Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กุมารแพทย์, แพทย์, กุมาร , then กมาร, กุมาร, กุมารแพทย์, กุมารา, แพทย, แพทย์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กุมารแพทย์, 174 found, display 151-174
  1. วิชาชีพ : น. วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาแพทย์ วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์.
  2. วิสัญญีแพทย์ : น. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้ยาชาและยาสลบ.
  3. เวชภัณฑ์ : [เวดชะพัน] น. สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับ การแพทย์.
  4. ศรัทธา : [สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาใน ความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสา ทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขา ศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผน โบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).
  5. ศัลยแพทย์ : [สันละยะแพด] น. แพทย์ทางการผ่าตัด.
  6. ศัสตรกรรม : น. การผ่าตัดทางแพทย์. (ส.).
  7. ศิลปศาสตร์ : น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
  8. สถานีอนามัย : น. สถานบริการสาธารณสุขที่ไม่มีแพทย์ประจำ ให้ บริการสาธารณสุขทุกสาขาและส่งเสริมป้องกันด้านอนามัยแก่ ประชาชนในระดับตำบลและหมู่บ้าน, เดิมเรียกว่า สุขศาลา.
  9. สะพั้น : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากํา ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักเกิดเพราะผิดอากาศ เป็นต้น, ตะพั้น ก็ว่า.
  10. สัตยวาที : น. ผู้พูดแต่ความจริง เช่น อันว่าพระมหาบุรุษรัตน ผู้อยู่ใน สัตยวาที. (ม. คําหลวงกุมาร). (ส. สตฺยวาทินฺ).
  11. หมดฝีมือ : ว. เต็มความสามารถที่มีอยู่ เช่น งานครั้งนี้เขาทำอย่างหมดฝีมือ เลย แม้แพทย์จะพยายามรักษาคนไข้จนหมดฝีมือแล้ว แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ ไม่ได้, หมดความสามารถ, สิ้นฝีมือ ก็ว่า.
  12. เหล้าแห้ง : (ปาก) น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็น ยานอนหลับจําพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียม เซโคบาร์บิทาล และเรียกกันสั้น ๆ ว่า เซโคนัล ทางแพทย์ใช้เป็น ยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น.
  13. ให้หน้า : ก. แสดงท่าทีให้ผู้ที่รู้กันทำตามความประสงค์ด้วยการพยักหน้า ขยิบตา บุ้ยปาก เป็นต้น เช่น ชูชกกล่าวหาพระเวสสันดรว่า ให้หน้าให้ สองกุมารหนีไปเสียทั้งที่ยกให้ตนแล้ว.
  14. ออกซิเจน : น. ธาตุลําดับที่ ๘ สัญลักษณ์ O เป็นแก๊ส มีปนอยู่ในอากาศประมาณ ร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่ติดไฟ แต่ช่วย ให้ไฟติด มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการหายใจและการเผาไหม้เป็นต้น ใช้จุดกับแก๊สอะเซทิลีนเพื่อเชื่อมหรือตัดโลหะ ในทางแพทย์ใช้ช่วย การหายใจของคนไข้. (อ. oxygen).
  15. อัตราส่วน : น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือ ต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณ หลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณ แรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วน ไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).
  16. อายุรเวท : น. วิชาแพทย์, วิชาที่เกี่ยวกับสุขภาพและการรักษา. (ถือกันว่าเป็นวิชาศักดิ์สิทธิ์และเป็นส่วนหนึ่งของอถรรพเวท). (ส.).
  17. อินซูลิน : น. ฮอร์โมนประเภทโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งหย่อมเซลล์แลงเกอร์ฮานส์ (islets of Langerhans) ในตับอ่อนผลิตขึ้น มีสมบัติควบคุมการ เผาผลาญนํ้าตาลในร่างกาย ในทางแพทย์ใช้เป็นสารลดระดับ นํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. (อ. insulin).
  18. อุปเวท : [อุปะเวด, อุบปะเวด] น. คัมภีร์ ''พระเวทรอง'' ของอินเดียโบราณ เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาการ ไม่นับว่าเป็นคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ อายุรเวท (วิชาแพทย์ ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์อถรรพเวทหรือ อาถรรพเวท) ธนุรเวท (วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ถือว่าเป็น สาขาของคัมภีร์ยชุรเวท) คันธรรพเวทหรือคานธรรพเวท (วิชา การดนตรี ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์สามเวท) และสถาปัตยเวท (วิชาการก่อสร้าง ไม่ระบุว่าเป็นสาขาของคัมภีร์พระเวทใด). (ส.).
  19. เอกซเรย์ : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นอยู่ ระหว่างประมาณ ๕ x ๑๐-๙ เมตร ถึง ๖ x ๑๐-๑๒ เมตร ใช้ ประโยชน์ในทางแพทย์ ทางวิศวกรรม เป็นต้น, รังสีเรินต์เกน หรือ รังสีเอกซ์ ก็เรียก; เรียกการถ่ายภาพอวัยวะภายในโดยใช้ เอกซเรย์ว่า การถ่ายภาพเอกซเรย์, เรียกการรักษาโรคมะเร็ง และโรคผิวหนังบางประเภท โดยใช้เอกซเรย์ที่มีช่วงคลื่นสั้น กว่าที่ใช้ถ่ายภาพ ว่า การฉายเอกซเรย์ หรือ การฉายแสง. (อ. Xrays).
  20. เอกังสพยากรณ์ : [สะพะยากอน] น. ''การพยากรณ์โดยส่วนเดียว'' หมายถึง การ พยากรณ์เด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้ เช่น พราหมณ์ โกณฑัญญะพยากรณ์สิทธัตถราชกุมารว่าจะต้องออกบวชและ ตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลกอย่างแน่นอน จัดเป็น เอกังสพยากรณ์, การตอบปัญหาที่ผู้ถามถามอย่างชัดเจนสามารถตอบได้อย่าง แจ่มแจ้งทันที.
  21. เอาไม่อยู่ : ก. ปกครองไม่ได้, ควบคุมไม่ได้, เช่น เด็กคนนี้ซนมาก จนพ่อแม่เอาไม่อยู่, ควบคุมให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ เช่น ม้าตัวนี้ พยศมากจนเจ้าของเอาไม่อยู่, เหลือความสามารถที่จะเยียวยาได้ เช่น โรคของเขาอาการหนักมากแพทย์คงจะเอาไม่อยู่.
  22. แอสไพริน : น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร CH3COO?C6H4?COOH ชื่อทางเคมี คือ acetylsalicylic acid ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๓๓?ซ. ใช้ในทางการแพทย์เป็นยาลดไข้และ ระงับปวด. (อ. aspirin).
  23. โอสถกรรม : น. การแพทย์แผนกใช้ยา, การรักษาไข้ด้วยวิธีใช้ยา.
  24. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-174]

(0.0659 sec)