Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รา , then , ระ, รา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รา, 1697 found, display 501-550
  1. อันเตบุระ, อันเตปุระ : น. ภายในราชสํานัก, ภายในวัง. (ป.; ส. อนฺตปุร).
  2. อัประมาท : [อับปฺระหฺมาด] น. ความไม่มึนเมา; ความไม่เลินเล่อ, ความระวัง, ความเอาใจใส่; อประมาท ก็ว่า. (ส.; ป. อปฺปมาท).
  3. อัประไมย : [อับปฺระไม] ว. นับไม่ได้, ไม่จํากัด, มากมาย, อประไมย ก็ว่า. (ส. อปฺรเมย; ป. อปฺปเมยฺย).
  4. อาดุระ, อาดูร : [ดูน] ว. เดือดร้อน, ทนทุกขเวทนาทั้งกายและใจ, ในบทกลอนตัดใช้ว่า ดุร ก็มี. (ป., ส. อาตุร).
  5. จิร- : [-ระ-] ว. นาน, ช้า. (ป., ส.).
  6. นิร : [ระ] ว. คําประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ไม่, ไม่มี, ออก.
  7. นิรคุณ : [ระ] ว. ไม่มีลักษณะดี, ไม่มีคุณ, เลว, ชั่วร้าย; เนรคุณ, ไม่รู้คุณ. (ส.).
  8. นิรทุกข์ : [ระ] ว. ไม่มีทุกข์.
  9. นิรเทศ : [ระ] (กลอน) ก. เนรเทศ, ขับไล่ออกจากที่เดิม. (ส. นิรฺ + เทศ).
  10. โมร- : [-ระ-] น. นกยูง. (ป., ส.).
  11. วิสารทะ : [ระ] ว. แกล้วกล้า, ชํานาญ, ฉลาด. (ป.).
  12. สัญจาระ : [ระ] น. การเดินไป, การเที่ยวไป. (ป., ส.).
  13. โอร : [ระ] ว. ตํ่า, ใต้; รอง; หลัง; ฝั่งนี้. (ป.; ส. อวร).
  14. กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
  15. กน ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด ว่า แม่กน หรือ มาตรากน.
  16. กรรตุสัญญา : [กัดตุ-] น. นามที่เป็นคําร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอันสุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺ?า = นาม, ชื่อ).
  17. กระโจม ๒ : ก. โถมเข้าไป เช่น ไม่ได้ทีอย่ากระโจมเข้าโรมรัน. (รามเกียรติ์ ร. ๒); ข้ามลําดับไป ในความว่า กินข้าวต้มกระโจมกลาง.
  18. กระชิด ๑ : ว. ชิดทีเดียว เช่น ว่องไวไล่กระชิดติดพัน. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
  19. กระดาก ๒ : (กลอน) ก. กระเดาะ, กระดก, เช่น สิ้นทั้งพันปากกระดากลิ้น, สิบปากกระดากลิ้นเคี้ยวฟัน. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (อะหม ตาก ว่า กระเดาะปาก).
  20. กระบี่ ๑ : (กลอน) น. ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจมโจนจับยักษ์หักแขนขา. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ป., ส. กปิ).
  21. กระเพลิศ : [-เพฺลิด] (กลอน) ว. ตะพึด เช่น พลพายกระเพลิศพ้าง พายพัด. (เฉลิมพระเกียรติ ร. ๒).
  22. กระษิร : [-สิน, -สิระ] (โบ; แผลงมาจาก ส. กฺษิร) น. น้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร. (สรรพสิทธิ์).
  23. กระหยับ : (กลอน) ก. ขยับ เช่น มือถือธนูกระหยับลั่น. (รามเกียรติ์ ร. ๑; ไกรทอง; สรรพสิทธิ์). (แผลงมาจาก ขยับ).
  24. กระเห็น : น. อีเห็น เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  25. กระแหย่ง : [-แหฺย่ง] ว. อาการปีนขึ้นอย่างพลั้ง ๆ พลาด ๆ. ก. คะยั้นคะยอ เช่น มาหยักเหยาเซ้าซี้กระแหย่งชาย. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  26. กรัณฑ-, กรัณฑ์ : [กะรันทะ-, กะรัน] (แบบ) น. ตลับ, หีบ, หม้อ, เช่น รัตนกรัณฑ์ = ตลับเพชร. (สังโยคพิธาน), กรัณฑรัตน. (ยวนพ่าย), กรัณฑขลังขังน้าทิพมุรธา ภิเษกท่าน. (ราชาภิเษก ร. ๗). (ดู กรณฑ์๑).
  27. กรำ : [กฺรํา] ว. ตรํา, ฝ่า, ทนลําบาก, เช่น กรําแดด กรําฝน, เคี่ยวเข็ญเย็นค่ากรําไป. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
  28. กรุงพาลี : [กฺรุง-] น. ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสี่เหลี่ยม สำหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย เรียกว่า บัตรกรุงพาลี หรือ บัตรพระภูมิ, เรียกสั้น ๆ ว่า บัตรพลี. (มาจากชื่อท้าวพลี). (รามเกียรติ์ ร. ๖).
  29. กรุ่ม : [กฺรุ่ม] ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดาเวลากรุ่มกําลังที่ตั้งขึ้น ตามฤดู. (ม. ร. ๔ วนปเวสน์); โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน. (นิ. เดือน); รุ่มร้อน, ระอุ, เช่น นรกเท่ากรุ่ม เปลวร้อนเหมือนไฟ. (สุบิน).
  30. กลัมพก, กลัมพัก : [กะลํา-] (แบบ) น. ผักบุ้ง เช่น ประเทศที่ต่ำน้ำลึกล้วนเหล่ากลัมพัก พ่านทอดยอดยาวสล้างสลอน. (ม. ร. ๔ มหาพน). (ป., ส. กลมฺพก).
  31. กลาย : [กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านของตนก็ดี. (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน. (โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.
  32. กันแซง ๒ : น. กระแชง เช่น หลังคากันแซง. (พงศ. ร. ๓/๘).
  33. กันทะ : (โบ) น. กระทะ เช่น จึ่งตั้งโลหะกันทะโดยตบะบนเส้าโขมดผี ให้ประโคมแล้วโหมอัคคี มาลีธูปเทียนบูชา. (รามเกียรติ์ ร. ๒ ตอนศึกไมยราพณ์).
  34. กัมพู : (แบบ) น. หอยสังข์; ทอง เช่น กัมพูหุ้มพู่พรรณจามรี. (บุณโณวาท), ทองสุคนธ์ปนสุวรรณ์กัมพู. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ) เขียนเป็น กําพู กําภู ก็มี. (ป., ส. กมฺพุ).
  35. กัลปพฤกษ์ ๑ : [กันละปะพฺรึก] น. ต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลสําเร็จ ตามความปรารถนา; เรียกต้นไม้ที่ทําขึ้นเนื่องในการทิ้งทานใน งานเมรุหลวง และมีลูกมะนาวบรรจุเงินตราห้อยอยู่ตามกิ่งต่าง ๆ ของต้นไม้นั้นว่าต้น กัลปพฤกษ์, เรียกลูกมะนาวที่บรรจุเหรียญเงินนั้น ว่า ลูกกัลปพฤกษ์; (โบ) ใช้ว่า กํามพฤกษ์ ก็มี เช่น พวกประจํา กํามพฤกษ์บังคมไหว้. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส.; ป. กปฺปรุกฺข).
  36. กำมพฤกษ์ : [-มะพฺรึก] (โบ) น. กัลปพฤกษ์ เช่น พวกประจํากํามพฤกษ์บังคมไหว้. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
  37. กุฎาธาร : น. ยอด เช่น กุฎาธารธาษตรี. (ยอพระเกียรติ ร. ๒).
  38. กุลาหล : [-หน] (กลอน) ว. โกลาหล เช่น สนั่นครั่นครื้นกุลาหล. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  39. เกราะ ๔ : [เกฺราะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคําเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑), ใช้ว่า เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะ ให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา).
  40. เกลาะ : [เกฺลาะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา), ใช้ว่า เกราะ ก็มี เช่น อย่าคําเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  41. โกปินำ : (โบ; กลอน) น. ผ้าปิดของลับ เช่น แล้วเกี่ยวรัดโกปินํา. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. โกปิน).
  42. โกหวา : [-หฺวา] น. เรียกแพรชนิดหนึ่ง. (พงศ. ร. ๓).
  43. ขุนหลวง : (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น เป็นขุนหลวงเสวยราชย์ ได้สองปี. (พงศ. ร. ๓).
  44. คชนาม : น. นามราหู, อักษรชื่อที่ขึ้นต้นด้วย ย ร ล ว.
  45. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  46. ครรภมล : [คับพะมน] น. รก. (ประกาศ ร. ๔), (ราชา) พระครรภมล.
  47. คัจฉะ : [คัดฉะ] (แบบ) น. ไม้กอ เช่น คัจฉลดาชาติ. (ม. ร. ๔). (ป.).
  48. คู่โค : (โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับ นาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [``ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจํานวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทํานาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทํานาในที่ เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จํานวนโคขึ้นตั้งเป็น อัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทําหรือมิทํา จึงต้องเสียหางข้าว'' -พงศ. ร. ๒].
  49. เคล่าคล่อง : [เคฺล่าคฺล่อง] (กลอน) ก. แคล่วคล่อง เช่น หลบหลีกเคล่าคล่อง ทํานองยุทธ. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
  50. เคี่ยว : ก. ต้มให้เดือดนาน ๆ เพื่อให้งวด ข้น หรือเปื่อยเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น อันซึ่งพระรามฤทธิรงค์ มาเคี่ยวฆ่าวงศ์ยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | [501-550] | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1697

(0.1079 sec)