Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าสมัย, เข้า, สมัย , then ขา, เข้, เข้า, เข้าสมัย, สมย, สมัย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าสมัย, 1979 found, display 1651-1700
  1. อู่น้ำ : น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง เมื่อนําเรือเข้าในอู่แล้ว ปรับระดับนํ้า ภายในอู่ให้เรือลอยอยู่ในระดับที่ต้องการเพื่อให้ซ่อมได้โดยสะดวก.
  2. อู่ลอย : น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายแพ เคลื่อนที่ได้ และ สามารถปรับระดับให้จมหรือลอยอยู่ในระดับลึกที่ต้องการ เมื่อนํา เรือเข้าอู่แล้วปรับระดับอู่ให้ลอยตัวยกเรือขึ้นพ้นนํ้าเพื่อซ่อมท้องเรือ ภายนอก.
  3. อู่แห้ง : น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง เมื่อนําเรือเข้าอู่แล้ว สูบนํ้าภายในอู่ ออกให้หมด ทําให้สามารถซ่อมท้องเรือภายนอกได้.
  4. เอทิลแอลกอฮอล์ : น. แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C2H5OH ลักษณะเป็นของเหลว ใสไม่มีสี มีขีดเดือด ๗๘.๕?ซ. จุดไฟติด ดื่มเข้าไปทําให้เกิดอาการ มึนเมา เป็นองค์ประกอบสําคัญของสุราเมรัยทุกประเภท ใช้ประโยชน์ เป็นตัวทําละลายเป็นเชื้อเพลิงและใช้สังเคราะห์สารเคมีอื่นได้มากมาย. (อ. ethyl alcohol).
  5. เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ : (สำ) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาล หรือคนที่มีฐานะต่ำกว่า เป็นการไม่สมควร, บางทีใช้เข้าคู่กับ เอา เนื้อไปแลกกับหนัง ว่า เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลก กับหนัง, เอาทองไปรู่กระเบื้อง ก็ว่า.
  6. เอื้อน ๒ : ก. ออกเสียงขับร้องให้เลื่อนไหลกลมกลืนไปตามทำนองตอนที่ไม่มี เนื้อร้อง, ยืดหรือลากเสียงออกไปให้เข้ากับจังหวะของทํานองเพลง.
  7. เอื้อเฟื้อ : ก. อุดหนุน, เจือจาน, แสดงนํ้าใจดีต่อผู้อื่น, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำอื่น เช่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอื้อเฟื้อเกื้อกูล เอื้อเฟื้อเกื้อหนุน.
  8. แอบ, แอบ ๆ : ก. ทําโดยไม่ให้ผู้อื่นรู้เห็นโดยอาการต่าง ๆ เช่น แอบทำ; เข้าไปชิด เช่น รถพยาบาลมาให้รถอื่นแอบเข้าข้างทาง. ว. อาการที่ยืน เดิน หรือวางสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้นไม่ให้เกะกะหรือกีดขวางทาง เช่น เดินแอบข้างทาง วางของแอบ ๆ หน่อย.
  9. แอว : (ถิ่นพายัพ) น. ชื่อกลองยาวขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ทําด้วยลําท่อนไม้ ขุดไส้ในออกให้กลวงแล้วขึงด้วยหนังสัตว์ทางด้านปากกลองเพียง ด้านเดียว จากด้านปากกลองมีลักษณะสอบเข้าคล้ายเอว ตอนปลาย บานผายออกคล้ายดอกลำโพง. (พายัพ แอว ว่า เอว).
  10. โองโขดง : [ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบขึ้นไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โซงโขดง ก็ว่า.
  11. โอตตัปปะ : [โอด] น. ความเกรงกลัวบาป, มักใช้เข้าคู่กับคำ หิริ เป็น หิริโอตตัปปะ. (ป.).
  12. โอ้เอ้ : น. เรียกการสวดกาพย์ลํานําเป็นทํานองอย่างที่นักเรียนสวดตาม ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดารามในวันเข้าพรรษา วันกลางพรรษา และวันออกพรรษา ว่า สวดโอ้เอ้วิหารราย. ว. ชักช้า.
  13. ไอแดด : น. ความร้อนจากแสงแดดที่เข้ามาถึงในที่ร่ม.
  14. ขา ๓ : ว. คําขานรับของผู้หญิง.
  15. ขานกยาง ๑ : ดูใน ขา.
  16. ขาไพ่ : น. ผู้ร่วมเล่นการพนันไพ่, ลักษณนามว่า ขา.
  17. ขากรรไกร : [-กันไกฺร] น. กระดูกต้นคางที่อ้าขึ้นอ้าลง มีลักษณะอย่าง กรรไกร, ขากรรไตร หรือ ขาตะไกร ก็ว่า.
  18. ขากรรไตร : น. ขากรรไกร.
  19. ขาเกวียน : (โบ) น. ลูกล้อเกวียน เช่น ขาเกวียนขาหนึ่ง. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
  20. ขาขวิด : ว. อาการที่เดินสะดุดขาตัวเองเพราะอายหรือรีบร้อน เรียกว่า เดินขาขวิด.
  21. ขาตะเกียบ : น. ขาคนที่ลีบเล็ก.
  22. ขาตะไกร : น. ขากรรไกร.
  23. ขานกยาง ๑ : น. ปืนโบราณที่ตั้งยิงบนขาคํ้า; เรียกตรวนที่มีลูกย่าง ๒ อันว่า ตรวนขานกยาง.
  24. ขาลาก : ว. อาการที่เดินยกขาไม่ขึ้น.
  25. ขาสิงห์ : น. ขาโต๊ะ ตั่ง หรือตู้เป็นต้นที่ออกแบบให้คล้ายขาของสิงห์.
  26. ขาหนีบ : น. บริเวณโคนขาด้านหน้าตรงส่วนที่ต่อกับลำตัว.
  27. ขาเขียด : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Monochoria vaginalis (Burm.f.) Kunth ในวงศ์ Pontederiaceae ดอกสีม่วงนํ้าเงิน เกิดในนํ้าและปลักตม กินได้.
  28. ขานกยาง ๒ : ดู สีเสียด๓.
  29. ขาประจำ : น. ลูกค้าที่ติดต่อสม่ำเสมอ.
  30. ขาใหญ่ : (ปาก) น. นักเลงผู้มีอิทธิพล, นักโทษหรือผู้กักขังที่มีอิทธิพล.
  31. ขัดขา : ก. จงใจขัดขวางเพื่อไม่ให้ทำได้สะดวก, ขัดแข้งขัดขา ก็ว่า; แทน ชั่วคราว เป็นการแก้ขัดในการเล่นไพ่เป็นต้น, คานขา หรือ คันขา ก็ว่า.
  32. ขัดแข้งขัดขา : ก. จงใจขัดขวางเพื่อไม่ให้ทำได้สะดวก, ขัดขา ก็ว่า.
  33. ข่า ๑ : น. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูดภาษา ในตระกูลมอญ-เขมร เช่น ข่า อัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวก หนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย.
  34. ข่า ๓ : น. ชื่อสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ในมหาชาติคําหลวงแปลจากศัพท์ว่า สุสู, คือ จระเข้, เช่น มงงกรฉลองเข้ข่าก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  35. คานขา : ก. แทนชั่วคราว เป็นการแก้ขัดในการเล่นไพ่เป็นต้น, ขัดขา หรือ คันขา ก็ว่า.
  36. พอก้าวขาก็ลาโรง : (สํา) ก. ชักช้าทําให้เสียการ, พอยกขาก็ลาโรง ก็ว่า.
  37. พอยกขาก็ลาโรง : (สํา) ก. ชักช้าทําให้เสียการ, พอก้าวขาก็ลาโรง ก็ว่า.
  38. พันแข้งพันขา : ก. เคล้าแข้งเคล้าขา เช่น ลูกแมวพันแข้งพันขา.
  39. อ้าขาผวาปีก, อ้าขาพวาปีก : (สำ) ก. หาเรื่องมาเป็นภาระของตนโดย ไม่จำเป็น เช่น เขามีฐานะยากจนอยู่แล้วยังจะอ้าขาผวาปีกไปขอเด็ก มาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก งานก็มากอยู่แล้ว ทำไมจะต้องอ้าขาพวาปีก ไปรับงานอื่นมาอีก.
  40. กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน : ก. ประจบประแจง. ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน. น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
  41. กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน : ก. ประจบประแจง.
  42. ขะน่อง, ขาน่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบขะน่อง. (ม. สำนวนอีสาน ชูชก), กระน่อง หรือกระหน่อง ก็เรียก.
  43. ข่า ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alpinia galanga (L.) Sw. ในวงศ์ Zingiberaceae มีเหง้า ลําต้นเป็นกอ สูง ๑-๓ เมตร ดอกขาว ออกเป็นช่อที่ยอด เหง้ามี กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหารและทํายาได้.
  44. ข่า ๔ : น. ไม้ที่ทําเป็นร้านขึ้นคร่อมกองไฟสําหรับปิ้งปลา, ไม้ไผ่ขัดเป็น ตารางเล็ก ๆ สำหรับวางหรือห้อยอาหารแห้งให้อยู่เหนือเตาไฟในครัว.
  45. ปีกกล้าขาแข็ง : ก. พึ่งตัวเองได้, เป็นคําที่ผู้ใหญ่มักใช้กล่าวเชิงตําหนิ ติเตียนผู้น้อย.
  46. ผิดขา : ว. ผิดไปจากพวก, ไม่ถูกขากัน.
  47. ไม้ขาเขียด : น. ไม้เรียวที่ปลายแตกแยกออกเป็น ๒ แฉก.
  48. ยืดแข้งยืดขา, ยืดเส้นยืดสาย : ก. อาการที่ออกกำลังโดยเดินหรือวิ่งเป็นต้น เพื่อให้หายเมื่อยขบ.
  49. สะดุดขาตัวเอง : (สำ) ก. ทำผิดหลักเกณฑ์ที่ตนกำหนดไว้เอง.
  50. กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | [1651-1700] | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1979

(0.1233 sec)