระการตา : [จิดตฺระ] ว. งามน่าตื่นตา เช่น ขบวนแห่รถ บุปผชาติประดับประดาได้วิจิตรตระการตา.
  39. วิจิตรศิลป์ : [จิดตฺระสิน, จิดสิน] น. ศิลปะที่มุ่งแสดงในด้าน คุณภาพของความงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอย.
  40. วิทยุติดตามตัว : น. การกระตุ้นเตือนผู้พกพาเครื่องรับวิทยุที่ใช้ ติดตัวโดยทางคลื่นวิทยุ ซึ่งกระทำผ่านข่ายโทรศัพท์สาธารณะ การกระตุ้นเตือนอาจประกอบด้วยเสียงพูดหรือรหัสที่มองเห็นได้ ซึ่งส่งมาจากผู้กระตุ้นเตือนหรือจากข่ายโทรศัพท์สาธารณะ.
  41. วิปการ, วิประการ : [วิปะกาน, วิปฺระกาน] ก. ผิดฐานะ, ไม่เหมาะสม. (ป. วิปฺปการ; ส. วิปฺรการ ว่า ประทุษร้าย, แก้แค้น).
  42. วิปฏิสาร, วิประติสาร : [วิบปะติสาน, วิปฺระ] น. ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ, (ภายหลังที่ได้กระทําผิด หรือเนื่องด้วยการกระทําผิด). (ป. วิปฺปฏิสาร; ส. วิปฺรติสาร).
  43. วิปโยค, วิประโยค : [วิบปะโยก, วิปฺระโยก] น. ความพลัดพราก, ความกระจัดกระจาย, ความจากกัน. ว. เศร้าโศก เช่น วันวิปโยค แม่น้ำวิปโยค. (ป. วิปฺปโยค; ส. วิปฺรโยค).
  44. วิประลาป, วิปลาป : [วิปฺระลาบ, วิบปะ] น. การพูดเพ้อ, การพูดพรํ่า; การทุ่มเถียง, การโต้ตอบ; การอ้อนวอน, การพรํ่าบ่น. (ป. วิปฺปลาป; ส. วิปฺรลาป).
  45. วิประวาส, วิปวาส : [วิปฺระวาด, วิบปะ] น. การพลัดพราก, การจากไป, การไปอยู่ ที่อื่น. (ป. วิปฺปวาส; ส. วิปฺรวาส).
  46. วิรมณะ : [วิระมะ] น. การงดเว้น, การตัดความยินดี. (ป.).
  47. วิหาร, วิหาร : [วิหาน, วิหาระ] น. วัด, ที่อยู่ของพระสงฆ์; ที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป, คู่กับ โบสถ์; การพักผ่อน เช่น ทิวาวิหาร ว่า การพักผ่อน ในเวลากลางวัน. (ป., ส.).
  48. วีรบุรุษ : [วีระบุหฺรุด] น. ชายที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ. (ส. วีรปุรุษ). วีรสตรี [วีระสัดตฺรี] น. หญิงที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ.
  49. เวรกรรม : [เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนใน อดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.
  50. แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | [951-1000] | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1697

(0.1108 sec)