Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รา , then , ระ, รา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รา, 1697 found, display 1601-1650
  1. หล่อน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สําหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้ง บุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  2. หลักประกัน : น. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง; สิ่งที่ยึดถือเพื่อความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ใช่คนมั่งมี ก็ควรมีวิชาไว้เป็นหลักประกัน; (กฎ) เงินสดหรือ หลักทรัพย์ที่นํามาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยหรือ ประกันการชําระหนี้.
  3. หลุมโจน : น. หลุมสําหรับลวงให้ปลากระโดดลงไป.
  4. หุ้มกลอง : [-กฺลอง] น. ด้านหัวหรือด้านท้ายของโบสถ์ วิหาร, ถ้าเป็นด้าน หัวหรือด้านท้ายของเรือนฝากระดาน เรียกว่า ด้านสกัด.
  5. หู : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง สิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
  6. หูกะพง : น. ชื่อเงื่อนแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายรูปเลข 8 อาระบิก (?) ใช้ผูก ตัวไม้บางตัวในเรือนเครื่องผูกให้ติดกันเป็นต้น.
  7. หูแจว : น. วงด้ายดิบหรือเชือกที่ชุบนํ้าบิดให้เป็นเลข 8 อาระบิก (?) สําหรับคล้องแจวให้ยึดกับหลักแจว.
  8. เหรียญกระษาปณ์ : (กฎ) น. เงินตราโลหะที่ใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย ไม่เกินจํานวนที่กําหนดโดยกฎกระทรวง.
  9. แหยม : [แหฺยม] น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปากว่า หนวดแหยม.
  10. อกรณีย์ : [อะกะระนี, อะกอระนี] น. กิจที่ไม่ควรทํา. (ป.).
  11. อคาร : [อะคาระ] น. อาคาร. (ป., ส.).
  12. อจระ : [อะจะระ] ว. เคลื่อนไม่ได้, ไปไม่ได้. (ป., ส.).
  13. อจิร, อจิระ : [อะจิระ] ว. ไม่นาน. (ป., ส.).
  14. อดิศร, อดิศวร : [อะดิสอน, สวน] น. ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่. (ส. อติ + อีศฺร, อติ + อีศฺวร).
  15. อธิกสุรทิน : [สุระทิน] น. วันที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ คือ ในปีนั้น เพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีก ๑ วัน เป็น ๒๙ วัน.
  16. อนันตร : [อะนันตะระ] ว. ไม่มีระหว่าง, ติดต่อกันเรื่อยไป. (ป., ส.).
  17. อนุตร : [อะนุดตะระ] ว. ไม่มีสิ่งใดสูงกว่า, ดีเลิศ, ยิ่ง, วิเศษ เช่น อนุตรสัมมา สัมโพธิญาณ. (ป., ส. อนุตฺตร).
  18. อเนก, อเนก : [อะเหฺนก, อะเหฺนกกะ] ว. มาก, หลาย, เช่น อเนกประการ. (ป., ส.). อเนกประสงค์ [อะเหฺนกปฺระสง] ว. ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง แล้วแต่ความต้องการ.
  19. อโนดาต : น. ชื่อสระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์ ได้แก่ ๑. สระอโนดาต ๒. สระกัณณมุณฑะ ๓. สระรถการะ ๔. สระฉัททันตะ ๕. สระ กุณาละ ๖. สระมัณฑากินี ๗. สระสีหัปปปาตะ. (ป. อโนตตฺต).
  20. อปร : [อะปะระ] ว. อื่นอีก. (ป., ส.).
  21. อปรภาค : [อะปะระพาก] น. ส่วนอื่นอีก, เวลาอื่นอีก, ภายหลัง. (ป.).
  22. อประมาณ, อัประมาณ : [อะปฺระ, อับปฺระ] ว. กําหนดจำนวนไม่ได้, จํากัดไม่ได้; น่าอับอาย เช่น ย่อยยับอัประมาณ. (ส.; ป. อปฺปมาณ).
  23. อมรรัตน์ : [อะมอนระ] น. เพชร. (ส.).
  24. อมรรา : [อะมอนระราด] น. ''ราชาของเทวดา'' คือ พระอินทร์. (ส.).
  25. อมรสตรี : [อะมะระสัดตฺรี] น. นางสวรรค์, นางฟ้า. (ส.).
  26. อมร, อมร : [อะมอน, อะมอนระ, อะมะระ] น. ผู้ไม่ตาย, เทวดา. ว. ไม่ตาย, ไม่เสื่อมสูญ, ยั่งยืน. (ป., ส.).
  27. อร ๑ : [อะระ] น. กํา, ซี่ล้อรถหรือเกวียน. (ป., ส.).
  28. อร ๒ : [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลม กล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ).
  29. อรช : [อะระชะ] ว. ปราศจากผงหรือมลทิน. (ป., ส.).
  30. อรชร : [ออระชอน] ว. งามอย่างเอวบางร่างน้อย, มักใช้เข้าคู่กับคำ อ้อนแอ้น เป็น อรชรอ้อนแอ้น.
  31. อรชุน : [ออระชุน] น. ไม้รกฟ้า; สีขาว. ว. ขาว; ใส. (ส. อรฺชุน; ป. อชฺชุน).
  32. อรณ : [อะระนะ] ก. ไม่รบ. (ป., ส.).
  33. อรดี, อรติ : [อะระ] น. ความไม่ยินดี, ความไม่พอใจ, อราดี หรือ อราติ ก็ใช้. (ป., ส.).
  34. อรทัย : [ออระไท] น. หญิงสาว, สาวรุ่น, สาวงาม.
  35. อรไท : [ออระไท] น. นางผู้เป็นใหญ่, นางผู้มีสกุล, (ใช้เรียกนางกษัตริย์), ใช้ว่า อ่อนไท้ ก็มี.
  36. อรธาน : [ออระ] (โบ) ว. ที่ปล่อยปละละไว้โดยไม่หวงแหน เช่น ของอรธาน.
  37. อรนุช : [ออระ] น. หญิงงาม.
  38. อรพินท์ : [ออระ] น. ดอกบัว, (โบ) เขียนเป็น อรพินธุ ก็มี เช่น อันประดับ ด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนประเวศน์). (ป., ส. อรวินฺท).
  39. อรพิม : [ออระ] ดู คิ้วนาง.
  40. อรรธสระ : [อัดทะสะหฺระ] น. เสียงกึ่งสระกึ่งพยัญชนะ.
  41. อรสุม : [ออระ] น. ไอนํ้า. (ป. อุสุม).
  42. อรหะ : [อะระ] ว. ควร, สมควร. (ป., ส.).
  43. อรหัง : [อะระ, ออระ] น. พระพุทธเจ้า; พระอรหันต์. (ป. อรหํ).
  44. อรหัตวิโมกข์ : น. ความพ้นจากกิเลสเพราะสําเร็จอรหัต. (ป. อรหตฺตวิโมกฺข).
  45. อรหัน : [ออระ] น. ชื่อสัตว์ในนิยาย มี ๒ เท้า มีปีกคล้ายนก หัวคล้าย หัวคน; ผู้วิเศษ.
  46. อรหันต, อรหันต์ : [อะระหันตะ, ออระหันตะ, อะระหัน, ออระหัน] น. ชื่อพระอริย บุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระ อนาคามี และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหา หรือ อรหัง ก็มี แต่ถ้าใช้เป็นคําวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้ อรหันต). (ป.; ส. อรฺหนฺต).
  47. อสุร : [อะสุระ] น. อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นศัตรูต่อเทวดา, แทตย์, ยักษ์, มาร, ผี. (ป., ส. อสุร).
  48. อสุรกาย : [อะสุระ] น. สัตว์เกิดในอบายภูมิพวกหนึ่ง เชื่อกันว่า ชอบเที่ยวหลอกหลอนคน, คู่กับ เปรต. (ป.).
  49. อักขรสมัย : [อักขะหฺระสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่าน การเขียน. (ป.).
  50. อักขร, อักขระ : [อักขะหฺระ] น. ตัวหนังสือ. (ป.; ส. อกฺษร).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | [1601-1650] | 1651-1697

(0.1081 sec)