Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เค้าหน้า, เค้า, หน้า , then คา, เค้า, เค้าหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เค้าหน้า, 1790 found, display 201-250
  1. มอมหน้า, มอมหน้ามอมตา : ก. เอามินหม้อเป็นต้นละเลงบนหน้า เพื่อไม่ให้คนอื่นจำหน้าได้.
  2. มากหน้าหลายตา : ว. มากมาย (ใช้แก่คน) เช่น ผู้คนมากหน้าหลายตา.
  3. มืดหน้า : ว. มีอาการเวียนหัวเห็นอะไรพร่าไปหมด เช่น อากาศร้อน มากจนรู้สึกมืดหน้า.
  4. มุ่งหน้า : ก. ตรงไปสู่จุดหมาย เช่น เขามุ่งหน้าไปโรงเรียน.
  5. แม่กระชังหน้าใหญ่ : (สํา) น. ผู้ที่ชอบแสดงตัวออกหน้าเป็นหัวเรือใหญ่, มักพูดเข้าคู่กับ แม่หญิงแม่หญัง เป็น แม่หญิงแม่หญัง แม่กระชังหน้าใหญ่.
  6. รอหน้า : ก. เข้าหน้า, เผชิญหน้า, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น รอหน้า ไม่ติด ไม่อยู่รอหน้า.
  7. รักษาหน้า : ก. ระวังไม่ยอมให้ต้องอับอายขายหน้า.
  8. รับหน้า : ก. เผชิญหน้า, รอหน้า, เช่น ส่งเด็กไปรับหน้าเจ้าหนี้ไว้ก่อน.
  9. รุดหน้า : ก. ก้าวหน้าไปมาก, ลุล่วงไปเร็ว, เช่น ในระยะ ๑๐ ปีประเทศไทย เจริญรุดหน้าไปมาก งานรุดหน้าไปมากแล้ว.
  10. รู้เค้า : ก. รู้ร่องรอย เช่น รู้เค้าว่าใครเป็นฆาตกร เก็บเงินไว้ให้ดีอย่าให้ใคร รู้เค้า.
  11. เรียงหน้ากระดาน : ก. เรียงไหล่หันหน้าไปทางเดียวกันเป็นแนวยาว เช่น จัดแถวเรียงหน้ากระดาน.
  12. โรยหน้า : ก. เอาของโปรยลงไปบนอาหารเป็นต้นเพื่อให้น่ากินหรือ ชูรส เช่น โรยหน้าขนมด้วยมะพร้าว, โดยปริยายหมายความว่า แต่ง แต่เพียงผิว ๆ.
  13. ลงนะหน้าทอง : ก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและ ปิดทองแล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้ เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม.
  14. ล่วงหน้า : ว. ก่อนกําหนด เช่น ไปล่วงหน้า รับเงินล่วงหน้า.
  15. ลอยหน้า, ลอยหน้าลอยตา : ก. ทำหน้าเชิดไปมา, โดยปริยาย หมายความว่า มีลักษณะอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทำผิด แล้วยังมาลอยหน้าเถียงอีก.
  16. ล่อหน้า : ก. โผล่หน้ามาพอให้เห็น เช่น มีการมีงานเขาล่อหน้ามา เดี๋ยวเดียวก็ไป.
  17. ล้างหน้าผี, ล้างหน้าศพ : ก. ผ่ามะพร้าวห้าวให้น้ำรดลงไปบนหน้า ศพก่อนเผา.
  18. ล้ำหน้า : ว. เกินเลยไปกว่าที่ควร เช่น เขาชอบทำอะไรล้ำหน้า เพื่อนฝูงอยู่เสมอ; ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัย เช่น ความคิดลํ้าหน้า ทํางานลํ้าหน้า.
  19. ลืมตาอ้าปาก, ลืมหน้าอ้าปาก : ก. มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียม เพื่อน เช่น เดี๋ยวนี้เขาลืมตาอ้าปากได้แล้ว เขาลืมหน้าอ้าปากได้แล้ว, เงยหน้าอ้าปาก ก็ว่า.
  20. ลูบหน้าลูบหลัง : ก. เอามือลูบตามเนื้อตามตัวลูกหลานเป็นต้นด้วย ความเมตตาเอ็นดู เช่น คุณย่าลูบหน้าลูบหลังหลาน.
  21. เล่นหน้า : ก. แสดงด้วยการทำหน้าให้เป็นลักษณะต่าง ๆ เช่นทำ หน้ายักษ์หน้าคนแก่.
  22. เลือดขึ้นหน้า : (สำ) ก. โกรธมากจนหน้าแดง, โมโห.
  23. แลหน้าแลหลัง : ก. พิจารณาให้รอบคอบ เช่น จะทำอะไรต้องแล หน้าแลหลังให้ดีเสียก่อน.
  24. วังหน้า : น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช เรียกใน ราชการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวัง หลวงหรือพระบรมมหาราชวัง มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบวรราชวัง, ปัจจุบันเรียก พระราชวงศ์ฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายวังหน้า.
  25. วันหน้า : น. วันที่จะมาถึงข้างหน้า เช่น วันหน้าจะพบกันใหม่, ใช้ว่า วันหลัง ก็มี.
  26. วันหน้าวันหลัง : น. วันใดวันหนึ่งในอนาคต เช่น จะทำอะไรก็เผื่อวัน หน้าวันหลังไว้บ้าง.
  27. วางหน้า : ก. ตีหน้า เช่น วางหน้าไม่สนิท วางหน้าเก้อ ๆ.
  28. ว่าไม่ไว้หน้า : ก. ดุด่าว่ากล่าวผู้ใดผู้หนึ่งต่อหน้าให้ได้รับความอับอาย โดยไม่เกรงใจ.
  29. แว่นส่องหน้า : น. สิ่งที่ทำด้วยโลหะขัดจนเป็นเงา ใช้ส่องหน้าใน สมัยก่อนที่จะมีกระจกเงา.
  30. แวว : ว. สุกใส, วูบวาบ, เช่น ดวงตาฉายแววแห่งความสุข ขัดหัวเข็มขัด เสียแวว เพชรซีกมีแววน้อยกว่าเพชรลูก. น. ลักษณะที่แสดงให้เห็น ว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็น นักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้; (ศิลปะ) กระจกเงาที่ตัด เป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้ แกะสลักปิดทอง.
  31. ไว้หน้า : ก. รักษาเกียรติฐานะของผู้อื่นไม่ให้ต้องได้รับความอับอาย ขายหน้า เช่น ไม่ว่าจะพูดจะทำอะไรควรต้องไว้หน้าผู้หลักผู้ใหญ่บ้าง ติเตียนศิษย์ต้องไว้หน้าครู.
  32. ศึกหน้านาง : (สํา) น. การวิวาทหรือต่อสู้กันต่อหน้าหญิงที่ตน หมายปอง.
  33. ศูนย์หน้า : น. ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งกลางของแถวหน้าในการเล่น ฟุตบอลทำหน้าที่ยิงประตูเป็นสำคัญ บางครั้งอาจลงมาช่วย เซนเตอร์ฮาล์ฟซึ่งอยู่ในตำแหน่งกลางของแถวกลางและพาลูก ขึ้นไปในแดนฝ่ายตรงข้ามด้วย.
  34. สมน้ำหน้า : ว. คําแดกดันหรือซํ้าเติมว่าควรได้รับผลร้ายเช่นนั้น เช่น ขี้เกียจท่องหนังสือ สอบตกก็สมน้ำหน้า, (ปาก) สม ก็ว่า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
  35. สมหน้าสมตา : ว. เหมาะแก่เกียรติและฐานะ เช่น ลูกสาวบ้านนั้นเขา แต่งงานไปอย่างสมหน้าสมตา.
  36. ส่วนหน้า : น. เรียกเขตที่มีการรบว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการ ที่แยกออกไปเพื่ออํานวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาใน การปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหาร สูงสุดว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า. ส่วนหลัง น. เรียกเขตของกองทหารที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกําลัง บํารุงว่า พื้นที่ส่วนหลัง.
  37. สองหน้า : น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตี ทั้ง ๒ ข้าง. (สํา) ว. ที่ทําตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวัง ประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ.
  38. สะบัดหน้า : ก. ไม่พอใจโดยผินหรือเบือนหน้าไปทันที เช่น สะบัด หน้าหนี.
  39. หนักหน้า : ก. มีภาระต้องรับผิดชอบทั้งหมด เช่น เรื่องนี้หัวหน้าคณะ หนักหน้าอยู่คนเดียว.
  40. หน้าที่นั่ง, หน้าฉาน : น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น แสดงหน้าที่นั่ง อย่าเดินตัดหน้าฉาน.
  41. หนีหน้า : ก. หลบไม่ยอมให้พบหน้า.
  42. หมากหน้าแก่, หมากหน้าฝาด : น. ผลหมากอย่างดี เมื่อผ่าสดจะเห็น ว่ามีเนื้อมาก สีออกส้มหรือน้ำตาลแดง มีวุ้นน้อย หน้าหมากมียางเยิ้ม เป็นมัน มีลายเส้นในเนื้อมาก รสฝาด.
  43. หมายหน้า : ก. ประมาทหน้า, ดูถูก, เช่น หมายหน้าไว้ว่าจะต้องสอบตก แน่ ๆ; ตราหน้า เช่น เขาถูกหมายหน้าว่าเป็นคนไม่ดี.
  44. หลบลี้หนีหน้า : ก. หลีกหนีไปไม่ยอมให้พบหน้า.
  45. หลบหน้า, หลบหน้าหลบตา : ก. หลบไปไม่เผชิญหน้า.
  46. หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน : (สำ) ว. ที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก มักหมายถึง ชาวไร่ชาวนา ซึ่งในเวลาทำไร่ทำนาหลังต้องสู้กับแดด และหน้าต้อง ก้มลงดิน.
  47. หันหน้า : (สำ) ก. พึ่งพาอาศัย เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร.
  48. หันหน้าเข้าวัด : (สำ) ก. มุ่งหน้าเข้าวัดเพื่อถือศีลฟังเทศน์เป็นต้น.
  49. หันหน้าเข้าหากัน : (สํา) ก. ปรองดองกัน, สมัครสมานกัน, เช่น ทุกฝ่าย จะต้องหันหน้าเข้าหากัน.
  50. หายหน้า : ก. ไม่ได้พบหน้ากัน เช่น ไม่ได้พบกันเสียนาน หายหน้าไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น ตั้งแต่ยืมเงินไปแล้ว เขาก็หายหน้าไปเลย, หายตัว ก็ว่า; บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หายตา เป็น หายหน้าหายตา, หายหัว ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1790

(0.1147 sec)