Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าเค้า, เค้า, เข้า , then ขา, ขาคา, เข้, เข้า, เข้าเค้า, คา, เค้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าเค้า, 1990 found, display 551-600
  1. เคว้ง : [เคฺว้ง] ว. คว้าง, มักใช้พูดเข้าคู่กันว่า เคว้งคว้าง หรือ คว้างเคว้ง ก็มี.
  2. เคี้ย : (ถิ่น; กลอน) ก. อยู่ เช่น อันเดียรดาษด้วยเตี้ยเค้าค่อม เคี้ยคอยทวาร ทุกแห่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร).
  3. เคี้ยว ๒ : ว. คด เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคํา คด เป็น คดเคี้ยว.
  4. เคี้ยวฟัน : ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทําอะไรเขาไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคํา เข่นเขี้ยว เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
  5. โครงเรื่อง : น. เค้าเรื่องที่กําหนดขึ้น.
  6. โครงสร้าง : น. ส่วนประกอบสําคัญ ๆ ซึ่งนำมาคุมเข้าด้วยกันให้เป็น รูปร่างเดียวกัน.
  7. โคล ๑ : [โคน] น. ชนกลุ่มหนึ่งในประเทศอินเดียฝ่ายใต้ เช่น ผู้สืบสัมพันธ์ โคตรเค้าโคลตระกูล ทิชาเชื้อชาติธชีชูชก. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  8. งดเว้น : ก. เว้นด้วยการงด คือ หยุดไม่กระทำหรือไม่ดำเนินการตามปรกติ เช่น งดเว้นอบายมุขระหว่างเข้าพรรษา.
  9. งาแซง : น. งาอย่างหนึ่งคล้ายงาลอบงาไซกันไม่ให้ของข้างในออก แต่ใส่ลงไปได้ ใช้สวมปากข้องปากลันเป็นต้น; เสาเสี้ยมปลายที่ปัก ตะแคงระหว่างเสาระเนียด เพื่อกันไม่ให้ช้างกระแทกเสาระเนียด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นสําหรับตั้งกีดขวางทางเข้า ประตูค่ายเป็นต้น.
  10. งาน ๑ : น. สิ่งหรือกิจกรรมที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคำ การ เช่น การงาน เป็นการ เป็นงาน ได้การได้งาน; การพิธีหรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน เช่น งานบวช งานปีใหม่.
  11. งำ : ก. ปิด เช่น งําความ, ปกครอง เช่น งำเมือง, รักษา ในคำว่า เก็บงำ, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา ครอบ เป็น ครอบงํา.
  12. เง่า : ว. โง่, มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา โง่ เป็น โง่เง่า.
  13. เงินคงคลัง : (กฎ) น. เงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการได้เก็บ หรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง หรือคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด.
  14. จม : ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลาย ที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย.
  15. จมูกมด : (สํา) ว. ที่ไหวตัวหรือรู้ตัวทันเหตุการณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา หูผี เป็น หูผีจมูกมด.
  16. จร ๑, จร- : [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้าย สมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบ กับคําไทยก็มี.
  17. จราก : [จะหฺราก] (กลอน) ก. ตรากตรำ, ทําให้ลําบาก, เช่น คล้องติดคชคลอคชทังป่า ขับจากขัง แลเข้าจรลุงจรากจอง. (สมุทรโฆษ).
  18. จวนตัว : ว. เข้าที่คับขัน, เข้าที่จําเป็น.
  19. จ่อ ๑ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่น เช่น เอายาดมจ่อจมูก; มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำ จด เป็น จดจ่อ เช่น เขามี ใจจดจ่อกับงาน.
  20. จอกหูหนู : น. ชื่อผักกูดนํ้าชนิด Salvinia cucullata Roxb. ในวงศ์ Salviniaceae ลอยอยู่บนผิวนํ้า มีรากเป็นฝอยยาวคล้ายจอก ที่ต่างกับจอก คือ มีใบ ๒ ใบอยู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น ตัวใบกลม สีเขียวแก่ โคนใบเว้าเข้า เล็กน้อย ตั้งชูขึ้นคล้ายหูหนู.
  21. จองคช : [-คด] น. ช้างที่ผูกเครื่องรบเข้าระวางทัพ.
  22. จั๊กเดียม : [จั๊กกะ-] ก. กระดาก, เขินอาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ จั๊กจี้ เป็น จั๊กจี้จั๊กเดียม.
  23. จัง : (ปาก) ว. ยิ่งนัก เช่น เก่งจัง ร้อนจัง ของสิ่งนี้ถูกจัง; เต็มที่, เต็มแรง, เช่น ชนกันเข้าอย่างจัง.
  24. จังหน้า : ว. เต็มหน้า, เต็มที่, เช่น เจอเข้าจังหน้า โดนเข้าจังหน้า.
  25. จังหวะ : น. ระยะที่สมํ่าเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กําหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่า โอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. (ข. จงวาก่). จังหวะจะโคน (ปาก) น. จังหวะ.
  26. จังหวัด : (กฎ) น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้า ด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้า ปกครอง, (โบ) เมือง, หัวเมือง; ถิ่น, เขต, บริเวณ, เช่น อารามขึ้นคณะ ป่าแก้วในจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราช. (ประชุมพระตำราบรมราชูทิศ เพื่อกัลปนา).
  27. จั่นห้าว : น. เครื่องยิงสัตว์ ใช้หอก หรือปืน หรือหลาว ขัดสายใยไว้ เมื่อคนหรือสัตว์ไปถูกสายใยเข้า ก็ลั่นแทงเอาหรือยิงเอา ใช้อย่างเดียว กับหน้าไม้ก็ได้.
  28. จับจอง : (กฎ) ก. เข้าครอบครองที่ดินสาธารณะไว้เพื่อตน.
  29. จับจ่าย : ก. ใช้เงินซื้อหา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใช้สอย เป็น จับจ่ายใช้สอย.
  30. จับเปาะ : (สำ) ว. ตรงเป้า เช่น ต่อยจับเปาะเข้าที่ปลายคาง.
  31. จับแพะชนแกะ : ก. ทําอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเข้าแทน เพื่อให้ลุล่วงไป.
  32. จับลมปราณ : น. วิธีกำหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดี หรือฤกษ์ร้าย.
  33. จำเบศ : ความหมายอย่างเดียวกับ จําบัง แต่เพื่อประโยชน์ในกลอนจึงใช้ ศ เข้าลิลิต เช่น หมู่โยธาโยเธศ รู้จําเบศจําบัง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  34. จิบ ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้ายและ ทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้างอย่างเดียว กับกะบัง แต่ระหว่างกลางเอาอวนลงกางกั้นให้ปลาเข้าถุงอวน จับเมื่อ เวลานํ้าไหลอ่อน ๆ.
  35. จี่ ๑ : ก. เผา, ใช้เข้าคู่กับคํา เผา เป็น เผาจี่, โดยปริยายหมายความว่า ทอดในกระทะ ที่ทานํ้ามันน้อย ๆ เช่น แป้งจี่.
  36. จีรัง : ว. นาน, ยาวนาน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยั่งยืน เป็น จีรังยั่งยืน เช่น สังขารไม่จีรังยั่งยืน.
  37. จุ ๒, จุ ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงดูดลมเข้าปากเพื่อดุ ห้าม หรือเตือนเป็นต้น.
  38. จุดไต้ตำตอ : (สํา) ก. พูดหรือทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดนเอาเจ้าตัว หรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูดหรือผู้ทําไม่รู้ตัว.
  39. จุบจิบ : ว. อาการที่กินพร่ำเพรื่อทีละเล็กทีละน้อย, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กิน เป็น กินจุบกินจิบ, โบราณใช้ว่า กระจุบกระจิบ ก็มี.
  40. จู่ : ก. กรากหรือรี่เข้าใส่โดยไม่รู้ตัว. ว. ตรงถึง, ไม่รั้งรอ.
  41. จู๋ : ว. หดตัวเข้าไปมาก, สั้นมาก ในคําว่า สั้นจู๋, จุนจู๋ ก็ว่า; อาการที่ ห่อปากเข้ามา เช่น ทําปากจู๋.
  42. จู่โจม : ก. เข้ากระทําการโดยไม่ให้รู้ตัว.
  43. เจ้า ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สําหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือ เอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคํา นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่น จะไปด้วยหรือเปล่า.
  44. เจ้าชู้ ๒ : น. ชื่อหญ้าชนิด Chrysopogon aciculatus (Retz.) Trin. ในวงศ์ Gramineae ผลมักเกาะติดเมื่อผ่านไปถูกเข้า.
  45. เจ้าเซ็น : น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่ง ที่ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคม สมเขาสรวล คําสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
  46. เจ้าที่ ๑ : น. พระภูมิ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พระภูมิเจ้าที่. เจ้าที่ ๒, เจ้าที่เจ้าทาง น. เทวดารักษาพื้นที่และหนทาง.
  47. เจ้าบ่าว : น. ชายผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าสาว.
  48. เจ้าสาว : น. หญิงผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าบ่าว.
  49. เจาะจมูก : ก. เจาะด้านหัวและท้ายของซุงเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายจมูก ห่างจากหัวไม้ประมาณ ๗๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑๒.๕ เซนติเมตร แล้วเอาลวดหรือหวายร้อยเข้ากับคานแพซึ่งเป็นไม้ยาว ๆ ขวางลํากับ ท่อนซุงเพื่อผูกเป็นแพ.
  50. เจิ่น : ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจิ่นไป, เจื่อน ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1990

(0.1298 sec)