Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยุง , then ยง, ยุง, ยูง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยุง, 198 found, display 51-100
  1. หางนกยูงฝรั่ง : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Delonix regia (Hook.) Raf. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นและกิ่งไม่มีหนาม ดอกสีแดงหรือแสด ออก ดอกปีละครั้ง ขณะออกดอกผลัดใบ.
  2. อยู่ยงคงกระพัน : ว. ทนทานต่อศัสตราวุธ.
  3. มเหยงค์ : [มะเห-ยง] น. ภูเขา, เนินดิน. (ป. มหิยงฺคณ).
  4. ก่น ๑ : (โบ) ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  5. กบ ๕ : น. (๑) ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่งในสกุล Geodorum วงศ์ Orchidaceae หัวมีลักษณะเหมือนกบ เชื่อกันว่า ใช้ในทางอยู่ยงคงกระพันได้, ข้าวอังกุลี ก็เรียก.
  6. กรด ๕ : [กฺรด] (ปาก) ว. ยิ่ง, มาก, เช่น ไวเป็นกรด ฉลาดเป็นกรด.
  7. กระกวด : (โบ; กลอน) ว. สูงชัน, กรวด, กรกวด ก็ว่า เช่น อยู่จอมด้วยกรกวด กิ่งก้านรวดรยงงามอยู่น้นน. (ม. คําหลวง มัทรี).
  8. กระโงก : (กลอน) น. นกยูง, กุโงก ก็ว่า. (เทียบ ข. โกฺงก).
  9. กระสุงกระสิง : ก. สุงสิง, ยุ่ง, ข้องแวะ. (ปาเลกัว).
  10. กล้ำ : [กฺล้ำ] ก. ควบ เช่น กล้ำอักษร อักษรกล้ำ, ทําให้เข้ากัน, กลืนกัน, เช่น กล้ำเสียง เสียงกล้ำ, มีโทษอันหนึ่งไซร้ กลบกล้ำพันคุณ. (โลกนิติ), คือดั่งปากเว้นกล้ำ แกล่เหมี้ยงหมากพลู. (โลกนิติ), กัลยาจะกล้ำอําความตาย. (อิเหนา).
  11. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  12. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  13. กะโต้งโห่ง : ว. เสียงนกยูงร้อง.
  14. กันเมียง : น. เด็ก, โบราณเขียนเป็น กันมยง เช่น แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี อันกันมยงทักแท่ให้แต่งแง่ดูงาม. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. เกฺมง = เด็ก).
  15. กันลอง ๒ : ก. กระโดด, ข้าม, ผ่าน. ว. เลิศ, ยิ่ง; ล่วง, พ้น, เช่น มหาโพยมกันลอง. (กล่อมช้างของเก่า). (ข. กนฺลง).
  16. กาหล : [-หน] (แบบ) น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคมแตรงอน. ว. เอะอะอื้ออึง เช่น แตกตื่นกันกาหลอลหม่าน, ยามพลบสยงกึกก้อง กาหล แม่ฮา. (กำสรวล).
  17. กำไร : น. ผลที่ได้เกินต้นทุน. ว. ยิ่ง, เกิน, เช่น ทรงบําเพ็ญบารมีสี่อสงไขยกําไรแสนมหากัป.
  18. กุงาน : น. ห่าน, ใช้หมายความถึง นกยูง ก็มี เช่น แพนกุงานกระพือ. (สมุทรโฆษ), กลางคชเทอดแพน กุงาน ง่าคว้าง. (ลิลิตพยุหยาตรา).
  19. กุโงก : น. นกยูง, กระโงก ก็ใช้. (ข. โกฺงก).
  20. เกน ๆ : ว. อาการที่ตะโกนหรือร้องดัง ๆ ใช้ว่า ตะโกนเกน ๆ ร้องเกน ๆ, เช่น มนนก็จรจรัลไปมาในป่า ก็ได้ยินซ่าศับท์ สำนยงพราหมณ์ไห้ ในต้นไม้เกนเกนอยู่น้นน. (ม. คำหลวง ชูชก).
  21. เกรียง ๑ : [เกฺรียง] น. เครื่องมือสําหรับใช้ในการถือปูน ทําด้วยไม้หรือเหล็ก เป็นรูปแบน ๆ.
  22. เกรียง ๒ : [เกฺรียง] ว. ใหญ่, ยิ่ง, มาก, เช่น มีศัพท์สําเนียงเกรียงระงม. (ม. คําหลวง กุมาร).
  23. เกลียง : [เกฺลียง] น. หญ้า เช่น เกลียงอ่อนห่อนโคลด ละไว้. (โลกนิติ).
  24. เกลี้ยง ๑ : [เกฺลี้ยง] ว. เรียบ ๆ ไม่ขรุขระหรือไม่มีลวดลาย; หมดไม่มีเหลือไม่มีอะไรติดอยู่ เช่น หมดเกลี้ยง กินเสียเกลี้ยง.
  25. เกาลิน : น. ดินเกาเหลียง. (อ. kaolin).
  26. โกณก, โกณะ : [-นก] (แบบ) น. มุม, เหลี่ยม, เช่น เปนจดูรโกณก ครรโภทกเพ็ญพยง. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป.).
  27. ไกร ๒ : [ไกฺร] ว. ยิ่ง เช่น เหนหาญหื่นแหลมหลัก ไกรกว่า ตนนา. (ยวนพ่าย), ใหญ่, มาก, เกิน; กล้า, เก่ง.
  28. ขยะแขยง : [ขะหฺยะขะแหฺยง] ก. เกลียดเมื่อได้เห็นหรือถูกต้องสิ่งที่สกปรก น่ารังเกียจหรือน่าเกลียดน่ากลัวหรือเมื่อนึกถึงสิ่งนั้น, แขยง ก็ว่า.
  29. ขวาด ๒ : [ขฺวาด] ว. วุ่น, ยุ่ง, เช่น มันจะมาเตือนตั้งก่อความขวาด. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  30. ขะแถก : (ถิ่น) ก. กระแทก, กระทบโดยแรง, กระทุ้ง, เช่น ขะแถกแทงทอท่ยว เขาส้ยมส่ยวยงงมี. (ม. คําหลวง มหาราช).
  31. ข่าม : (ถิ่น-พายัพ) ก. อยู่ยงคงกระพัน.
  32. แขยง ๑ : [ขะแหฺยง] น. ชื่อปลานํ้าจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ ครีบหลังตอนแรกมีก้านครีบแข็ง หยักเป็นหนามคม เช่นเดียวกับครีบอก ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อ ขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากด แต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหิน (Leiocassis siamensis) แขยงใบข้าว (Mystus cavasius) แขยงธง หรือ แขยงหมู (Heterobagrus bocourti) แขยงวัง หรือ แขยงหนู (Bagroides macropterus).
  33. แขยง ๒ : [ขะแหฺยง] ก. เกลียดเมื่อได้เห็นหรือถูกต้องสิ่งที่สกปรก น่ารังเกียจ หรือน่าเกลียดน่ากลัว หรือเมื่อนึกถึงสิ่งนั้น, ขยะแขยง ก็ว่า.
  34. แขยงหนู : [ขะแหฺยง-] น. (๑) ชื่อปลาแขยงชนิดหนึ่ง, แขยงวัง ก็เรียก. (ดู แขยง๑). (๒) ดู มังกง.
  35. โขยง : [ขะโหฺยง] น. พวก, หมู่, ฝูง. ว. หมดด้วยกัน.
  36. ครัน : [คฺรัน] ว. ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไปในทํานองว่า นัก, แท้, ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน.
  37. คางคก ๓ : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวเหมือนอุตพิด คันจัด ใช้เพื่อให้ อยู่ยงคงกระพันชั่วเบา. (กบิลว่าน).
  38. ค้าน : ก. แย้งกัน เช่น ข้อความตอนหน้ากับตอนหลังค้านกัน, กล่าวแย้ง ไม่เห็นด้วย; (โบ; กลอน) หัก, พัง, ทําลาย, เช่น เครื่องบนกระบาล ผุค้าน. (คําฤษฎี), สยงสรเทือนพ้ยงค้าน ค่นเมรุ. (ยวนพ่าย).
  39. คายัน : (แบบ) ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น สยงสังคีตคายัน. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส.).
  40. คำนวร : [-นวน] (แบบ) ว. ควร, ถูกต้อง, เหมาะ, พอดี ๆ, ชอบ, เช่น คิดคิ้วคํานวรนวย คือธนูอันก่งยง. (สมุทรโฆษ).
  41. เคี้ยว ๒ : ว. คด เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคํา คด เป็น คดเคี้ยว.
  42. เงี้ยว ๒ : น. งู เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ).
  43. โง่ง ๆ, โง่งเง่ง : ว. โย่ง ๆ, อาการเดินก้าวยาว ๆ ของคนผอมสูง.
  44. จตุรงค์ : ว. องค์ ๔, ๔ เหล่า. น. หมากรุก เช่น ต่งงกรดานจตุรงคมยง ม่ายม้า. (กำสรวล). (ป.; ส. จตุร + องฺค).
  45. จริก ๒ : [จะหฺริก] (กลอน) น. ต้นจิก เช่น จริกโจรตพยงผกากรรณก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  46. จองเปรียง : [-เปฺรียง] น. ชื่อพิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ เป็นพิธีจุดโคมรับพระเป็นเจ้า ทําในวันเพ็ญเดือน ๑๒.
  47. จัด ๑ : ว. ยิ่ง, เต็มที่, เกินปรกติมาก, มากหรือหนักไปในทางใดทางหนึ่ง, เช่น ระเบียบจัด ธรรมเนียมจัด หิวจัด ร้อนจัด หนาวจัด แดดจัด; แก่เต็มที่ เช่น ผลไม้แก่จัด. (ข. จาส่).
  48. จ้า : ว. จัด, ยิ่ง, แรง, (ใช้แก่สี แสง หรือเสียง) เช่น สีจ้า แสงจ้า.
  49. จ้าน : ว. จัด, มาก, ยิ่ง, นัก, เช่น รูปร่างช่างกระไรเหมือนยักษ์มาร ล่ำสันขันจ้านสักเท่าพ้อม. (สังข์ทอง).
  50. จี๋ ๑ : ว. เร็ว, จัด, เช่น วิ่งจี๋ หมุนจี๋ เร็วจี๋, ยิ่ง เช่น ร้อนจี๋ ปวดจี๋.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-198

(0.0415 sec)