Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าเค้า, เค้า, เข้า , then ขา, ขาคา, เข้, เข้า, เข้าเค้า, คา, เค้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าเค้า, 1990 found, display 651-700
  1. เซต : (คณิต) น. คําที่ใช้ระบุถึงกลุ่มหรือหมู่ของสิ่งต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไข ที่แน่นอนว่า สิ่งใดอยู่ในกลุ่มหรือสิ่งใดมิได้อยู่ในกลุ่มนั้น ๆ; ชุด เช่น เข้าเซตกัน; ลักษณนามใช้เรียกคนหรือของที่เข้ากลุ่มหรือ เข้าชุดกัน เช่น ตัวหนังสือเซตเดียวกัน ตัวเลข ๒ เซต. (อ. set).
  2. เซ่น : ก. เอาอาหารเป็นต้นไปไหว้หรือสังเวยผีหรือเจ้า เช่น เซ่นผี เซ่นเจ้า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ วัก เป็น เซ่นวัก, ใช้ว่า เซ่นวักตั๊กแตน ก็มี. เซ่นวักตั๊กแตน ก. เซ่น.
  3. เซ็น ๑ : น. ไม้ที่สอดเข้ากับลูกตั้งเรือนฝากระแชงอ่อนหรือฝาขัดแตะ. ก. เย็บแบบด้วยดอกไม้หรือใบไม้ให้เป็นแถบยาว เพื่อใช้ตกแต่ง ประดับโครงประทุนคลุมผ้าไตรเป็นต้น, สวน ก็ว่า.
  4. เซื่อง : ว. เงื่องหงอย, ซึม, มักใช้เข้าคู่กับคำ ซึม เป็น ซึมเซื่อง หรือ เซื่องซึม.
  5. แซง ๒ : น. เรียกม้าที่มีหน้าที่แทรกขนานไปข้าง ๆ ในกระบวนแห่หรือ กองทัพว่า ม้าแซง, ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่สอดแทรกเข้าไปข้าง กระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแทรก ก็เรียก, เรียกเรือกราบ ซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือ พระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้ายกระบวน ว่า เรือแซง. ก. เบียดหรือเฉียดเพื่อจะขึ้นหน้า เช่น เดินแซง ขับรถแซง แซงคิว; สอดแทรกเข้ามาในระหว่าง เช่น พูดแซง.
  6. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  7. ญัตติ : น. คําประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คําเผดียงสงฆ์ ก็ว่า ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).
  8. ดม : ก. ใช้จมูกสูดกลิ่น, สูดเอากลิ่น, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ดอม เป็น ดมดอม หรือ ดอมดม.
  9. ดอม ๒ : น. เครื่องหอม. ก. ดม, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ดม เป็น ดอมดม หรือ ดมดอม.
  10. ดัก ๑ : ก. คอยสกัด เช่น ดักทําร้าย, วางเครื่องดักสัตว์มีกับเป็นต้น เพื่อให้สัตว์ เข้ามาติด เช่น ดักไก่ ดักนก.
  11. ดั้ง ๑ : ด้าง ก็มี; เรียกเสาเรือนเครื่องสับที่ตั้งอยู่กึ่งกลางบนหลังรอดขึ้นไปรับ อกไก่ว่า เสาดั้ง, เรียกเสาที่ตั้งบนขื่อสําหรับรับอกไก่ว่า ดั้งแขวน; เรียก เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบ เรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งไชยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ ก็ได้ ว่า เรือดั้ง; ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและ, ล้อมทัพ ช้างกัน ก็เรียก. ก. ป้องกัน.
  12. ดันทุรัง : ว. ดื้อดึงไม่ยอมแพ้, ดื้อดึงไม่เข้าเรื่อง, ดัน ก็ว่า.
  13. ด่าน : น. ทางผ่าน เช่น ด่านช้าง, ทางผ่านพรมแดนระหว่างประเทศ เช่น ด่านเจดีย์ สามองค์ ด่านสิงขร; ที่สําหรับกัก ตรวจ คอยระวังเหตุ และป้องกันช่องทาง ที่จะผ่านเข้าออก เช่น ด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านศุลกากร ด่านกักสัตว์.
  14. ดาม ๒ : ก. ด้อม, เดินประกับไป, มักใช้เข้าคู่กับคํา ด้อมว่า ดามด้อม เช่น มาอยู่ดาม ด้อมหน. (ม. คําหลวง มัทรี), ใช้ว่า ด้าม ก็มี เช่น เสือสางด้ามด้อมทาง. (ลอ).
  15. ดาวตก : น. เทหวัตถุแข็งจากอวกาศ เมื่อเกิดเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ จะแลดูสว่างพุ่งเป็นทางเข้าสู่ผิวโลก, ผีพุ่งไต้ ก็เรียก.
  16. ดิ้ว : น. หวายหรือไม้วงกลมสําหรับเสียบซี่กรงนก; ชื่อไม้อันเล็กประมาณเท่า นิ้วมือ สําหรับเอาหวายผูกตรึงเข้ากับเซ็นฝาไม้ไผ่; ไม้ถือมีลักษณะแบน หนา ยาวราวศอกหนึ่ง ที่พวกนักเลงถือ.
  17. ดีเซล : น. เครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายในที่มีระบบจุดระเบิดนํ้ามันเชื้อเพลิงด้วย การอัดอากาศภายในเครื่องยนต์จนได้ความร้อนสูงมากพอ แล้วจึงฉีด นํ้ามันเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยผสมเข้ากับอากาศซึ่งมีอุณหภูมิสูงนั้น เป็นผล ให้เกิดการจุดระเบิดนํ้ามันเชื้อเพลิงขึ้น, นํ้ามันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงใน เครื่องยนต์ชนิดนี้ เรียกว่า นํ้ามันดีเซล. (อ. diesel).
  18. ดีด ๑ : ก. สลัดออกไปโดยแรง เช่น ดีดนิ้ว, สลัดตัวออกไปโดยเร็ว เช่น กุ้งดีด; ยกขึ้นด้วยแม่แรงเป็นต้น เช่น ดีดเรือน; เอานิ้วมือหรือไม้สะกิดให้ดัง เช่น ดีดจะเข้, เอานิ้วมือแตะแล้วเขี่ยให้เลื่อนไป เช่น ดีดลูกคิด, เอานิ้วกดแล้ว ปล่อยทันที เช่น ดีดพิมพ์ ดีดเปียโน, เอานิ้วหัวแม่มือกดกับนิ้วอื่นให้แน่น แล้วสลัดให้ออกจากกันเป็นเสียงดัง เรียกว่า ดีดนิ้ว, โดยปริยายหมายถึง อาการที่ทําห่างเหินผู้ใหญ่ ไม่เข้าหน้า เช่น หมู่นี้ชักดีดไปไม่เข้าหน้า.
  19. -ดีดัก : ใช้เข้าคู่กับคํา หลายปี เป็น หลายปีดีดัก หมายความว่า นานมาแล้ว.
  20. ดีฝ่อ : ว. ตกใจกลัวมาก, มักใช้เข้าคู่กับคํา ขวัญหนี เป็น ขวัญหนีดีฝ่อ.
  21. ดึงดูด : ก. เหนี่ยวเข้ามาด้วยกําลังอย่างหนึ่งอย่างแม่เหล็ก.
  22. ดุลการค้า : [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างมูลค่าของสินค้าที่ส่งออกนอก ประเทศกับสินค้าที่นําเข้ามาในประเทศ, ถ้ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออกสูง กว่ามูลค่าของที่สินค้านําเข้ามาในประเทศ เรียกว่า ดุลการค้าได้เปรียบ, ถ้า มูลค่าของสินค้าที่นําเข้าสูงกว่ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออก เรียกว่า ดุลการค้า เสียเปรียบ.
  23. ดุลการชำระเงิน : [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอก ประเทศกับปริมาณเงินที่นําเข้ามาในประเทศ, ถ้าปริมาณเงินที่นําเข้ามาใน ประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศ เรียกว่า ดุลการชําระเงิน เกินดุล, ถ้าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่นําเข้าใน ประเทศ เรียกว่า ดุลการชําระเงินขาดดุล.
  24. ดุลชำระหนี้ : [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอก ประเทศกับปริมาณเงินที่นําเข้ามาในประเทศ.
  25. ดูดดึง : ก. เหนี่ยวเข้ามาด้วยกําลังอย่างหนึ่งเช่นแม่เหล็ก.
  26. เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว : (สํา) ก. ตัดขาด, ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด, มักใช้เข้าคู่ กับ เด็ดบัวไม่ไว้ใย ว่า เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใย.
  27. เด็ดบัวไม่ไว้ใย : (สํา) ก. ตัดขาด, ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด, มักใช้เข้าคู่กับ
  28. เดาะ ๑ : ก. โยนสิ่งของขึ้นแล้วเอาไม้หรือมือตีรับให้กระท้อนขึ้น. ว. ร้าวจวนจะหัก เช่น ไม้คานเดาะ แขนเดาะ; เติมลงนิดหน่อยเพื่อให้คุณภาพเด่นขึ้น เช่น จืด ไปเดาะเกลือลงไปหน่อย; (ปาก) โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่กําลังจะดี แต่กลับมี ข้อบกพร่องเสียกลางคัน, ใช้เป็นคําแทนกริยาหมายความว่า ทําแปลกกว่า ธรรมดาสามัญ เช่น ร้อนจะตายเดาะเสื้อสักหลาดเข้าให้.
  29. ตก : ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  30. ต้นทาง : น. ปากทางเข้าออกอย่างทางเข้าบ่อนการพนันเป็นต้น เช่น ดูต้นทาง.
  31. ต้นแบบ : น. แบบดั้งเดิม, แบบที่มีมาแต่แรก, แบบที่ทําขึ้นไว้แต่แรก, สิ่งที่ สร้างขึ้นเป็นแบบฉบับ ใช้เป็นต้นเค้าสําหรับสร้างสิ่งอื่นให้มีลักษณะ เดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน.
  32. ต้มเค็ม : น. ชื่ออาหารคาวอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นมีหมูเป็นต้น เคี่ยว ให้เข้าไส้หรือให้เปื่อย, ถ้าต้มตามแบบจีนมีรสเค็ม แต่ถ้าต้มตามแบบ ไทยมีรสหวานเค็ม.
  33. ตรงกัน : ว. เหมือนกัน เช่น ความคิดตรงกัน, เป็นแนวเดียวกัน เช่น เข้าแถว ให้ตรงกัน.
  34. ตรง, ตรง ๆ : [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสา ให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกําหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบัง อําพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรง เข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
  35. ตรวจการณ์ : ก. ตรวจค้นด้วยสายตาหรือใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าช่วย เพื่อรวบรวมข่าวสารหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในเขตพื้นที่รับผิดชอบ.
  36. ตรับ, ตรับฟัง : [ตฺรับ] ก. เอาใจใส่คอยฟังข่าวคราวทุกข์สุขหรือความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สดับ เป็น สดับตรับฟัง.
  37. ตราภูมิ : (โบ) น. หนังสือประจำตัวสำหรับคุ้มค่าน้ำค่าตลาดสมพัตสรได้เพียง ราคา ๑ ตำลึง. (ประกาศ ร. ๔), มักใช้เข้าคู่กับคำ คุ้มห้าม เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
  38. ตลบนก : ก. จับนกโดยการขึงตาข่ายดักไว้ เมื่อนกบินมาก็ตลบตาข่ายแล้วม้วน ตาข่ายรวบนกเข้าไว้.
  39. ตวัด : [ตะหฺวัด] ก. วัดให้ม้วนเข้ามาโดยเร็ว เช่น ตวัดผ้าที่ห้อยอยู่ขึ้นบ่า ตวัด ชายกระเบน, โอบรัดเข้ามาโดยเร็ว เช่น ตวัดคอ, แกว่งไม้หรือเชือกให้ ปลายม้วนเข้ามา เช่น ตวัดแส้.
  40. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  41. ต่อกิ่ง : ก. นําเอากิ่งของต้นไม้ต้นหนึ่งไปเสียบลงที่ตอของต้นไม้อีกต้นหนึ่งใน วงศ์เดียวกันแล้วเอาผ้ายางเป็นต้นพันตรงที่ต่อไม่ให้นํ้าซึมเข้า.
  42. ต้อน : ก. สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ, ไล่ไปโดยวิธีกันไม่ให้แตกฝูง, เช่น ต้อนควายเข้า คอก, ดักหน้าดักหลัง เช่น รําต้อน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ต้อนเข้ามุม ต้อนให้ จนมุม. น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง ใช้เฝือกกั้นเป็นคอก ๓ ด้าน ด้านหนึ่งมีประตู เปิดปิดได้ในคอกสะด้วยกิ่งไม้เพื่อ ล่อให้ปลาเข้าอยู่, กะตํ้า ก็ว่า.
  43. ตะกร้อ : [-กฺร้อ] น. ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นต้นเป็นตา ๆ สําหรับเตะ; เครื่องมือสอยผลไม้ มีด้ามยาว ทําด้วยไม้หวาย หรือไม้ไผ่เป็นซี่ รูปป่องยาวรีคล้ายกาบปลี ตรงปากมี ฟันสําหรับสอย; เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ, กร้อ ก็เรียก; เครื่องสานรูปทรงกระบอก สําหรับใส่ไว้ในกระถางยาดองและกะปิเป็นต้น เพื่อกั้น เนื้อ ให้แต่นํ้าซึมเข้า ข้างใน; เครื่องสานมีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สําหรับสวมปากม้า หรือปากหมาเป็นต้น; (โบ) เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อ พันผ้าชุบนํ้า มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา, กระตร้อ ก็เรียก.
  44. ตะกอ ๒ : ว. หนุ่ม, รุ่น, มักใช้เข้าคู่กับคํา รุ่น และ หนุ่ม เป็น รุ่นตะกอ หนุ่มตะกอ, ใช้ว่า สะกอ ก็มี.
  45. ตะโก้ ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งเท้ายายม่อมกวนเข้ากับ นํ้าตาล ใส่แห้วหรือข้าวโพดเป็นต้นก็ได้ หยอดหน้าด้วยกะทิกวนกับแป้ง.
  46. ตะแคง : ก. เอาข้างลง เช่น นอนตะแคง, หันข้างเข้า เช่น ตะแคงตัวเข้าไป.
  47. ตะเพรา : [-เพฺรา] น. ไม้ขอสําหรับเกี่ยวให้เรือเข้าหรือคํ้าไม่ให้เรือชนกัน เรียกว่า ขอตะเพรา; ลูกกลม ๆ ที่ถักด้วยหวายแล้วยัดด้วยกาบมะพร้าวเป็นต้น แขวนไว้ข้างเรือเพื่อกัน กระแทกเรียกว่า ลูกตะเพรา.
  48. ตะรังตังกวาง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Cnesmone javanica Blume. ในวงศ์ Euphorbiaceae มีขนหยาบคลุมทั่วทั้งต้น ถูกเข้าจะคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง.
  49. ตะรังตังช้าง : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Dendrocnide sinuata (Blume) Chew ในวงศ์ Urticaceae ใบใหญ่ ขอบจัก ถูกเข้าจะปวดคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง.
  50. ตะล่อม ๑ : ก. ทําให้รวมกันเข้ามาเป็นกอง, ทําให้กลมเข้า. ว. ลักษณะการพูดหว่านล้อมหรือ รวบรัดให้เข้าสู่จุดหมายหรือเข้าประเด็น เช่น พูดตะล่อม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1990

(0.1464 sec)