Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าสมัย, เข้า, สมัย , then ขา, เข้, เข้า, เข้าสมัย, สมย, สมัย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าสมัย, 1979 found, display 551-600
  1. คืบ ๒ : น. ว่านชนิดหนึ่ง ใบเหมือนผักอีแปะ ก้านเขียวเล็ก มีเมล็ดที่ปลายใบ เมื่อเมล็ดแก่และหางตกถึงดินแล้ว เมล็ดงอกเป็นต้นขึ้นมา ในตํารา กบิลว่านกล่าวว่าใช้เมล็ดห่อผ้าไว้ ตีฟันไม่เข้า. (กบิลว่าน).
  2. คุณ ๒ : น. อาถรรพณ์ คือ พิธีทําร้ายต่ออมิตร โดยเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าในตัว หรือฝังรูปฝังรอย เรียกกันว่า กระทําคุณ, ผู้ถูกกระทำ เรียกว่า ถูกคุณ, คุณไสย ก็ว่า.
  3. คุม ๒ : ก. รวมสิ่งที่กระจายอยู่ให้เข้าชุดเข้าพวกเป็นระเบียบเดียวกัน เช่น คุมยา คุมเรือน.
  4. คุ่ม ๒ : ว. ค่อมน้อย ๆ เช่น หลังคุ่ม, โค้งเข้า, โค้งลง.
  5. คุมแค้น : ก. ผูกใจเจ็บและคิดอยากแก้แค้น, เก็บเอาความแค้นเข้าไว้.
  6. คุ้มห้าม : ก. ยกเว้นจากความต้องห้ามและภาษีอากรโดยมีหนังสือ เป็นตราภูมิ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตราภูมิ เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
  7. คุลิก่า : น. เม็ดกรวดที่อยู่ในกระเพาะสัตว์บดเอื้อง เมื่อนานเข้าก็มีเมือกเกาะ เป็นเม็ดกลม ถือกันว่าเป็นยาถอนพิษ. (ม. guliga).
  8. คุลีการ : ก. คลุกเคล้าเข้าด้วยกันแล้วปั้นก้อน, คลุกเคล้าให้เข้ากัน.
  9. คู้ : ก. ตรงกันข้ามกับ เหยียด, งอเข้า เช่น คู้เข่า. คู้บัลลังก์ ก. ขัดสมาธิ.
  10. คู่ขา : น. คู่เล่นการพนันที่หย่ากันคือไม่เอาเงินกัน, คู่แสดงหรือคู่เล่น ที่เข้ากันได้ดี.
  11. คู่แข่ง : น. ผู้ที่เข้าแข่งขันกัน, ผู้ที่ชิงดีชิงเด่นกัน.
  12. คู่เคียง : น. ผู้ที่เข้ากระบวนแห่ของหลวงซึ่งเดินเคียงราชยานไปคนละข้าง.
  13. คู่ผสม : น. คําเรียกผู้เล่นกีฬาบางประเภทเช่นแบดมินตัน เทนนิส ที่ใช้ผู้ชายกับผู้หญิงเข้าคู่กัน.
  14. คู่ลำดับ : (คณิต) น. สิ่ง ๒ สิ่งที่จัดเข้าวงเล็บให้อยู่คู่กัน ซึ่งคํานึงถึง การเรียงลําดับก่อนหลังเป็นหลักสําคัญ โดยถือว่า (a, b) ต่างกับ (b, a).
  15. เครดิต : [เคฺร-] น. ชื่อเสียงหรือความเชื่อถือในตัวบุคคลหรือในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ความเชื่อถือในฐานะทางการเงินของบุคคลหรือสถาบัน; รายการเจ้าหนี้ ตามบัญชี, เงินที่เข้าบัญชีเป็นรายรับ; ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษา จะพึงได้รับเมื่อศึกษาตรงตามกําหนดและสอบวิชานั้น ๆ ได้, หน่วยกิต ก็เรียก. (อ. credit).
  16. เครื่อง : [เคฺรื่อง] น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสําหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสํารับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสํารับกับแป้งเครื่องสําอาง, ของใช้ของกิน สำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย.
  17. เครื่องผูก : น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวาย เป็นต้นว่า เรือนเครื่องผูก, คู่กับ เรือนเครื่องสับ.
  18. เครื่องราง : น. ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล.
  19. เครื่องเรือน : น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา; เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
  20. เครื่องสับ : น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้ว่า เรือนเครื่องสับ, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก.
  21. เคว้ง : [เคฺว้ง] ว. คว้าง, มักใช้พูดเข้าคู่กันว่า เคว้งคว้าง หรือ คว้างเคว้ง ก็มี.
  22. เคี้ยว ๒ : ว. คด เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคํา คด เป็น คดเคี้ยว.
  23. เคี้ยวฟัน : ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทําอะไรเขาไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคํา เข่นเขี้ยว เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
  24. โครงสร้าง : น. ส่วนประกอบสําคัญ ๆ ซึ่งนำมาคุมเข้าด้วยกันให้เป็น รูปร่างเดียวกัน.
  25. ฆ้องชัย : น. ฆ้องขนาดใหญ่ สมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ในปัจจุบันใช้ตีในงานพิธีมงคลต่าง ๆ, ฆ้องหุ่ย ก็เรียก.
  26. ฆ้องโหม่ง : น. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับ เชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะ ในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลา กลางวันเป็นสัญญาณบอก ''โมง'' คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลา กลางคืนบอก ''ทุ่ม''.
  27. งดเว้น : ก. เว้นด้วยการงด คือ หยุดไม่กระทำหรือไม่ดำเนินการตามปรกติ เช่น งดเว้นอบายมุขระหว่างเข้าพรรษา.
  28. งาแซง : น. งาอย่างหนึ่งคล้ายงาลอบงาไซกันไม่ให้ของข้างในออก แต่ใส่ลงไปได้ ใช้สวมปากข้องปากลันเป็นต้น; เสาเสี้ยมปลายที่ปัก ตะแคงระหว่างเสาระเนียด เพื่อกันไม่ให้ช้างกระแทกเสาระเนียด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นสําหรับตั้งกีดขวางทางเข้า ประตูค่ายเป็นต้น.
  29. งาน ๑ : น. สิ่งหรือกิจกรรมที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคำ การ เช่น การงาน เป็นการ เป็นงาน ได้การได้งาน; การพิธีหรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน เช่น งานบวช งานปีใหม่.
  30. งาสาน : (โบ) น. เรียกพัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสีว่า พัดงาสาน, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและ สมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า 'คามวาสี อรัญวาสี' มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทอง และเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสานเป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสี.
  31. งำ : ก. ปิด เช่น งําความ, ปกครอง เช่น งำเมือง, รักษา ในคำว่า เก็บงำ, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา ครอบ เป็น ครอบงํา.
  32. เง่า : ว. โง่, มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา โง่ เป็น โง่เง่า.
  33. เงินคงคลัง : (กฎ) น. เงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการได้เก็บ หรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง หรือคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด.
  34. เงี้ยว ๑ : น. ชื่อหนึ่งของชนชาวไทยใหญ่ที่ใช้เรียกกันเป็นสามัญในประเทศไทย สมัยก่อน.
  35. จตุสดมภ์ : น. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดย ตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  36. จม : ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลาย ที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย.
  37. จมูกมด : (สํา) ว. ที่ไหวตัวหรือรู้ตัวทันเหตุการณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา หูผี เป็น หูผีจมูกมด.
  38. จร ๑, จร- : [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้าย สมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบ กับคําไทยก็มี.
  39. จราก : [จะหฺราก] (กลอน) ก. ตรากตรำ, ทําให้ลําบาก, เช่น คล้องติดคชคลอคชทังป่า ขับจากขัง แลเข้าจรลุงจรากจอง. (สมุทรโฆษ).
  40. จวนตัว : ว. เข้าที่คับขัน, เข้าที่จําเป็น.
  41. จ่อ ๑ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่น เช่น เอายาดมจ่อจมูก; มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำ จด เป็น จดจ่อ เช่น เขามี ใจจดจ่อกับงาน.
  42. จอกหูหนู : น. ชื่อผักกูดนํ้าชนิด Salvinia cucullata Roxb. ในวงศ์ Salviniaceae ลอยอยู่บนผิวนํ้า มีรากเป็นฝอยยาวคล้ายจอก ที่ต่างกับจอก คือ มีใบ ๒ ใบอยู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น ตัวใบกลม สีเขียวแก่ โคนใบเว้าเข้า เล็กน้อย ตั้งชูขึ้นคล้ายหูหนู.
  43. จองคช : [-คด] น. ช้างที่ผูกเครื่องรบเข้าระวางทัพ.
  44. จั๊กเดียม : [จั๊กกะ-] ก. กระดาก, เขินอาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ จั๊กจี้ เป็น จั๊กจี้จั๊กเดียม.
  45. จัง : (ปาก) ว. ยิ่งนัก เช่น เก่งจัง ร้อนจัง ของสิ่งนี้ถูกจัง; เต็มที่, เต็มแรง, เช่น ชนกันเข้าอย่างจัง.
  46. จังหน้า : ว. เต็มหน้า, เต็มที่, เช่น เจอเข้าจังหน้า โดนเข้าจังหน้า.
  47. จังหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับ หลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบ บ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก. (ลำดับสกุลเก่า; ลัทธิ). (จ. จั้ง ว่า กีด, ขวาง; โหล่ว ว่า ถนน).
  48. จังหวะ : น. ระยะที่สมํ่าเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กําหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่า โอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. (ข. จงวาก่). จังหวะจะโคน (ปาก) น. จังหวะ.
  49. จังหวัด : (กฎ) น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้า ด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้า ปกครอง, (โบ) เมือง, หัวเมือง; ถิ่น, เขต, บริเวณ, เช่น อารามขึ้นคณะ ป่าแก้วในจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราช. (ประชุมพระตำราบรมราชูทิศ เพื่อกัลปนา).
  50. จัตุสดมภ์ : [จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัย โบราณ โดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1979

(0.1039 sec)