Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รา , then , ระ, รา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รา, 1697 found, display 1201-1250
  1. ประทุฐจิต : [ปฺระทุดถะจิด] น. จิตร้าย, จิตโกรธ.
  2. ประทุมรา : [ปฺระทุมมะราก] น. ปัทมราค, พลอยสีแดง, ทับทิม, เช่น แขกเต้าตาก ปีกปาก ประทุมราคแดงฉัน. (เสือโค). (ป. ปทุมราค; ส. ปทฺมราค).
  3. ประทุษ : [ปฺระทุด] ก. ทําร้าย, ทําชั่ว, ทําเลวทราม, ทําผิด, เบียดเบียน. (ส.).
  4. ประทุษฏจิต, ประทุษฐจิต : [ปฺระทุดตะจิด, ปฺระทุดถะจิด] น. จิตร้าย, จิตโกรธ.
  5. ประทุษร้าย : [ปฺระทุดสะ-] ก. ทําให้บาดเจ็บ เช่น ประทุษร้ายร่างกาย, ทําให้เสียหาย เช่น ประทุษร้ายทรัพย์สิน; (กฎ) ทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุ ให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ.
  6. ประเทศรา : [ปฺระเทดสะราด] น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่อง ราชบรรณาการถวายเป็นประจํา และในเวลาเกิดศึกสงครามต้อง เกณฑ์กําลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย.
  7. ประธานาธิบดี : [ปฺระทานาทิบอดี, ปฺระทานาทิบบอดี] น. ประมุขของประเทศ ที่ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ.
  8. ประนอมหนี้ : (กฎ) ก. การที่ลูกหนี้ขอทําความตกลงในเรื่องหนี้สิน โดยวิธีขอชําระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือโดยวิธีอื่น.
  9. ประนัปดา : [ปฺระนับดา] น. เหลน (คือ ลูกของหลานปู่). (ส. ปฺรนปฺตฺฤ; ป. ปนตฺตา)
  10. ประแปร้น : [ปฺระแปฺร้น] ว. เสียงอย่างเสียงช้างร้อง, เสียงที่แผดออก.
  11. ประพาต : [ปฺระพาด] ก. พัด, กระพือ. (ส. ปฺรวาต).
  12. ประพาส : [ปฺระพาด] (ราชา) ก. ไปต่างถิ่นหรือต่างแดน เช่น ประพาสหัวเมือง ประพาสยุโรป, ไปเที่ยว เช่น ประพาสป่า. (ส.).
  13. ประพาสมหรณพ : [ปฺระพาดมะหอระนบ] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  14. ประพาฬ : [ปฺระพาน] น. รัตนะ (แก้ว) ชนิดหนึ่ง สีแดงอ่อน เกิดจาก หินปะการังใต้ทะเล. (ป. ปวาฬ).
  15. ประพิณ : [ปฺระพิน] ว. ฉลาด, มีฝีมือดี. (ส. ปฺรวีณ).
  16. ประแพร่งประแพรว : [ปฺระแพฺร่งปฺระแพฺรว] ว. งามแพรวพราย.
  17. ประโพธ : [ปฺระโพด] น. การตื่นจากหลับ คือมีสติ; การรู้ทั่ว. (ป. ปโพธ; ส. ปฺรโพธ).
  18. ประภัสสร : [ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสง พระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตร สุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).
  19. ประภาพ : [ปฺระพาบ] น. อํานาจ, ฤทธิ์. (ส.).
  20. ประภาษ : [ปฺระพาด] ก. ตรัส, บอก, พูด. (ส. ปฺรภาษ; ป. ปภาส).
  21. ประภาส : [ปฺระพาด] น. แสงสว่าง. (ส. ปฺรภาส; ป. ปภาส).
  22. ประเภท : [ปฺระเพด] น. ส่วนที่แบ่งย่อยออกไปเป็นพวก จําพวก ชนิด หมู่ เหล่า อย่าง แผนก เป็นต้น. (ส. ปฺรเภท; ป. ปเภท).
  23. ประมวญ : [ปฺระมวน] (โบ) ก. ประมวล.
  24. ประมวล : ปฺระมวน] ก. รวบรวมให้เข้าระเบียบเป็นหมวดหมู่, โบราณเขียนเป็น ประมวญ ก็มี. น. หนังสือที่รวบรวมสิ่งซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ประมวลกฎหมาย ประมวลภาพ.
  25. ประมุข : [ปฺระมุก] น. ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าของประเทศหรือศาสนาเป็นต้น. (ส. ปฺรมุข; ป. ปมุข).
  26. ประมุท : [ปฺระมุด] ก. บันเทิง, ยินดี. (ส.).
  27. ประมูล : [ปฺระมูน] ก. เสนอราคาแข่งขันกันในการซื้อหรือขายทรัพย์สิน เป็นต้น.
  28. ประโมทย์ : [ปฺระโมด] น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, โดยมากใช้ ปราโมทย์.
  29. ประยุร, ประยูร : [ปฺระยุน, ปฺระยูน] น. เผ่าพันธุ์, เชื้อสาย, ตระกูล.
  30. ประลมพ์ : [ปฺระลม] น. กิ่งไม้เลื้อย, ช่อดอกไม้, พวงมาลัย. ก. ห้อยย้อย. (ส. ปฺรลมฺพ).
  31. ประลาต : [ปฺระลาด] ก. หนีไป. (ป. ปลาต).
  32. ประวรรต : [ปฺระวัด] ก. เป็นไป. (ส. ปฺรวรฺต; ป. ปวตฺต).
  33. ประวรรตน์ : [ปฺระวัด] น. ความเป็นไป. (ส. ปฺรวรฺตน; ป. ปวตฺตน).
  34. ประวาต : [ปฺระวาด] ก. พัด, กระพือ. (ส.).
  35. ประวาล : [ปฺระวาน] น. หน่อหรือแขนงต้นไม้ที่แตกออก. (ส.).
  36. ประวาลปัทม์ : [ปฺระวาละปัด] น. ดอกบัวแดง. (ส. ปฺรวาลปทฺม).
  37. ประวาลผล : [ปฺระวาละผน] น. ไม้จันทน์แดง. (ส.).
  38. ประวาลวรรณ : [ปฺระวาละวัน] ว. สีแดง. (ส.).
  39. ประวาส : [ปฺระวาด] ก. ประพาส. (ส.; ป. ปวาส).
  40. ประวิช : [ปฺระวิด] น. แหวน.
  41. ประวิตร : [ปฺระวิด] ว. บพิตร; บริสุทธิ์, สะอาด.
  42. ประวิสรรชนีย์ : [ปฺระวิสันชะนี] ก. ใส่เครื่องหมายวิสรรชนีย์.
  43. ประศาสน์ : [ปฺระสาด] น. การแนะนํา, การสั่งสอน; การปกครอง, การงําเมือง, การสั่ง. (ส. ปฺรศาสน; ป. ปสาสน).
  44. ประสบการณ์ : [ปฺระสบกาน] น. ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทํา หรือได้พบเห็นมา.
  45. ประสบการณ์นิยม : [ปฺระสบกาน-] น. ลัทธิทางปรัชญาที่ถือว่า ประสบการณ์เป็นบ่อเกิดของความรู้ทุกอย่าง; การปฏิบัติที่เน้น ประสบการณ์; การแสวงหาความรู้โดยอาศัยการสังเกต การทดลอง และวิธีอุปนัย, ประจักษนิยม ก็ว่า. (อ. empiricism).
  46. ประสพ : [ปฺระสบ] น. การเกิดผล. (ส. ปฺรสว; ป. ปสว).
  47. ประสะ : ก. ฟอกหรือชําระสิ่งต่าง ๆ เช่นเครื่องยาเพื่อให้สะอาดหรือให้รส อ่อนลง; ใช้เรียกยาที่เข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ เช่น ประสะขิง ก็คือเข้าขิงเท่ากับยาอื่นเป็นต้น.
  48. ประสัยห-, ประสัยห์ : [ปฺระไสหะ-, ปฺระไส] (แบบ) ก. ข่มขี่, ข่มเหง. (ส. ปฺรสหฺย; ป. ปสยฺห).
  49. ประสัยหาการ : [ [ปฺระไสหากาน] น. การข่มเหง.
  50. ประสัยหาวหาร : [ปฺระไสหาวะหาน] น. การโจรกรรมด้วยใช้อํานาจ กดขี่หรือกรรโชกให้กลัว.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | [1201-1250] | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1697

(0.0877 sec)