Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าเค้า, เค้า, เข้า , then ขา, ขาคา, เข้, เข้า, เข้าเค้า, คา, เค้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าเค้า, 1990 found, display 151-200
  1. ไว, ไว ๆ : ว. ลักษณะที่เคลื่อนไหว หรือสามารถคิด หรือกระทําสิ่งใดได้ คล่องแคล่วรวดเร็วหรือฉับพลันทันที เช่น เด็กคนนั้นเดินไว วิ่งไว ๆ เข้า เดี๋ยวไปไม่ทัน. ก. เคลื่อนไหว คิด หรือกระทำสิ่งใดได้ คล่องแคล่วรวดเร็วหรือฉับพลันทันที เช่น ไวเข้ารถจะออกแล้ว.
  2. สมิง : [สะหฺมิง] น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมา สามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่า วิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้ เรียกว่า เสือสมิง; ตําแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายมอญ. (ต. สมิง ว่า พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้าเมือง, ผู้ปกครอง).
  3. อยู่กรรม, อยู่ปริวาส : ก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่ กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้า ปฏิวาสกรรม ก็ว่า.
  4. ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
  5. ขา ๒ : น. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะ ราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปด สองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา
  6. ปลั๊ก, ปลั๊กไฟ : [ปฺลั๊ก] น. อุปกรณ์ไฟฟ้ามีขาโลหะ ๒ ขา (บางแบบมี ๓ ขา) ปลาย ข้างหนึ่งของแต่ละขาตรึงอยู่กับวัตถุหุ้ม ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้า ใช้เสียบ เข้ากับเต้ารับเพื่อให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า ได้ครบวงจร, เต้าเสียบ ก็เรียก. (อ. plug).
  7. เข่า : น. ส่วนที่ต่อระหว่างขาส่วนบนกับขาส่วนล่าง สําหรับคู้ขาเข้าและ เหยียดขาออก เช่น คุกเข่า ตีเข่า ขึ้นเข่า, ราชาศัพท์ว่า พระชานุ.
  8. ขาทนียะ : [ขาทะ-] (แบบ) น. อาหารควรเคี้ยว, มักใช้เข้าคู่กับคำ โภชนียะ เป็น ขาทนียโภชนียะ หมายความว่า อาหารที่ควรเคี้ยวและอาหารที่ควร บริโภค. (ป.).
  9. กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
  10. กระสือ ๒ : น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสง ได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่าน ชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสง แมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือ หรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือ หรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
  11. กระหัง : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชาย ที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้ง ต่างปีก สากตําข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง, ใช้ว่า กระหาง ก็มี เช่น ถ้าเปนสัจว่าเปนกระสือกระหางจะกละจริงไซร้. (สามดวง).
  12. กลางค่ำ : (โบ; กลอน) น. เวลากลางคืน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลางคืน เป็น กลางค่ากลางคืน. (ดู ค่า).
  13. ก่าย : ก. พาด, พาดไขว้กัน, เช่น เอาฟืนก่ายกัน, พาดเกยอยู่หรือค้างอยู่ เช่น เอามือก่ายหน้าผาก นอนเอาขาก่ายกัน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา เกย เป็น ก่ายเกย หรือ เกยก่าย.
  14. ข้าวข้า : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Euphorbia sessiflora Roxb. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตรต้นและใบอวบนํ้า เส้น กลางใบด้านล่างเป็นสันแหลม ทุกส่วนมียางขาว หัวใช้ทํายาได้, ว่านพระฉิม ก็เรียก, เขียนเป็น เข้าค่า ก็มี.
  15. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  16. ไข่ดัน : น. ต่อมนํ้าเหลืองที่อยู่ใต้ผิวหนังของบริเวณขาหนีบ ซึ่งเป็นแนวต่อ ระหว่างลำตัวกับต้นขามีหน้าที่กักและทําลายเชื้อโรคที่อาจผ่านเข้า ในร่างกายท่อนบน.
  17. คลังสินค้าทัณฑ์บน : (กฎ) น. คลังสินค้าของทางราชการศุลกากรที่รับ เก็บสินค้าเข้า โดยยังไม่ต้องชําระอากรขาเข้าจนกว่าจะได้มีการนํา สินค้านั้นออกจากคลังสินค้า.
  18. คุด : ก. งอกงออยู่ภายในไม่โผล่ออกมาตามปรกติ เช่น หนวดคุด รากคุด, ขดงอ เช่น คุดขาเข้ามา.
  19. เคล้า : [เคฺล้า] ก. ใช้มือเป็นต้นคนเบา ๆ ให้ทั่ว เช่น เคล้าเครื่องปรุงให้เข้ากัน ในการทำอาหาร; คลอเคลีย เช่น เคล้าแข้งเคล้าขา, เกลือก เช่น แมลงภู่ เคล้าเกสรดอกไม้.
  20. ด้วน : ก. กุด, ขาด, สั้นเข้า. ว. เรียกสิ่งที่มีรูปยาว ๆ ที่ตอนปลายขาดหายไป เช่น แขนด้วน ขาด้วน ตาลยอดด้วน, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลองด้วน แม่นํ้าด้วน.
  21. ทุ่มตลาด : ก. นําสินค้าจํานวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคา ปรกติ; (กฎ) นําสินค้าเข้ามาจําหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่า ราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย แก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).
  22. เท้าคู้ : น. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่ตอนปลายคู้หรืองอเข้า.
  23. บานพับ : น. เหล็กหรือทองเหลืองที่ใช้ติดบานประตูหรือหน้าต่าง เป็นต้น เพื่อให้พับเข้ามาหรือเปิดออกได้, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานพับเครื่องแต่งตัวละคร บานพับขา.
  24. เป๋ : ว. บิดไป, เฉไป, ไถลไป, เช่น ขาเป๋ ผมเป๋, มักใช้เข้าคู่กับคํา ไป๋ ว่า เป๋ไป๋ หรือ ไป๋เป๋.
  25. ผ่าหมาก : ว. เรียกอาการเตะเข้าหว่างขาของคู่ต่อสู้ว่า เตะผ่าหมาก.
  26. ผีกระหัง : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิม เป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้ กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของ โสโครก, คู่กับ ผีกระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง.
  27. ผีเสื้อ ๑ : น. ชื่อแมลงทุกชนิดในอันดับ Lepidoptera มีปีกเป็นแผ่นบาง ๒ คู่ ลําตัว ปีก และขาปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กมาก คล้ายฝุ่นเมื่อมอง ด้วยตาเปล่า เกล็ดเหล่านี้ทําให้เกิดสีต่าง ๆ กันปากเป็นงวงยาวม้วน เข้าอยู่ใต้หัวได้ มีทั้งชนิดหากินในเวลากลางวัน เรียกผีเสื้อกลางวัน, พายัพเรียก กะเบ้อ กำเบ้อ ก่ำเบ้อ หรือ อีเบ้อ, และชนิดหากินใน เวลากลางคืน เรียก ผีเสื้อกลางคืน, พายัพเรียก แมงกาย.
  28. พับ : น. เรียกลักษณะผ้าหรือกระดาษที่พับไว้ เช่น ซื้อผ้าในพับ. ก. ทบ เช่น พับผ้า พับกระดาษ, หักทบ เช่น พับมีด, คู้เข้า เช่น นั่งพับขา; สิ้นกําลังทรงตัว เช่น คอพับ; ตัดบัญชีเป็นสูญ เช่น เป็นพับไป. ว. ที่ทบหรือหักทบเข้าด้วยกัน เช่น ผ้าพับ มีดพับ.
  29. พิกัดอัตราศุลกากร : (กฎ) น. กําหนดจํานวนเงินอากรที่เรียกเก็บจาก ของที่ส่งหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาออก หรือของที่นําหรือพาเข้ามาในราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาเข้า.
  30. พิการ : ว. เสียอวัยวะมีแขนขาเป็นต้น, เสียไปจากสภาพเดิม, เช่น แขนพิการ ตาพิการ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ พิกล เป็น พิกลพิการ. (ป., ส. วิการ).
  31. ไพ่ตาย : น. ไพ่ในมือที่รอเข้าตองเข้าเศียรอยู่แต่ไม่มีใครทิ้งให้หรือ เขาทิ้งให้คนอื่นซึ่งตนไม่มีสิทธิ์เก็บมาใช้ได้ เช่น ไพ่ตายคามือ, โดยปริยายหมายถึงเรื่องสำคัญที่สามารถให้คุณให้โทษได้ซึ่งอีกฝ่าย หนึ่งกำเป็นความลับไว้ เช่น เขากำไพ่ตายของคนนั้นไว้ จะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด.
  32. มดแดง : น. ชื่อมดชนิด Oecophylla smaragdina ในวงศ์ Formicidae ลูกรังลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร สีส้มหรือนํ้าตาลปนแดงตลอด รวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีนํ้าตาลแก่ ทํารังอยู่ตามต้นไม้โดยใช้ ใบไม้มาห่อกันเข้า เวลาถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยปล่อยกรดออก มาแล้วกัดให้เกิดแผลทําให้เกิดอาการแสบร้อน, มดส้ม ก็เรียก.
  33. มือผี : น. ขาไพ่ตองที่เข้าเล่นพอให้ครบขาหรือครบวงไม่ต้อง ได้เสียด้วย.
  34. รวบ : ก. อาการที่เอาสิ่งต่าง ๆ เข้ามาไว้ด้วยกันให้เป็นฟ่อน เป็นมัด เป็นกลุ่ม เป็นกอง เป็นต้น, เอามือทั้ง ๒ ข้างหรือวงแขนโอบรัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า หาตัว เช่น รวบตัว รวบเอว รวบขา; (ปาก) จับ เช่น ขโมยถูกตำรวจรวบ.
  35. รักสมุก : น. น้ำรักผสมเถ้าถ่านของใบตองแห้งหรือหญ้าคา บดแล้วคลุก เคล้าให้เข้ากัน ใช้ทารองพื้น.
  36. ลงอุโบสถ : ก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า.
  37. ลีบ : ว. แฟบเพราะไม่เจริญเติบโตตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น ข้าวลีบ เมล็ดลีบ; มีเนื้อไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เช่น ขาลีบ แขนลีบ; โดย ปริยายหมายความว่า อาการที่ห่อตัวให้เล็กลงเพราะกลัวหรือเพื่อ เข้าในที่แคบเป็นต้น เช่น กลัวจนตัวลีบ เบียดจนตัวลีบ.
  38. วง : น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกัน เป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ใน การรํา, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา; ลักษณนาม ใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คน นั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วงหรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็น ชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วง ประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทําเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอ เขียนป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.
  39. วิ่งสามขา : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแบ่งเป็นคู่ ๆ โดยผูกขาขวา ของคนหนึ่งเข้ากับขาซ้ายของอีกคนหนึ่ง แล้ววิ่งแข่งกับคู่อื่น ๆ.
  40. ศุลก : [สุนละกะ] ว. เนื่องด้วยการเก็บอากรจากสินค้าขาเข้าและขาออก. (ส. ศุลฺก; ป. สุงฺก).
  41. ศุลกากร : [สุนละกากอน] (กฎ) น. อากรที่เรียกเก็บจากสินค้าเข้า และสินค้าออก ได้แก่ อากรขาเข้าและอากรขาออก.
  42. สลักเพชร : น. ไม้หรือเหล็กสําหรับสอดขัดกลอนประตูหน้าต่างแบบ เรือนไทยเพื่อไม่ให้เคลื่อนที่; วิธีเข้าปากไม้แบบหนึ่ง บากปากไม้และ เดือยเป็นรูปหางเหยี่ยว ใช้ลิ่มสอดเข้าไปที่หัวเดือยซึ่งบากไว้ เมื่อสอด เดือยเข้าไปในปากไม้แล้วตอกอัด ลิ่มจะดันให้ปลายเดือยขยายออกอัด แน่นกับปากไม้; กล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ระหว่างขอบกระดูกเชิงกรานตรง ตะโพกกับหัวกระดูกต้นขาทําให้ขากางออกได้.
  43. สอด : ก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอด จดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับ เพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลัง พูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น.
  44. ขา ๑ : น. อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สําหรับยันกายและเดินเป็นต้น (ไทยถิ่นอื่น ขา หมายความตั้งแต่ตะโพกถึงเข่า); สิ่งของซึ่งมีลักษณะ คล้ายขาสําหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ขาตั้ง; เรียกส่วนที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปขา เช่น ขากางเกง.
  45. ก๊ก : น. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็นเหล่า. (จ. ว่า ประเทศ).
  46. กง ๒ : น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่ และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือไร่ที่ล้อม เป็นขอบเขตไว้).
  47. กช, กช- : [กด, กดชะ-] (กลอน; ตัดมาจาก บงกช) น. ดอกบัว เช่น ดุจบัวอัน บานชู กชกรรณิกามาศ. (สมุทรโฆษ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคํา กร เป็น กรกช เช่น กรกชชุลีคัล. (อิเหนาคําฉันท์). (ป. ปงฺกช).
  48. กดขี่ : ก. ข่มให้อยู่ในอํานาจตน, ใช้บังคับเอา, ทําอํานาจเอา, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ข่มเหง เป็น กดขี่ข่มเหง.
  49. กบ ๘ : น. สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านในส่วนล่างตอนกลางของบานหน้าต่าง หรือประตู ทําหน้าที่คล้ายกลอน เมื่อปิดหน้าต่างหรือประตู ใช้กบนี้สอดเข้าในช่องเจาะตัวไม้ธรณี.
  50. กบเต้น : น. ชื่อเพลงไทยร้องรํา ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทํานองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากํากับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาคร่าครวญน้อยใจที่ สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดําบรรพ์).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1990

(0.1198 sec)