Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เค้าหน้า, เค้า, หน้า , then คา, เค้า, เค้าหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เค้าหน้า, 1790 found, display 151-200
  1. กะบังหน้า : น. กรอบหน้าเป็นเครื่องประดับ.
  2. การณ์ : [กาน] น. เหตุ, เค้า, มูล, เช่น รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สังเกตการณ์. (ป., ส.).
  3. กินหน้า, กินหลัง, กินหาง : ว. ลักษณาการของว่าวที่สายซุงบนสั้น เรียกว่า กินหน้า, ที่สายซุงบนยาว เรียกว่า กินหลัง, ที่เสียหางตัวเอง เรียกว่า กินหาง.
  4. เก๊กหน้า : (ปาก) ก. ตีหน้าขรึมหรือทําหน้าตายเป็นต้น.
  5. เก็บหน้าผ้า : ก. ทอกันหน้าผ้าไม่ให้เส้นด้ายหลุดออกมา.
  6. ข้ามหน้า, ข้ามหน้าข้ามตา : ก. ทําโดยไม่ไว้หน้าผู้ใด.
  7. ขายหน้าวันละห้าเบี้ย : (สํา) ก. ทําให้ต้องอับอายขายหน้าอยู่ทุกวัน.
  8. เข้าหน้า : ก. เผชิญหน้า เช่น ไม่กล้าเข้าหน้า.
  9. คัดเค้า : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Oxyceros horridus Lour. ในวงศ์ Rubiaceae มีหนามโค้งแหลม ดอกสีขาว ๆ เหลือง ๆ กลิ่นหอม, คัดเค้าเครือ ก็เรียก.
  10. คาดหน้า : ก. หมายหน้าเป็นเชิงดูหมิ่น.
  11. คำนำหน้าชื่อ : น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่ง ทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้านาม ก็เรียก.
  12. คำนำหน้านาม : น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่ง ทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้าชื่อ ก็เรียก.
  13. งามหน้า : ว. น่าขายหน้า, ใช้เป็นคําประชด เช่น เขาทำงามหน้าละคราวนี้.
  14. จังหน้า : ว. เต็มหน้า, เต็มที่, เช่น เจอเข้าจังหน้า โดนเข้าจังหน้า.
  15. จ่าหน้า : ก. เขียนบอกไว้ข้างหน้า เช่น จ่าหน้าซอง, เขียนบอกไว้ที่ ต้นเรื่อง เช่น จ่าหน้าเรื่อง.
  16. เจ้าหน้า, เจ้าหน้าเจ้าตา : น. ผู้ชอบทําเอาหน้า, ผู้ชอบเสนอหน้าเข้าไป ทําธุระให้คนอื่นโดยเขาไม่ได้ขอร้อง.
  17. เฉพาะหน้า : ว. ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ และจะต้องรีบแก้ไขให้ทันท่วงที เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า เหตุการณ์เฉพาะหน้า.
  18. ชักหน้า : ก. ทําสีหน้าโกรธไม่พอใจ เช่น นางนั่งก้มพักตร์ แล้วชักหน้า. (อิเหนา), ชักสีหน้า ก็ว่า.
  19. ชักหน้า : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลายกับนํ้าเชื่อมใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมนํ้าดอกไม้ ก็เรียก.
  20. ชูหน้าชูตา : ก. ทําให้มีหน้ามีตาขึ้น, เชิดหน้าชูตา ก็ว่า.
  21. เช็ดหน้า : น. กรอบประตูหรือหน้าต่าง, กรอบเช็ดหน้า หรือ วงกบ ก็เรียก.
  22. เชิดหน้าชูตา : ก. ทําให้มีหน้ามีตาขึ้น, ชูหน้าชูตา ก็ว่า.
  23. ซื้อหน้า : ก. เสนอหน้า, สําแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้. (ไกรทอง); กู้หน้า เช่น ยอมเสียเงิน เพื่อซื้อหน้า.
  24. ได้หน้า : ว. ได้เกียรติ, ได้ชื่อเสียง, ได้หน้าได้ตา ก็ว่า.
  25. ตราหน้า : ก. หมายหน้าไว้; หยามหน้า, สบประมาท.
  26. ตอกหน้า : (ปาก) ก. ว่าใส่หน้าอย่างไม่ไว้หน้า.
  27. ต่อหน้า, ต่อหน้าต่อตา : ว. ซึ่งหน้า, เฉพาะหน้า.
  28. ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก : (สํา) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือ หาทางทำร้าย, หน้าไหว้หลังหลอก ก็ว่า.
  29. ทนายหน้าหอ : (ปาก) น. หัวหน้าคนรับใช้ที่ใช้ออกหน้าออกตา, ผู้รับหน้าแทนนาย.
  30. ทำหน้าทำตา : ก. แสดงกิริยาอาการทางหน้าตา เช่น ทําหน้าทําตา ล้อหลอก.
  31. เทียมหน้าเทียมตา : ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายาม สร้างฐานะนเทียมหน้าเทียมตากับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.
  32. นองหน้า : ว. อาบหน้า (ใช้แก่นํ้าตา).
  33. นับหน้าถือตา : ว. เป็นที่เคารพยกย่อง เช่น เขาเป็นที่นับหน้าถือตาของ คนทั่วไป.
  34. แนวหน้า : น. แนวหรือเขตแบ่งกําลังทัพทางบกส่วนหน้าซึ่งพร้อมที่จะ ปะทะกับฝ่ายศัตรู.
  35. บากหน้า : ก. ยอมเสียหน้าเข้าไปขอความช่วยเหลือด้วยความจําใจ จําเป็น.
  36. บ่ายหน้า : ก. หันหน้า เช่น บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ, มุ่ง เช่น บ่ายหน้ากลับบ้าน.
  37. เบื้องหน้า : ว. ข้างหน้า, ต่อไป, อนาคต.
  38. แบกหน้า : (สํา) ก. จําใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคย ทําไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมมาก่อนอีก เช่น นี่แบกหน้า กลับมาหากู. (รามเกียรติ์ พลเสพย์).
  39. ประจันหน้า : ก. เผชิญหน้ากัน, อยู่ต่อหน้ากัน.
  40. ประมาทหน้า : ก. ดูถูกว่าทําไม่ได้หรือไม่มีทางที่จะทําได้, หยามนํ้าหน้า, สบประมาท.
  41. ปาดหน้า : ก. แซงตัดหน้า ในคำว่า ขับรถปาดหน้า.
  42. ปีหน้าฟ้าใหม่ : น. ปีหน้า, เวลาข้างหน้า.
  43. เป็นดั้งหน้า : (สํา) คอยออกหน้าป้องกัน เช่น รับเป็นดั้งหน้า เข้ามาแก้. (ไชยเชฐ).
  44. เป็นหน้าเป็นตา : ว. เป็นที่เชิดหน้าชูตา เช่น บ้านนี้มีลูกชายเก่ง และขยัน เป็นหน้าเป็นตาของวงศ์ตระกูล.
  45. ไปตายดาบหน้า, ไปตายเอาดาบหน้า : (สำ) ก. ยอมไปเผชิญกับ ความทุกข์''และความลำบากข้างหน้า.
  46. เผชิญหน้า : ก. เจอกันซึ่งหน้า (ใช้แก่ผู้ที่ไม่ชอบหน้ากัน).
  47. พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ : (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไป จากเดิมอย่างตรงกันข้าม, กลับหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.
  48. พัดหน้านาง : น. พัดยศเปรียญหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้นที่ต่ำ กว่าพระครูวินัยธรและพระครูธรรมธร มีลักษณะกลมอย่างหน้า นางด้านบนกลมมนโตกว่าด้านล่าง พื้นทำด้วยสักหลาด กำมะหยี่ อัตลัดสีต่าง ๆ ปักลวดลายต่างกันตามชั้นแห่งสมณศักดิ์, ถ้าเป็น พัดเปรียญ ๙ ประโยค พื้นทำด้วยตาดทอง.
  49. ภายหน้า : น. ข้างหน้า, ต่อไป, อนาคตกาล.
  50. ม้วนหน้า : ก. ก้มหน้าเพราะความอาย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1790

(0.1219 sec)