Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าสมัย, เข้า, สมัย , then ขา, เข้, เข้า, เข้าสมัย, สมย, สมัย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าสมัย, 1979 found, display 301-350
  1. กระลอก : [-หฺลอก] (กลอน) แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก.
  2. กระเลือก : [-เหฺลือก] (กลอน; แผลงมาจาก เกลือก) ก. เหลือก, ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ เป็น กระลับกระเลือก.
  3. -กระวาด : ใช้เข้าคู่กับคํา กระวี และ กระวูด เป็น กระวีกระวาด และ กระวูดกระวาด.
  4. กระวาย : (กลอน) ว. ส่าย, ดิ้น, เช่น ทอดตนตีทรวงกระวาย. (อุเทน), และใช้เข้าคู่กับคํา กระเวย และ กระโวย เป็น กระเวยกระวาย และ กระโวยกระวาย.
  5. -กระสน : ใช้เข้าคู่กับคํา กระเสือก เป็น กระเสือกกระสน.
  6. กระสัง ๒ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบางถิ่นอาจ ใช้เรียกนกชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีใช้, เช่น กระสังกระสาสาว กระสันจับกระลับดู. (เสือโค).
  7. กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
  8. กระสาย : น. เครื่องแทรกยา เช่น น้ำเหล้า. (ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยา ทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย.
  9. -กระส่าย : ใช้เข้าคู่กับคํา กระสับ เป็น กระสับกระส่าย.
  10. กระสือ ๑ : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย; ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของ สารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด; โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, โคมตาวัว ก็ว่า.
  11. กระสือ ๒ : น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสง ได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่าน ชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสง แมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือ หรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือ หรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
  12. กระเสียน : ว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; (โบ) อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับ ไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. (ปรัดเล).
  13. -กระเสียน : (โบ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. (ปรัดเล).
  14. กระเสียร : [-เสียน] ว. คับแคบ, ลําบาก, ฝืดเคือง, ใช้เข้าคู่กับคํา กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียร. (ป. กสิร).
  15. กระแสะ : ว. เพลีย, โผเผ, ไม่มีกําลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิว กระแสะ ๆ ไป. (ดิกชนารีไทย), และใช้เข้าคู่กับคํา กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ.
  16. กระไส : น. ทราย เช่น สีคงคาขุ่นเป็นเปือกเทือกกระไส. (ม. กาพย์ วนปเวสน์), ประทับทอดจอดอ่าวเข้าไม่ได้ โขดกระไสติดช่องร่องวิถี. (นิ. เกาะแก้วกัลกตา).
  17. -กระหมิด : ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุด เป็น กระหมุดกระหมิด.
  18. กระหมิบ : ก. ทําปากหรือช่องทวารหนักทวารเบาให้เม้มอยู่; อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ). ว. บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ.
  19. กระหยด : (โบ; แผลงมาจาก ขยด) ก. ถด, ถอย, เขยิบ, เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
  20. กระหยิ่ม : ก. กริ่ม คือ ครึ้มใจ, ภูมิใจ, อิ่มใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยิ้มย่อง เป็น กระหยิ่มยิ้มย่อง. (แผลงมาจาก ขยิ่ม).
  21. กระหวัด : ก. ตวัด, วัดเข้ามาโดยเร็ว, รัดรึง; ย้อน เช่น เจ้าหวนคิดกระหวัดวน. (พากย์นางลอย).
  22. -กระแหน : [-แหฺน] ใช้เข้าคู่กับคํา กระหนอ และ กระแหนะ เป็น กระหนอกระแหน และ กระแหนะกระแหน.
  23. กระแหนะ : [-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือ วิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลาย หรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็น หัวโขน, แขนะ ก็ว่า.
  24. -กระอ่วน : ใช้เข้าคู่กับคํา กระอัก เป็น กระอักกระอ่วน.
  25. -กระแอ้ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระอ้อ เป็น กระอ้อกระแอ้.
  26. -กระแอด : ใช้เข้าคู่กับคํา กระออด เป็น กระออดกระแอด.
  27. -กระแอ้ม : ใช้เข้าคู่กับคํา กระอ้อม เป็น กระอ้อมกระแอ้ม.
  28. กระแอม ๑ : ก. ทําเสียงแอมในคอคล้ายไอ เพื่อให้โปร่งคอ ให้เสียงหายเครือ เพื่อให้เขารู้ หรือระวัง เป็นต้น, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระไอ เป็น กระแอมกระไอ.
  29. กระไอ ๒ : ก. ไอ, ใช้เข้าคู่กับคํา กระอัก หรือ กระแอม เป็น กระอักกระไอ กระแอมกระไอ หรือ กระไอกระแอม.
  30. กระไอกระแอม : ก. ทําเสียงไอเสียงแอม เช่น ถ้ามันจะ เกริ่นกรายกระไอกระแอมแอบเข้ามา. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  31. กรับเสภา : น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แก่นเช่นไม้ชิงชัน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕ เซนติเมตร ลบเหลี่ยมเล็กน้อยเพื่อมิให้บาดมือและให้ สามารถกลิ้งตัวกระทบกันได้สะดวก ใช้ประกอบในการขับเสภา โดยผู้ขับเสภาจะต้องใช้กรับ ๒ คู่ ถือไว้ข้างละคู่ ขณะที่ขับ เสภาก็ขยับกรับแต่ละคู่ให้กระทบกันเข้าจังหวะกับเสียงขับ, กรับขยับ ก็เรียก.
  32. -กราด : ใช้เข้าคู่กับคํา กรีด เป็น กรีดกราด.
  33. กราน ๒ : [กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคําอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า ค้ำ, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลําพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
  34. กรานกฐิน : [-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึง ที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้า ให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทํา พินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
  35. กราย ๓ : [กฺราย] ก. เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง, เดินอย่างมีท่าที, เช่น ห่มเสื้อกรายดาบง่า. (ลอ), ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง. (คาวี); เดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ, เดินเฉียดใกล้เข้าไปอย่างไม่มีคารวะ, เช่น เดินกรายศีรษะ, ใช้เข้าคู่กับคํา กรีด กรุย และ กล้ำ เป็น กรีดกราย กรุยกราย และ กล้ำกราย.
  36. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  37. กร่ำ ๑ : [กฺร่ำ] น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่น้ำ เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับก็เอาเฝือกหรืออวนล้อม แล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, เขียนเป็น กล่ำ ก็มี.
  38. กริยาวิเศษณ์วลี : (ไว) น. ท่อนความที่มีคํากริยาวิเศษณ์ ที่พ่วงบุรพบทเข้าขยายกริยา เช่น ม้าวิ่งไปข้างโน้น ความที่ขีดสัญประกาศนั้นเป็นกริยาวิเศษณ์วลี.
  39. กรีดไพ่ : ก. สับไพ่ป๊อกโดยวิธีแยกไพ่ออกเป็น ๒ ส่วน ใช้มือแต่ละข้างจับไพ่แต่ละส่วนไว้ แล้วใช้ที่หัวแม่มือระไพ่ แต่ละใบให้ล้มทับสลับกันจนหมดแล้วผลักรวมเข้าด้วยกัน.
  40. กรีธาพล : ก. รวมพลเข้าเป็นกระบวน.
  41. กรุ ๑ : [กฺรุ] น. ห้องที่ทําไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งอื่น ๆ,โดยปริยาย หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
  42. กรุก : [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  43. กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  44. กลมกล่อม : ว. ที่เข้ากันพอดี (ใช้แก่รสหรือเสียง).
  45. กลมกลืน : ก. เข้ากันได้ดี, ไม่ขัดแย้งกัน.
  46. กลมเกลียว : ว. ที่เข้ากันได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
  47. กล้อ ๒ : [กฺล้อ] (โบ) น. เครื่องสานยาชันชนิดหนึ่ง เช่น ก็ให้น้ำเต็มเต้า เข้าเต็มไห ไปเต็มหม้อ ชื่อว่ากล้อก็บมิให้พร่องเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ดู กร้อ). (เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห).
  48. กล่อง : [กฺล่อง] น. ภาชนะใส่สิ่งของรูปกลมหรือเหลี่ยมมีฝาปิด, สิ่งที่ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กล่องไม้ขีดไฟ, กลักไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
  49. กลอง ๑ : [กฺลอง] น. เครื่องตีทําด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลม กลวง ขึงด้วยหนัง มีหลายชนิด, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมาก ใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่า กลองยาว หรือ เถิดเทิง, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น เรียกว่า กลองรํามะนา, ถ้าขึ้นหนังทั้ง ๒ หน้า ร้อยโยงเข้าด้วยกันด้วยหนังเรียด เรียกว่า กลองมลายู, ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย เรียกว่า กลองแขก กลองชนะ, ถ้าขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.
  50. กล่อมมดลูก : ก. เร่งให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นโดยการประคบบริเวณท้อง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1979

(0.1182 sec)