Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มุ่งหน้า, หน้า, มุ่ง , then มง, มงหนา, มุ่ง, มุ่งหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มุ่งหน้า, 1732 found, display 951-1000
  1. ปอง ๑ : ก. มุ่งปรารถนา.
  2. ป่อง ๑ : น. ชื่อแมงหลายชนิดและหลายวงศ์ในอันดับ Scorpionida หัวติด กับอกเป็นส่วนเดียวกัน รูปร่างค่อนไปทางสี่เหลี่ยมยาว ส่วนท้อง เป็นปล้อง ๆ ขนาดไล่เลี่ยกับอก ๗-๘ ปล้อง ส่วนที่เหลือเล็กลงต่อ กันยาวคล้ายหาง ที่ปลายมีเหล็กในสามารถต่อยให้เจ็บปวดได้ มีขา ๔ คู่ ด้านหน้ามีส่วนของปากขยายใหญ่โตกว่าขา ลักษณะเหมือน ก้ามปูใช้สําหรับจับเหยื่อ.
  3. ปะ : ก. มาเจอกัน, มาประเชิญหน้ากัน; เอาวัตถุเช่นผ้าหรือไม้เป็นต้นปิดทับ ส่วนที่ชํารุดเป็นช่องเป็นรู เช่น ปะผ้า ปะว่าว, ปิดทับ เช่น ปะหน้า. ปะว่า สัน. ถ้าว่าเจอ.
  4. ปะเลง : น. การรำเบิกโรงอย่างโบราณ ผู้แสดงแต่งเครื่องละครตัวพระคู่หนึ่ง สวมหน้าเทพบุตรศีรษะโล้น มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออก ท่าประกอบดนตรี.
  5. ปัญหา : น. ข้อสงสัย, ข้อขัดข้อง, เช่น ทําได้โดยไม่มีปัญหา, คําถาม, ข้อที่ควรถาม, เช่น ตอบปัญหา, ข้อที่ต้องพิจารณาแก้ไข เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาทางการเมือง. (ป.).
  6. ปัตคาด : [ปัดตะคาด] น. ชื่อเส้นในร่างกายของคน ในตําราหมอนวดว่า ตั้งแต่ท้องน้อยถึงโคนขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง.
  7. ปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ : ว. แสดงอาการกินหมากจัดเอาอย่างเขา; เจ้าหน้าเจ้าตา, ดัดจริตเสนอหน้าหรือแสดงตัวผิดกาลเทศะ.
  8. ปั้นเจ๋อ : ว. เจ้าหน้าเจ้าตา.
  9. ปั้นหยา : [-หฺยา] น. สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีหลังคาเอนเข้าหาอกไก่ทั้ง ๔ ด้าน ไม่มีหน้าจั่ว เรียกว่า เรือนปั้นหยา. (เปอร์เซีย ปั้นหย่า ว่า วัตถุที่ ทําเป็นหัตถ์ของเจ้าเซ็นประดิษฐานอยู่ในกะดีซึ่งมีลักษณะ หลังคาเช่นนั้น).
  10. ปากคอเราะราย : ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, ปากเปราะ เราะราย ก็ว่า.
  11. ปากเปราะเราะราย : ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, ปากคอเราะราย ก็ว่า.
  12. ปากเปียก, ปากเปียกปากแฉะ : น. เรียกการว่ากล่าวตักเตือนซํ้าแล้วซํ้าเล่า ก็ยังไม่ได้ผลตามที่มุ่งหมาย.
  13. ปาด ๑ : ก. เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกโดยวิธีฝานบาง ๆ หรือกวาดออก เช่น ปาดผลไม้ส่วนที่เสียออก ปาดปากถังปากสัดปากทะนาน, โดยปริยายหมายความว่า เอาของมีคมฟันแฉลบ ๆ เช่น เอามีดปาดหน้า.
  14. ปาทังกา : น. ชื่อตั๊กแตนชนิด Patanga succincta ในวงศ์ Acrididae ตัวยาว ๖-๗ เซนติเมตร กว้าง ๗-๘ มิลลิเมตร สีแตกต่างกันไป เป็นสีนํ้าตาล นํ้าตาลแก่ แดงอมเขียว มีแถบสีครีมทอดจากหน้า ไปสันหลังปล้องอกจนถึงปีก ใต้ตามีแถบสีครีมยาวเรียวรูปดาบ ปีกมีรอยจุดและรอยด่างกระจายทั่วไป อาจพบอยู่เดี่ยว ๆ หรือเป็นฝูง ทําลายพืชต่าง ๆ.
  15. ปิย- : [ปิยะ-] ว. ที่รัก, สําหรับประกอบหน้าศัพท์ต่าง ๆ เช่น ปิยบุตร หรือ ปิโยรส = ลูกที่รัก. (ป.).
  16. ปืน : น. อาวุธสําหรับยิงให้ลูกออกจากลํากล้องด้วยกําลังดินระเบิดหรือ แรงอัดดันด้วยลมเป็นต้น. (ศร หน้าไม้ เกาทัณฑ์ โบราณเรียกว่า ปืน; ปืนที่ใช้กําลังไฟ เรียกว่า ปืนไฟ).
  17. ปืนยา : น. ศรหรือหน้าไม้ที่มีลูกอาบด้วยยาพิษ.
  18. ปุพพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, บุรพผลคุนี : [-, ปุระพะ-, บุบพะ-, บุระพะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก. ปุพพะภัททะ, บุรพภัทรบท [-พัดทะ, บุบพะพัดทฺระบด, บุระพะพัดทฺระบด] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๕ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก.
  19. ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี, บุรพผลคุนี : [-, ปุบพะ-, บุบพะ-, บุระพะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือเพดาน ตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก.
  20. ปุเรจาริก : ว. เป็นเครื่องนําหน้า, เป็นอารมณ์, เป็นหัวหน้า. (ป., ส.).
  21. ปูด ๒ : ว. นูนเบ่งขึ้นมาในลักษณะอย่างดินปูด หน้าปูด; เสียงดังเช่นนั้น.
  22. ปูนเพชร : น. ปูนชนิดหนึ่ง ทําด้วยปูนขาวผสมทรายละเอียด นํ้ากาวหนัง และนํ้าเชื้อนํ้าตาล ใช้ปั้นรูปต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ลายกระหนก หัวนาค.
  23. -เปกข์ : น. ผู้เพ่ง, ผู้มุ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อุปสัมปทาเปกข์ คือ ผู้เพ่งอุปสมบท ผู้มุ่งอุปสมบท. (ป.).
  24. เป็น ๑ : ก. คํากริยาสําหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคํากับคําเพื่อ ให้เห็นว่าคําหน้าและคําหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.
  25. เป็นที่ ๒ : ว. ใช้นำหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อเสริมความให้แจ่ม ชัดยิ่งขึ้น เช่น เป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นที่น่ากลัว เป็นที่น่าพอใจ.
  26. เป็นลม, เป็นลมเป็นแล้ง : ก. มีอาการวิงเวียนหน้ามืด บางคราว ถึงกับหมดสติ.
  27. เป็นสุข : ก. มีความสบายกายสบายใจ เช่น เขาถูกลอตเตอรี่รางวัล ที่ ๑ เวลานี้จึงเป็นสุขมาก ประชาชนในประเทศนี้อยู่เย็นเป็นสุข เสมอหน้ากัน, โดยปริยายหมายความว่า ตาย เช่น ไหน ๆ เขาก็ เป็นสุขไปแล้ว อโหสิให้เขาเถิด.
  28. เปอร์เซ็นต์ : น. จํานวนที่เทียบเป็นส่วนร้อยหรือร้อยละ, การคิดเทียบเป็น ส่วนร้อย เรียกว่า ร้อยละ หรือ ต่อร้อย ใช้เครื่องหมาย % แทน เช่น นักเรียนโรงเรียนนี้สอบได้ ๗๐ % คือ สอบได้ ๗๐ คน จาก จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๑๐๐ คน เด็กคนนี้สอบได้ ๘๐ % คือ ได้ คะแนน ๘๐ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน; (ปาก) ค่า นายหน้า, ค่าตอบแทนในการติดต่อซื้อขายเป็นต้น, เช่น ได้ เปอร์เซ็นต์ ให้เปอร์เซ็นต์.
  29. เป๋อเหลอ : [-เหฺลอ] ว. เซ่อ, มีสีหน้าไม่รู้เรื่อง (ใช้แก่หน้า).
  30. เป๋า : น. กระเป๋า; ชื่อการนับแต้มลูกเต๋าที่ขึ้น ๓ หน้าเหมือนกัน.
  31. เป้าหมาย : น. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็น ศูนย์กลางแห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ ตามเจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.
  32. เปาะเปี๊ยะ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนําแป้งสาลีมาทําให้สุกเป็นแผ่นกลม บาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุงรสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะ ก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด, ชนิดที่ใช้ แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสดต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด. (จ.).
  33. แป้ง : น. สิ่งที่เป็นผงละเอียดได้จากเมล็ดพืช ผลไม้ และรากไม้ เป็นต้น ใช้เป็นอาหาร, ผงขาว ๆ ที่ทําด้วยหินเป็นต้น สําหรับผัดหน้า.
  34. แป้งนวล : น. ผงสีขาวที่ทําด้วยหินปูนเป็นต้น แล้วทําเป็นเม็ด ๆ สําหรับผัดหน้า.
  35. แป้งฝุ่น : น. แป้งเป็นผงละเอียด ใช้ผัดหน้าหรือทาตัว.
  36. โปรด : [โปฺรด] ก. ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น โปรดสิ่งสวยงาม, แสดงความ เมตตากรุณาโดยปลดเปลื้องความเดือดร้อนเป็นต้น เช่น โปรด ข้าพเจ้าสักครั้ง, ใช้ประกอบหน้ากริยา แสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น โปรดนั่งนิ่ง ๆ. ว. ที่ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น คนโปรด ของโปรด. (ข. โปฺรส).
  37. ไปยาล : น. เครื่องหมายละคํา รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สําหรับละคํา ที่ประกอบคําหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สําหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่า มีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า ''ละ'', หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า ''ละถึง'', เปยยาล ก็เรียก. (ป. เปยฺยาล).
  38. ผงะ : [ผะหฺงะ] ก. แสดงอาการชะงักงันหรือถอยไปข้างหลังเมื่อประสบ เหตุการณ์ประจันหน้าโดยกะทันหันไม่ทันรู้ตัวหรือคาดหมายมาก่อน.
  39. ผมนาง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Alectis ciliaris, A. indica และ Carangoides armatus ในวงศ์ Carangidae ลําตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหาง เล็ก เกล็ดละเอียด เว้นแต่ที่ส่วนท้ายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะ บริเวณคอดหางเกล็ดจะขยายใหญ่เป็นสันแข็ง มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น ที่สําคัญคือ ต่างก็มีก้านครีบหลังตอนที่ ๒ และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลําตัวสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลัง เป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็น บั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดํา จึงได้ ชื่อว่า ผมนาง เฉพาะชนิด A. indica มีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
  40. ผลคุนี : [ผนละคุนี] น. ชื่อดาวนักษัตรมี ๔ ดวง เรียกว่า ดาวเพดาน เมื่อแยก เพียง ๒ ดวงหน้า เรียกว่า บุรพผลคุนี เป็นดาวฤกษ์ที่ ๑๑ คือ ดาววัว ตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย, อีก ๒ ดวงหลังเรียกว่า อุตรผลคุนี เป็นดาวฤกษ์ ที่ ๑๒ คือ ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย. (ส.; ป. ผคฺคุณี).
  41. ผลพลอยได้ : น. สิ่งที่ได้รับนอกเหนือจากผลที่ได้ตามความมุ่งหมาย.
  42. ผ่อง ๑ : ว. ปลั่ง, ปราศจากมลทิน, ไม่ขุ่นมัว, เช่น ผิวผ่อง หน้าผ่อง ขาวผ่อง.
  43. ผะ ๒ : ใช้นําหน้าคําที่ตั้งต้นด้วยตัว ผ มีความแปลอย่างเดียวกับคําเดิมนั้น เช่น ผะผก ผะผ่อง ผะผ้าย ผะผ่าว ผะผํ้า.
  44. ผัก : น. พืชที่ใช้เป็นอาหาร; ใช้เป็นคํานําหน้าชื่อพืชบางจําพวก เช่น ผักกาด ผักกูด ผักปลาบ ผักหนอก.
  45. ผัด : ก. เอาสิ่งที่ใช้เป็นอาหารใส่ลงในกระทะที่มีนํ้ามันหรือนํ้าเล็กน้อย ตั้งไฟแล้วพลิกกลับไปมาจนสุก เช่น ผัดข้าว ผัดหมี่, เรียกอาหาร ที่ทําด้วยวิธีการเช่นนั้น เช่น ข้าวผัด หมี่ผัด; ย้ายไปย้ายมา, หมุน ไปมา, ล่อให้ไล่; ขอเลื่อนเวลาไป เช่น ผัดวัน ผัดหนี้; เอาแป้งลูบ ที่หน้าเพื่อให้นวล เช่น ผัดหน้า.
  46. ผัน ๒ : ก. หัน เช่น ผันหน้า, ผิน หรือ หิน ก็ว่า; ทำให้เปลี่ยนไปจากแนว หรือลักษณะเดิม เช่น ผันน้ำเข้านา.
  47. ผาก ๓ : น. ส่วนหน้าเหนือคิ้วขึ้นไป เรียกว่า หน้าผาก.
  48. ผ้าเช็ดหน้า : น. ผ้าผืนเล็กรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สําหรับเช็ดหน้า ซับเหงื่อเป็นต้น.
  49. ผ้าทิพย์ : น. ผ้าที่ห้อยตรงหน้าฐานพระพุทธรูป (โดยมากปั้นด้วย ปูนทําเป็นลายต่าง ๆ แต่ที่ไม่เป็นลายก็มี), ผ้าที่ห้อยหน้าราชอาสน์ หรือพนักพลับพลา.
  50. ผ่านไป. : ว. เรียกม้าที่มีลายขาวขวางพาดตัวว่า ม้าผ่าน; ถ้า ประกอบหน้านามบางคําหมายความว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ผ่านเกล้าฯ ผ่านเผ้า ผ่านพิภพ ผ่านฟ้า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | [951-1000] | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1732

(0.1205 sec)