Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เค้าหน้า, เค้า, หน้า , then คา, เค้า, เค้าหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เค้าหน้า, 1790 found, display 1201-1250
  1. ลักไก่ : (ปาก) ก. หลอกล่อให้หลงเข้าใจผิด, ใช้อุบายลวงให้หลง, (มักใช้แก่การกีฬา) เช่น ยิงลูกลักไก่, ถือไพ่แต้มต่ำ แต่เพิ่มเค้า เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิดว่าตนถือไพ่แต้มสูง (ใช้แก่การเล่น โป๊กเกอร์หรือเผ).
  2. ลับหลัง : ว. ไม่ใช่ต่อหน้า เช่น นินทาลับหลัง ว่าร้ายลับหลัง.
  3. ลัย, ลัย– : [ไล, ไลยะ–] น. จังหวะ (ใช้แก่ดนตรี); ที่อาศัย โดยมากมักเติม อุปสรรคข้างหน้า เช่น อาลัย; การหายไป โดยมากมักเติมอุปสรรค ข้างหน้า เช่น วิลัย บรรลัย. (ส.).
  4. ล้างบาป : น. พิธีทางศาสนาคริสต์ซึ่งทำแก่ทารกที่บิดามารดานับถือ ศาสนาคริสต์ หรือแก่บุคคลที่เดิมนับถือศาสนาอื่น แล้วหันมานับถือ ศาสนาคริสต์ โดยจุ่มหัวหรือตัวลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๓ ครั้งหรือเทน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการล้างบาป เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เรียกว่า พิธีศีลล้างบาป หรือ พิธีศีลจุ่ม.
  5. ลางสังหรณ์ : น. ลางที่ดลใจทำให้เชื่อว่าอาจจะมีเหตุดีหรือเหตุร้าย เกิดขึ้น เช่น จิ้งจกตกมาตายต่อหน้า เชื่อว่าเป็นลางสังหรณ์จะทำ ให้เกิดเหตุร้าย.
  6. ล้างอาย : ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการแก้หน้า.
  7. ลาดเลา : น. ลู่ทาง, เค้าเงื่อน, (มักใช้แก่กริยาดู) เช่น ตำรวจดูลาดเลาก่อนจับ การพนัน.
  8. ลาย ๑ : น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็น สําคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลาย เทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกํามะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะสําคัญของตน เช่น ทิ้งลาย ไว้ลาย. ว. เป็นแนว ยาว ๆ เช่น ลายพาดกลอน, เป็นแผลยาว ๆ เช่น หลังลาย, เป็น จุด ๆ เป็นแต้ม ๆ เป็นดวง ๆ หรือเป็นเส้น ๆ เช่น หน้าลาย ท้องลาย; เรียกผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มี ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทํา เป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย.
  9. ลายพร้อย : ว. เป็นจุด เป็นประ เป็นดวง เป็นเส้นไปทั่วบริเวณ เช่น หน้าลายพร้อย ประแป้งลายพร้อย สักหลังลายพร้อย.
  10. ลายฮ่อ : น. ลายเส้นเขียนเป็นไพรคิ้วไพรปาก บนหน้าโขน ประกอบ ด้วยเส้นสีแดง ดินแดงและสีทอง, เส้นฮ่อ ก็เรียก; ลายที่เขียนเป็น อย่างแถบผ้าสะบัดกลับไปมา ใช้เขียนเพื่อแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ใน งานจิตรกรรมฝาผนังหรือจิตรกรรมภาพพระบฏ.
  11. ลิง ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดในอันดับ Primates ลักษณะ คล้ายคน แขนขายาว ตีนหน้าและตีนหลังใช้จับเกาะได้ มีทั้งชนิด ที่มีหาง เช่น วอก (Macaca mulatta) และชนิดที่ไม่มีหาง เช่น กอริลลา (Gorilla gorilla). ว. อาการที่แสดงกิริยาซุกซนอยู่ไม่สุข เช่น เด็กคนนี้ลิงเหลือเกิน.
  12. ลิงลม : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Nycticebus coucang ในวงศ์ Lorisidae หางสั้นมาก นิ้วชี้ของขาหน้าเล็กมากดูคล้ายติ่ง นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บ ยาวปลายแหลมเห็นได้ชัด ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง ตาโต ขนนุ่มมีลายสีนํ้าตาล ออกหากินในเวลากลางคืน จับเหยื่อได้ไวมาก กินผลไม้ แมลง และสัตว์เล็ก ๆ, นางอาย หรือ ลิงจุ่น ก็เรียก.
  13. ลิ้นชัก : น. ส่วนที่สอดอยู่ในช่องด้านหน้าตู้และโต๊ะเป็นต้น รูปคล้ายหีบไม่มีฝา ชักออกและผลักเข้าได้.
  14. ลิ้นปี่ : น. ส่วนปลายล่างของกระดูกอกที่ย้อยลงมาในผนังหน้าท้อง ส่วนบน.
  15. ลีลา : น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อ พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาท ขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย ยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะ แก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).
  16. ลึก : ว. ตํ่าลงไปจากขอบมากกว่าปรกติ เช่น ชามก้นลึก, ไกลตํ่าลงไป จากผิวหน้าหรือขอบบน เช่น ทะเลลึก นํ้าลึก เหวลึก, ไกลเข้าไป จากขอบเป็นต้น เช่น ป่าลึก ซอยลึก; หยั่งรู้ได้ยาก เช่น ความคิดลึก; ตรงข้ามกับ ตื้น.
  17. ลื้น, ลื้น ๆ : ว. เจ็บอาย, เศร้า, สลด, เช่น ว่าแล้วหน้าไม่ลื้น; บวมหรือนูนน้อย ๆ เช่น แขนถูกแมลงต่อยผิวลื้นขึ้นมา เนื้อลื้น ๆ จะเป็นฝี.
  18. ลืมกลืน : น. ชื่อขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเท้ายายม่อม หรือแป้ง ถั่วกวนกับน้ำตาลทรายหยอดหน้าด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิอย่าง หน้าตะโก้ โรยหน้าด้วยถั่วทองคั่ว.
  19. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  20. ลูกขวาน : น. ขวานขนาดเล็ก หน้าประมาณนิ้วครึ่ง ใช้เหน็บหลัง เป็นอาวุธ.
  21. ลูกขัด ๑ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทํานองให้ผิดแผกแตกต่างไป อีกอย่างหนึ่ง และทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาว เท่าใดหรือจะมีเพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  22. ลูกเธอ : (ราชา) น. คํานําหน้านามพระราชโอรสพระราชธิดาในสมัย รัชกาลที่ ๑ ถึงต้นรัชกาลที่ ๓, คํานําหน้านามพระราชธิดาในสมัย ปลายรัชกาลที่ ๓ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกเธอ, ถ้ามีพระ มารดาเป็นเจ้า เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ.
  23. ลูกแป : น. วิธีเตะตะกร้อท่าหนึ่งด้วยหน้าเท้า คือ ทั้งฝ่าเท้าและ ข้างเท้าพร้อม ๆ กัน.
  24. ลูกผม : น. ผมอ่อนที่อยู่ตามตีนผมตรงหน้าผากและท้ายทอย.
  25. ลูกเมียน้อย : น. ลูกของเมียน้อยซึ่งมีสิทธิ์ด้อยกว่าลูกของเมียหลวง, โดยปริยายหมายถึงผู้มีฐานะไม่เทียมหน้าเทียมตาผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่ มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บางคนบ่นว่าสถาบันของตนเป็น ลูกเมียน้อย.
  26. ลูกยาเธอ : (ราชา) น. คํานําหน้านามพระราชโอรสในสมัยปลาย รัชกาลที่ ๓ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกยาเธอ, ถ้ามีพระ มารดาเป็นเจ้า เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ.
  27. ลูกล้อ ๒ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทํานองซํ้าอย่างเดียวกัน และ ทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาวเท่าใดหรือจะมี เพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  28. ลูกสะบ้า : น. กระดูกมีลักษณะกลม ๆ แบน ๆ คล้ายลูกสะบ้า มีเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากับกระดูกหน้าแข้ง ประกอบเป็นส่วนนูนสุดของกระดูกหัวเข่า, สะบ้าหัวเข่า ก็ว่า.
  29. ลูบตัว, ลูบเนื้อลูบตัว : ก. ก้มตัวลงและราดน้ำชำระร่างกายท่อนบน, วักน้ำลูบหน้าลูบแขนเป็นต้นเพื่อให้คลายร้อน.
  30. เลนส์ : น. วัตถุโปร่งใสซึ่งมีพื้นหน้าเป็นผิวนูนหรือเว้า โดยทั่วไปมักทํา ด้วยแก้ว มีสมบัติหักลําแสงที่ผ่านไปให้ลู่เข้าหรือถ่างออกได้; (แพทย์) แก้วตา. (อ. lens).
  31. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  32. เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
  33. เลา ๆ : ว. พอเป็นรูปเค้า เช่น เขียนเป็นเลา ๆ.
  34. เล่า : ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้ประกอบ ข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
  35. เลาความ : น. รูปความหรือราวความแต่ย่อ ๆ พอเป็นเค้าเรื่อง.
  36. เลียงผา ๑ : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Capricornis sumatraensis ในวงศ์ Bovidae รูปร่างคล้ายแพะ ขนสีดํา บางตัวมีสีขาวแซม ขายาวและแข็งแรง มีต่อมนํ้ามันตรงส่วนหน้าของตาทั้ง ๒ ข้าง มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย พบอยู่ตามภูเขาหรือหน้าผาสูง ๆ, กูรํา โครํา เยือง หรือ เยียงผา ก็เรียก.
  37. เลือน, เลือน ๆ : ว. มัว ๆ, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ภาพเก่าสีเลือนไปจนเห็นหน้าไม่ชัด มองเห็นเลือน ๆ, เฟือน ๆ เช่น ความจำเลือนไป. ก. บัง, กั้น, เช่น มีกําแพงแลงเลือน ต่อต้าย. (ยวนพ่าย).
  38. แล ๓ : สัน. และ, กับ, เช่น ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการ ผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและราษฎรในกรุงแลหัวเมืองให้ทราบ ทั่วกัน. (ประกาศ ร. ๔), ฝูงเทพยดาถือค้อนแลตระบองเทียรย่อม แก้วมณีรัตนะเป็นบริวาร. (ไตรภูมิ).
  39. แล้ง : น. หน้านํ้าแห้ง, ฤดูไม่มีฝน, ในคำว่า หน้าแล้ง ฤดูแล้ง. ก. ไม่มี เช่น แล้งน้ำใจ, มีน้อย เช่น แล้งน้ำ แล้งกวี. ว. ไม่มี, มีน้อย, เช่น ฝนแล้ง, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ แห้ง เป็น แห้งแล้ง เช่น แผ่นดินนี้นับวันจะแห้ง แล้งเป็นทะเลทราย.
  40. โลกายัต : น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่า โลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเรา เกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุข เสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็น อุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. (ป., ส.).
  41. ไล้ : ก. ทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป เช่น ไล้ครีมให้ทั่วหน้า, เกลี่ยให้เสมอกัน, เกลี่ยให้เรียบ, เช่น ไล้ปูน.
  42. วงกบ : น. กรอบประตูหรือหน้าต่าง, กรอบเช็ดหน้า หรือ เช็ดหน้า ก็เรียก.
  43. วลี : [วะลี] น. แถว, รอย, รอยย่น (ที่หน้า). (ป., ส.); (ไว) กลุ่มคําที่เรียง ติดต่อกันเป็นระเบียบและมีกระแสความเป็นที่หมายรู้กันได้ แต่ยัง ไม่เป็นประโยคสมบูรณ์เช่น หนูแหวนแขนอ่อน เวลาดึกดื่นเที่ยงคืน ทางเดินเข้าสวนมะพร้าว.
  44. วอก : น. ชื่อปีที่ ๙ ของรอบปีนักษัตร มีลิงเป็นเครื่องหมาย; (ปาก) ลิง เช่น ซนเป็นอ้ายวอก; เรียกหน้าของคนที่ผัดแป้งจนขาวเกินไป ว่า หน้าวอก.
  45. วะ ๒ : คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ว เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน เช่น ว่อนว่อน กร่อนเป็น วะว่อน วาบวาบ กร่อนเป็น วะวาบ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทาง ย้ำหรือเน้นคำ.
  46. วันดีคืนดี : (ปาก) น. โอกาสเหมาะ, มักใช้พูดแสดงเวลาที่ไม่ แน่นอน เช่น หายหน้าไปนาน วันดีคืนดีก็มา. วันตรุษ น. วันสิ้นปีซึ่งกำหนดตามจันทรคติ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔.
  47. วันเนา : น. วันที่อยู่ถัดจากวันมหาสงกรานต์ หน้าวันเถลิงศก ปรกติตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน.
  48. วันพระไม่มีหนเดียว : (สํา) น. วันหน้ายังมีโอกาสอีก (มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต).
  49. วันหลัง : น. วันหลังจากวันนี้ไป เช่น วันหลังจะมาเยี่ยมอีก, ใช้ว่า วันหน้า ก็มี.
  50. วัสสาน, วัสสานะ : [วัดสานะ] น. ฤดูฝน, หน้าฝน. (ป. วสฺสาน ว่า ฤดูฝน).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | [1201-1250] | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1790

(0.1137 sec)