Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มุ่งหน้า, หน้า, มุ่ง , then มง, มงหนา, มุ่ง, มุ่งหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มุ่งหน้า, 1732 found, display 1201-1250
  1. รื่น : ว. ชื่น, สบาย, เช่น ฟังเสียงรื่นหู ดูทิวทัศน์รื่นตา เสียใจแต่แสร้งทำหน้ารื่น.
  2. รุน : ก. ดุนไปเรื่อย, ไสไปเรื่อย, เช่น รุนหลังให้รีบเดินไปข้างหน้า; ระบาย ท้อง. น. เครื่องช้อนกุ้งชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายชนาง แต่เล็กกว่า มีด้ามยาว ใช้ช้อนกุ้งหรือปลาเล็กปลาน้อยตาม ชายเฟือย.
  3. รู้แกว : ก. รู้เบาะแส, รู้ระแคะระคาย, เช่น รู้แกวว่าจะมายืมเงินเลยหลบ หน้าไปก่อน.
  4. รู้ตัว : ก. รู้สึกตัว เช่น โดนล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว, รู้มาก่อน เช่น ได้รับ แต่งตั้งโดยไม่รู้ตัว, รู้เนื้อรู้ตัว ก็ว่า; รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายแก่ตัว เช่น ผู้ร้ายรู้ตัวว่าจะถูกจับเลยชิงหนีไปเสียก่อน; รู้ว่าใครเป็นผู้ทำเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น รู้ตัวคนส่งบัตรสนเท่ห์ รู้ตัวคนส่งดอกไม้มาอวยพรวันเกิด.
  5. รู้ท่า : ก. รู้ทันความคิด, รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งคิดอย่างไร, เช่น เห็นหน้าน้อง ก็รู้ท่าว่าจะมาขอเงิน.
  6. รูปการณ์ : น. ลักษณะของเรื่องราว, เค้ามูลของเรื่องราว, เช่น คดีนี้ดูรูป การณ์แล้วจะต้องแพ้ รูปการณ์บอกว่าบริษัทนี้จะเจริญต่อไปภายหน้า.
  7. เรไร ๓ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งข้าวเจ้า เส้นเล็ก ๆ คล้ายซ่าหริ่ม จับให้ เป็นกลุ่มเล็ก ๆ คล้ายรังนก โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูด น้ำตาลทราย งา หยอดด้วยกะทิ.
  8. เราะราย : ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, มักพูดชวนทะเลาะ ทั่วไป เช่น พูดจาเราะราย ปากเปราะเราะราย ปากคอเราะราย.
  9. เริด ๒ : ว. เรียกอาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับว่า นอนตาเริด; เรียกอาการ ที่วิ่งมาอย่างเร็วด้วยความตื่นเต้นหรือกลัวเป็นต้นว่า วิ่งหน้าเริด; ร่นสูง ขึ้นมามากเช่น นั่งกระโปรงเริดเลยหัวเข่า, (ปาก) สวยมากเป็นพิเศษ เช่น แต่งตัวเสียเริด.
  10. เรียง : ก. จัดให้เป็นแถวหรือเป็นลำดับเป็นต้น เช่น จัดแถวหน้ากระดานเรียง สอง เข้าแถวเรียงตามลำดับไหล่ เรียงไข่ใส่ตะกร้า; ลักษณนามเรียกพลู ที่เอามาเรียงซ้อนกันประมาณ ๗–๘ ใบ เช่น พลูเรียงหนึ่ง พลู ๒ เรียง. (ในบทกลอนแผลงเป็น ระเรียง หรือ รันเรียง ก็มี).
  11. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  12. เรียน ๒ : ใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาอื่นเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เรียนถาม เรียนเชิญ.
  13. เรือดั้ง : น. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารคจัดเป็น ๒ สาย ขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งชัยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้.
  14. เรือประตู : น. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำ หน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือ ประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่งกับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อน ถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้าย กระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูในกับ หมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือ ที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.
  15. เรือพิฆาต ๑ : น. เรือหลวงสมัยโบราณ ทำหน้าที่ลาดตระเวนนำไปข้างหน้า กระบวนเรือเสด็จทางชลมารค และอยู่ท้ายกระบวนคอยถวายอารักขา กระบวนหนึ่งมีหลายลำ เช่น เรือมังกรจำแลง เรือมังกรแผลงฤทธิ์ เรือเหราล่องลอยสินธุ์.
  16. โรยขนมจีน : ก. บีบแป้งขนมจีนที่อยู่ในห่อผ้าที่เย็บติดกับหน้าแว่น แล้วโรยให้เป็นเส้นลงในน้ำเดือด, บีบขนมจีน ก็ว่า.
  17. โรยตัว : ก. เอาเชือกผูกรอบเอวแล้วเอาไปคล้องที่ต้นขาทั้ง ๒ ข้าง เอาปลายเชือกผูกที่หน้าท้อง แล้วค่อย ๆ หย่อนตัวลง เช่น โรยตัว ลงจากเฮลิคอปเตอร์กลางอากาศ, เอาเชือกผูกรอบเอวแล้วค่อย ๆ หย่อนตัวลงมาจากที่สูง เช่น โรยตัวจากอาคารสูง ๆ.
  18. ฤๅษีแปลงสาร : น. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณกลับตัวอักษร ข้างหลังมาไว้ข้างหน้า, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนข้อความเดิมให้มี ความหมายตรงกันข้าม.
  19. ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
  20. ลบเหลี่ยม : ก. ทำให้เสียชั้นเชิง เสียเกียรติ หรือเสียความเชื่อถือ ต่อหน้าผู้อื่นหรือต่อหน้าชุมนุมชน.
  21. ลม ๑ : น. ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ถ้าลมในร่างกายแปรปรวนไม่ปรกติจะทําให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น เป็นลม; ลมหายใจ เช่น หมดลม สิ้นลม หมายความว่า ตาย; อากาศที่เคลื่อนที่; ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการหลายอย่าง เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน, ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้นสติ หรือตายได้ เช่น เขาเป็นลมแน่นิ่งไป.
  22. ลมขึ้น : ก. อาการที่ลมดันออกจากภายในร่างกาย ทําให้หาวเรอ หรือให้เกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด และอาเจียน ในกรณีหลังนี้ บางทีก็เรียกว่า ลมขึ้นเบื้องสูง.
  23. ล้มคว่ำ : ก. ล้มเอาหน้าลง.
  24. ล้มเค้า : ก. เล่นการพนันบางอย่างเช่นถั่วโป โดยวิธีแทงเท่าจำนวน เค้าที่เจ้ามือมีอยู่ที่หน้าตัก ถ้าแทงถูกเจ้ามือก็หมดเค้า เรียกว่า แทงล้มเค้า.
  25. ลมจับ : ก. มีอาการวิงเวียนหน้ามืดบางคราวถึงกับหมดสติ, เป็นลม หรือ เป็นลมเป็นแล้ง ก็ว่า.
  26. ล้มหายตายจาก : ก. ตายจากไปแล้ว, หายหน้าไปนานจนทำให้คิด ว่าตายไปแล้ว.
  27. ลลาฏ : [ละ–] น. นลาฏ, หน้าผาก. (ป., ส.).
  28. ล้วงกระเป๋า : ก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วง กระเป๋าเวลาอยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ ไม่สุภาพ; ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูกล้วงกระเป๋า.
  29. ลวด : น. สิ่งที่ทําเป็นเส้นยาว ๆ เช่น ลวดหนัง คือ แผ่นหนังที่เอามาทําเป็น เส้นยาว ๆ, โลหะที่เอามารีดเป็นเส้นเช่นนั้นก็เรียกว่า ลวด เช่น ลวด สังกะสี ลวดทองแดง, โดยมากมักเรียกสั้น ๆ ว่า ลวด; เรียกสิ่งที่ทํา ด้วยลวด โลหะคล้ายสิ่งทอ ใช้กันยุงต่างมุ้ง ว่า มุ้งลวด; เรียกเครื่อง ปูลาดสําหรับรองนั่ง ทําด้วยต้นกก ทอเป็นผืน หน้ากว้างประมาณ ๑ เมตร ความยาวไม่จํากัด นิยมใช้ตามวัด ว่า เสื่อลวด; ลายที่ลอก เป็นเส้นกลมยาวไปตามขอบตัวไม้ต่าง ๆ, เรียกสิ่งที่นูนขึ้นซึ่งมี ลักษณะคล้ายลวด เช่นลวดปากปลา. (โบ) ว. เลย.
  30. ล่ะ : ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีน้ำหนักขึ้น เช่น มิน่าล่ะ จะไปไหมล่ะ, เล่า ก็ว่า.
  31. ละ ๒ : ว. คําใช้ประกอบหน้าคํา ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.
  32. ละล้าละลัง : ว. ห่วงหน้าห่วงหลัง, พะวงหน้าพะวงหลัง, พะวักพะวน, เช่น เกิดไฟไหม้ละล้าละลังคว้าอะไรไม่ถูก.
  33. ละล้าละลัง : ว. ห่วงหน้าห่วงหลัง, ลุก ๆ ลน ๆ.
  34. ละเลง : ก. ป้ายทาหรือไล้ทาให้แผ่ออกไปด้วยวิธีวนเป็นวงกลม ๆ เช่น ละเลงขนมเบื้อง, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้เลอะเทอะ เช่น เอาแป้งละเลงหน้า.
  35. ละห้อย : ว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความสงสาร เห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความผิดหวังหรือ คิดถึง เช่น หน้าละห้อย.
  36. ละเอียด : ว. ไม่หยาบ เช่น บดยาให้ละเอียด ทรายละเอียด, เป็นเส้นเล็ก ๆ เช่น ผมเส้นละเอียด ยาฝอยเส้นละเอียด, เป็นผง, เป็นจุณ, เช่น แป้งผัดหน้า ละเอียด, เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แก้วแตกละเอียด; ที่ต้องชี้แจงหรือ แจกแจงโดยไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง เช่น เรื่องนี้ต้องอธิบายโดย ละเอียด; ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น เจ้าหน้าที่การเงินควรเป็นคนละเอียด, ประณีต เช่น ฝีมือสอยผ้าละเอียด ฝีมือถักเสื้อละเอียด.
  37. ลับหลัง : ว. ไม่ใช่ต่อหน้า เช่น นินทาลับหลัง ว่าร้ายลับหลัง.
  38. ลัย, ลัย– : [ไล, ไลยะ–] น. จังหวะ (ใช้แก่ดนตรี); ที่อาศัย โดยมากมักเติม อุปสรรคข้างหน้า เช่น อาลัย; การหายไป โดยมากมักเติมอุปสรรค ข้างหน้า เช่น วิลัย บรรลัย. (ส.).
  39. ล้างบาป : น. พิธีทางศาสนาคริสต์ซึ่งทำแก่ทารกที่บิดามารดานับถือ ศาสนาคริสต์ หรือแก่บุคคลที่เดิมนับถือศาสนาอื่น แล้วหันมานับถือ ศาสนาคริสต์ โดยจุ่มหัวหรือตัวลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๓ ครั้งหรือเทน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการล้างบาป เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เรียกว่า พิธีศีลล้างบาป หรือ พิธีศีลจุ่ม.
  40. ลางสังหรณ์ : น. ลางที่ดลใจทำให้เชื่อว่าอาจจะมีเหตุดีหรือเหตุร้าย เกิดขึ้น เช่น จิ้งจกตกมาตายต่อหน้า เชื่อว่าเป็นลางสังหรณ์จะทำ ให้เกิดเหตุร้าย.
  41. ล้างอาย : ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการแก้หน้า.
  42. ลาย ๑ : น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็น สําคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลาย เทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกํามะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะสําคัญของตน เช่น ทิ้งลาย ไว้ลาย. ว. เป็นแนว ยาว ๆ เช่น ลายพาดกลอน, เป็นแผลยาว ๆ เช่น หลังลาย, เป็น จุด ๆ เป็นแต้ม ๆ เป็นดวง ๆ หรือเป็นเส้น ๆ เช่น หน้าลาย ท้องลาย; เรียกผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มี ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทํา เป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย.
  43. ลายพร้อย : ว. เป็นจุด เป็นประ เป็นดวง เป็นเส้นไปทั่วบริเวณ เช่น หน้าลายพร้อย ประแป้งลายพร้อย สักหลังลายพร้อย.
  44. ลายฮ่อ : น. ลายเส้นเขียนเป็นไพรคิ้วไพรปาก บนหน้าโขน ประกอบ ด้วยเส้นสีแดง ดินแดงและสีทอง, เส้นฮ่อ ก็เรียก; ลายที่เขียนเป็น อย่างแถบผ้าสะบัดกลับไปมา ใช้เขียนเพื่อแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ใน งานจิตรกรรมฝาผนังหรือจิตรกรรมภาพพระบฏ.
  45. ลิง ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดในอันดับ Primates ลักษณะ คล้ายคน แขนขายาว ตีนหน้าและตีนหลังใช้จับเกาะได้ มีทั้งชนิด ที่มีหาง เช่น วอก (Macaca mulatta) และชนิดที่ไม่มีหาง เช่น กอริลลา (Gorilla gorilla). ว. อาการที่แสดงกิริยาซุกซนอยู่ไม่สุข เช่น เด็กคนนี้ลิงเหลือเกิน.
  46. ลิงลม : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Nycticebus coucang ในวงศ์ Lorisidae หางสั้นมาก นิ้วชี้ของขาหน้าเล็กมากดูคล้ายติ่ง นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บ ยาวปลายแหลมเห็นได้ชัด ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง ตาโต ขนนุ่มมีลายสีนํ้าตาล ออกหากินในเวลากลางคืน จับเหยื่อได้ไวมาก กินผลไม้ แมลง และสัตว์เล็ก ๆ, นางอาย หรือ ลิงจุ่น ก็เรียก.
  47. ลิ้นชัก : น. ส่วนที่สอดอยู่ในช่องด้านหน้าตู้และโต๊ะเป็นต้น รูปคล้ายหีบไม่มีฝา ชักออกและผลักเข้าได้.
  48. ลิ้นปี่ : น. ส่วนปลายล่างของกระดูกอกที่ย้อยลงมาในผนังหน้าท้อง ส่วนบน.
  49. ลีลา : น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อ พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาท ขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย ยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะ แก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).
  50. ลึก : ว. ตํ่าลงไปจากขอบมากกว่าปรกติ เช่น ชามก้นลึก, ไกลตํ่าลงไป จากผิวหน้าหรือขอบบน เช่น ทะเลลึก นํ้าลึก เหวลึก, ไกลเข้าไป จากขอบเป็นต้น เช่น ป่าลึก ซอยลึก; หยั่งรู้ได้ยาก เช่น ความคิดลึก; ตรงข้ามกับ ตื้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | [1201-1250] | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1732

(0.1271 sec)