Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าสมัย, เข้า, สมัย , then ขา, เข้, เข้า, เข้าสมัย, สมย, สมัย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าสมัย, 1979 found, display 1101-1150
  1. มหาอุด : น. เครื่องรางของขลังที่ช่วยให้ผู้เป็นเจ้าของอยู่ยงคงกระพัน; โบสถ์หรือวิหาร ที่มีผนังทึบตันรอบด้านมีช่องทางเข้าออกเฉพาะประตูด้านหน้าแห่งเดียว เพื่อประโยชน์ในการทำพิธีที่เชื่อว่าจะทำให้ขลังยิ่งขึ้น.
  2. มอด ๒ : ก. จวนจะดับ (ใช้แก่ไฟ); ตาย, มักใช้เข้าคู่กับคํา ม้วย เป็น มอดม้วย หรือ ม้วยมอด.
  3. มอบตัว : ก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของ โรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของ เจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.
  4. มะพร้าวตื่นดก : (สํา) ก. เห่อหรือตื่นเต้นในสิ่งที่ตนไม่เคยมีไม่เคยได้จนเกินพอดี, มักพูดเข้าคู่กับ ยาจกตื่นมี ว่า มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี.
  5. มะเหงก : [-เหฺงก] น. ด้านหลังของข้อนิ้วมือที่งอเข้าด้วยกัน ใช้สําหรับเขกหรือชูให้ประกอบ คํากล่าวแสดงความโกรธเป็นต้น เช่น ใช้มะเหงกเขกหัว ให้มะเหงก.
  6. มักง่าย : ก. มีนิสัยชอบเอาแต่ความสะดวกเข้าว่า.
  7. มักใหญ่ : ก. ใฝ่สูง อยากเป็นใหญ่เป็นโต, มักใช้เข้าคู่กับคํา ใฝ่สูง เป็น มักใหญ่ใฝ่สูง.
  8. มัชฌิมชนบท : น. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของ ประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุม ของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.
  9. มัด : ก. ผูกรัดเข้าด้วยกัน, ผูกรัดให้แน่น. น. ลักษณนามเรียกของบางอย่าง ที่ผูกรัดเข้าด้วยกัน เช่น ไต้มัดหนึ่ง ฟืน ๒ มัด.
  10. มับ ๆ : ว. อาการของปากที่หุบเข้าแล้วอ้าออกอย่างเร็ว, หมับ ๆ ก็ว่า.
  11. มาด ๓ : ก. มุ่ง, หมายไว้, คาดไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา มุ่ง เป็น มุ่งมาด.
  12. มาตรฐาน : [มาดตฺระ-] น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ ยังไม่เข้ามาตรฐาน.
  13. ม่านตา : น. เยื่อผิวลูกตาสําหรับบังคับแสงให้เข้าตามากหรือน้อย.
  14. มานัต : น. วินัยกรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสให้เป็นภิกษุ ที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้ เช่น สวดมานัต. (ป. มานตฺต).
  15. ม้าน้ำ ๒ : น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Hippocampus วงศ์ Syngnathidae ลําตัวอ้วน หัวพับเข้าหาลําตัว ปากเป็นท่อยาวรวมกัน ทําให้ส่วนหัว ดูคล้ายม้า ส่วนท้ายของลําตัวเรียวยาว มีครีบหลังขนาดใหญ่ที่ โคนหาง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้อง ตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดํา บางส่วนของลําตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการัง ลําตัวตั้ง ใช้ส่วน หางพันเกาะวัตถุใต้นํ้า ตัวผู้ทําหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร.
  16. มีดควั่นอ้อย : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปยาวรี ปลายมน มีด้าม เจาะรู ที่ปลายใบมีดสำหรับสอดปลายเข้ากับหลักควั่นอ้อย ใช้ควั่นอ้อย.
  17. มีดแป๊ะกั๊ก : น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปแบนยาวประมาณ ๑ ศอก สันหนา ด้ามทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ ศอก ใช้เป็นอาวุธสำหรับทหารเดินเท้า ในกองทัพสมัยโบราณ.
  18. มีดพับสปริง : น. มีดพับที่มีสปริง มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเมื่อกดปุ่ม หรือคานสปริงแล้วจึงจะง้างใบมีดออกหรือพับใบมีดเข้าร่องได้ กับ อีกชนิดหนึ่ง เมื่อกดปุ่มหรือคานสปริงใบมีดจะดีดออกจากร่องหรือ พับเข้าร่องได้.
  19. มีดสปริง : น. มีดที่มีปุ่มสำหรับกดให้ใบมีดพุ่งออกมาหรือถอยกลับ เข้าที่เดิมได้.
  20. มีอายุ : ว. สูงอายุ, ย่างเข้าปัจฉิมวัย.
  21. มืดค่ำ : น. เวลาพลบคํ่าขมุกขมัว เช่น มืดค่ำแล้วเข้าบ้านเสียที.
  22. มืดตื้อ, มืดตื๋อ : ว. มืดมากจนมองไม่เห็นแสงสว่าง เช่น ในห้องนี้ มืดตื้ออย่างกับเข้าถ้ำ.
  23. มืดมน : ว. มืดมัว, มืดมาก, มืดจนมองไม่เห็นทาง, มักใช้เข้าคู่กับคํา อนธการ เป็น มืดมนอนธการ.
  24. มือที่สาม : น. บุคคลฝ่ายที่ ๓ ซึ่งมิใช่คู่กรณี แต่สอดเข้ามาเกี่ยวข้อง ในกิจกรรมหรือชีวิตของผู้อื่น มักจะเข้ามายุแหย่ให้เกิดความแตกแยก หรือบ่อนทำลาย.
  25. มุ : ก. ตั้งใจเอาจริงเอาจัง เช่น มุดูหนังสือ มุสู้ มุจะเอาชนะให้ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ มานะ เป็น มุมานะ เช่น เขามุมานะทำงาน.
  26. มุ่งมาด : ก. ปรารถนา, มักใช้เข้าคู่กันเป็น มุ่งมาดปรารถนา.
  27. มุม : น. จุดที่เส้น ๒ เส้นมาบรรจบกัน เช่น เดินชนมุมโต๊ะ, เนื้อที่ตรงด้านยาว กับด้านสกัดมาบรรจบกัน เช่น วางตู้ไว้ที่มุมห้อง, ที่ว่างซึ่งเกิดจาก เส้นตรง ๒ เส้น แยกออกจากกัน โดยปลายข้างหนึ่งของแต่ละเส้นอยู่ร่วม จุดเดียวกัน เช่น มุมฉาก มุมแหลม, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถูกต้อนเข้ามุม จนมุม.
  28. มูน ๑ : น. เนิน, โคก, จอม, เช่น มูนดิน. ก. พอกพูน, พูนขึ้น, มักใช้ว่า เกิดมูนพูนผล. ว. มาก, มักใช้เข้าคู่กันเป็น มากมูน.
  29. เมฆพัด : [เมกคะ-] น. ชื่อโลหะที่เกิดจากการเอาแร่มาหุงเข้าด้วยกัน แล้วซัดด้วย กํามะถัน มีสีดําเป็นมัน แววเป็นสีคราม, เรียกพระเครื่องที่ทําด้วยโลหะ ชนิดนี้ว่าพระเมฆพัด หรือ พระเนื้อเมฆพัด.
  30. เมทิลแอลกอฮอล์ : น. แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง มีสูตร CH3OH ลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีขีดเดือด ๖๔.๖?ซ. จุดไฟติด เป็นพิษ เมื่อดื่มเข้าไปจะทําให้ตาบอดได้ ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําละลาย เชื้อเพลิง และใช้สังเคราะห์สารเคมีบางอย่าง เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์, เมทานอล ก็เรียก. (อ. methyl alcohol).
  31. เม้มปาก : ก. ม้วนริมฝีปากเข้าข้างในแล้วกดกันไว้.
  32. เมืองท่าปลอดภาษี : น. เมืองท่าหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งในเขตเมืองท่าที่ การขนถ่ายสินค้าเข้าและสินค้าออกไม่ต้องเสียภาษี.
  33. แม่กระชังหน้าใหญ่ : (สํา) น. ผู้ที่ชอบแสดงตัวออกหน้าเป็นหัวเรือใหญ่, มักพูดเข้าคู่กับ แม่หญิงแม่หญัง เป็น แม่หญิงแม่หญัง แม่กระชังหน้าใหญ่.
  34. โมรา : น. หินลายชนิดหนึ่ง นับเข้าในพวกหินมีค่า.
  35. ไม้กระถาง : น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง ใส่ในกระถาง ลำต้นเป็นต้นไม้แห้งผูกดอกไม้ เพลิงชนิดต่าง ๆ เช่น จู้จี้ นกบิน ฝอยทอง ล่ามชนวนให้ต่อกัน เวลาจุดจะแตกเป็นระยะ ๆ; ดอกไม้กระถางเล็ก ๆ ใช้ไม้โสนทำ สำหรับถวายพระในเวลาเข้าพรรษา.
  36. ไม้ตลก : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหัวโต เอารากมาทำเป็นต้นไม้ดัด มีรูปทรงคดงอไม่ เข้ารูปใด ๆ มีรากโผล่มาให้เห็น.
  37. ไม่ถูกโรคกัน : (ปาก) ก. เข้ากันไม่ได้, ไม่ถูกนิสัยกัน.
  38. ไม้นวม : น. ไม้ตีระนาดที่พันด้วยนวมทำให้มีเสียงทุ้ม, โดยปริยายหมายความว่า วิธีการนิ่มนวล, ความอ่อนโยน, เช่น นักเรียนชั้นนี้ต้องใช้ไม้นวมจึงยอมเข้าเรียน.
  39. ไม้เป็น : น. ท่าสําคัญของกระบี่กระบองหรือมวยในการป้องกันตัวโดยใช้ปฏิภาณ ไหวพริบแก้ไขให้พ้นภัยจากปรปักษ์เมื่อคราวเข้าที่คับขัน, ตรงข้ามกับ ไม้เด็ด หรือ ไม้ตาย.
  40. ไม่เป็นท่า : ก. หมดรูป, ไม่เข้าท่า, ไม่ได้ความ, เช่น แพ้ไม่เป็นท่า.
  41. ไม้มือ : น. คําเข้าคู่กัน หมายความว่า มือที่เคลื่อนไหว เช่น ไม้มืออยู่ไม่สุข ทําไม้ทํามือ, ใช้ว่า มือไม้ ก็มี.
  42. ไม่แยแส : ก. ไม่เป็นธุระ, ไม่เกี่ยวข้อง. ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง (สํา) ก. ทําสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะมีภัยแก่ตัว.
  43. ไม่ลงโบสถ์กัน : (ปาก) ก. ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, เข้ากันไม่ได้.
  44. ไม้อัด : น. ไม้ที่ทําขึ้นโดยเอาไม้แผ่นบาง ๆ หลายแผ่นมาผนึกเข้าด้วยกัน.
  45. ย่น : ก. ร่นให้สั้นหรือให้เร็วเข้า เช่น ย่นหนทาง ย่นเวลา, หดร่นเข้าไป เช่น คอย่น, ร่นเป็นริ้วรอย เช่น หน้าย่น, ไม่เรียบ เช่น เสื้อผ้าย่น.
  46. ย็อกแย็ก, ย็อกแย็ก ๆ, ย็อก ๆ แย็ก ๆ : ว. อาการที่ทำอย่างไม่เอาจริงเอาจัง ไม่เข้าท่าเข้าทาง ไม่ถูกแบบถูกแผน หรือไม่ได้เรื่องได้ราว เป็นต้น เช่น ทำงานย็อกแย็ก เต้นย็อกแย็ก ๆ ทำ ย็อก ๆ แย็ก ๆ.
  47. ยอง ๓ : น. เส้น, ใย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใย เป็น ยองใย. ว. สุกใส, ยะยอง หรือ ยรรยอง ก็ใช้ แต่มักแปลว่า สุกใส.
  48. ย่อพล : ก. ย่นหรือย่อแนวกําลังทหารให้สั้นเข้า.
  49. ยักหล่ม : น. รอยบุ๋มที่สะบักทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสําหรับ หญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่กับ ถ่มร้าย เป็น ยักหล่มถ่มร้าย.
  50. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | [1101-1150] | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1979

(0.1303 sec)