Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รา , then , ระ, รา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รา, 1697 found, display 801-850
  1. ค่าภาคหลวง : (กฎ) น. ค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกําหนดให้ผู้ได้รับอนุญาต ให้ทําการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชําระให้แก่รัฐ เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงไม้หวงห้าม.
  2. คารวะ : [คาระ-] น. ความเคารพ, ความนับถือ. ก. แสดงความเคารพ. (ป.).
  3. ค้ำประกัน : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้คํ้าประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น.
  4. คิง : (ถิ่น) น. ร่างกาย เช่น รทวยรแถ้ง คิงคมกล้องแกล้ง. (สุธนู).
  5. เครื่องสับ : น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้ว่า เรือนเครื่องสับ, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก.
  6. เครือจักรภพ, เครือรัฐ : [-จักกฺระพบ, -รัด] น. กลุ่มประเทศหรือรัฐที่มีการปกครองตนเอง แต่ยอมรับนับถือประมุขร่วมกัน เช่น ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ รัฐต่าง ๆ ในเครือรัฐออสเตรเลีย. (อ. commonwealth).
  7. แคฝรั่ง : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Gliricidia sepium (Jacq.) Walp. ในวงศ์ Leguminosae แตกกิ่งก้านระเกะระกะ ออกดอกสีขาวหรือสี ม่วงอ่อนตามกิ่ง.
  8. แคระ : [แคฺระ] ว. เตี้ยเล็กกว่าปรกติ เช่น คนแคระ ม้าแคระ ต้นไม้แคระ.
  9. โคจรคาม : [โคจะระ-] น. หมู่บ้านที่ภิกษุไปบิณฑบาตเสมอ.
  10. โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
  11. โคตร, โคตร- : [โคด, โคดตฺระ-] น. วงศ์สกุล, เผ่าพันธุ์, ต้นสกุล, เช่น โคตมโคตร; คํานี้บางทีก็นําไปใช้ในความหมายไม่สุภาพหรือเป็นคําด่า เช่น ก่นโคตร. (ส. โคตฺร; ป. โคตฺต ว่า โรงวัว, คอกวัว, วงศ์, ตระกูล).
  12. โคตรภู : [โคดตฺระพู] (แบบ) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลําดับ อริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนามีขนบธรรมเนียมห่าง จากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. (ส. โคตฺรภู ว่า อ้างแต่เพศ ไม่มีคุณความดีของเพศ).
  13. โคตรภูญาณ : [โคดตฺระพูยาน] (แบบ) น. ปัญญาที่อยู่ในลําดับอริยมรรค.
  14. ฆร-, ฆระ : [คะระ-] น. เรือน. (ส. คฺฤห).
  15. ฆรณี : [คอระนี] น. แม่เรือน, เมีย. (ป., ส.).
  16. โฆรวิส : [โคระวิด] น. งูพิษ. ว. มีพิษร้าย. (ป.).
  17. เงิน : น. ธาตุลําดับที่ ๔๗ สัญลักษณ์ Ag เป็นโลหะสีขาว เนื้อค่อนข้างอ่อน หลอมละลายที่ ๙๖๐.๘?ซ. (อ. silver); วัตถุที่ใช้วัดราคาในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนกัน, วัตถุที่มีตราของรัฐ ใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย, ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร, เงินตรา ก็เรียก; โบราณใช้ว่า งึน เง็น หรือ เงือน ก็มี; (เศรษฐ) วัตถุที่กําหนดให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน หรือชําระหนี้. (อ. money).
  18. เงินได้กำบัง : (เศรษฐ) น. รายรับในดุลการชําระเงินระหว่างประเทศอันเกิด จากค่าบริการต่าง ๆ การใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยว ค่าประกันภัย เป็นต้น.
  19. เงินตรา : (กฎ) น. เงินที่รัฐกําหนดขึ้นไว้เพื่อใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร.
  20. เงินสด : น. ตัวเงินที่มีอยู่ซึ่งใช้ได้ทันที, เงินที่ชําระให้ทันทีเมื่อซื้อ หรือขายกัน.
  21. เงี่ยง ๑ : น. กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบนมีเงี่ยงที่โคนหาง หรือปลาดุกมีเงี่ยงที่ครีบอก, แง่ของสิ่งของบางอย่าง มีรูปหยักตอนปลาย เช่นเบ็ดหรือลูกศร.
  22. เงื่อน ๑ : น. เชือกหรือเส้นด้ายเป็นต้นที่ผูกกันเป็นปม เช่น เงื่อนกระทกหรือ เงื่อนกระตุก คือเงื่อนที่ผูกแล้วกระตุกออกได้ง่าย เงื่อนตาย คือเงื่อน ที่ผูกแล้วแก้ยาก เงื่อนเป็น คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ง่าย.
  23. จดุร- : [จะดุระ] (กลอน) แผลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่.
  24. จดูร- : [จะดูระ-] ว. สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  25. จตุร- : [จะตุดถะ-, -ตุดถี] ว. ที่ ๔ เช่นจตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. (ป.). [จะตุระ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. (ส.; ป. จตุ).
  26. จตุรงคประดับ : [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจพระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อ ตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้ง กระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน).
  27. จตุรงคยมก : [จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะ จังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรือง ฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  28. จตุรถ- : [จะตุระถะ-] ว. ที่ ๔ เช่น จตุรถาภรณ์. (ส.; ป. จตฺตถ).
  29. จตุรเวท, จตุรเพท : [จะตุระเวด, จะตุระเพด] น. ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ ของศาสนาพราหมณ์ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และ อถรรพเวทหรืออาถรรพเวท. (ดู เวท, เวท-).
  30. จร ๑, จร- : [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้าย สมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบ กับคําไทยก็มี.
  31. จรแกว่ง : [จะระแกฺว่ง] (กลอน) ก. แกว่ง.
  32. จรคั่ง : [จะระ-] (กลอน) ก. คั่ง.
  33. จรจรัล : [จอระจะรัน, จอนจะรัน] (กลอน) ก. เที่ยวไป, เดินไป, เช่น แม่รักลูกรักจรจรัล พลายพังก็กระสัน. (ดุษฎีสังเวย).
  34. จรณะ : [จะระ-] น. ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา. (ป.).
  35. จรบน, จรบัน : [จะระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปเบื้องบน, ฟุ้งไป, บินไป, เช่น ด้วยคันธามลกชําระจรบันสระหอมรส. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  36. จรบาท : [จอระ-] (กลอน) ก. เดินไปด้วยเท้า, ตรงกับคําว่า บทจร. undefined
  37. จรมัน : [จอระ-] (กลอน) ก. ทําให้มั่น, ทําให้แข็งแรง.
  38. จรลวง, จรล่วง : [จอระ-] (กลอน) ก. ล่วงไป, ลับไป.
  39. จรลาย : [จอระ-] (กลอน) ก. ละลายไป, หายไป.
  40. จรลิ่ว : [จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปไกล, ลอยไป, เช่น เหลียวแลทางจรลิ่ว เหลียวแลทิวเทินป่า. (ลอ).
  41. จรลี : [จอระ-] (กลอน) ก. เดินเยื้องกราย.
  42. จรลู่ : [จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปตามทาง, เที่ยวกลิ้งอยู่, เที่ยวกองอยู่.
  43. จระกล้าย : [จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  44. จระขาบ : [จะระ-] (กลอน) น. ตะขาบ, ใช้ว่า จะขาบ ก็มี.
  45. จระเข้ : [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณ ป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของ รูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้ เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้า มีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
  46. จระแคง : [จะระ-] (กลอน) ว. ตะแคง เช่น เท้าล้มจระแคง ทลายพุงพัง. (สุธนู).
  47. จระจุ่ม : [จะระ-] (กลอน) ก. ใส่, เผา, ทิ้ง, โยน.
  48. จระนำ : [จะระ-] น. ซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า ซุ้มจระนํา. (ทมิฬ จาฬรัม ว่า หน้าต่าง).
  49. จระบาน : [จะระ-] (กลอน) ก. สู้รบ.
  50. จระบี : [จะระ-] น. จาระบี.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | [801-850] | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1697

(0.1254 sec)