Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รา , then , ระ, รา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รา, 1697 found, display 1401-1450
  1. ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
  2. เย็นวูบ : ว. อาการที่ความเย็นมากระทบตัวโดยฉับพลันแล้วก็หายไป เช่น เข้าไปในห้องปรับอากาศรู้สึกเย็นวูบ.
  3. เยีย ๔ : ว. งามยิ่ง, งามเพริศพริ้ง, เยียรยง.
  4. แย้ม : ก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อย ๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย.
  5. รถ, รถ– : [รด, ระถะ–] น. ยานที่มีล้อสําหรับเคลื่อนไป เช่น รถม้า รถยนต์ รถไฟ; (กฎ) ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกําลัง เครื่องยนต์ กําลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอด ถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ. (ป.).
  6. รพ, รพะ, รพา : [รบ, ระพะ, ระพา] น. เสียงร้อง, เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก. (ป., ส. รว).
  7. ร้อยกรอง : ก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีต ศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่าง ๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรอง สไบ; ตรวจชําระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคําว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย; แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ, เรียบเรียงถ้อยคําให้เป็นระเบียบตาม บัญญัติแห่งฉันทลักษณ์. น. คําประพันธ์, ถ้อยคําที่เรียบเรียงให้เป็น ระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.
  8. ระกะ : ก. มากเกะกะ, ใช้เข้าคู่กับคํา ระเกะ เป็น ระเกะระกะ.
  9. ระกำ ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Cathormion umbellatum (Vahl) Kosterm. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีขาว ฝักแบนบิดเป็นวง, ระกํานา หรือ ระกําป่า ก็เรียก. (๒) ชื่อปาล์มชนิด Salacca wallichiana C. Martius ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ ก้านใบมีหนามแข็ง เนื้อฟ่าม ผลออกเป็นกระปุก กินได้.
  10. ระแคะระคาย : น. เค้าเงื่อนที่ทราบมานิด ๆ หน่อย ๆ แต่ยังยืนยันให้แน่นอนไม่ได้, ระเค็ดระคาย ก็ว่า.
  11. ระดับ : น. ลักษณะของพื้นผิวตามแนวนอนระหว่างจุด ๒ จุดที่มีความสูงเสมอกัน โดยปรกติใช้ระดับนํ้าทะเลเป็นมาตรฐานในการวัด, เรียกเครื่องวัดความ เสมอของพื้นผิวว่าเครื่องวัดระดับ. ก. ปูลาด, แต่งตั้ง.
  12. ระบาย ๒ : ก. ผ่อนออกไป เช่น ระบายสินค้า ระบายนํ้า ระบายความทุกข์, ถ่ายออก เช่น ระบายท้อง ระบายอากาศ.
  13. ระอา : ก. เบื่อหน่ายหรือหมดกําลังใจเพราะถูกรบกวน, ทําให้เกิดรําคาญหรือ มีเหตุติดขัดบ่อย ๆ, ระอิดระอา ก็ว่า.
  14. รัชนี : [รัดชะ–] น. กลางคืน, เวลามืด. (ป., ส. รชนี).
  15. รัฐประศาสน์ : [รัดถะปฺระสาด] น. การปกครองบ้านเมือง.
  16. รัฐประศาสนนัย, รัฐประศาสโนบาย : [รัดถะปฺระสาสะนะไน, รัดถะปฺระ สาสะโนบาย] น. วิธีการปกครองบ้านเมือง.
  17. รัฐประศาสนศาสตร์ : [รัดถะปฺระสาสะนะสาด] น. วิชาว่าด้วยการบริหาร และการปกครองประเทศเพื่อให้สัมฤทธิผลตามนโยบายของรัฐอย่างมี ประสิทธิภาพและประหยัด.
  18. รัฐประหาร : [รัดถะปฺระหาน, รัดปฺระหาน] น. การใช้กําลังเปลี่ยนแปลง คณะรัฐบาลโดยฉับพลัน, (กฎ) การใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลง รัฐบาล.
  19. รันชนรันแชง : (กลอน) ก. กระทบกระทั่งเกิดปั่นป่วนอย่างคลื่นซัดหรือลมพัด. (ข. ร?ฺชํร?ฺแชง).
  20. รับผิด : ก. ยอมรับว่าทำผิด; (กฎ) มีหน้าที่ผูกพันตามกฎหมายที่จะต้อง ชําระหนี้หรือกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  21. รับสนองพระบรมราชโองการ : ก. ลงนามที่จะปฏิบัติตามพระบรม ราชโองการเพื่อให้เป็นพระบรมราชโองการที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ.
  22. รัสสระ : [รัดสะสะหฺระ] น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อํา ใอ ไอ เอา. (ป.).
  23. ราคา : น. มูลค่าของสิ่งของที่คิดเป็นเงินตรา; จํานวนเงินซึ่งได้มีการชําระหรือ ตกลงจะชําระในการซื้อขายทรัพย์สิน, โดยปริยายหมายความว่า ค่า, คุณค่า, มักใช้ในความปฏิเสธเช่น เขาทำตัวเป็นคนไม่มีราคา.
  24. ราชวรมหาวิหาร : [ราดชะวอระมะหาวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวง ชั้นเอกชนิดสูงสุดว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เช่น วัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุกรุงเทพมหานคร, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดสูงสุด ว่า ชั้นโทชนิดราชวรมหาวิหาร มี ๒ วัด คือ วัดสระเกศ และวัดชนะ สงคราม.
  25. ราชวรวิหาร : [ราดชะวอระวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดหนึ่งซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอาราม หลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียก พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน.
  26. ราชินีนาถ : น. พระราชินีที่ทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สําเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ และทรง ได้รับการสถาปนาพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, พระเจ้าแผ่นดินที่เป็นผู้หญิง เช่น พระราชินีนาถวิกตอเรีย.
  27. ราหู ๒ : น. ชื่อปลากระเบนทะเลในสกุล Mobula วงศ์ Mobulidae ลักษณะทั่วไป คล้ายปลากระเบนนกมีเนื้อยื่นเป็นแผ่นคล้ายใบหูอยู่ที่มุมขอบนอกปลาย สุดของหัวข้างละอันใช้โบกพัดอาหารเข้าปากด้านบนลําตัวสีดํา เช่น ชนิด M. japonicus, M. diabolus เฉพาะชนิดแรก มีแถบสีขาวพาดโค้งอยู่ด้าน ซ้ายของส่วนหัว.
  28. รุงรัง : ว. อาการที่สิ่งเป็นเส้นยาว ๆ พัวพันกันยุ่งยุ่มย่าม เช่น ขนยาวรุงรัง ผม เผ้ารุงรัง หนวดเครารุงรัง, อาการที่สิ่งต่าง ๆ รวมกันอยู่อย่างระเกะระกะ หรือแยกกระจัดกระจายกันอยู่ยุ่งเหยิง เช่น ห้องรกรุงรัง ห้อยผ้าไว้รุงรัง; พะรุงพะรัง เช่น หอบของมารุงรัง, นุงนัง เช่น หนี้สินรุงรัง.
  29. รุทระ : [รุดทฺระ] ว. น่ากลัวยิ่งนัก. น. เทวดาหมู่หนึ่งมี ๑๑ องค์ รวมเรียกว่า เอกาทศรุทร, ชื่อเทพสําคัญองค์หนึ่งในพระเวท ซึ่งพวกฮินดูถือว่าเป็น องค์เดียวกับพระศิวะ. (ส.; ป. รุทฺท).
  30. ราะ ๒ : ก. เคาะหรือต่อยริมออกทีละน้อยเพื่อให้ได้รูปตามต้องการ เช่น เอาไม้ เราะตาตุ่ม เวลาเดินลงส้น เราะกระเบื้อง เราะปากขวด, กะเทาะให้แตก ออกจากกัน เช่น เราะถั่วทอง, เคาะให้หลุด เช่น เราะสนิม; เดินระผ่าน เสาหรือหลักที่ปักไว้เป็นแถวเพื่อหาทางเข้าออกเป็นต้น เช่น เราะรั้ว เราะกำแพง.
  31. เรียกร้อง : ก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้อง ขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ.
  32. เรียง : ก. จัดให้เป็นแถวหรือเป็นลำดับเป็นต้น เช่น จัดแถวหน้ากระดานเรียง สอง เข้าแถวเรียงตามลำดับไหล่ เรียงไข่ใส่ตะกร้า; ลักษณนามเรียกพลู ที่เอามาเรียงซ้อนกันประมาณ ๗–๘ ใบ เช่น พลูเรียงหนึ่ง พลู ๒ เรียง. (ในบทกลอนแผลงเป็น ระเรียง หรือ รันเรียง ก็มี).
  33. เรือฉลอม : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว กลางป่อง ตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ ตามหัวเมืองชายทะเลแถบปากอ่าว สำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัยโบราณเวลาเกิดศึกสงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย อาจติดใบหรือไม่ก็ได้.
  34. เรือนเครื่องสับ : น. เรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก.
  35. เรือรูปสัตว์ : น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือ เสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูป สัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีปเรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.
  36. ลงเรือลำเดียวกัน : (สำ) ก. ทำงานร่วมกัน, ร่วมรับผลการกระทำ ด้วยกัน.
  37. ลวก : ก. กิริยาที่ของเหลวหรือไอที่ร้อนจัดหรือไฟมากระทบ เช่น ไฟลวก น้ำร้อนลวก ถูกไอน้ำเดือดลวก, กิริยาที่ถูกน้ำร้อน ไอร้อน หรือไฟ พลุ่งมากระทบผิวเช่น หม้อน้ำระเบิด น้ำร้อนพลุ่งมาลวกทำให้พอง ไปทั้งตัว ไฟพลุ่งมาลวกเนื้อลวกตัว, รดหรือแช่ด้วยน้ำร้อน เช่น เอา น้ำร้อนมาลวกผัก ลวกผ้าหรือลวกชาม. ว. เรียกสิ่งที่รดหรือแช่ด้วย น้ำร้อน เช่น ไข่ลวก ผักลวก สะเดาลวก.
  38. ลวนลาม : ก. ล่วงเกินในลักษณะชู้สาวด้วยการพูดหรือการกระทำเกินสมควร เช่น นายดำชอบพูดจาลวนลามผู้หญิง เขาชอบถือโอกาสลวนลาม ด้วยการจับมือถือแขนผู้หญิง, ลามลวน ก็ว่า.
  39. ลหุโทษ : น. โทษเบา, โทษไม่ร้ายแรง, คู่กับ มหันตโทษ; (กฎ) ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ.
  40. ละเมาะ ๒ : น. ชื่อปลากระบอกขนาดเล็ก. (ดู กระบอก๒).
  41. ละหมาด : น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการนมัสการในศาสนาอิสลามเพื่อชําระจิตใจ ให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติวันละ ๕ เวลา, นมาซ ก็เรียก.
  42. ละหาน ๑ : น. ห้วงนํ้า. (เทียบเขมร ว่า รหาล).
  43. ลาก : ก. ทําให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไป โยงไป เช่น ลากเกวียน ม้าลากรถ กระโปรงยาวลากดิน; โดยปริยาย หมายความว่า ใช้อย่างสมบุกสมบัน, ใช้ถูไถ, เช่น เอาผ้าซิ่นไหม มานุ่งลากอยู่กับบ้าน. ว. ที่ทำให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไปโยงไป เช่น รถลาก.
  44. ล้าง : ก. ทําให้หมดสิ้นไปโดยใช้สิ่งเช่นนํ้าหรือไฟเป็นต้น และมีกรรมวิธี ต่าง ๆ เช่น กวาดล้าง ชะล้าง ชําระล้าง ล้างกลิ่น ล้างคาว ล้างถู, โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฆ่าล้างโคตร สงคราม ล้างชาติ.
  45. ลาภมิควรได้ : (กฎ) น. ทรัพย์ที่บุคคลได้มาเพราะบุคคลอีกคนหนึ่ง กระทําเพื่อชําระหนี้ หรือได้มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้ มีมิได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว หรือได้มา เพราะประการอื่น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็น ทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ.
  46. ลายน้ำ : น. ลวดลายหรือภาพในเนื้อกระดาษที่ทําขึ้นพร้อม ๆ กับ กระดาษจะมองเห็นได้ชัดเมื่อยกกระดาษนั้นขึ้นส่องกับแสงสว่าง.
  47. ลำปำ : (ถิ่น–ปักษ์ใต้) น. ปลากระแห. (ดู กระแห, กระแหทอง).
  48. ลิ้นกับฟัน : (สำ) น. การกระทบกระทั่งกันบ้างแต่ไม่รุนแรงของคน ที่ใกล้ชิดกัน เช่น ระหว่างสามีกับภรรยาหรือคนที่ทำงานร่วมกัน.
  49. ลิเภา : น. ชื่อเฟินเถาหลายชนิดในสกุล Lygodium วงศ์ Schizaeaceae เปลือกเถาใช้สานเป็นกระเป๋าและเครื่องใช้อื่น ๆ เช่น ชนิด L. circinatum (Burm.f.) Sw., L. salicifolium Presl, ย่านลิเภา หญ้าลิเภา หรือ หญ้ายายเภา ก็เรียก.
  50. ลิ่ว ๑ : ก. เคลื่อนไปโดยเร็วจากตํ่าไปหาสูง หรือจากใกล้ไปหาไกล, เคลื่อนไปโดยเร็วด้วยอํานาจกระแสลมหรือกระแสนํ้า. ว. อาการ ที่ตรงเข้ามาหรือออกไปในลักษณะเช่นนั้น เช่น ตรงลิ่วเข้าไป.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | [1401-1450] | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1697

(0.0960 sec)