Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าเค้า, เค้า, เข้า , then ขา, ขาคา, เข้, เข้า, เข้าเค้า, คา, เค้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าเค้า, 1990 found, display 101-150
  1. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  2. การณ์ : [กาน] น. เหตุ, เค้า, มูล, เช่น รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สังเกตการณ์. (ป., ส.).
  3. คัดเค้า : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Oxyceros horridus Lour. ในวงศ์ Rubiaceae มีหนามโค้งแหลม ดอกสีขาว ๆ เหลือง ๆ กลิ่นหอม, คัดเค้าเครือ ก็เรียก.
  4. โฉม ๑ : น. รูปร่าง, ทรวดทรง, เค้า, เช่น เนื้อชาววังใช้ช้า โฉมใช่โฉมคนค้า หน้าใช่หน้า กริกกริว. (ลอ). ว. งาม.
  5. ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน : (สํา) ก. นําศัตรูเข้าบ้าน.
  6. ปล่อยเสือเข้าป่า : (สํา) ก. ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทําร้ายภายหลังอีก, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยปลาลงนํ้า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.
  7. พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก : (สํา) น. ความทุกข์ยากลําบากที่เกิด ซ้อน ๆ เข้ามาในขณะเดียวกัน.
  8. ไม่เข้าใครออกใคร : ก. ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, เป็นกลาง, คงความเป็นตัว ของตัวเอง, ไม่เห็นแก่หน้าใคร, เช่น เขาตัดสินไม่เข้าใครออกใคร ปืนไม่เข้าใครออกใคร.
  9. รอย : น. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลายเป็นต้นที่ปรากฏอยู่บนพื้น สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รอยขีด รอยหน้าผากย่น รอยพระบาท รอยต่อ รอย ประสาน; เค้า, เค้าเงื่อน, เช่น แกะรอย ตามรอย; โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รอยรัก, ทาง เช่น มารอยเดียวกัน; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นรอย เช่น พระบาท ๔ รอย มีรอยต่อ ๓ รอย. (กลอน) ว. เห็นจะ, ชะรอย.
  10. รู้เค้า : ก. รู้ร่องรอย เช่น รู้เค้าว่าใครเป็นฆาตกร เก็บเงินไว้ให้ดีอย่าให้ใคร รู้เค้า.
  11. ล้มเค้า : ก. เล่นการพนันบางอย่างเช่นถั่วโป โดยวิธีแทงเท่าจำนวน เค้าที่เจ้ามือมีอยู่ที่หน้าตัก ถ้าแทงถูกเจ้ามือก็หมดเค้า เรียกว่า แทงล้มเค้า.
  12. ลู่เข้า : (แสง) ก. อาการที่ลำแสงผ่านเลนส์นูนไปแล้วจะเบนเข้า หากัน. (อ. convergent).
  13. เลือดเข้าเลือดออก : ก. มีบาดแผล เช่น แค่หนามเกี่ยวก็ถึงกับเลือด เข้าเลือดออกแล้ว.
  14. วันเข้าพรรษา : น. วันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘.
  15. วัวใครเข้าคอกคนนั้น : (สํา) น. กรรมที่มีผู้ใดทําไว้ย่อมส่งผลให้แก่ ผู้นั้น ดุจวัวที่กลับเข้าคอกของมันเอง.
  16. แวว : ว. สุกใส, วูบวาบ, เช่น ดวงตาฉายแววแห่งความสุข ขัดหัวเข็มขัด เสียแวว เพชรซีกมีแววน้อยกว่าเพชรลูก. น. ลักษณะที่แสดงให้เห็น ว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็น นักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้; (ศิลปะ) กระจกเงาที่ตัด เป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้ แกะสลักปิดทอง.
  17. สะอึกเข้าใส่ : ก. กรากเข้าใส่, พรวดเข้าใส่, เช่น เมื่อมีคนจะทำร้ายนาย ลูกน้องก็สะอึกเข้าใส่ทันที พอถูกฝ่ายหนึ่งชกก็สะอึกเข้าใส่.
  18. หันหน้าเข้าวัด : (สำ) ก. มุ่งหน้าเข้าวัดเพื่อถือศีลฟังเทศน์เป็นต้น.
  19. หัวเข้า : น. หัวของตัวหนังสือที่ม้วนเข้าอยู่ภายในเส้นกรอบของตัวอักษร เช่น ตัว ถ ตัว ผ, ตรงข้ามกับ หัวออก. (ดู หัวออก).
  20. หายเข้ากลีบเมฆ : (สํา) ก. หายลับไปไม่ได้พบอีก เช่น ตั้งแต่เขายืมเงิน ไปแล้วก็หายเข้ากลีบเมฆไปเลย.
  21. หูเข้าพรรษา : ว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.
  22. เอาข้างเข้าถู : (สำ) ว. ไม่ใช้เหตุผล, ดื้อดันจะเอาชนะให้ได้, เอาสีข้างเข้าถู ก็ว่า.
  23. เอาสีข้างเข้าถู : (สำ) ว. ไม่ใช้เหตุผล, ดื้อดันจะเอาชนะให้ได้, เอา ข้างเข้าถู ก็ว่า.
  24. กลืนไม่เข้าคายไม่ออก : ก. พะอืดพะอม.
  25. ขนทรายเข้าวัด : ก. ทําบุญกุศลโดยวิธีนําหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ ทรายเป็นต้นที่วัด, (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม.
  26. ขี้เค้า : น. ขี้ข้า.
  27. เข้ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. จระเข้. (ดู จระเข้).
  28. แขกเต้าเข้ารัง : น. ท่ารําท่าหนึ่ง.
  29. จูงนางเข้าห้อง : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ใช้เบี้ยทอดแล้วเดินตามช่อง ในรูปเป็นวงอย่างก้นหอย.
  30. ฉุยฉายเข้าวัง : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  31. ต้อนหมูเข้าเล้า : (สํา) ก. บังคับคนที่ไม่มีทางสู้.
  32. ถอยหลังเข้าคลอง : (สำ) ก. หวนกลับไปหาแบบเดิม. น. ชื่อกล อักษร; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์; บทแผ่นเสียง).
  33. ถุงเค้า : น. ต้นทุนในการพนัน; ผู้ถือต้นทุนในการพนัน.
  34. ปอกกล้วยเข้าปาก : (สํา) ว. ง่าย, สะดวก.
  35. ผงเข้าตาตัวเอง : (สํา) น. เมื่อปัญหาหรือความเดือดร้อนเกิดแก่ผู้อื่น ช่วยแก้ไขให้เขาได้แต่เมื่อเกิดแก่ตน กลับแก้ไขไม่ได้.
  36. ฝนตกไม่มีเค้า : (สํา) น. เรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่มีวี่แววหรือไม่ได้คาดคิด ไว้ก่อน.
  37. พุ่งหอกเข้ารก : (สํา) ก. ทําพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมายหรือ โดยไม่คํานึงว่าใครจะเดือดร้อน.
  38. เม้าเค้า : ว. ลักษณะหน้าที่งอกหัก.
  39. ไม่เข้าการ : ว. ไม่เป็นประโยชน์, ไม่มีสาระ.
  40. ไม่เข้าแก๊ป, ไม่เข้าท่า : ว. ไม่แนบเนียน, ไม่รัดกุม.
  41. ลักเค้า : ก. ลอบทําเอาแบบอย่างเขา.
  42. เลือดเข้าตา : (สำ) ก. ฮึดสู้โดยไม่เกรงกลัวเพราะไม่มีทางเลือกหรือ เจ็บช้ำน้ำใจเป็นต้น, กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำเพราะทนถูกบีบคั้น ไม่ไหว.
  43. ว่าเข้านั่น : (ปาก) เป็นคำที่เปล่งออกมาในลักษณะที่แสดงว่าเรื่อง ที่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวนั้นไม่น่าเชื่อถือเป็นต้น.
  44. อ้อยเข้าปากช้าง : (สํา) น. สิ่งหรือประโยชน์ที่ตกอยู่ในมือแล้ว ไม่ยอมคืน.
  45. เอาน้ำเย็นเข้าลูบ : (สํา) ก. ใช้คําพูดอ่อนหวานหว่านล้อม.
  46. มูล ๑, มูล- : [มูน, มูนละ-] น. โคน เช่น รุกขมูล; ราก, รากเหง้า, เช่น มีโทสะเป็นมูล, เค้า เช่น คดีมีมูล, ต้น เช่น ชั้นมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).
  47. เอกโทษ : [เอกโทด] น. คําที่เคยใช้ไม้โทโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ ไม้เอกเสียงเดียวกันในบทร้อยกรองประเภทโคลงที่บังคับใช้ไม้เอก เช่น เข้า เป็น เค่า, ถ้า เป็น ท่า.
  48. ค้าว : น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือน ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๑-๑.๕ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทาง หาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว (Wallagonia attu) และ ค้าวดํา คูน ทุกอีชุก อีทุก หรือ อีทุบ (W. miostoma) ซึ่งมีหนวดยาว กว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก.
  49. นำร่อง : ก. นําเรือกําปั่นหรือเรือใหญ่และกินนํ้าลึก เช่นเรือสินค้า เข้า หรือออกจากท่าเรือตามร่องน้ำในระยะซึ่งอาจมีอันตรายแก่การเดินเรือ, เรียกเจ้าพนักงานผู้ทําหน้าที่เช่นนั้นว่า พนักงานนําร่อง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า นําร่อง, เรียกเรือเล็กที่ใช้ในการนําร่องว่า เรือนําร่อง; โดยปริยาย หมายถึงการริเริ่มหรือทดลองทำไปก่อน เช่น โครงการนำร่อง.
  50. ยิปซี : น. ชนเผ่าเร่ร่อน เชื้อสายคอเคซอยด์ ผิวคลํ้า เดิมอาศัยอยู่ในอินเดีย เข้า ไปเร่ร่อนในยุโรปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙๒๐ ดํารงชีพด้วยการ เล่นดนตรี ค้าม้า ทํานายโชคชะตา เป็นต้น. (อ. gypsy, gipsy).
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1990

(0.1132 sec)