Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าแทรก, แทรก, เข้า , then ขา, เข้, เข้า, เข้าแทรก, ทรก, แทรก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าแทรก, 1862 found, display 1401-1450
  1. หมากป่น : น. เศษเนื้อหมากที่เหลือจากการทำหมากซอย หมากหน้าแว่น เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยรวมกันเข้า ตากแดดให้แห้ง.
  2. หมาง : ก. (โบ) กระดาก เช่น หมางกัน คือ กระดากกัน หมางหน้า คือ กระดาก หน้า, อาการที่ห่างเหินกันเพราะขุ่นเคืองใจหรือผิดใจกันเป็นต้น เช่น คนคู่นี้แต่ก่อนก็ดูสนิทสนมกันดี แต่เดี๋ยวนี้ดูเขาหมางกันไป, หมาง ๆ ก็ว่า, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น บาดหมาง หมองหมาง หมางใจ.
  3. หมายเรียก : (กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้น ผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา คดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็น คู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐาน ให้ศาล; หมายที่นายอําเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจ เลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ.
  4. หมาสองราง : (สํา) น. คนที่ทำตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่าย.
  5. หมาหัวเน่า : (สํา) น. คนซึ่งเป็นที่รังเกียจของคนอื่นจนไม่สามารถเข้ากับ ใครได้, คนที่ไม่มีใครรักหรือคบหา.
  6. หม้ำ, หม้ำตับ : (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือและเครื่องหอมขยําให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, นํ้าตับ ก็เรียก.
  7. หมูตั้ง : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยหัวหมู หูหมู หนังหมู แล่เป็นชิ้น เล็ก ๆ ผสมเครื่องปรุงแล้วเคี่ยวให้เข้ากัน อัดเป็นแท่งแข็ง เวลากินหั่น เป็นชิ้น ๆ จิ้มนํ้าจิ้มหรือยำเป็นต้น.
  8. หย็อง ๑ : ก. กลัว, ไม่สู้, หวาดกลัว, เช่น พอเห็นคู่ต่อสู้ก็หย็องเสียแล้ว. ว. มีอาการ หวาดกลัว เช่น พอถูกขู่เข้าหน่อยก็ทําท่าหย็อง.
  9. หรี่ตา : ก. ทำตาให้หยีลงเพื่อให้แสงสว่างเข้าตาน้อยหรือเพื่อเป็นอาณัติ สัญญาณบางอย่าง.
  10. หลบ : [หฺลบ] ก. หลีก, เลี่ยงไม่ให้พบ, เลี่ยงไม่ให้ถูก เช่น หลบลูกปืน; แอบ เช่น หลบเข้าหลังตู้; กลับเข้าใน เช่น ไข้หลบ; ปกคลุมหลุบลงมา (ใช้เฉพาะ การมุงหลังคาตรงอกไก่).
  11. หลอก ๑ : [หฺลอก] ก. ทําให้เข้าใจผิดสําคัญผิด เช่น หลอกขายของปลอม, ทําให้ ตกใจ เช่น ผีหลอก, ล้อ เช่น แลบลิ้นหลอก; ขัดกัน เช่น สีหลอกกัน.
  12. หลอด ๒ : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Solen วงศ์ Solenidae เปลือกประกบกันเป็น รูปทรงกระบอกเปิดหัวเปิดท้าย หัวเปิดมีท่อสำหรับทางน้ำเข้าออก ท้าย เปิดสําหรับยื่นตีนขุดดินโคลนฝังตัว เช่น ชนิด S. strictus ซึ่งพบมากที่ ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม.
  13. หลักชัย ๑ : น. หลักที่กำหนดไว้ว่าผู้เข้าแข่งขันที่ไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ, โดย ปริยายหมายถึงบุคคลที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวเพื่อชัยชนะ เช่น พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นหลักชัยของชาติ; จุดที่หมายแห่งความสำเร็จ เช่น เมื่อศึกษาจบ ปริญญาตรีก็เท่ากับบรรลุหลักชัยไปขั้นหนึ่งแล้ว.
  14. หลัง ๒ : ก. หลง มักใช้เข้าคู่กับคํา บ้า เป็น บ้าหลัง.
  15. หลั่น : ว. สูงตํ่าหรือก่อนหลังกันเป็นลําดับ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ลด เป็น ลดหลั่น. ก. อาการที่ควั่นปลายเสาให้เหลือเป็นเดือยสำหรับรับขื่อ เรียกว่า หลั่นหัวเทียน.
  16. หลาบ ๑ : ก. เข็ด, ขยาดกลัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข็ด เป็น เข็ดหลาบ.
  17. หวงห้าม : ก. กันไว้โดยเฉพาะ เช่น ผลไม้ในสวนนี้เจ้าของไม่หวงห้าม จะเก็บไปกินก็ได้. ว. ที่กันไว้โดยเฉพาะ เช่น เขตหวงห้าม เข้าได้เฉพาะ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง.
  18. หว่านล้อม : ว. ตะล่อมเข้ามาตามที่ต้องการ (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดหว่านล้อม เจรจาหว่านล้อม.
  19. ห่อไหล่ : ก. ทำไหล่ทั้ง ๒ ให้คู้เข้าเพราะหนาวหรือเกรงกลัวเป็นต้น.
  20. หักโหม : ก. ระดมเข้าไปด้วยกำลังให้แตกหัก, โหมหัก ก็ว่า; เอากําลังแรง เข้ามาหักเอา, ทํางานโดยไม่บันยะบันยัง.
  21. หัน ๑ : ก. ผันร่างไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หันซ้าย คือ ผันร่างไปทางซ้าย หันขวา คือ ผันร่างไปทางขวา, ผินไปทางใดทางหนึ่ง เช่น นิยมสร้างโบสถ์หันหน้า ไปทางทิศตะวันออก, หมุน เช่น หันหน้ามาทางนี้; เปลี่ยนใจ เช่น หันไปเข้า กับศัตรู.
  22. หับ : ก. ปิด, งับ, เช่น เข้าห้องแล้วหับประตูเสีย.
  23. หัวกะทิ : น. กะทิที่คั้นครั้งแรก. ว. ที่ดีเด่นเป็นพิเศษ เช่น นักกีฬาที่เข้า แข่งขันในวันนี้เป็นพวกหัวกะทิทั้งนั้น.
  24. หัวดี : ว. เฉลียวฉลาดรอบคอบ เช่น เด็กคนนี้หัวดี ปีนี้ต้องสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้แน่.
  25. หัวนกกระจอก : น. กลอุปกรณ์ชนิดหนึ่งสวมอยู่ตรงกลางจานจ่ายไฟ ทํา หน้าที่หมุนจ่ายกระแสไฟแรงสูงให้เข้าสู่หัวเทียนเพื่อให้เกิดประกายไฟฟ้า ที่เขี้ยวหัวเทียน.
  26. หัวปั่น : ก. ทํางานจนยุ่งงงไป, ประสบกับเหตุยุ่งเหยิงหลาย ๆ เหตุเป็นต้น จนงง. ว. มึนงงเพราะประสบกับปัญหาต่าง ๆ ที่ทับถมเข้ามาจนแก้ไม่ตก.
  27. หัวมังกุท้ายมังกร : (สํา) ว. ไม่เข้ากัน, ไม่กลมกลืนกัน, มีหลายแบบหลาย อย่างปนกัน.
  28. หัวเราะ : ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, ใช้เข้าคู่กับคํา หัวไห้ เป็น หัวเราะหัวไห้ ก็มี, หัวร่อ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวเราะ ก็มี.
  29. หัวล้านได้หวี : (สำ) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ ตาบอดได้แว่น เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น.
  30. หัวหงอก : [-หฺงอก] น. หัวที่มีผมเปลี่ยนจากสีเดิมเป็นสีขาว, โดยปริยาย หมายถึงคนแก่, เมื่อใช้เข้าคู่กับคำ หัวดำ เป็น หัวหงอกหัวดำ หมายถึง ทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อย.
  31. หัวออก : น. หัวของตัวหนังสือที่ม้วนออกนอกเส้นกรอบของตัวอักษร เช่น ตัว พ ตัว ภ, ตรงข้ามกับ หัวเข้า.
  32. หากิน : ก. ทํางานเลี้ยงชีวิต, หาเลี้ยงชีพ, เช่น เขาหากินด้วยการประกอบ อาชีพสุจริต, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทำมา เป็น ทำมาหากิน, หาอาหาร เช่น ให้แต่ที่พัก หากินเอาเอง. ว. ที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี ในคำว่า หญิงหากิน.
  33. หางปลา : น. ชื่อพัดชนิดหนึ่งที่ปิดด้วยกระดาษเป็นต้นลงบนโครงพัด รูปคล้ายหางปลาช่อนที่แผ่ออก เรียกว่า พัดหางปลา; ชื่อพลั่วชนิดหนึ่ง ปลายบากเข้าเป็นรูปคล้ายหางปลาทู ใช้ขุดดิน เรียกว่า พลั่วหางปลา; เครื่องหมายสัญญาณให้รถไฟแล่นเข้าออกได้; โลหะลักษณะแบน สําหรับเหนี่ยวเพลาล้อหลังรถจักรยาน เพื่อให้โซ่ตึง; ชื่อชายปั้นลม แบบหนึ่ง ปลายตอนล่างผายออกคล้ายหางปลาที่ตัดตรง; ตัวไม้สำหรับ ช่วยยึดตัวไม้ส่วนโครงหลังคาเรือนบางตัวให้มั่นคง.
  34. ห่าง, ห่าง ๆ : ว. ไกล เช่น ห่างหูห่างตา บ้านอยู่ห่างถนนมาก, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น ห่างไกล; ไม่ชิด เช่น ญาติห่าง ๆ, ไม่ถี่ เช่น มีลูกห่าง.
  35. ห้างหุ้นส่วน : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปตกลงเข้ากัน เพื่อกระทํากิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกําไร อันจะพึงได้แต่กิจการที่ทํานั้น.
  36. ห้างหุ้นส่วนสามัญ : (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วน หมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว จึงจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้าง หุ้นส่วนนั้น.
  37. หาญ : ว. กล้า, เก่ง, เช่น ทหารหาญ; บังอาจ เช่น หาญสู้, บางทีก็ใช้เข้าคู่ กับคำอื่น เช่น กล้าหาญ หักหาญ เหี้ยมหาญ ฮึกหาญ.
  38. หายใจ : ก. กิริยาที่ทําให้อากาศเข้าสู่และออกจากปอด, ยังมีชีวิตอยู่ เช่น คนเจ็บ ยังมีชีวิตอยู่; โดยปริยายหมายความว่า หมกมุ่นไปในทางใดทางหนึ่ง เช่น หายใจเป็นเงิน.
  39. หายหน้า : ก. ไม่ได้พบหน้ากัน เช่น ไม่ได้พบกันเสียนาน หายหน้าไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น ตั้งแต่ยืมเงินไปแล้ว เขาก็หายหน้าไปเลย, หายตัว ก็ว่า; บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หายตา เป็น หายหน้าหายตา, หายหัว ก็ว่า.
  40. หาว : น. ที่แจ้ง, ท้องฟ้า, เช่น กลางหาว. ก. กิริยาที่สูดลมเข้าแล้วระบายลมออก ทางปากเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น.
  41. หาวนอน : ก. หาวเพราะง่วงนอน, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา ง่วงเหงา เป็น ง่วงเหงา หาวนอน ก็มี.
  42. ห้ำ : (ปาก) ก. เข้าทําร้ายกัน; ตัดให้สั้นอย่างไม่เป็นระเบียบ; เข้าตะครุบขบกัด (ใช้แก่สัตว์).
  43. ห้ำหัก : ก. เข้าทําร้ายศัตรูให้แตกหักยับเยิน.
  44. ห้ำหั่น : ก. เข้าฟาดฟันให้แหลกไป.
  45. หิงสา : น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หึงสา ก็ว่า, บางที ก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หิงสาพยาบาท หรือ หึงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).
  46. หินชาติ : [หินนะชาด] ว. มีกําเนิดตํ่า, เมื่อใช้เข้าคู่กับคํา ทมิฬ เป็น ทมิฬ หินชาติ หมายความว่า โหดเหี้ยม เช่น ใจทมิฬหินชาติ.
  47. หิ้วปีก : ก. หิ้วโดยใช้แขนสอดเข้าใต้รักแร้ของผู้ถูกหิ้วแล้วพาไป.
  48. หีบเพลงปาก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ใช้ปากเป่า ลักษณะแบน ยาวประกอบด้วยลิ้นเสียง ๒ แถว แถวหนึ่งดังเมื่อเป่าลมออก อีกแถวหนึ่ง ดังเมื่อดูดลมเข้า. (อ. harmonica, mouth organ).
  49. หึง ๑ : ก. หวงแหนทางชู้สาว, มักใช้เข้าคู่กับคำ หวง เป็น หึงหวง หรือ หวงหึง.
  50. หึงส-, หึงสา : [หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสา พยาบาท. (ป., ส. หึสา).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | [1401-1450] | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1862

(0.1140 sec)