Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มุ่งหน้า, หน้า, มุ่ง , then มง, มงหนา, มุ่ง, มุ่งหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มุ่งหน้า, 1732 found, display 1001-1050
  1. ผ่าว : ว. อาการที่รู้สึกร้อนแรงเมื่อมีไอร้อนมากระทบ เช่นตัวร้อนผ่าว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่รู้สึกคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น อกร้อนผ่าว หน้าร้อนผ่าว.
  2. ผิดคน : ว. ไม่ใช่คนที่ตนมุ่งประสงค์, ไม่ใช่คนที่ต้องการ, เช่น ถามผิดคน.
  3. ผีโขมด : น. ผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสง เรืองวาวในเวลากลางคืนทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟ อยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป. (ดู โขมด๑).
  4. ผีสัง, ผีสาง : น. ผี, บางทีใช้นำหน้าชื่อคนที่ตายแล้ว เช่น ผีสาง ยายเขียว ผีสางตาขำ.
  5. ผีเสื้อเงิน : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Monodactylus argenteus ในวงศ์ Monodactylidae ลำตัวสั้นมาก รูปไข่แบนข้าง ครีบหลังและ ครีบก้นยาวพื้นลําตัวและครีบสีเทาเงิน มีแถบสีดําพาดขวาง ผ่านตา ๑ แถบและอีกแถบโค้งผ่านแผ่นปิดเหงือกไปยังขอบ หน้าของครีบหลังและครีบก้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร อยู่ในนํ้าจืดได้, โสร่งแขก ก็เรียก.
  6. ผึ้ง ๑ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Apidae มีปีกบางใส ๒ คู่ ปีกคู่หลัง เล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากใช้ทั้งกัดอาหารและดูดกินของเหลวได้ ท้องปล้องแรกที่ติดกับอกเล็กมาก ปล้องที่ ๒ มีขนาดไล่เลี่ยกัน ปล้องที่เหลือมีขนาดไล่เลี่ยกับอก ยกเว้นปล้องสุดท้ายที่มีขนาด เล็กกว่ามีขนปกคลุมตามลําตัว รวมตัวอยู่เป็นฝูง แบ่งชั้นวรรณะ เก็บเกสรและนํ้าหวานดอกไม้มาทํานํ้าผึ้ง เช่น ผึ้งหลวง (Apis dorsata) ผึ้งโพรง (A. cerana) ผึ้งมิ้ม (A. florea) ผึ้งเลี้ยง (A. mellifera) ผึ้งหอยโข่ง (Trigona spp.) และหลายชนิดในวงศ์ Megachilidae ซึ่งเป็นผึ้งที่อาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่รวมตัวเป็นฝูง ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ได้แก่ ผึ้งกรวย เช่น ชนิด Megachile griseopicta และผึ้งหลอด เช่น ชนิด Chalicodoma atrata, เผิ้ง ก็เรียก.
  7. ผูก : ก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทําให้มั่นหรือ ติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อ หรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วย เรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า; ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ. นรินทร์); จอง เช่นผูกเวร; ตรงข้าม กับ แก้. น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.
  8. ผูกดอก : (โบ) ก. ทําหนังสือสัญญาเป็นลูกจ้างรับเงินล่วงหน้าแล้ว ให้ดอกเบี้ยแทนรับใช้การงาน.
  9. เผชิญภัย : ก. เจออันตรายเฉพาะหน้า, กล้าเสี่ยงภัยโดยรู้ว่าจะมี อันตราย.
  10. เผือด : ว. จางไป, หมองไป, (ใช้แก่สีและผิว) เช่น หน้าเผือด สีเผือดไป ผิว ซีดเผือด.
  11. โผ ๒ : (ปาก) น. บัญชีรายชื่อบุคคลที่เตรียมไว้ล่วงหน้า. (จ. โผว ว่า บัญชี).
  12. โผล่ : [โผฺล่] ก. ผุดขึ้น, สูงขึ้น, เช่น โผล่ขึ้นมาจากน้ำ; ชะโงกออกมา, เยี่ยมออกมา, เช่น โผล่หัวออกมาจากรัง, ยื่นออกให้ปรากฏ เช่น โผล่หน้า.
  13. ฝ้า : น. อนุภาคเล็ก ๆ ที่รวมตัวกัน มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ลอยอยู่บนผิวนํ้า หรือติดอยู่ที่แผลเป็นต้น; แผ่นที่ดาดกรุหลังคา เพดาน หรือปิดใต้ตง. ว. ขุ่นมัวไม่ผ่องใส (ใช้แก่ผิว) เช่น กระจกฝ้า เพชรเป็นฝ้า, เรียกหน้า ที่มีลักษณะเป็นจุดหรือรอยผื่นสีคลํ้า ๆ ว่า หน้าเป็นฝ้า.
  14. ฝี ๒ : ใช้นําหน้าคําอื่น หมายความว่า การกระทําหรือการแสดงออกมาใน บางลักษณะ.
  15. ฝีจัก : น. ขวัญที่แสกหน้า ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสําหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ ฝีจัก ยักหล่มถ่มร้าย, สีจัก ก็ว่า.
  16. ฝุ่น : น. ดินแห้งหรือสิ่งอื่นที่ละเอียดเป็นผง เช่น ฝุ่นละออง ฝุ่นชอล์ก; ผงขาว ๆ คล้ายแป้งใช้ผัดหน้าหรือทาสิ่งของต่าง ๆ เช่น ฝุ่นผัดหน้า.
  17. เฝ้า : ก. ระวังดูแล, รักษา, เช่น เฝ้าไข้ เฝ้าขโมย เฝ้าบ้าน; มุ่งทำแต่สิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น เฝ้าถาม เฝ้าแต่ร้องไห้; จ้องดู, คอยดู, เช่น นั่งเฝ้า โทรทัศน์ตลอดวัน; (ราชา) ไปพบ, ไปหา, เช่น เฝ้าเจ้านาย.
  18. เฝื่อน : ว. รสที่เจือฝาดและขื่นอย่างรสดีเกลือ; วางหน้าไม่สนิทเหมือนกิน ของมีรสเฝื่อน.
  19. ใฝ่ฝัน : ก. คิดอยากได้, มุ่งหวัง, เช่น ใฝ่ฝันอยากไปเมืองนอก. ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น ใฝ่เย็นจะดิ้นตาย (สํา) ก. มุ่งหวังจะสบายต้อง ทํางาน ถ้าเกียจคร้านจะลําบากยากจน.
  20. พกจร : น. ประพฤติอย่างนกยาง คือ คนหน้าซื่อใจคดหรือหน้าเนื้อ ใจเสือ. (ส.).
  21. พญา : [พะยา] (โบ) น. เจ้าแผ่นดิน เช่น พญาลิไทย; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้'';นําหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์.
  22. ฯพณฯ : [พะนะท่าน] น. คํานําหน้าชื่อหรือตําแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้น รัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น. (ย่อมาจากคํา พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน).
  23. พนักงานสอบสวน : (กฎ) น. เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอํานาจ และหน้าที่ทําการสอบสวน.
  24. พบู ๒ : (กลอน) น. หน้า; ดอกไม้ เช่น พบูบานประสานสี. ว. งาม; ขาว, ด่อน.
  25. พยัก : [พะยัก] ก. อาการที่ก้มหน้าลงเล็กน้อยแล้วเงยหน้าขึ้นโดยเร็วเป็นการ แสดงความรับรู้เรียกว่า พยักหน้า.
  26. พยักพเยิด : [พะเยิด] ก. แสดงกิริยาหน้าตาพลอยรับรู้เห็นกับเขาด้วย, ไม่แสดงอาการให้ชัดเจนเป็นแต่พยักหน้า หรือทําบุ้ยใบ้ไม้มือเพื่อให้รู้.
  27. พยักยิ้ม : ก. แสดงกิริยาพยักพเยิดพร้อมทั้งยิ้มอยู่ในหน้าเป็นเชิง เย้ยหยัน.
  28. พรรษฤดู : [พันสะรึดู] น. หน้าฝน. (ส.).
  29. พรหมพักตร์ : น. ยอดเครื่องสูงหรือยอดสิ่งก่อสร้างที่เป็นหน้าพรหม ๔ ด้าน.
  30. พรหมเรขา, พรหมลิขิต : [พฺรมมะ, พฺรม] น. อํานาจที่กําหนดความ เป็นไปของชีวิต (ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่ง เกิดได้ ๖ วัน). (ส.).
  31. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  32. พระเจ้า : น. พระพุทธเจ้า เช่น พระเจ้าห้าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง. (กําสรวล), เทพผู้เป็นใหญ่; คํานําหน้า พระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายเช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าลูกเธอ; พระเศียรหรือพระเกศาพระเจ้าแผ่นดิน.
  33. พระเดชพระคุณ : น. คําใช้นําหน้าสมณศักดิ์ของพระราชาคณะ เช่น เรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม, ถ้าใช้นําหน้า สมณศักดิ์ของสมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้า ประคุณ หรือพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ เช่น กราบเรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์. ส. คําเรียกผู้ มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มี สมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๒.
  34. พระพุทธเจ้า : น. คําเรียกพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา, ใช้ เป็นคํานําหน้าชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระพุทธเจ้าเสือ.
  35. พรักพร้อม : [พฺรัก] ว. รวมอยู่พร้อมหน้ากัน ใช้ในลักษณะเช่นญาติพี่น้องมา กันพรักพร้อม, รวมอยู่พร้อมทุกอย่าง เช่น เตรียมข้าวของไว้ให้ พรักพร้อม, พร้อมพรัก ก็ว่า.
  36. พรายน้ำ : น. แสงเรืองในที่มืด ปรากฏที่ตัวเลขหน้าปัดนาฬิกาหรือ ที่สวิตช์ไฟฟ้าบางชนิด เกิดขึ้นได้เพราะสิ่งเหล่านั้นฉาบหรือผสมด้วย สารเคมีที่มีสมบัติเปล่งแสงเรืองออกมาได้หลังจากที่ถูกแสงสว่างอยู่ ชั่วระยะเวลาหนึ่ง สารเคมีประเภทนี้ เช่น แคลเซียมซัลไฟด์ (CaS) แบเรียมซัลไฟด์ (BaS) ที่มีโลหะบางชนิดเจือปน.
  37. พริ้ม : ว. งามอย่างยิ้มแย้ม, มีหน้าตาอิ่มเอิบและดูยิ้มละไมอยู่ในหน้า, เช่น พระพุทธรูปมีพระพักตร์พริ้ม นอนหลับตาพริ้ม.
  38. พรึง : น. ไม้กระดานหน้าใหญ่ตั้งอยู่บนหัวรอด รัดรอบเสาทั้ง ๔ ด้าน.
  39. พฤฒิบาศ : น. ชื่อพราหมณ์พวกหนึ่ง มีหน้าที่ทําพิธีเกี่ยวกับช้างและ ปัดเสนียดจัญไร.
  40. พลว : [พะละวะ] ว. มีกําลัง, แข็งแรง, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น พลวเหตุ คือ เหตุแข็งแรง เหตุที่มีกําลังกล้า. (ป.).
  41. พลิก : [พฺลิก] ก. กลับด้านหนึ่งเป็นอีกด้านหนึ่ง เช่น เรือพลิกท้อง ปลา พลิกท้อง นอนพลิกข้าง พลิกหน้าหนังสือ พลิกถ้อยคํา.
  42. พลีมุข : [พะลี] น. ลิง. (ส. พลีมุข ว่า หน้าย่น).
  43. พ่วง ๑ : ก. ต่อท้าย, ตามติด, เช่น ขอพ่วงไปด้วย, เรียกเรือที่พ่วงท้ายให้ เรือโยงลากจูงไปว่า เรือพ่วง, เรียกรถที่พ่วงท้ายให้รถคันหน้า ลากไปว่า รถพ่วง.
  44. พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
  45. พ่อสื่อ : น. ชายที่ทำหน้าที่ชักนําชายหญิงให้พบรู้จักรักใคร่และ แต่งงานกัน, ชายผู้ช่วยเหลือให้คู่รักได้ติดต่อหรือพบปะกัน.
  46. พะ ๑ : น. เพิงที่ต่อปะเข้าไปกับด้านสกัดของเรือน, พะเพิง เพิง หรือ เพิงพะ ก็เรียก. ก. พักพิงหรือแอบอิงอาศัย เช่น ลูกมาพะพ่อแม่อยู่, พะพิง ก็ว่า; ปะทะกัน, ชนกัน, เช่น คน ๒ คนเดินมาพะกัน; ปะทะติดอยู่ เช่น สวะมาพะหน้าบ้าน.
  47. พะ ๒ : ใช้นําหน้าคําที่ตั้งต้นด้วยตัว พ มีความแปลอย่างเดียวกับคําเดิมนั้น เช่น พะพรั่ง พะพรั่น พะพราย.
  48. พะยูน : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Dugong dugon ในวงศ์ Dugongidae ลําตัวอ้วนกลม เรียวยาวไปทางหาง มีขนเฉพาะที่บริเวณใกล้ปาก รยางค์คู่หน้าเป็นแผ่นคล้ายใบพายไม่เห็นเป็นนิ้ว รยางค์คู่หลังไม่มี หางแผ่เป็นแฉกกว้างแบนลง ตัวอาจยาวได้ถึง ๓ เมตร สีเทาดํา แกมฟ้า อาศัยอยู่ในทะเลชายฝั่ง กินพืชนํ้าพวกหญ้าทะเล เป็น สัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง, เงือก วัวทะเล หรือ หมูนํ้า ก็เรียก.
  49. พะว้าพะวัง : ก. ห่วงหน้าห่วงหลัง, ห่วงหน้าพะวงหลัง.
  50. พักตร, พักตร์ : [พักตฺระ] (ราชา) น. หน้า, ใช้ว่า พระพักตร์. (ส. วกฺตฺร).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1732

(0.1290 sec)