Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มุ่งหน้า, หน้า, มุ่ง , then มง, มงหนา, มุ่ง, มุ่งหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มุ่งหน้า, 1732 found, display 51-100
  1. หน้าถัง : น. หน้าร้านหรือโรงที่เปิดปิดด้วยกระดานเป็นแผ่น ๆ สอดเรียง เลื่อนไปตามรางที่ทำไว้.
  2. หน้าท้อง : น. ส่วนหน้าของท้อง ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา เช่น ฉีดเซรุ่ม ป้องกันพิษสุนัขบ้าที่หน้าท้องหลังจากถูกสุนัขกัด; โดยปริยายหมายถึงท้อง ที่ยื่นเพราะมีไขมันมาก เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยดี เสียแต่มีหน้าท้อง.
  3. หน้าทะเล้น : ว. อาการที่ทำหน้าหัวเราะอย่างทะลึ่งไม่เหมาะแก่บุคคลหรือ โอกาส.
  4. หน้าทับ : น. เสียงตีเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง จำพวกตะโพนหรือกลองแขก ซึ่งมีบัญญัติเป็นแบบแผนสำหรับตีประจำทำนองเพลงต่าง ๆ ใช้บอก สัดส่วนและประโยคของเพลงนั้น ๆ เช่น หน้าทับปรบไก่.
  5. หน้านิ่วคิ้วขมวด : ว. อาการที่ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือ เจ็บปวดเป็นต้น.
  6. หน้าบอกบุญไม่รับ : ว. มีสีหน้าบึ้งตึง เช่น เขาผิดหวังอะไรมา ทำหน้า บอกบุญไม่รับ.
  7. หน้าบาน : ว. ทําหน้าแสดงอาการดีใจ เช่น เขาหน้าบานเพราะสอบได้ที่ ๑.
  8. หน้าบูด : ว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูด เพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด ก็ว่า.
  9. หน้าปลาจวด : น. หน้าแหลมอย่างหัวปลาจวด.
  10. หน้าป๋อหลอ : ว. อาการที่นั่งให้เห็นหน้าโดยมิได้มีความสลักสำคัญอะไร.
  11. หน้าปัด : น. แผ่นที่มีตัวเลขหรือสัญลักษณ์แสดงเวลาหรือปริมาณเป็นต้น เช่น หน้าปัดนาฬิกา หน้าปัดวิทยุ หน้าปัดมาตรวัดนํ้า.
  12. หน้าปูเลี่ยน ๆ : ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท กระดากอายเพราะถูกจับผิดได้ เป็นต้น, หน้าเจื่อน ก็ว่า.
  13. หน้าเป็น : ว. อาการที่ทำหน้ายิ้มหรือหัวเราะอยู่เรื่อย ๆ, ช่างหัวเราะ.
  14. หน้าเปิด : น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าสว่าง ก็ว่า.
  15. หน้าเผือด, หน้าเผือดสี : น. หน้าไม่มีสีเลือด. ว. มีสีหน้าแสดงความผิดหวัง หรือตกใจเป็นต้น, หน้าถอดสี ก็ว่า.
  16. หน้าพาทย์ : น. เรียกเพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการ เคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธี ต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่า เพลงหน้าพาทย์. ว. ที่เกี่ยวกับเพลงหน้าพาทย์ เช่น รําหน้าพาทย์ บอกหน้าพาทย์.
  17. หน้าพาทย์แผลง : [-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อ เดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.
  18. หน้ามอด : น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้าข้าวตัง ก็ว่า.
  19. หน้าม่อย : ว. มีสีหน้าสลดแสดงว่าเสียใจ เช่น เธอทำหน้าม่อยเพราะรีด เสื้อตัวสวยไหม้.
  20. หน้ามุข : น. ส่วนของอาคารที่ยื่นเด่นออกมาทางหน้า.
  21. หน้าไม้ : น. วิธีคิดเลขเพื่อให้รู้ว่าไม้มีกี่ยก; เครื่องยิงชนิดหนึ่ง มีคันและ ราง ยิงด้วยลูกหน้าไม้.
  22. หน้าระรื่น : น. หน้ายิ้มอยู่เสมอ.
  23. หน้าร่าหุ์, หน้าราหู : น. ชื่อลายไทยแบบหนึ่งอยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูนทำเป็นหน้าอสูรที่ชื่อราหู เช่นตรงกลางพัดยศพระราชาคณะชั้น สามัญหรือที่โล่, หน้าขบ ก็เรียก.
  24. หน้าเริด : ว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง) เช่น เห็นแม่มา แต่ไกลก็วิ่งหน้าเริดเข้าไปหา,หน้าตั้ง ก็ว่า.
  25. หน้าเลือด : ว. ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะ เห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด, หน้าโลหิต ก็ว่า.
  26. หน้าวอก : น. หน้าของคนที่ผัดแป้งจนขาวเกินไป.
  27. หน้าวัว ๑ : น. กระเบื้องปูพื้นรูปสี่เหลี่ยม ทําด้วยดินเผา เรียกว่า กระเบื้อง หน้าวัว; กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนทำด้วย ปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ เรียกว่า กระเบื้องหน้าวัว กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องขนมเปียกปูน.
  28. หน้าแว่น : น. เครื่องโรยขนมจีนเป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือ ทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่วแผ่น เย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรู ให้พอเหมาะกับแผ่นทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, แว่น ก็เรียก, เรียก ขนมปังกรอบที่มีรูปเช่นนั้นว่า ขนมปังหน้าแว่น; ผิวดินที่กระเทาะเป็น แผ่นบาง ๆ.
  29. หน้าสลด : น. หน้าแสดงความเศร้าเสียใจ.
  30. หน้าสว่าง : น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าเปิด ก็ว่า.
  31. หน้าเสีย : ว. มีสีหน้าแสดงอาการพิรุธหรือตกใจ เสียใจเป็นต้น เช่น เขา หน้าเสียเพราะถูกจับได้ว่าทำความผิด.
  32. หน้าเสี้ยว : น. หน้าด้านข้าง (เห็นตา ๒ ข้างและหูข้างเดียว).
  33. หน้าหงาย : ว. อาการที่หน้าเงยแหงนขึ้น เช่น เขาถูกชกหน้าหงาย; โดย ปริยายหมายถึงอาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า เช่น ตั้งใจจะไป ขอยืมเงินเขา เขาบอกว่าหนี้เก่าก็ไม่ได้ชำระยังจะมาขอยืมอีก เลยต้อง หน้าหงายกลับมา; ที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้มาก เช่น เขาคุยว่าสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้แน่ ๆ แต่พอประกาศผลแล้วไม่ได้ ก็หน้าหงายกลับมา.
  34. หน้าหัก : น. หน้าซึ่งมีสันจมูกคล้ายหักเข้าไป.
  35. หน้าเหี่ยว : น. หน้าที่ไม่เต่งตึง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สมปรารถนา เช่น ขอสตางค์แม่ไม่ได้ก็หน้าเหี่ยวกลับมา.
  36. หน้าแหก : (ปาก) ว. อาการที่ต้องได้รับความอับอายขายหน้าอย่างยิ่งเพราะ ผิดหวังอย่างมากหรือเพราะถูกโต้ถูกย้อนกลับมาอย่างเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น.
  37. หน้าแหง : [-แหฺง] น. หน้าแสดงความเก้อหรือจนปัญญา.
  38. หน้าใหญ่ใจโต : ว. มีใจกว้างใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัวเพื่ออวดมั่งมี เช่น เขา ชอบทำหน้าใหญ่ใจโตทั้ง ๆ ที่มีเงินน้อย.
  39. หน้าใหม่ : ว. ที่เพิ่งเคยเห็นหรือรู้จักกัน เช่น นักร้องหน้าใหม่.
  40. หน้าไหว้หลังหลอก : (สำ) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือ หาทางทำร้าย, ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ก็ว่า.
  41. หน้าอ่อน : ว. ที่มองดูอายุน้อยกว่าอายุจริง เช่น ผู้หญิงคนนี้อายุมากแล้ว แต่ยังดูหน้าอ่อน, เรียกหมากที่หน้ายังไม่เต็มว่า หมากหน้าอ่อน.
  42. หน้าอัด : น. หน้าตรง, หน้าเต็ม, หน้าตรงแบน, (ใช้แก่รูปวาด รูปถ่าย หรือเหรียญ).
  43. หน้าอินทร์หน้าพรหม : น. ผู้มีอำนาจ, ผู้ยิ่งใหญ่, เช่น เขาไม่กลัวหน้าอินทร์ หน้าพรหมใด ๆ ทั้งนั้น.
  44. มุ่งร้ายหมายขวัญ : ก. คิดปองร้าย.
  45. มุ่งหมาย : ก. ตั้งใจที่จะให้บรรลุถึงจุดที่หมายไว้.
  46. มุ่งหวัง : ก. ตั้งใจ, หวังจะเอาให้ได้.
  47. หน้ากระดูก : น. รูปหน้าที่มีกระดูกสันแก้มสูง.
  48. หน้ากาฬ : น. เกียรติมุข.
  49. หน้าเก้อ : ว. มีสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น เด็กตีหน้าเก้อเมื่อถูกจับได้ว่าทำความผิด.
  50. หน้าขมึงทึง, หน้าถมึงทึง : น. หน้าตาที่บูดบึ้งไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1732

(0.1246 sec)