Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รา , then , ระ, รา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รา, 1697 found, display 1301-1350
  1. ผรณาปีติ : [ผะระ] น. ปีติที่เกิดแล้วทําให้รู้สึกซาบซ่านไปทั่ว ร่างกาย. (ป.).
  2. ผรสุ : [ผะระสุ] น. ขวาน. (ป.; ส. ปรศุ).
  3. ผล : น. ลูกไม้ เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง; สิ่งที่เกิดจากการกระทำ เช่น ผลแห่งการทำดี ผลแห่งการทำชั่ว; ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำนา ได้ผล เรียนได้ผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค; ลักษณนามเรียกผลไม้ เช่น มะม่วง ๒ ผล มะปราง ๓ ผล; จำนวนที่ได้จากการคำนวณ เช่น ๕ กับ ๗ บวกกัน ได้ผล เท่ากับ ๑๒, ผลลัพธ์ ก็ว่า. (ป., ส.).
  4. ผสาย : [ผะ] ก. กระจาย, เรียงราย, เช่น ตรีมุขสิงหาสน์แก้ว กรองผสาย. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ข. ผฺสายร).
  5. ผ่อนส่ง : ก. ผ่อนชําระ เช่น ผ่อนส่งบ้าน; (ปาก) ค่อยเป็นค่อยไป ทีละน้อย เช่น ตายแบบผ่อนส่ง.
  6. ผัสส, ผัสสะ : น. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และ สิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).
  7. ผ่าว : ว. อาการที่รู้สึกร้อนแรงเมื่อมีไอร้อนมากระทบ เช่นตัวร้อนผ่าว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่รู้สึกคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น อกร้อนผ่าว หน้าร้อนผ่าว.
  8. ผิดนัด : ก. ไม่ไปตามนัด, ไปไม่ตรงตามเวลาที่นัดไว้; (กฎ) การที่ ลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ตามกําหนดเวลา หรือการที่เจ้าหนี้ไม่รับชําระ หนี้ โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้.
  9. ผู้อุปการะ : (กฎ) น. ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หมายความถึง (๑) ผู้ที่ได้อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาผู้ตายมาแต่เยาว์ ฉันบิดามารดากับบุตร หรือ (๒) ผู้ที่ได้อุปการะข้าราชการประจำหรือ ข้าราชการบำนาญผู้มีรายได้ไม่เพียงพอแก่อัตภาพ หรือได้อุปการะ ข้าราชการบำนาญผู้ซึ่งป่วยเจ็บทุพพลภาพหรือวิกลจริตไม่สามารถ ที่จะช่วยตัวเองได้ ผู้อุปการะตามข้อนี้ต้องเป็นผู้ให้อุปการะประจำ เป็นส่วนใหญ่.
  10. ฝาหุ้มกลอง : น. ฝาด้านสกัดของเรือนฝากระดาน.
  11. พชระ : [พดชะระ] (กลอน) น. เพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
  12. พรรดึก : [พันระ] น. อุจจาระที่เป็นก้อนแข็งกลม.
  13. พรหม, พรหม : [พฺรม, พฺรมมะ] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลกจําพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จําพวกไม่มี รูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้นตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอน ใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหาร ทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหม ของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).
  14. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  15. พลการ : [พะละกาน] น. การกระทำโดยใช้กำลังหรืออำนาจเป็นต้น อย่างไม่ยอมฟังเสียงใคร, อําเภอใจ, เช่น ทําโดยพลการ. (ป. พลกฺการ; ส. พลาตฺการ).
  16. พลัดที่นาคาที่อยู่ : (สํา) ก. พลัดพรากจากถิ่นฐานเดิม, ระหกระเหิน.
  17. พักตร, พักตร์ : [พักตฺระ] (ราชา) น. หน้า, ใช้ว่า พระพักตร์. (ส. วกฺตฺร).
  18. พัทร : [พัดทฺระ] น. ต้นพุทรา. (ป., ส. พทร).
  19. พันธกรณี : [พันทะกะระนี, พันทะกอระนี] น. เหตุแวดล้อมที่เป็น ข้อผูกมัด.
  20. พาน ๕ : ก. พบปะ มักใช้เข้าคู่กับคํา พบ เป็น พบพาน หรือ พานพบ, เช่น ไม่ได้พบพานเสียนาน; ขวาง, กีดขวาง, ขึงขวาง, เช่น เอาเชือกมา พานไว้ เมื่อคนมาปะทะก็จะล้มลง, กั้นไว้ เช่น พานคนข้างหลังไว้, ระให้หมดไป เช่น เอาไม้กวาดพานหยากไย่.
  21. พารณ, พารณะ : [พารน, พาระนะ] น. ช้าง. (ป., ส. วารณ).
  22. พาเหียร : ว. ภายนอก. (ป. พาหิร).
  23. พิจิตร : ว. ต่าง ๆ, หลายหลาก; งาม, น่าดู. (ส. วิจิตฺร; ป. วิจิตฺต).
  24. พีร : [พีระ] น. ผู้เพียร, ผู้กล้า, นักรบ. (ป., ส. วีร).
  25. โพซิตรอน : [ตฺรอน] น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง มีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน มีประจุไฟฟ้าเท่ากับประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอน แต่เป็นประจุไฟฟ้า บวก เมื่อโพซิตรอนและอิเล็กตรอนอย่างละ ๑ อนุภาคมากระทบกัน ทั้งคู่จะทําลายล้างกันสูญหายไปด้วยกันทั้งสิ้น และให้พลังงาน มากมายเกิดขึ้นในรูปของรังสีแกมมา, แอนติอิเล็กตรอน ก็เรียก. (อ. positron).
  26. ไพจิตร : [จิด] ว. งาม; แตกต่าง, หลายหลาก. (ป. วิจิตฺร; ส. วิจิตฺร, ไวจิตฺรฺย).
  27. ไฟฟ้ากระแส : น. ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนปรากฏเป็น อิสระอยู่บนวัตถุ และเคลื่อนที่เป็นกระแส.
  28. ไฟฟ้าสถิต : น. ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ปรากฏเป็นอิสระอยู่บนวัตถุ และไม่เคลื่อนที่เป็นกระแส.
  29. ภรณี : [พะระนี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปแม่ไก่, ดาวก้อนเส้า ก็เรียก. (ป., ส.).
  30. ภรต, ภรต– : [พะรด, พะระตะ–, พะรดตะ–] น. ผู้เต้นรํา, ผู้แสดงละคร. (ส.).
  31. ภรรยา : [พันยา, พันระยา] น. ภริยา, เมีย, หญิงที่เป็นคู่ครองของชาย, คู่กับ สามี. (ส. ภารฺยา; ป. ภริยา).
  32. ภระมร : [พฺระมอน] น. ภมร.
  33. ภระมรี : [พฺระมะรี] น. ภมรี.
  34. ภวัคระ : [พะวักคฺระ] น. พรหมชั้นสูง, เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็เรียก. (ส. ภวาคฺร; ป. ภวคฺค).
  35. ภัตตาคาร : ดู ภัต, ภัต–, ภัตร.
  36. ภัตตาหาร : ดู ภัต, ภัต–, ภัตร.
  37. ภัทรบทมาส : [พัดทฺระบดทะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวย ฤกษ์ภัทรปทา คือ เดือน ๑๐ ตกในราวเดือนกันยายน.
  38. ภัทร–, ภัทระ : [พัดทฺระ–] ว. ดี, เจริญ, ประเสริฐ, งาม, น่ารัก, เป็นมงคล. (ส. ภทฺร; ป. ภทฺท, ภทฺร).
  39. ภาตระ : [พาตะระ] น. พี่ชายน้องชาย. (ส. ภฺราตฺฤ).
  40. ภารกิจ : [พาระ–] น. งานที่จําต้องทํา.
  41. ภารดี : [พาระ–] น. ถ้อยคํา, คําพูด, ภาษา. (ส. ภารติ).
  42. ภารต, ภารต– : [พารด, พาระตะ–] น. ชาวอินเดีย; คนแสดงละคร. (ส.).
  43. ภารตี : [–ระ–] น. ชื่อหนึ่งของพระสุรัสวดี.
  44. ภารธุระ : [พาระทุระ, พานทุระ] น. การงานที่รับทํา, กิจการที่ขวนขวาย ประกอบ.
  45. ภาร, ภาร–, ภาระ ๑ : [พาน, พาระ–] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการ อบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระ ส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).
  46. ภารยา : [พาระ–, พานระ–] น. ภรรยา. (ส.).
  47. ภูมิศาสตร์ประชากร : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักใน เรื่องเกี่ยวกับประชากรในถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยพิจารณาถึงสภาพทาง ภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรนั้น ๆ เช่น การกระจาย การย้ายถิ่นฐาน ความหนาแน่น.
  48. ภูรโลก : [พูระโลก] น. ชื่อแผ่นดินเมื่อพูดเกี่ยวกับฟ้าและสวรรค์. (ส.).
  49. เภรวะ : [–ระ–] น. ความขลาด, ความกลัว. (ป.).
  50. มก : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลากระบอก. (ดู กระบอก๒).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1350] | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1697

(0.1041 sec)