Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าแทรก, แทรก, เข้า , then ขา, เข้, เข้า, เข้าแทรก, ทรก, แทรก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าแทรก, 1862 found, display 1501-1550
  1. อั๋น : ว. มีเนื้อแน่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อวบ เป็น อวบอั๋น.
  2. อันดร : [ดอน] น. ภายใน, ระหว่าง, มักใช้เข้าสนธิกับคําอื่น เป็นส่วนท้าย ของคําสมาส เช่น พุทธ + อันดร = พุทธันดร นิร + อันดร = นิรันดร. (ป., ส. อนฺตร).
  3. อันนะ : น. ของกินโดยเฉพาะข้าว, มักใช้เข้าคู่กับ ปานะ เป็น อันนะปานะ แปลว่า ข้าวและนํ้า. (ป., ส.).
  4. อับ ๒ : ว. ไม่มีลมเข้าออก, ไม่โปร่ง, เช่น อากาศอับ, ไม่เคลื่อนไหว เช่น ลมอับ; ไม่มีตาไป (ใช้แก่หมากรุก); โง่ เช่น ปัญญาอับ; ถึงที่อับจน, ถึงคราวชะตาตก, เช่น ตกอับ; มัวหมอง เช่น อับเศร้าหมองศรี; มืด เช่น อับทิศ คือ มืดทุกทิศ; อาการที่นกเขาซึ่งเคยขันแล้วกลับไม่ขัน; ลักษณะของกลิ่นซึ่งเกิดจากสิ่งที่ไม่มีอากาศผ่าน เช่น เหม็นอับ.
  5. อัปภาคย์ : [อับปะ] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย; ไม่มีดี เช่น จะดูดินฟ้าพนาวัน สารพันอัปภาคย์หลากลาง. (อิเหนา), นิยมใช้ เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์, อปภาคย์ ก็ว่า. (ส.).
  6. อัศวเมธ : น. ชื่อพระราชพิธีเพื่อประกาศพระบรมเดชานุภาพของพระราชาธิราช ในวรรณคดีอินเดีย โดยจะทรงปล่อยม้าอุปการพร้อมทั้งกองทัพให้เข้า ไปในประเทศต่าง ๆ ถ้าประเทศใดไม่ยอมอ่อนน้อมกองทัพจะเข้า โจมตี เมื่อครบ ๑ ปีแล้วกองทัพก็ยกกลับพร้อมทั้งพระราชาที่ถูกปราบ พระราชาธิราชก็จะจัดพระราชพิธีโดยฆ่าม้านั้นบูชายัญ เรียกว่า พิธีอัศวเมธ. (ส.).
  7. อัสสาสะ : (แบบ) น. ลมหายใจเข้า, คู่กับ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจออก; การหายใจ คล่อง; ความโปร่งใจ. (ป.).
  8. อาคาร : [คาน] น. เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น; (กฎ) ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สํานักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎหมายกําหนด เช่น อัฒจันทร์ เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ป้าย อู่เรือ. (ป., ส. อาคาร, อคาร).
  9. อาน ๖ : [อานะ] น. ลมหายใจเข้า, นิยมใช้เข้าคู่กับ อปานะ คือ ลมหายใจ ออก เป็น อานาปานะ = ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ในคําว่า อานาปานัสสติ = สติที่กําหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก. (ป., ส.).
  10. อานาปาน, อานาปานะ : [นะ] น. ลมหายใจเข้าออก ในคําว่า อานาปานัสสติ. (ป., ส.).
  11. อานาปานัสสติ : [นัดสะติ] น. สติที่กําหนดลมหายใจเข้าและ ลมหายใจออก.
  12. อาย ๒ : น. กลิ่น, มักใช้เข้าคู่กับคํา กลิ่น เป็น กลิ่นอาย.
  13. อารัณยกะ ๒ : [รันยะกะ] น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์คู่กับคัมภีร์พราหมณะ สำหรับผู้ที่สละทางโลกเข้ามาปฏิบัติธรรมในป่า ลักษณะเนื้อหา ไม่แตกต่างกับคัมภีร์พราหมณะมากนัก.
  14. อ้าว ๑ : ว. ร้อนระงม, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ อบ เป็น อบอ้าว.
  15. อาวรณ์ : [วอน] ก. ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาลัย เป็น อาลัยอาวรณ์. น. เครื่องกั้น, เครื่องกําบัง. (ป., ส.).
  16. อาเวศ : [เวด] น. ทาง เช่น พนาเวศ ว่า ทางป่า. (ส. อาเวศ ว่า การเข้า, ทางเข้า).
  17. อาสา : ก. เสนอตัวเข้ารับทำ. น. ความหวัง เช่น นิราสา = ความหวัง หมดแล้ว คือ ความหมดหวัง, ความต้องการ, ความอยาก. (ป.; ส. อาศา).
  18. อาสาสมัคร : ว. ที่เสนอตัวเข้าทำงานด้วยความสมัครใจ เช่น ทหารอาสาสมัคร. น. บุคคลที่เสนอตัวเข้าทำงานด้วยความ สมัครใจ เช่น เขาเป็นอาสาสมัคร.
  19. อิง : ก. พิง เช่น อิงหมอน; พึ่ง, อาศัย, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ อาศัย เป็น อิงอาศัย.
  20. อิ่มเอม : ว. เป็นที่พอใจมาก, มักใช้เข้าคู่กับคำ เปรมใจ หรือ เปรมปรีดิ์ เป็น อิ่มเอมเปรมใจ หรือ อิ่มเอมเปรมปรีดิ์.
  21. อี ๒ : น. คําประกอบหน้าชื่อการเล่นบางอย่าง เช่น อีตัก อีขีดอีเขียน; คําประกอบหน้าชื่อท่าในการเล่นบางอย่าง เช่น อีงุ้ม อีเข่า ใน การเล่นสะบ้า อีรวบ อีกาเข้ารัง ในการเล่นหมากเก็บ.
  22. อีหรอบ : [หฺรอบ] (โบ) น. ยุโรป หมายความว่า ฝรั่ง เช่น ดินอีหรอบ เข้าอีหรอบ หมายความว่า ทําตามแบบฝรั่ง.
  23. อุกคลุก : (กลอน) ก. เข้ารบคลุกคลีประชิดตัว, อุตลุด, เช่น อุกคลุก พลุก เงยงัด คอคช เศิกแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  24. อุบะ : น. เป็นดอกไม้ที่ร้อยเป็นสายแล้วเข้าพวงอย่างพู่สำหรับห้อยกับ มาลัย ห้อยระหว่างเฟื่อง หรือห้อยประดับข้างหูเป็นต้น.
  25. อุปกรณ์ : [อุปะกอน, อุบปะกอน] น. เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องช่วย, เครื่อง ประกอบ; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดย เจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจําอยู่ กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นํามา สู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนํามาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำ โดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็น ประธานนั้น. (ป., ส.).
  26. อุปกรม : [อุปะกฺรม] น. การเข้าใกล้, การตั้งต้น, การพยายาม. (ส.; ป. อุปกฺกม).
  27. อุปจาร : [อุปะจาน] น. การเข้าใกล้, ที่ใกล้, บริเวณรอบ ๆ เช่น อุปจารวัด. (ป., ส.).
  28. อุปบัติ : [อุปะบัด, อุบปะบัด] น. การเข้าถึง เช่น คติอุปบัติ = การเข้าถึงคติ, การเกิด. (ป. อุปปตฺติ).
  29. อุปมา : [อุปะ, อุบปะ] น. สิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบ, มักใช้เข้าคู่กับ อุปไมย ในประโยคเช่น เรื่องนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น. ก. เปรียบเทียบ. (ป., ส.).
  30. อุสุม : น. ไอ, ไออุ่น; ความร้อน; ฤดูร้อน, แผลงใช้เป็น อรสุม ก็มี เช่น อรสุมพล = กําลังไอนํ้า; ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มี ลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่ เสียง ศ ษ ส. '' (ป.; ส. อุษฺมนฺ).
  31. อู่ : น. เปลเด็ก, (ราชา) พระอู่; ที่เดิม ในคำว่า มดลูกเข้าอู่; แหล่งที่เกิด เช่น อู่ข้าว อู่นํ้า; ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ; ที่ที่ไขนํ้าเข้าออกได้ สําหรับเก็บเรือหรือซุง.
  32. อู่น้ำ : น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง เมื่อนําเรือเข้าในอู่แล้ว ปรับระดับนํ้า ภายในอู่ให้เรือลอยอยู่ในระดับที่ต้องการเพื่อให้ซ่อมได้โดยสะดวก.
  33. อู่ลอย : น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายแพ เคลื่อนที่ได้ และ สามารถปรับระดับให้จมหรือลอยอยู่ในระดับลึกที่ต้องการ เมื่อนํา เรือเข้าอู่แล้วปรับระดับอู่ให้ลอยตัวยกเรือขึ้นพ้นนํ้าเพื่อซ่อมท้องเรือ ภายนอก.
  34. อู่แห้ง : น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง เมื่อนําเรือเข้าอู่แล้ว สูบนํ้าภายในอู่ ออกให้หมด ทําให้สามารถซ่อมท้องเรือภายนอกได้.
  35. เอทิลแอลกอฮอล์ : น. แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C2H5OH ลักษณะเป็นของเหลว ใสไม่มีสี มีขีดเดือด ๗๘.๕?ซ. จุดไฟติด ดื่มเข้าไปทําให้เกิดอาการ มึนเมา เป็นองค์ประกอบสําคัญของสุราเมรัยทุกประเภท ใช้ประโยชน์ เป็นตัวทําละลายเป็นเชื้อเพลิงและใช้สังเคราะห์สารเคมีอื่นได้มากมาย. (อ. ethyl alcohol).
  36. เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ : (สำ) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาล หรือคนที่มีฐานะต่ำกว่า เป็นการไม่สมควร, บางทีใช้เข้าคู่กับ เอา เนื้อไปแลกกับหนัง ว่า เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลก กับหนัง, เอาทองไปรู่กระเบื้อง ก็ว่า.
  37. เอื้อน ๒ : ก. ออกเสียงขับร้องให้เลื่อนไหลกลมกลืนไปตามทำนองตอนที่ไม่มี เนื้อร้อง, ยืดหรือลากเสียงออกไปให้เข้ากับจังหวะของทํานองเพลง.
  38. เอื้อเฟื้อ : ก. อุดหนุน, เจือจาน, แสดงนํ้าใจดีต่อผู้อื่น, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำอื่น เช่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอื้อเฟื้อเกื้อกูล เอื้อเฟื้อเกื้อหนุน.
  39. แอบ, แอบ ๆ : ก. ทําโดยไม่ให้ผู้อื่นรู้เห็นโดยอาการต่าง ๆ เช่น แอบทำ; เข้าไปชิด เช่น รถพยาบาลมาให้รถอื่นแอบเข้าข้างทาง. ว. อาการที่ยืน เดิน หรือวางสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้นไม่ให้เกะกะหรือกีดขวางทาง เช่น เดินแอบข้างทาง วางของแอบ ๆ หน่อย.
  40. แอว : (ถิ่นพายัพ) น. ชื่อกลองยาวขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ทําด้วยลําท่อนไม้ ขุดไส้ในออกให้กลวงแล้วขึงด้วยหนังสัตว์ทางด้านปากกลองเพียง ด้านเดียว จากด้านปากกลองมีลักษณะสอบเข้าคล้ายเอว ตอนปลาย บานผายออกคล้ายดอกลำโพง. (พายัพ แอว ว่า เอว).
  41. โอตตัปปะ : [โอด] น. ความเกรงกลัวบาป, มักใช้เข้าคู่กับคำ หิริ เป็น หิริโอตตัปปะ. (ป.).
  42. โอ้เอ้ : น. เรียกการสวดกาพย์ลํานําเป็นทํานองอย่างที่นักเรียนสวดตาม ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดารามในวันเข้าพรรษา วันกลางพรรษา และวันออกพรรษา ว่า สวดโอ้เอ้วิหารราย. ว. ชักช้า.
  43. ไอแดด : น. ความร้อนจากแสงแดดที่เข้ามาถึงในที่ร่ม.
  44. ขา ๓ : ว. คําขานรับของผู้หญิง.
  45. ขานกยาง ๑ : ดูใน ขา.
  46. ขาไพ่ : น. ผู้ร่วมเล่นการพนันไพ่, ลักษณนามว่า ขา.
  47. ขากรรไกร : [-กันไกฺร] น. กระดูกต้นคางที่อ้าขึ้นอ้าลง มีลักษณะอย่าง กรรไกร, ขากรรไตร หรือ ขาตะไกร ก็ว่า.
  48. ขากรรไตร : น. ขากรรไกร.
  49. ขาเกวียน : (โบ) น. ลูกล้อเกวียน เช่น ขาเกวียนขาหนึ่ง. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
  50. ขาขวิด : ว. อาการที่เดินสะดุดขาตัวเองเพราะอายหรือรีบร้อน เรียกว่า เดินขาขวิด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | [1501-1550] | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1862

(0.1286 sec)