Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าแทรก, แทรก, เข้า , then ขา, เข้, เข้า, เข้าแทรก, ทรก, แทรก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าแทรก, 1862 found, display 1351-1400
  1. สอนยาก : ว. ดื้อดึง, ไม่อยู่ในโอวาท, เช่น เขาเป็นเด็กสอนยาก, มักใช้ เข้าคู่กับคำ ว่ายาก เป็น ว่ายากสอนยาก.
  2. สอบความถนัด : ก. ทดสอบดูว่ามีความถนัดหรือความสามารถใน ทางใดบ้าง, ทดสอบดูว่ามีความถนัดในสาขาวิชาที่ต้องการเข้าศึกษา หรือในงานที่จะต้องทำหรือไม่.
  3. สอบเทียบ, สอบเทียบความรู้ : ก. สอบเพื่อเทียบว่ามีความรู้เข้าเกณฑ์ มาตรฐานที่ทางราชการกำหนดหรือไม่.
  4. สอบประวัติส่วนบุคคล : ก. ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่ง จะบรรจุเข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนาครั้ง สุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น.
  5. สอบสัมภาษณ์ : ก. สอบท่วงทีวาจาและไหวพริบพิจารณาดูชั้นเชิงและ ความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่.
  6. สอย ๒ : ก. ใช้, ใช้เข้าคู่กันเป็น ใช้สอย.
  7. สะดม : ก. ปล้นโดยใช้วิธีรมยาให้เจ้าของทรัพย์หลับสนิทไม่รู้สึกตัว, ใช้เข้าคู่ กับคำ ปล้น เป็น ปล้นสะดม. (ข. สณฺฎํ).
  8. สะดวก : ว. คล่อง, ไม่ติดขัด, เช่น ทางสะดวก การเดินทางสมัยนี้สะดวกกว่า สมัยก่อน, มักใช้เข้าคู่กับคำ สบาย เป็น สะดวกสบาย.
  9. สะท้าน : ก. รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจ ทําให้ครั่นคร้าม หรือหวั่นกลัวจนตัวสั่น เช่น เห็นไฟไหม้แล้วสะท้าน, หนาวสั่น เช่น หนาวสะท้านเหมือน จะเป็นไข้ หนาวสะท้านเพราะเดินกรำฝนมาหลายชั่วโมง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ สะทก เป็น สะทกสะท้าน; ดังลั่น, ดังก้อง, สั่นสะเทือน, เช่น เสียงปืนใหญ่ดังสะท้านก้องไปทั้งกรุง.
  10. สะบัด : ก. เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างเร็วและแรง เพื่อให้ สิ่งที่ติดอยู่หลุดไป เช่น หมาสะบัดขนเพื่อให้นํ้าที่ติดอยู่หลุดกระเซ็น ไป หรือเพื่อให้หมดทางต่อสู้ดิ้นรน เช่น แมวคาบหนูสะบัดไปมา หรือเพื่อให้เข้าที่ ให้กลับเข้ารูปเดิม เป็นต้น เช่น เขาชอบสะบัดผม สะบัดแขนเสื้อ, เอาใบมีดโกนปัดไปปัดมาบนแผ่นหนังเป็นต้นเพื่อ ลับให้คม เรียกว่า สะบัดมีดโกน หรือ สะบัดมีด, เรียกอาการของสิ่ง เช่นธงเมื่อถูกลมพัดกระพือหรือถูกโบกไปมาเป็นต้นให้ปลิวพลิ้ว เกิดเป็นริ้ว ๆ ว่า ธงสะบัด, สลัด ปัด หรือ ฟัด ก็ใช้โดยอนุโลม; โดย ปริยายหมายความว่า อย่างมาก, อย่างยิ่ง, เช่น สวยสะบัดโกงสะบัด; (โบ) ฉ้อโกง, กระบัด ประบัด หรือ ตระบัด ก็ใช้.
  11. สะอ้าน : ว. หมดจด, สะอาด, มักใช้เข้าคู่กับคํา สะอาด เป็น สะอาดสะอ้าน.
  12. สะอิดสะเอียน : ก. ชวนให้คลื่นไส้อย่างรุนแรง ทั้งโดยตรงและโดยปริยายต่อสิ่งที่ เร้าเร่งให้เกิดอารมณ์เช่นนั้น เช่น เห็นหมาเน่าแล้วสะอิดสะเอียน เห็นคนฉ้อราษฎร์บังหลวงแล้วสะอิดสะเอียนไม่อยากเข้าใกล้.
  13. สะอึก : ก. อาการที่หายใจชะงักเนื่องจากกะบังลมหดตัว และช่องสายเสียง ก็ปิดตามมาทันทีทันใดในเวลาเดียวกัน; โดยปริยายหมายความว่า ชะงักงัน เช่น พอถูกถามปัญหาแทงใจดำเข้าก็สะอึกทันที.
  14. สักการ, สักการะ : [การะ] ก. บูชาด้วยสิ่งหรือเครื่องอันพึงบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ บูชา เป็น สักการบูชา. (ป.; ส. สตฺการ).
  15. สักขี ๑ : น. พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตาตนเอง, มักใช้เข้าคู่กับคํา พยาน เป็น สักขีพยาน. (ป.; ส. สากฺษี).
  16. สังเกตการณ์ : ก. เฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์หรือเรื่องราวพอรู้เรื่อง. น. เรียกผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงว่า ผู้สังเกตการณ์.
  17. สังหิต : ก. รวมไว้, ผูกหรือติดเข้าด้วยกัน. (ส. สํหิต).
  18. สัจธรรม : [สัดจะทำ] น. ความจริงแท้ เช่น บรรลุสัจธรรม เข้าถึง สัจธรรม.
  19. สัตย, สัตย์ : [สัดตะยะ, สัด] น. ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ. ว. จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).
  20. สัตว์หิมพานต์ : [หิมมะ] น. สัตว์ในวรรณคดีที่เชื่อกันว่าอยู่ในป่า หิมพานต์ เช่น คชสีห์ กินนร นรสิงห์, รูปหุ่นที่ผูกเป็นรูปสัตว์ใน วรรณคดี ใช้บรรทุกผ้าไตรแห่เข้าขบวนพระบรมศพในสมัยโบราณ.
  21. สัทธิงวิหาริก, สัทธิวิหาริก : น. คําเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว, ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์ องค์ใดก็เป็นสัทธิงวิหาริกของพระอุปัชฌาย์องค์นั้น, (ใช้เข้าคู่กับ อุปัชฌาย์). (ป.).
  22. สับ ๑ : ก. เอาของมีคมเช่นมีดหรือขวานฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ เช่น สับกระดูกหมู สับมะละกอ, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายงอนหรือปลายแหลม เจาะลงไป เช่น เอาขอสับช้าง, เอาสิ่งที่เป็นขอเกี่ยวเข้าไว้ เช่น สับขอ หน้าต่าง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สับด้วยสันมือ ถูกโขกถูกสับ; ทําเชือกให้เข้าเกลียวตั้งแต่ ๓ เกลียว ขึ้นไปให้เขม็งแน่น เรียกว่า สับเชือก; เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น วางของ สับที่ ใส่รองเท้าสับข้าง เต้นรำสับคู่ สับตัวจำเลย.
  23. สับเกลียว, สับเชือก : ก. เอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้ว เอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้วควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียวที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อย เพื่อให้เชือกเส้น ที่ ๓ สอดควบเข้าด้วยกันได้จนตลอด.
  24. สับปลับ : ว. กลับกลอกเชื่อไม่ได้ (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดสับปลับ เขา เป็นคนสับปลับ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ สับปลี้ เป็น สับปลี้สับปลับ.
  25. สัพยอก : [สับพะยอก] ก. หยอกเย้า เช่น ผู้ใหญ่สัพยอกเด็กว่าเป็นแม่สายบัวแต่ง ตัวเก้อ. ว. ที่พูดหยอกเย้า เช่น อย่าโกรธเลย เขาพูดจาสัพยอกเท่านั้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น สัพยอกหยอกเย้า เช่น พูดจาสัพยอกหยอกเย้า.
  26. สัมปชัญญะ : [สําปะชันยะ] น. ความรู้ตัวอยู่เสมอ, ความไม่เผลอตัว, มักใช้เข้าคู่ กับคำ สติ เป็น สติสัมปชัญญะ. (ป.).
  27. สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
  28. สาง ๑ : น. ผี, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น ผีสาง; กลิ่นเหม็นของซากศพ ซากสัตว์ เช่น เหม็นสาบเหม็นสาง, โดยปริยายหมายความว่า มีกลิ่นเหม็นคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  29. สาด ๒ : ก. ซัดไป เช่น สาดน้ำ สาดโคลน สาดทราย, วักน้ำหรือตักน้ำซัดออกไป โดยแรง เช่นสาดน้ำรดแปลงผัก, ซัดหรือกระเซ็นเข้ามา เช่น ฝนสาด, ซัด หรือยิงอาวุธหรือกระสุนปืนทีละมาก ๆ เช่น สาดอาวุธเข้าหากัน สาดกระสุนเข้าใส่กัน; ส่องแสงเข้ามา เช่น ดวงจันทร์สาดแสง ห้องนี้ แดดสาดทั้งวัน, กระจาย เช่น ถูกตีหัวเลือดสาด.
  30. หกคว่ำ : ก. อาการที่ภาชนะเอียงคว่ำลง; ล้มคว่ำ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คะมำหงาย เป็น หกคว่ำคะมำหงาย ซึ่งมีความหมายคล้ายกับ ล้มคว่ำคะมำหงาย.
  31. หกคะเมน : ก. ล้มหัวทิ่ม เช่น หกคะเมนลงไปข้างท้องร่อง, เอาหัวหรือมือ ทั้ง ๒ ข้างปักลงที่พื้น ยกเท้าชี้ขึ้นข้างบน แล้วม้วนตัวไปข้างหลัง, บางที ใช้เข้าคู่กับคำ ตีลังกา เป็น หกคะเมนตีลังกา.
  32. หด : ก. สั้นเข้า, ย่นเข้า, เช่น เสื้อหด, น้อยลง เช่น ทุนหายกำไรหด; ชักกลับ เช่น หดมือ หดเท้า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กลัวจนหัวหด.
  33. หดหาย : ก. น้อยลง, หมดไป, เช่น ยิ่งค้าขายนานวันเข้า ทุนรอนก็ยิ่ง หดหายไป.
  34. หน : น. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้ เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
  35. หนวดพราหมณ์ ๔ : [หฺนวดพฺราม] น. ปลายสายของซอสามสายที่พาดผ่านหย่องลงมาสอดเข้า ที่รูหน้าของทวนล่างไปออกทางด้านหลัง แล้วขมวดเข้าด้วยกัน ทิ้งชายซึ่ง เรียกว่าหนวดพราหมณ์ไว้.
  36. หนอนกอ : น. ชื่อหนอนของผีเสื้อซึ่งเจาะกินเข้าไปในลําต้นข้าว ทําให้ข้าว ไม่ออกรวง หรือออกรวงแต่เมล็ดลีบเป็นสีขาว ซึ่งเรียกว่า ข้าวหัวหงอก ส่วนใหญ่เป็นหนอนของผีเสื้อชีปะขาว.
  37. หนอนบ่อนไส้ : (สํา) น. ฝ่ายตรงข้ามที่เข้ามาทำทีเป็นพวกเพื่อบ่อนทำลาย.
  38. หนักใจ : ก. วิตก เช่น เขาหนักใจในการสอบครั้งนี้. ว. ลําบากใจ เช่น เขารู้สึกหนักใจที่ต้องไปค้ำประกันลูกของเพื่อน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักอก เป็น หนักอกหนักใจ.
  39. หนักอก : ก. วิตก เช่น อย่าประพฤติตัวเหลวไหลทำให้พ่อแม่หนักอก. ว. ลำบากใจ เพราะต้องแบกภาระไว้มาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นปัญหาหนักอกของรัฐบาล, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักใจ เป็น หนักอกหนักใจ.
  40. หนังโลม : น. ตัวหนังใหญ่ที่แสดงบทเข้าพระเข้านาง เช่น หนุมานเกี้ยว นางเบญกาย, โลม ก็ว่า.
  41. หนังเหนียว : ว. อยู่ยงคงกระพัน เช่น ลือกันว่าโจรคนนี้หนังเหนียว ยิง ไม่ออกฟันไม่เข้า, โดยปริยายหมายความว่า มีประสบการณ์มากรู้เท่าทัน ไปทุกสิ่งทุกอย่าง.
  42. หน้ากระฉีก : น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้ เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
  43. หน้าต่าง : น. ช่องฝาบ้านหรือเรือนเป็นต้นที่เปิดปิดได้ สำหรับรับแสง สว่างหรือให้อากาศถ่ายเทได้ แต่มิใช่ทางสำหรับเข้าออก.
  44. หนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม : (สํา) น. คนที่มีปฏิภาณไหวพริบตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีใครสอน, มักใช้เข้าคู่กับ มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง.
  45. หน่าย : ก. เบื่อ, จืดจาง, คลายจากความพัวพัน, คลายจากความรัก, มักใช้เข้าคู่กับคำ เบื่อ เป็น เบื่อหน่าย.
  46. หนาวสะท้าน : ว. หนาวสั่นเพราะพิษไข้; รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจทำให้รู้สึก ครั่นคร้ามหรือหวาดกลัวจนตัวสั่นเป็นต้น.
  47. หน้าหงาย : ว. อาการที่หน้าเงยแหงนขึ้น เช่น เขาถูกชกหน้าหงาย; โดย ปริยายหมายถึงอาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า เช่น ตั้งใจจะไป ขอยืมเงินเขา เขาบอกว่าหนี้เก่าก็ไม่ได้ชำระยังจะมาขอยืมอีก เลยต้อง หน้าหงายกลับมา; ที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้มาก เช่น เขาคุยว่าสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้แน่ ๆ แต่พอประกาศผลแล้วไม่ได้ ก็หน้าหงายกลับมา.
  48. หนุนเนื่อง : ก. เพิ่มเติมเข้ามาไม่ขาดสาย เช่น กองทัพข้าศึกหนุนเนื่อง เข้ามา.
  49. หมดเขต : ก. หมดระยะเวลาที่กําหนดไว้ เช่น สิ้นเดือนนี้หมดเขตส่งภาพ เข้าประกวด.
  50. หมับ ๆ : ว. อาการของปากที่หุบเข้าแล้วอ้าออกอย่างเร็ว, มับ ๆ ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | [1351-1400] | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1862

(0.1122 sec)