Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รา , then , ระ, รา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รา, 1697 found, display 1551-1600
  1. สรเสริญ : [สฺระ] (กลอน) ก. สรรเสริญ.
  2. สรเหนาะ, สระเหนาะ : [สฺระเหฺนาะ] (กลอน) ว. เสนาะ, ไพเราะ; วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ. (โคลงกำสรวล), สระเหนาะน้ำคว่วงคว้วง ควิวแด. (โคลงกำสรวล). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสารวังเวงใจ อาลัยถึง).
  3. สระ ๒ : [สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้น และริมฝีปากเป็นสําคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วน หนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียง พยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).
  4. สระ ๔ : [สฺระ] คําที่แผลงมาจากคําที่ขึ้นต้นด้วยคํา สะ ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สะท้อน เป็น สระท้อน.
  5. สระ ๕ : [สะระ] น. เสียง. (ป.; ส. สฺวร).
  6. สระกอ : [สฺระ] (กลอน) ว. สะกอ.
  7. สระครา : [สฺระ] (กลอน) ว. สะคราญ.
  8. สระดะ : [สฺระ] (กลอน) ว. ระดะไป, เกะกะไป, ดาษไป, แน่นไป.
  9. สระท้อน : [สฺระ] (กลอน) ว. สะท้อน; อ่อน. (ข.).
  10. สระพรั่ง : [สฺระ] (กลอน) ว. สะพรั่ง.
  11. สระสม : [สฺระ] (วรรณ) ว. สวย เช่น พิศดูคางสระสม. (ลอ).
  12. สระอาด : [สฺระ] (กลอน) ว. สะอาด.
  13. สระอื้น : [สฺระ] (กลอน) ก. สะอื้น.
  14. สรุสระ : [สะหฺรุสะหฺระ] ว. ขรุขระ, ไม่เรียบร้อย.
  15. สลิด ๒ : [สะหฺลิด] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Trichogaster pectoralis ในวงศ์ Anabantidae รูปร่างคล้ายปลากระดี่ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน มีเกล็ดเล็ก และไม่มีจุดดําข้างตัว แต่มีลายสีคลํ้าหลายแนวพาดเฉียงตลอดข้าง ลําตัว และมีขนาดโตกว่าถึง ๒๐ เซนติเมตร พบตามแหล่งนํ้านิ่ง เช่น หนอง คลองบึงทั่วไป ทํารังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า, ราชาศัพท์เรียกว่า ปลาใบไม้.
  16. สสาร, สสาร : [สะสาน, สานระ] น. สิ่งที่มีมวลสาร ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ อาจมีเพียงสารเดียว เช่น ทองคํา เงิน แก้ว เกลือ น้ำ หรือประกอบด้วย สารหลายสาร เช่น ดินปืน อากาศ ก็ได้.
  17. สหัสนัยน์, สหัสเนตร : [สะหัดสะ] น. พันตา หมายถึง พระอินทร์. (ป. สหสฺสเนตฺต, สหสฺสนยน; ส. สหสฺรเนตฺร, สหสฺรนยน).
  18. สอดคล้อง : ว. พ้อง, ประสาน, ไม่ขัดกัน, เช่น มีความเห็นสอดคล้อง กัน ทำงานสอดคล้องกัน ความคิดกับการกระทำสอดคล้องกัน.
  19. สะทึน, สะทึ่น : (กลอน) ว. ใจผิดปรกติ, ใจเป็นทุกข์, เช่น พระทองผทมตื่นขึ้น สะทึ่นเที้ยรสระอื้น. (ลอ).
  20. สะเทือนอารมณ์ : ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มากระทบทำให้รู้สึกเศร้าหมอง เช่น นวนิยายสะเทือนอารมณ์ อ่าน เรื่องเศร้าแล้วสะเทือนอารมณ์.
  21. สะโพก : น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคน ขาหลังของสัตว์สี่เท้า, ตะโพก ก็ว่า.
  22. สักวา : [สักกะวา] น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คํากลอน ขึ้นต้นด้วยคํา ''สักวา'' และลงท้ายด้วยคํา ''เอย'', ชื่อลํานําเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็น ทํานองโต้ตอบกัน. (โบราณ เขียนเป็น สักระวา ก็มี).
  23. สังกรณี : [กะระนี, กอระนี] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Barleria strigosa Willd. ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีฟ้า รากใช้ทํายาได้.
  24. สังขาร, สังขาร : [ขาน, ขาระ, ขานระ] น. ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุง แต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง; ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ). ก. ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี.
  25. สังคายนา, สังคายนาย : [คายะ, คายยะ] น. การซักซ้อม, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบ เดียวกัน, การประชุมชําระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ปาก) ก. สะสาง เช่น เรื่องนี้ต้องสังคายนากันเสียที. (ป. สงฺคายน).
  26. สังคีติ : น. สังคายนา, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบเดียวกัน, การประชุม ชําระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ป.).
  27. สังฆมนตรี : (กฎ; เลิก) น. ตําแหน่งพระเถระผู้รับผิดชอบในองค์การ ของคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ เช่น สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง.
  28. สังฆสภา : (กฎ; เลิก) น. สภาของคณะสงฆ์ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.
  29. สังฆาณัติ : (กฎ; เลิก) น. กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จพระ สังฆราชทรงบัญญัติขึ้นโดยคําแนะนําของสังฆสภา ตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔, ปัจจุบันเรียกว่า พระบัญชาสมเด็จ พระสังฆราช. (ป.).
  30. สังสุทธ์, สังสุทธิ : [สุด, สุดทิ] น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด; การชําระ, การล้าง. (ส. สํศุทฺธ, สํศุทฺธิ).
  31. สัญประกาศ : [สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ใช้ขีดไว้ใต้คํา หรือข้อความที่สําคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก.
  32. สัตตาหกรณียะ : [สัดตาหะกะระนียะ, สัดตาหะกอระนียะ] น. กิจที่ พึงทำเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดไปพักแรมในที่อื่นในระหว่างพรรษา ได้ไม่เกิน ๗ วัน เช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ ป่วยไข้หรือเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก.
  33. สันทัดกรณี : [สันทัดกะระนี, สันทัดกอระนี] ว. ที่รู้เรื่องนั้น ๆ ดี เช่น เขาเป็นผู้สันทัดกรณีในด้านการต่างประเทศ.
  34. สันปันน้ำ : น. แนวสันเขาหรือสันเนินซึ่งเป็นแนวเขตแบ่งระหว่างลุ่มน้ำ, สันเขาหรือบริเวณที่สูงซึ่งแบ่งนํ้าให้ไหลไปลงแม่นํ้าลําธารที่อยู่แต่ละ ด้านของสันเขาหรือบริเวณที่สูงนั้น มักปรากฏเป็นแนวตอนบนสุดของ ทิวเขาซึ่งแบ่งเขตระหว่างลุ่มนํ้าที่มีทิศทางการไหลตรงข้ามกัน.
  35. สัประยุทธ์ : [สับปฺระยุด] ก. รบพุ่งชิงชัยกัน.
  36. สัมผัส : ก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายาม ให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไป ข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้ เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).
  37. สัมพัจฉร : [สําพัดฉะระ] น. ปี. (ป. สํวจฺฉร; ส. สํวตฺสร).
  38. สัมภาระ : [สำพาระ] น. สิ่งของต่าง ๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้และเสบียงซึ่ง สะสมรวบรวมหรือจัดเตรียมไว้เพื่อภาระต่าง ๆ เช่น เตรียมสัมภาระ สำหรับไปต่างจังหวัด; การเกื้อหนุน, การเลี้ยงดู. (ป., ส.).
  39. หงสโปดก : [หงสะโปดก] (วรรณ) น. ลูกหงส์, เขียนเป็น หงษโปฎก ก็มี เช่น ดุจหงษโปฎกกระเหว่าเหล่านก พลัดแม่สูญหาย. (ม. คำหลวง มัทรี).
  40. หงองแหงง : [หฺงองแหฺงง] ก. ระหองระแหง, ไม่ลงรอยกัน.
  41. หนี้สูญ : น. หนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีทางที่จะได้รับชําระหนี้จากลูกหนี้ได้.
  42. หมก ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลากระบอก. (ดู กระบอก๒).
  43. หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ : [หฺมิ่นพฺระบอรมมะเดชานุพาบ] ก. กระทําการ อันเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์.
  44. หรคุณ : [หอระคุน] น. จํานวนวันตั้งแต่แรกตั้งศักราชมา; เรียกชาดสีแดงเสนว่า ชาดหรคุณ.
  45. หรณะ : [หะระนะ] น. การนําไป. (ป., ส.).
  46. หรดาล : [หอระดาน] น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุสารหนูและกํามะถัน มี ปรากฏในธรรมชาติ ๒ ชนิด คือ หรดาลแดงกับหรดาลกลีบทอง มักจะ ปรากฏอยู่ปนกัน ในปัจจุบันสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ทั้ง ๒ ชนิด. (ป.; ส. หริตาล).
  47. หรดี : [หอระดี] น. ทิศตะวันตกเฉียงใต้. (ป.; ส. ไนรฺฤติ).
  48. หระ : [หะระ] น. ชื่อพระอิศวร. (ป., ส. หร ว่า นําไป).
  49. หรัสวมูรดี : [หะรัดสะวะมูระดี] ว. มีร่างเล็ก, เตี้ย. (ส.).
  50. หลวงจีน : น. ชื่อสมณศักดิ์พระสงฆ์จีนตั้งแต่ระดับพระคณานุกรมของ เจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ จนถึงผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ เช่น หลวงจีนวินยานุกร หลวงจีนคณาณัติจีนพรต หลวงจีนใบฎีกา.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | [1551-1600] | 1601-1650 | 1651-1697

(0.2504 sec)