Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รา , then , ระ, รา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รา, 1697 found, display 1001-1050
  1. ตระมื่น : [ตฺระ-] (กลอน) ว. สูงใหญ่, ทะมื่น ก็ใช้.
  2. ตระลาการ : [ตฺระ-] (โบ) น. ตําแหน่งพนักงานศาลผู้มีหน้าที่ชําระเอาความเท็จจริง.
  3. ตระวัน : [ตฺระ-] (กลอน) น. ตะวัน, ดวงอาทิตย์.
  4. ตระเว็ด : [ตฺระเหฺว็ด] น. รูปเทพารักษ์ที่ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า, ใช้ว่า เจว็ด หรือ เตว็ด ก็มี.
  5. ตระเวน : [ตฺระ-] ก. ไปทั่ว ๆ รอบบริเวณ เช่น ตระเวนป่า พาตระเวนไปทั้งวัน, เที่ยว ตรวจตรา เช่น พลตระเวน, พาไปทั่ว ๆ เพื่อประจาน ในความว่า นํานักโทษ ตระเวนไปทั่วเมือง, ใช้ว่า กระเวน ตะเวน หรือ ทะเวน ก็มี.
  6. ตระสัก : [ตฺระ-] (กลอน) ว. งามสง่า; ไพเราะ.
  7. ตระหง่อง, ตระหน่อง : [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คําหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
  8. ตระอร : [ตฺระออน] ก. ทําให้ชอบใจ; ประคับประคอง เช่น เกื้อกามตระอร. (กฤษณา).
  9. ตระอาล : [ตฺระอาน] (กลอน) ว. หวั่นไหว เช่น พยงแผ่นดินบตระอาล. (ม. คําหลวง กุมาร). (ข. ตรฺอาล ว่า ยินดี, สบายใจ).
  10. ตระโอม : [ตฺระ-] (กลอน) ก. โอบกอด.
  11. ตรีญาณรส : [-ยานนะรด] น. รสสําหรับรู้ ๓ อย่าง คือ ไส้หมาก รากสะเดา เถา บอระเพ็ด.
  12. ตรีทุรวสา : น. ของแก้มันเหลวเสีย ๓ อย่าง คือ เมล็ดโหระพา ผลกระวาน ผลราชดัด.
  13. ตรีเนตร : น. ชื่อหนึ่งของพระอิศวร แปลว่า ผู้มีนัยน์ตา ๓ ตา โบราณมักเรียกว่า พระอินสวน และเขียนเป็น พระอินศวร ต่อมาจึงใช้เพี้ยนไป หมายถึง พระอินทร์. (ส. ตฺริเนตฺร).
  14. ตะกรน ๑ : [-กฺรน] น. อุปกรณ์ของเครื่องทอผ้า ใช้อย่างกระสวย แต่เป็นกระบอกมีหลอดด้าย อยู่ข้างใน.
  15. ตะขาบ ๓ : น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
  16. ตะคร้ำ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garuga pinnata Roxb. ในวงศ์ Burseraceae ดอกออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลเล็ก เป็นร่องตามยาว.
  17. ตะเคียน, ตะเคียนทอง : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Hopea odorata Roxb. ในวงศ์ Dipterocarpaceae เนื้อไม้แข็ง ใช้เลื่อยเป็นกระดาน และขุดทําเรือ.
  18. ตะพัก : น. ที่ราบใต้น้ำข้างตลิ่ง มีลักษณะเป็นขั้น ๆ แคบ ๆ ลดต่ำลง เกิดจากแผ่นดิน สูงขึ้นหรือ ต่ำลงเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากถูกคลื่นเซาะ อาจสูงหลายเมตร ก็ได้; ตะกอนที่ทับถมในทะเล เป็นรูปขั้นบันได, ผาชันในทะเลที่ถูกคลื่นกัดเซาะ ขยายตัวออกไปจนเป็นลาน ซึ่งเรียกว่า ลานตะพักคลื่นเซาะ; โขดหินหรือ ไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้, ใช้ว่า กระพัก ก็มี, เช่น บ้างก็เป็นกระพัก กระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  19. ตะโพก : น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อ ส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, สะโพก ก็ว่า.
  20. ตันตระ ๑ : [-ตฺระ] (แบบ) น. ส่วนสําคัญ, หัวข้อ, คําสอน. (ส.).
  21. ตันตระ ๒ : [-ตฺระ] น. ลัทธิฮินดูยุคหลัง ว่าด้วยพิธีกรรมเพื่อบูชาพระศิวะและศักติของพระองค์; ชื่อคัมภีร์หนึ่งในลัทธิตันตระ.
  22. ถ่านไฟฉาย : น. เซลล์ไฟฟ้าชนิดปฐมภูมิ มีรูปทรงกระบอกขนาด เล็กภายในบรรจุผงคาร์บอน แมงกานีสไดออกไซด์ ซิงก์คลอไรด์ แอมโมเนียมคลอไรด์ ซึ่งผสมนํ้าให้มีลักษณะคล้ายแป้งเปียกหุ้ม อยู่รอบแท่งคาร์บอนซึ่งเป็นขั้วบวก ภายนอกหุ้มด้วยกระบอก สังกะสีซึ่งเป็นขั้วลบ ตอนปากของกระบอกสังกะสีมีครั่งหุ้มปิด ไว้ เหลือแต่หมวกโลหะที่ครอบแท่งคาร์บอนเท่านั้นที่โผล่พ้น พื้นครั่งขึ้นมา ใช้ใส่ในไฟฉาย วิทยุ เป็นต้น.
  23. ถาวร, ถาวร : [วอน, วอระ, วะระ] ว. มั่นคง, ยั่งยืน, คงทน. (ป.).
  24. ถาวรวัตถุ : [ถาวอระวัดถุ, ถาวอนวัดถุ] น. สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อให้มั่นคง ยั่งยืน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ. (ป.).
  25. ถูปารหบุคคล : [–ระหะ–] น. บุคคลที่ควรนํากระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา ได้แก่ พระพุทธเจ้าเป็นต้น. (ป.).
  26. เถร, เถร-, เถระ : [เถน, เถระ-] น. พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกําหนดว่า พระมีพรรษา ตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป เรียกว่า พระเถระ. (ป.).
  27. ไถ่ ๑ : (กฎ) ก. ชําระหนี้เพื่อถอนคืนทรัพย์สินที่จํานําไว้; ซื้อทรัพย์สินที่ขาย ฝากไว้คืนภายในกําหนดเวลา; ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์เพื่อแลก เปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง.
  28. ไถ่ถอน : (กฎ) ก. ชําระหนี้เพื่อปลดเปลื้องพันธะในทรัพย์สินที่จํานอง ไว้ให้หลุดจากการเป็นประกัน.
  29. ไถ่บาป : ก. ช่วยให้พ้นบาป (ใช้แก่พระเยซูที่อุทิศชีวิตช่วยมนุษย์ให้พ้น บาปตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า โดยยอมถูกตรึงไม้กางเขน); (ปาก) ชดใช้ในสิ่งที่เคยทำไม่ดีไว้.
  30. ทบวง : [ทะ-] (กฎ) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งโดย สภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นกระทรวง อาจสังกัดหรือไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงก็ได้; ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง แต่เรียกชื่อว่า ทบวง เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย.
  31. ทร- : [ทอระ-] คําอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).
  32. ทรงกระเทียม : [ซง-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Eleocharis dulcis (Burm.f.) Hensch. var. dulcis ในวงศ์ Cyperaceae ลําต้นกลม มีกาบบาง ๆ หุ้มที่โคน ดอกเป็นกระจุก มีหัวกินได้.
  33. ทรทึง ๑ : [ทฺระ-] (กลอน) ก. คอยท่า, ห่วงใย, ทรรทึง ก็ใช้. (ข.).
  34. ทรทึง ๒ : [ทฺระ-] (กลอน) ก. บ่น, บ่นถึง, ทรรทึง ก็ใช้.
  35. ทรนาว, ทระนาว : [ทอระ-] ว. ระนาว, มากมาย, เช่น พบโพหนึ่งในไพรสณฑ์ สาขานฤมล แลลำทรนาวสาวสาร. (สมุทรโฆษ), งั่วนาวทรนาวเนก กรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คำหลวง จุลพน).
  36. ทรพี ๑ : [ทอระ-] น. เครื่องตักข้าวและแกงมีรูปร่างคล้ายช้อน แต่ใหญ่กว่า ทําด้วยทองเหลืองเป็นต้น, ทัพพี ก็ว่า. (ส. ทรฺวี; ป. ทพฺพิ).
  37. ทรพี ๒ : [ทอระ-] น. เรียกลูกที่ไม่รู้คุณพ่อแม่ว่า ลูกทรพี. ว. เนรคุณถึง ประทุษร้ายพ่อแม่.
  38. ทรมาน : [ทอระมาน] ก. ทําให้ลําบาก, ทําทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์, ทําให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลง. น. ชื่อปางพระพุทธรูปที่ขึ้นต้น ด้วยคํานี้ เช่นว่า ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ปางทรมานพญานาค. (ป., ส. ทมน).
  39. ทรมุก : [ทอระ-] น. กรักขี เช่น ทรมุกพรรณดวงจาวก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  40. ทรเล่ห์ : [ทอระ-] ก. เฉียดหลังนํ้า เช่น ทุงทองทรเล่ห์สระทรหวล. (ม. คําหลวง มหาพน).
  41. ทรวาร : [ทอระวาน] (กลอน) น. ประตู เช่น ตื่นนอนใครแลมาเทงทรวาร. (ม. คําหลวง กุมาร).
  42. ทรสองทรสุม : [ทอระสองทอระสุม] (กลอน) ก. ซ่องสุม, ประชุมกัน, เช่น ดูทรสองทรสุมผกา. (ม. คําหลวง มหาพน).
  43. ทรสาย : [ทอระ-] (กลอน) น. พุ่มไม้. ว. สยาย, รุงรัง, เช่น ทรสายกิ่งชื้อชัฏ. (ม. คําหลวง จุลพน), ใช้เข้าคู่กับคำ ทรสุม เป็น ทรสายทรสุม ก็มี เช่น กิ่งทรสายทรสุมผกา. (ม. คําหลวง มหาพน).
  44. ทรสุม : [ทอระ-] (กลอน) ว. ซึ่งสุมกัน, เป็นกลุ่ม, เป็นพุ่ม, เป็นช่อ, เช่น ไม้ทรสุมสมกิ่งวันนี้. (ม. คําหลวง กุมาร), ใช้เข้าคู่กับคำ ทรสาย เป็น ทรสุมทรสาย ก็มี เช่น ใบทรสุมทรสายศาล. (ม. คําหลวง จุลพน).
  45. ทรหด : [ทอระ-] ว. อดทน, บึกบึน, ไม่ย่อท้อ, (มักใช้แก่กริยาสู้).
  46. ทรหน : [ทอระ-] (กลอน) น. ทางลําบาก, ทางกันดาร.
  47. ทรหวล : [ทอระ-] (กลอน) ว. พัดหอบเอาไป.
  48. ทรหึง : [ทอระ-] (กลอน) ว. นาน; เสียงเอ็ดอึง.
  49. ทรหึงทรหวล : [ทอระหึงทอระหวน] (กลอน) ว. เสียงดังปั่นป่วน เช่น ทรหึงทรหวลพะ พานพัด หาวแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  50. ทรหู, ทรฮู : [ทอระ-] (กลอน) ก. ดิ้นรนอยากรู้, ร้องดัง, เช่น ในเมื่อกูไห้ ทรหูรํ่าร้อง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1697

(0.1075 sec)