Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เค้าหน้า, เค้า, หน้า , then คา, เค้า, เค้าหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เค้าหน้า, 1790 found, display 751-800
  1. ทศนิยม : น. จํานวนจริงในรูปเลขฐานสิบ โดยกําหนดจุดจุดหนึ่ง ให้อยู่ข้างหน้าหรืออยู่ระหว่างตัวเลขต่าง ๆ เช่น .๘๕๖, ๑๒.๐๘. (อ. decimal).
  2. ท้อง : น. ส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา มีสะดือ อยู่ตรงกลาง มีกระเพาะและไส้พุงอยู่ภายใน; ครรภ์ เช่น น้องร่วมท้อง; พื้นที่หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ เช่น ท้องนํ้า ท้องฟ้า ท้องทุ่ง ท้องไร่ ท้องนา ท้องถนน; ส่วนที่มีลักษณะโค้ง เช่น ท้องแขน ท้องน่อง ท้องเรือ
  3. ท้องแข็ง : ว. อาการที่หน้าท้องตึงเพราะหัวเราะเต็มที่, ท้องคัด ท้องแข็ง ก็ว่า.
  4. ท้องคัดท้องแข็ง : ว. อาการที่หน้าท้องตึงเพราะหัวเราะเต็มที่, ท้องแข็ง ก็ว่า.
  5. ท้องน่อง : น. ส่วนของขาเบื้องหลัง มีลักษณะโค้งนูน ด้าน ตรงกันข้ามกับหน้าแข้ง.
  6. ท้องไม้ : น. ส่วนกลางของฐานที่เป็นหน้าเรียบ.
  7. ท้องหมา : น. หน้าท้องแฟบ, เรียกครรภ์ของหญิงที่มีลักษณะเล็ก.
  8. ท้องหมู : น. หน้าท้องมีไขมันมากอย่างท้องคนอ้วน, เรียกครรภ์ ของหญิงที่มีลักษณะใหญ่มาก.
  9. ทองเอก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง เคี่ยวน้ำกะทิกับน้ำตาลจนเหนียว ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่ไข่แดง แป้งสาลี ตั้งไฟกวนจนแป้งร่อน อัด ใส่พิมพ์เป็นรูปต่าง ๆ แต่งหน้าด้วยทองคำเปลวแผ่นเล็ก ๆ.
  10. ทะ ๑ : คําใช้นําหน้าคําที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปล อย่างเดียวกับคําเดิมนั้น หรือเป็นคําซํ้าซึ่งคําหน้าเสียงกร่อน ไป เช่น ทะทัด ก. สะบัด. ทะทา น. นกกระทา. ทะทาย ก. จับ, ถือ. ทะท่าว ก. ล้ม, ทบ, ซํ้า, ยอบ, เติม. ทะท้าว ว. อาการที่ตัวสั่นเทา ๆ. ทะทึก ว. อาการที่ใจเต้นตึก ๆ.
  11. ทะแย : น. ชื่อเพลงไทยโบราณทํานองหนึ่ง มีมาแต่สมัยอยุธยา มีอัตรา ๒ ชั้น ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๖ จังหวะ.
  12. ทะแยกลองโยน : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ซึ่งใช้ทำนองเพลงทะแย มาบรรเลงอย่างเพลงเรื่อง และต้องตีกลองหน้าทับกลองโยนเลียน วิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดย กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยน เข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ และใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำ กัณฑ์นครกัณฑ์ในการเทศน์มหาชาติ, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน.
  13. ทะลิ่น : (กลอน) ก. ทะเล้น, หน้าเป็น.
  14. ทะเล้น : ก. โปนออก เช่น ตาทะเล้น, ล้นออก เช่น เนื้อผ้าตรงตะเข็บทะเล้น ออก. ว. ทําหน้าหัวเราะอย่างทะลึ่งโดยไม่เหมาะแก่บุคคลหรือ โอกาส.
  15. ทะเลใน : น. ทะเลภายใน, ทะเลหน้าใน ก็เรียก.
  16. ทะเลภายใน : น. ทะเลประเภทที่อยู่เข้ามาภายในพื้นแผ่นดิน และ เกือบไม่มีทางติดต่อกับทะเลหรือมหาสมุทรภายนอก, ทะเลใน หรือทะเลหน้าใน ก็เรียก. (อ. inland sea).
  17. ทะเลิ่กทะลั่ก : ว. อาการที่ทำหน้าตาตื่น เหลียวหน้าเหลียวหลัง เช่น เขาวิ่ง หน้าตาทะเลิ่กทะลั่กเข้ามา.
  18. ทัก ๑ : ก. กล่าวเป็นเชิงเตือน, พูดโอภาปราศรัยด้วยอัธยาศัยไมตรีเมื่อพบ หน้ากัน, กล่าวหรือออกเสียงให้ระวังหรือสังเกตว่าจะเป็นภัยตาม ลัทธิที่ถือกัน เช่น จิ้งจกทัก.
  19. ทักษิณายัน : น. ทางใต้; (ดารา) จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏ ในราววันที่ ๒๒ ธันวาคม เป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า ทักษิณายัน (winter solstice), คู่กับ อุตตรายัน, เหมายัน ก็เรียก. (ส.; ป. ทกฺขิณ + ส. อายน).
  20. ทั้งคน : ว. ใช้ประกอบท้ายคําหรือความ เพื่อเน้นให้เห็นความสําคัญ ของคําหรือความข้างหน้า เช่น แม่ทั้งคน.
  21. ทัณฑกรรม : [ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ ประพฤติผิด; (กฎ) ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร และกฎหมายว่าด้วยวินัยตํารวจคือ ให้ทํางานโยธา งานสุขาภิบาล หรืองานอื่นของราชการเพิ่มจากหน้าที่ประจําซึ่งตนจะต้องปฏิบัติ อยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจํา. (ส.).
  22. ทันน้ำทันฝน : ว. ให้ทันหน้านํ้าหน้าฝน, ให้ทันฤดูกาล.
  23. ทับทรวง : น. เครื่องประดับชนิดหนึ่งเรียกว่า ตาบ รูปสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูนฝังเพชรพลอย ติดอยู่ตรงที่ไขว้สังวาล สะพายแล่งทับ หน้าอก, ตาบหน้า หรือ ตาบทับ ก็เรียก. (รูปภาพ ทับทรวง)
  24. ทับหลัง : น. ลวดลายที่ทําประดับไว้บนหลังตู้; ท่อนหินรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้าที่สลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับอยู่เหนือประตูเข้าปราสาทหิน; เรียกตัวไม้ที่อยู่ตอนบนหน้าต่างหรือประตูหลังกรอบเช็ดหน้า ใช้บังคับ ปลายเดือยบานแผละหน้าต่างหรือประตูว่า ทับหลังหน้าต่าง หรือ ทับ หลังประตู. (ปาก) ก. อยู่ข้างล่าง (ใช้แก่การพนันเช่นไพ่ตอง).
  25. ทัปนะ : [ทับปะนะ] (แบบ) น. แว่นส่องหน้า, ทรรปณ์ หรือ ทรรปณะ ก็ใช้. (ป. ทปฺปน; ส. ทรฺปณ).
  26. ทัพ- ๒, ทัพพะ : [ทับพะ-] น. เครื่องใช้ต่าง ๆ, สมบัติ, เงิน, มักใช้ประกอบส่วนหน้า สมาส. (ป.).
  27. ทั่ว : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกหนทุกแห่ง, เช่น ทั่วตัว ทั่วโลก ทั่วหน้า.
  28. ท่าน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่า ลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้า ชื่อบรรดาศักดิ์หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
  29. ท่านผู้หญิง : น. เดิมใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของ เจ้าพระยาและเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง, ปัจจุบันใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียกว่า คุณ.
  30. ท้าย : น. ส่วนที่อยู่สุดด้านหนึ่ง, ตรงข้ามกับ ด้านหัว เช่น ท้ายเรือ, ตรงข้ามกับ ด้านหน้า เช่น ท้ายวัง, ตรงข้ามกับ ต้น เช่น ท้ายฤดู.
  31. ทาย ๑ : ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทํานาย ก็ว่า.
  32. ทำนาย : ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทาย ก็ว่า. (แผลงมาจาก ทาย).
  33. ทำบุญ : ก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัย แก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทําบุญทํากุศล ก็ว่า. ทำบุญเอาหน้า (สํา) ก. ทําบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทําด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย.
  34. ทิ้งย่อ : ก. กระโดดลงมาแล้วย่อหัวเข่าพร้อมกับเหยียดแขน ทั้ง ๒ ไปข้างหน้า.
  35. ทิด : น. คํานําหน้าชื่อผู้ที่สึกจากพระ เช่น ทิดบุญ ทิดเกิด.
  36. ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
  37. ที่มา : น. ต้นเค้า, ต้นกําเนิด.
  38. ทีหลัง : น. ภายหลัง, หลังจากนั้น, ทีหน้าทีหลัง ก็ว่า.
  39. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  40. ทุ ๒ : (แบบ) ว. สอง, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุวิธ ว่า ๒ อย่าง. (ป.).
  41. ทุงงะ : (ถิ่น-ปัตตานี) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acrossocheilus dukai ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากเล็กอยู่ตํ่า บริเวณหัว ตอนหน้าหรือก่อนถึงตามีตุ่มเนื้อขนาดเล็กกระจายอยู่ เกล็ดใหญ่ มีจุดดําที่โคนครีบหาง พบอาศัยอยู่ตามเขตต้นนํ้าลําธารบริเวณภูเขา ทั่วประเทศ ที่ดอยหัวมด ในเขตของภาคเหนือ เรียก แป้งแช่.
  42. ทุร- : [ทุระ-] ว. คําประกอบหน้าคําศัพท์ หมายความว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทุรค ว่า ที่ไปถึงยาก, ทางลําบาก. (ส.).
  43. ทูกัง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Arius leiotetocephalus ในวงศ์ Ariidae ไม่มีเกล็ด มีหนวด ส่วนหน้าของครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบ เป็นเงี่ยง จัดอยู่ในพวกปลากดขนาดใหญ่ แต่แตกต่างจากปลาชนิด อื่นในสกุลเดียวกัน โดยมีกระดูกบริเวณท้ายทอยเป็นแผ่นกลมรี ใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ ทั้งหมด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือนํ้ากร่อย โดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า, ทุกัง ก็เรียก.
  44. ทูร- : [ทูระ-] ว. คําประกอบหน้าคําศัพท์ หมายความว่า ไกล เช่น ทูรบถ ทูรมรรคา ว่า ทางยาว, ทางไกล. (ป.).
  45. เทพชุมนุม : [เทบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (จารึกวัดโพธิ์); ชื่อ ภาพเขียนรูปเทวดานั่งประนมมือเรียงกันเป็นแถวตั้งแต่ ๕ ตน ขึ้นไปตามฝาผนังในพระอุโบสถหรือหอพระ จะมีหน้าเดียว หรือ ๔ หน้าอย่างหน้าพรหมก็ได้.
  46. เทริด : [เซิด] น. เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า. (รูปภาพ เทริด)
  47. เทว- ๑ : [เทวะ-] (แบบ) น. เทวดา, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป., ส.).
  48. เทว- ๒ : [ทะเว-] (แบบ) ว. สอง, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป. เทฺว). เทวภาวะ น. ความเป็น ๒, ความเป็นคู่; พยัญชนะที่ซ้อนกัน ๒ ตัว; ใช้ เทวภาพ ก็ได้.
  49. เทศ, เทศ-, เทศะ : [เทด, เทดสะ-, เทสะ] ว. ต่างประเทศ เช่น เครื่องเทศ ม้าเทศ. น. ถิ่นที่, ท้องถิ่น, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
  50. เท่าเทียม : ว. เสมอหน้า, ทัดเทียม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1790

(0.1229 sec)