Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าแทรก, แทรก, เข้า , then ขา, เข้, เข้า, เข้าแทรก, ทรก, แทรก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าแทรก, 1862 found, display 1201-1250
  1. ลงรอย, ลงรอยกัน : ก. เข้ากันได้.
  2. ลงโรง : ก. เริ่มการแสดงมหรสพเช่นโขน ละคร ลิเก; เข้าสู่ โรงพิธีซัดนํ้า.
  3. ลงอุโบสถ : ก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า.
  4. ลดชั้น : ก. เข้าเรียนชั้นต่ำกว่าเดิม เช่น นักเรียนที่เข้าใหม่ชั้นประถม ปีที่ ๓ ถูกลดชั้นไปอยู่ชั้นประถมปีที่ ๒.
  5. ลดหลั่น : ว. ต่ำลงไปเป็นชั้น ๆ เช่น นั่งลดหลั่นกันไปตามขั้นบันได, ตามลำดับชั้น เช่น พนักงานได้รับโบนัสมากน้อยลดหลั่นกันไป, ก่อนหลังกันเป็นลำดับ เช่น ข้าราชการเข้ารับพระราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ลดหลั่นไปตามลำดับชั้น.
  6. ลมทะเล : น. ลมที่พัดจากทะเลเข้าหาฝั่งในเวลากลางวัน เนื่องจาก เวลากลางวันพื้นดินร้อนกว่าพื้นนํ้า ทําให้อากาศที่อยู่เหนือพื้นดิน ลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากทะเลซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงจึงเข้ามาแทนที่.
  7. ลมปราณ : น. ลมหายใจ เช่น ทำงานเหน็ดเหนื่อยแทบจะสิ้น ลมปราณ; วิธีกําหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดี หรือฤกษ์ร้าย เรียกว่า จับลมปราณ.
  8. ลมหายใจ : น. ลมที่ปอดสูบเข้าออกทางจมูกหรือทางปาก.
  9. ล้วนแต่ : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น ผู้เข้าประกวดนางงามล้วนแต่ สวย ๆ ทั้งนั้น.
  10. ล่องหน : ก. หายตัวไปด้วยเวทมนตร์, มักใช้เข้าคู่กับคํา หายตัว เป็น ล่องหน หายตัว คือ ไม่ปรากฏให้เห็นตัว, โดยปริยายหมายความว่า หายไป โดยไม่มีร่องรอย เช่น กระเป๋าสตางค์บนโต๊ะล่องหนไปแล้ว.
  11. ล้อม : ก. โอบเป็นวงโดยรอบ, ตีวงเข้าไปโดยรอบ เช่น ล้อมค่าย, กั้นรอบ เช่น ล้อมรั้ว ล้อมคอก, โดยปริยายหมายถึงรุมล้อมเข้ามาเพื่อจะทําร้าย, ล้อมกรอบ ก็ว่า.
  12. ล้อมกรอบ : ก. รุมล้อมเข้ามาเพื่อจะทำร้าย, ล้อม ก็ว่า.
  13. ลอยชาย : ว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้า ลอยชาย; กรีดกราย เช่น เดินลอยชายไม่ทำอะไรเลย, โดยปริยาย หมายความว่า ไม่มีผู้ขัดขวาง เช่น ข้าศึกเดินลอยชายเข้าเมือง.
  14. ลอยลำ : (ปาก) ว. เด็ดขาด เช่น เรือแข่งชนะลอยลำ ลอยลำเข้ารอบ.
  15. ละม่อม : ว. สุภาพ, อ่อนโยน, (ใช้แก่กิริยาอาการที่เรียบร้อย งดงาม ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้าง), มักใช้เข้าคู่กับคํา ละมุน เป็น ละมุนละม่อม หมายความ ว่า อ่อนโยน นิ่มนวล; โดยไม่มีการขัดขืน (ใช้แก่การจับกุม) เช่น ตำรวจจับผู้ร้ายได้โดยละม่อม.
  16. ละเมียด : ก. มิดชิดอย่างสุภาพ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ละไม เป็น ละเมียดละไม; คล้ายคลึง, ละม้าย, มักใช้เข้าคู่กับคำ เหมือน เป็น ละเมียดเหมือน.
  17. ละเมียดละไม : ก. สุภาพนุ่มนวล เช่น กิริยามารยาทละเมียดละไม สำนวนละเมียดละไม, แนบเนียนไม่ขัดเขิน เช่น เข้าพระเข้านาง ได้ละเมียดละไม.
  18. ละเล้า : ก. เคล้าคลึง, คลอเคลีย, คลํา; สับสน, ปะปน, ใช้เข้าคู่กับคํา ละลุม เป็น ละเล้าละลุม ก็มี.
  19. ลักลอบ : ก. ลอบกระทำการบางอย่าง เช่น ลักลอบได้เสียกัน ลักลอบ เข้าเมือง ลักลอบเล่นการพนัน.
  20. ลักสี : ก. ทําสีหนึ่งซึ่งขัดกับอีกสีหนึ่งให้กลืนกันโดยเอาสีอื่นเข้ารวม.
  21. ลับหู : ว. ไม่ได้ยินถึง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ลับตา เป็น ลับหูลับตา.
  22. ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
  23. ลากคอ : ก. จับตัว, ดึงตัว, เช่น ลากคอเข้าตะราง.
  24. ล้างท้อง : ก. ใช้สายยางสอดเข้าทางปากดูดเอาเศษอาหารหรือของ ที่เป็นพิษออกจากกระเพาะและส่งนํ้าหรือนํ้าเกลือไปล้างกระเพาะ ทางสายยางนั้น.
  25. ล้างบาป : น. พิธีทางศาสนาคริสต์ซึ่งทำแก่ทารกที่บิดามารดานับถือ ศาสนาคริสต์ หรือแก่บุคคลที่เดิมนับถือศาสนาอื่น แล้วหันมานับถือ ศาสนาคริสต์ โดยจุ่มหัวหรือตัวลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๓ ครั้งหรือเทน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการล้างบาป เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เรียกว่า พิธีศีลล้างบาป หรือ พิธีศีลจุ่ม.
  26. ล้างไพ่ : ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันคนให้ทั่วหลาย ๆ หนแล้ว รวบเข้าเป็นกองใหม่ หลังจากกินกันหลาย ๆ ตาแล้ว.
  27. ล้าเต้ : ว. ช้าเป็นที่ลำดับสุดท้าย เช่น เขาเข้าเส้นชัยกันหมดแล้ว ยังล้าเต้อยู่.
  28. ลายอย่าง : น. ลายตัวอย่างที่ใช้เป็นแบบเช่นลายถ้วยชาม ลายผ้า, ลายที่ส่งไปเป็นตัวอย่างให้ทำเข้ามาขาย.
  29. ลำกระโดง : น. ลํานํ้าขนาดเล็กที่ขุดจากลํานํ้าขนาดใหญ่เพื่อชักนํ้า เข้านาเข้าสวน, ลำประโดง ก็ว่า.
  30. ลำดับ : น. อันดับ, การเรียงกันไว้ให้เป็นระเบียบตามตําแหน่ง, เช่น นั่งตาม ลำดับ เข้าแถวตามลำดับไหล่ เรียงตามลำดับอักษร.
  31. ลำประโดง : น. ลำน้ำขนาดเล็กที่ขุดจากลำน้ำขนาดใหญ่เพื่อชักน้ำ เข้านาเข้าสวน, ลำกระโดง ก็ว่า.
  32. ลำราง : น. ทางน้ำเล็ก ๆ ที่ขุดสำหรับชักน้ำจากคลองเข้านาหรือ ระบายน้ำออกจากนา.
  33. ลำเอียง : ก. เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่วางตัวเป็นกลาง, ไม่เที่ยงธรรม.
  34. ลิ้น : น. อวัยวะที่อยู่ในปาก มีหน้าที่ ๑. กลั้วอาหารให้เข้ากันแล้วส่งลง ในลําคอ ๒. ช่วยในการออกเสียง ๓. ให้รู้รส, ลิ้นสัตว์บางจำพวก เช่นจำพวกที่มีขน ใช้ลิ้นเลียขนเลียแผลเพื่อทำความสะอาดได้; โดย ปริยายหมายถึงส่วนของสิ่งต่าง ๆ มักมีรูปแบน ยาวหรือกลม ที่อยู่ ภายใน ก็มี เช่น ลิ้นหีบ ลิ้นลุ้ง ที่อยู่ภายนอก ก็มี เช่น ลิ้นของปี่ ที่ เป็นชั้นอยู่ภายในยกถอดออกได้ ก็มี เช่น ลิ้นเชี่ยนหมาก ลิ้นกล่อง อาหาร; อุปกรณ์สําหรับปิดเปิดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นอากาศ นํ้า เป็นต้น หยุดการเคลื่อนที่ผ่าน หรือเคลื่อนที่ผ่านไปได้; การพูด, ถ้อยคำ, เช่น ไม่เชื่อลิ้นเจ้าแล้วนะแก้วตา.
  35. ลิ้นกระดาน : น. ไม้ที่ทำเป็นลิ้นยื่นยาวไปตามตัวไม้สำหรับประกบ กับไม้อีกแผ่นหนึ่งที่ทำเป็นร่องยาวเพื่อให้เข้ากันแน่นสนิท.
  36. ลิ้นชัก : น. ส่วนที่สอดอยู่ในช่องด้านหน้าตู้และโต๊ะเป็นต้น รูปคล้ายหีบไม่มีฝา ชักออกและผลักเข้าได้.
  37. ลิ่นฮื้อ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Labeo jordani ในวงศ์ Cyprinidae เดิมรู้จักกัน ในชื่อ Cirrhinus molitorella ตัวยาว ท้องกลม ปากเล็กหนา อยู่ตํ่าที่ ปลายสุดของหัว มีหนวดเล็ก ๒ คู่ ตาเล็ก เกล็ดเล็กเรียบ ตัวสีเทาเงิน ถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร, ตูลิ่นฮื้อ ก็เรียก.
  38. ลิ่ว ๑ : ก. เคลื่อนไปโดยเร็วจากตํ่าไปหาสูง หรือจากใกล้ไปหาไกล, เคลื่อนไปโดยเร็วด้วยอํานาจกระแสลมหรือกระแสนํ้า. ว. อาการ ที่ตรงเข้ามาหรือออกไปในลักษณะเช่นนั้น เช่น ตรงลิ่วเข้าไป.
  39. ลุ : ก. ถึง (ในลักษณะที่ต้องใช้ความพยายาม) เช่น ลุความสําเร็จ, ถึง เช่น ลุศักราช, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ถึง เป็น ลุถึง; (โบ) รู้ความ เช่น ลุท้องตรา ลุหนังสือ.
  40. ลุกฮือ : ก. ไหม้โพลงขึ้นลุกลามอย่างรวดเร็ว เช่น ไฟไหม้พอมีลม พัดก็ลุกฮือ; อาการที่คนจำนวนมากลุกขึ้นพร้อม ๆ กันเพราะแตกตื่น ชั่วขณะเป็นต้น เช่น พอเห็นตำรวจมาก็ลุกฮือ, อาการที่กลุ่มคน กลุ้มรุมกันเข้าต่อสู้กับผู้มีอำนาจ เช่น ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้าน รัฐบาลที่กดขี่ประชาชน.
  41. ลู่ ๑ : น. ทาง, แนว, ช่อง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทาง เป็น ลู่ทาง, ในทางกีฬา หมายถึงทางวิ่งเป็นแนวเป็นช่อง เช่น วิ่งในลู่ที่ ๑, คู่กับ ลาน.
  42. ลูกเก็บ : น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้น กว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา, เก็บ หรือ ทางเก็บ ก็ว่า.
  43. ลูกขัด ๒ : น. อุปกรณ์สําหรับขัดหรือปัดเงาเครื่องโลหะ ทําด้วยผ้า ซ้อนกันหลายชั้นเป็นรูปกลมคล้ายลูกล้อ มีรูตรงกลาง สวมเข้ากับ แกนที่ต่อออกมาจากมอเตอร์.
  44. ลูกทอย : น. ไม้แหลมสําหรับตอกต้นไม้เป็นต้นเพื่อเหยียบขึ้นไป, เหล็กแหลมหรือตะปูที่ตอกเข้ากับหุ่นขี้ผึ้งให้ติดกับแกนในสำหรับ พยุงพิมพ์ดินให้คงที่ในการหล่อโลหะเช่นพระพุทธรูป.
  45. ลูกน้ำ : น. ลูกอ่อนของยุงที่ยังอาศัยอยู่ในนํ้า เมื่อแก่เข้าหลุดจาก ปลอกเป็นยุง; ชื่อเครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ , สำหรับคั่นวรรค ตอนของข้อความ เรียกว่า จุดลูกนํ้า หรือ จุลภาค.
  46. ลูกบท : น. เพลงเล็ก ๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงใหญ่; เรียกลิเกที่ผู้ แสดงเป็นตัวพระตัวนางไม่เข้าเครื่องอย่างโขน ละครหรือลิเก ทรงเครื่อง ว่า ลิเกลูกบท.
  47. ลูกเลื่อน : น. อุปกรณ์ในปืนชนิดมีแหนบกระสุน อยู่ในลำกล้อง มีหน้าที่กดกระสุนปืนไม่ให้ตรงลำกล้อง เมื่อขึ้นไกจะดันกระสุน ปืนให้เลื่อนขึ้นและเข้าสู่ลำกล้อง.
  48. เล่นกับหมา หมาเลียปาก : (สำ) ก. ลดตัวลงไปหรือวางตัวไม่เหมาะสม จึงถูกลามปาม, มักใช้เข้าคู่กับ เล่นกับสาก สากต่อยหัว.
  49. เล่นการเมือง : ก. ฝักใฝ่หรือปฏิบัติการเกี่ยวกับงานบริหารบ้านเมือง, โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยมพลิกแพลงไม่ตรงไปตรงมา เพื่อผลประโยชน์ของตน เช่น ในวงการกีฬาก็มีการเล่นการเมือง นักกีฬาเก่ง ๆ บางคนถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมทีม.
  50. เลนส์ : น. วัตถุโปร่งใสซึ่งมีพื้นหน้าเป็นผิวนูนหรือเว้า โดยทั่วไปมักทํา ด้วยแก้ว มีสมบัติหักลําแสงที่ผ่านไปให้ลู่เข้าหรือถ่างออกได้; (แพทย์) แก้วตา. (อ. lens).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | [1201-1250] | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1862

(0.0958 sec)