Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สถานกงสุล, กงสุล, สถาน , then กงสุล, สถาน, สถานกงสุล, สถานะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สถานกงสุล, 194 found, display 51-100
  1. ณ ๒ : [นะ] บ. ใน, ที่, เป็นคําบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, ถ้าใช้ นําหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ ระนอง.
  2. ดง ๑ : น. ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น เช่น ขึ้นเป็นดง, ที่ซึ่งมีต้นไม้อย่างใด อย่างหนึ่งขึ้นหนาแน่น เช่น ดงกล้วย, โดยปริยายเรียกสถานที่ที่มีคนหรือ สัตว์เป็นต้นประเภทเดียวกันรวมอยู่ด้วยกันมาก ๆ เช่น ดงผู้ร้าย ดงเสือ.
  3. ตลาด : [ตะหฺลาด] น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ; (กฎ) สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือ อาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความ รวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สําหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้า ประเภทดังกล่าวเป็นประจําหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กําหนด.
  4. ตลาดหลักทรัพย์ : (กฎ) น. ตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์, (ปาก) ตลาดหุ้น.
  5. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  6. ถ่ายทอด : ก. กระจายเสียงหรือแพร่ภาพรายการที่รับจากสถานีอื่น หรือสถานที่อื่น (ใช้แก่วิทยุและโทรทัศน์), โดยปริยายหมายความว่า นําเรื่องที่รู้ไปเล่าต่อ.
  7. ทนายเรือน : (โบ) น. พนักงานฝ่ายในมีหน้าที่ติดต่อกับสถานที่ ต่าง ๆ ในพระราชวัง.
  8. ทวิบถ : น. สถานที่ที่ทางทั้ง ๒ ตัดผ่านกัน, สี่แยก. (ส.).
  9. ท้องพระคลัง : น. สถานที่เก็บพระราชทรัพย์หรือสิ่งของอันมีค่าอื่น ๆ ของพระมหากษัตริย์.
  10. ทัณฑกรรม : [ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ ประพฤติผิด; (กฎ) ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร และกฎหมายว่าด้วยวินัยตํารวจคือ ให้ทํางานโยธา งานสุขาภิบาล หรืองานอื่นของราชการเพิ่มจากหน้าที่ประจําซึ่งตนจะต้องปฏิบัติ อยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจํา. (ส.).
  11. ทัณฑ-, ทัณฑ์ : [ทันดะ-, ทันทะ-, ทัน] น. โทษที่เนื่องด้วยความผิด; (กฎ) โทษ ทางวินัยสถานหนึ่งที่ใช้แก่ข้าราชการบางจําพวก เช่น ทหาร ตํารวจ. (ป., ส.).
  12. ทัณฑนิคม : [ทันทะ-] (กฎ) น. สถานที่ควบคุมและฝึกอบรมนักโทษ เด็ดขาดในขั้นต่อจากเรือนจํา.
  13. ทัณฑสถาน : [ทันทะ-] (กฎ) น. เรือนจําพิเศษประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ เป็นที่ควบคุมกักขังผู้ต้องขังเฉพาะแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับ ประเภทผู้ต้องขังนั้น ๆ เช่น ทัณฑสถานวัยหนุ่ม เป็นสถานที่ควบคุม กักขังและฝึกอาชีพแก่ผู้ต้องขังที่อยู่ในวัยหนุ่ม.
  14. ทัศนศึกษา : ก. ท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้. น. การเรียนรู้ด้วย การดูการเห็น, การศึกษานอกสถานที่.
  15. ทัศนาจร : ก. ท่องเที่ยว. น. การท่องเที่ยว, การไปเที่ยวชมภูมิประเทศ หรือโบราณสถานเป็นต้น.
  16. ท่าเรือ : น. ที่จอดเรือ; (กฎ) สถานที่สําหรับให้บริการแก่เรือในการ จอดเทียบบรรทุก หรือขนถ่ายของ.
  17. ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
  18. ที่ทำการ : น. สถานที่ทํางาน.
  19. ที่นั่ง : (ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหา สมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ ประทับสําหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ ประทับในการเสด็จพระราชดําเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่ พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.
  20. ที่ว่าการ : น. สถานที่ปฏิบัติราชการระดับอําเภอ เรียกว่า ที่ว่าการอําเภอ.
  21. เทวสถาน : น. สถานที่ซึ่งถือว่าเป็นที่ประทับหรือสิงสถิตของเทพเจ้า หรือเทวดา, ที่ประดิษฐานเทวรูป.
  22. ธง : น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
  23. ธนธานี : [ทะนะ] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.). ธนบดี [ทะนะบอ] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).
  24. ธนาคารเลือด : น. สถานที่เก็บรักษาเลือดไว้ เพื่อบริการแก่ผู้ป่วย.
  25. นวนิยาย : น. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครง เรื่อง เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ เรื่อง สี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่องเรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น เรื่องดรรชนีนาง.
  26. ไนต์คลับ : น. สถานเริงรมย์ที่เปิดเวลากลางคืน ขายอาหาร เครื่องดื่ม มีดนตรี และมักจัดให้มีการแสดงด้วย. (อ. nightclub).
  27. บรรจุ : [บัน-] ก. ประจุ, ใส่ลงในขวด หีบ หรือถุง เป็นต้น, ใส่ลงไว้ในภาชนะ หรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่งที่มิดชิด เช่น บรรจุอังคาร บรรจุอัฐิ บรรจุศพ; โดยปริยายหมายความว่า ให้เข้าประจําที่, ให้เข้าประจําตําแหน่ง ครั้งแรก, เช่น บรรจุให้เป็นข้าราชการ, ใส่ลงไว้ตามอัตรา เช่น บรรจุ เข้าไว้ในรายการ.
  28. บัตรเครดิต : น. บัตรซึ่งสถาบันการเงินหรือธุรกิจออกให้แก่ผู้บริโภค ที่เป็นสมาชิก เพื่อให้ชำระค่าสินค้าหรือบริการจากสถานการค้าหรือ ธุรกิจที่รับบัตรนั้นแทนการชำระด้วยเงินสด. (อ. credit card).
  29. บ้าน : น. ที่อยู่ เช่น เลขบ้าน เจ้าบ้าน, สิ่งปลูกสร้างสําหรับเป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า, บริเวณที่เรือนตั้งอยู่ เช่น เขตบ้าน, หมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน, ถิ่นที่มีมนุษย์อยู่ เช่น สร้างเป็นบ้านเป็น เมือง; (กฎ) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสําหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และหมายความรวมถึงแพหรือเรือซึ่งจอด เป็นประจําและใช้เป็นที่อยู่ประจํา หรือสถานที่หรือยานพาหนะอื่น ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจําได้ด้วย. ว. ที่มีอยู่ตามบ้าน เช่น หนูบ้าน คู่กับ หนูนา หรือที่เลี้ยงไว้ เช่น หมูบ้าน คู่กับ หมูป่า.
  30. บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน : (สํา) น. สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน. บ้านจัดสรร น. กลุ่มบ้านซึ่งรัฐหรือเอกชนเป็นผู้ลงทุนสร้างให้ก่อน โดยยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชําระก็ได้.
  31. บาร์ ๒ : น. ร้านขายเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ มักมีดนตรีและที่ให้ ลูกค้า เต้นรําด้วย, สถานบริการเหล้าหรือเครื่องดื่มภายในบ้าน เป็นต้น เช่น เปิดฟรีบาร์. (อ. bar).
  32. บุกรุก : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขต พระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจ หรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอา อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดย ยักย้ายหรือทําลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานอาคาร เก็บรักษาทรัพย์หรือสํานักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดย ไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้ มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
  33. เบี้ยเลี้ยง : (กฎ) น. เงินที่จ่ายให้เป็นค่าอาหารประจําวันในกรณีที่ ออกทํางานนอกสถานที่ตั้งประจํา.
  34. โบราณคดี : [โบรานนะคะดี, โบรานคะดี] น. วิชาที่ศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับโบราณวัตถุและโบราณสถาน, เดิมใช้ โบราณคดีวิทยา.
  35. โบราณวัตถุ : [โบรานนะวัดถุ, โบรานวัดถุ] น. สิ่งของโบราณที่ เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณไม่ว่าจะ เป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็น ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่ง โดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐาน เกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทาง ศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี.
  36. โบสถ์ : น. สถานที่สําหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทําสังฆกรรม เช่น สวด พระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลม เรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคําว่า อุโบสถ). (ป. อุโปสถ).
  37. ประดับ : ก. ตกแต่งให้งามด้วยสิ่งต่าง ๆ มีสร้อย แหวน เป็นต้น เช่น ประดับ เหรียญตรา ประดับอาคารสถานที่ ประดับโคมไฟ, โดยปริยายหมาย ความว่า ประกอบ, เพิ่ม, เช่น ประดับบารมี.
  38. ประวัติ, ประวัติ- : [ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติ วัดมหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).
  39. ปรับ ๒ : [ปฺรับ] ก. เปรียบ, เทียบ; ทําให้อยู่ในสภาพที่เหมาะหรือดีขึ้น, ทําให้เรียบ, ทําให้เสมอ; ลงโทษให้ใช้เงินเพราะทําผิด, ลงโทษ ให้เป็นแพ้; (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ต้องโทษ ต้องชําระเงินตามจํานวนที่กําหนดไว้ในคําพิพากษาต่อศาล หรือ ตามที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบ เรียกว่า โทษปรับ.
  40. ปลดออก : (กฎ) น. โทษทางวินัยสถานหนึ่ง ที่ใช้ลงแก่ข้าราชการผู้ กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยสั่งให้ออกจากราชการ ผู้ถูกลงโทษ ปลดออกมีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออก.
  41. ปล้นทรัพย์ : (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ชิงทรัพย์ร่วม กระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป เรียกว่า ความผิดฐาน ปล้นทรัพย์.
  42. ปีการศึกษา : น. ช่วงเวลาที่สถานศึกษาทําการสอนในรอบ ๑ ปี.
  43. แปรพระราชฐาน : [-พฺระราดชะถาน] (ราชา) ก. เปลี่ยนสถานที่ ประทับไปอยู่ที่อื่นเป็นการชั่วคราว.
  44. ผีเสื้อราตรี : (ปาก) น. เรียกผู้หญิงที่มีอาชีพให้บริการในสถาน บันเทิงในเวลากลางคืน.
  45. เฝ้ายาม : ก. เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา.
  46. พระภูมิ : น. เทพารักษ์ประจําพื้นที่และสถานที่, พระภูมิเจ้าที่ ก็เรียก.
  47. พอทำเนา : ว. พอสมควร, พอสถานประมาณ, เช่น เจ็บไข้ก็พอทำเนา ยังแถมถูกออกจากงานเสียอีก.
  48. พ่อบ้าน : น. ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัว, ชายผู้จัดการงานธุรการ ในสถานที่เช่นโรงพยาบาลเป็นต้น.
  49. พอสัณฐานประมาณ : ว. เพียงระดับปานกลาง, พอสถานประมาณ ก็ว่า.
  50. พิพิธภัณฑ์, พิพิธภัณฑสถาน : [พิพิดทะพัน, พันทะสะถาน] น. สถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญด้าน วัฒนธรรมหรือด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็น ประโยชน์ต่อการศึกษา และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-194

(0.0785 sec)