Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าเค้า, เค้า, เข้า , then ขา, ขาคา, เข้, เข้า, เข้าเค้า, คา, เค้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าเค้า, 1990 found, display 751-800
  1. ท่า ๓ : ก. รอคอย เช่น เหตุไฉนรีบมาไม่ท่ากัน. (อิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับ คอย หรือ รอ เป็น คอยท่า รอท่า.
  2. ทางด่วน : น. ทางหรือถนนซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้เดินทางได้รวดเร็ว และปลอดภัย มีการควบคุมและกําหนดจุดให้ยานพาหนะเข้าออก เฉพาะที่ และไม่มีทางอื่นตัดผ่านในระดับเดียวกัน.
  3. ทาน ๒ : ก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา ต้าน เป็น ต้านทาน.
  4. ท้ายครัว : (ปาก) ว. ทางภรรยา เช่น เข้าท้ายครัว หมายความว่า เข้าทางภรรยา.
  5. ท่าอากาศยาน : น. ที่สําหรับเครื่องบินขึ้นลง ประกอบด้วยลานจอด เครื่องบิน ลู่เครื่องบินขึ้นลง โรงเก็บอุปกรณ์การบิน หอบังคับการบิน ที่ทําการของเจ้าหน้าที่ และที่พักผู้โดยสารเข้าออกเป็นต้น, (ปาก) สนามบิน.
  6. ทำคุณบูชาโทษ : (สํา) ก. ทําคุณแต่กลับเป็นโทษ, ทําดีแต่กลับเป็นร้าย, มักใช้พูดเข้าคู่กับ โปรดสัตว์ได้บาป.
  7. ทำบุญ : ก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัย แก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทําบุญทํากุศล ก็ว่า. ทำบุญเอาหน้า (สํา) ก. ทําบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทําด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย.
  8. ทำไพ่ : ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันแล้วรวบเข้าเป็นกองใหม่ หลังจากกินแต่ละตาแล้ว การทําไพ่อาจทําให้เป็นประโยชน์แก่ มือใดมือหนึ่งก็ได้.
  9. ทิวากร : น. พระอาทิตย์; (กลอน) กลางวัน เช่น ราตรีปักษีเข้า แนบนอน ทิวากรเราแนบประจํานาง. (กากี). (ป.).
  10. ที่ดินของรัฐ : (กฎ) น. บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของ แผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือ ทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ.
  11. ที่มา : น. ต้นเค้า, ต้นกําเนิด.
  12. ทึบ : ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง, หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่า โง่มาก เช่น ปัญญาทึบ สมองทึบ.
  13. ทื่อ : ว. ไม่คม (ใช้แก่ของแบน ๆ ที่มีคมแต่ไม่คม) เช่น มีดทื่อ; ไม่ เฉียบแหลม เช่น ปัญญาทื่อ; ไม่มีลับลมคมใน เช่น พูดทื่อ ๆ; นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุกกระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แข็งทื่อ, ซื่อ ก็ว่า. ก. รี่เข้าใส่โดยไม่ระมัดระวัง เช่น ทื่อเข้าใส่.
  14. ทุกที : ว. อาการที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลงทุกขณะ เช่น ห่างออกไป ทุกที ใกล้เข้ามาทุกที.
  15. เทศกาล : น. คราวสมัยที่กําหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทําบุญและ การรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท; คราว เช่น ชาวนาไม่ได้ทํานาสิ้นสองเทศกาลมาแล้ว. (พงศ. เลขา).
  16. เทียนพรรษา : น. เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สําหรับจุดในโบสถ์บูชาพระตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา.
  17. เทียบ : ก. เอามาให้ติด เช่น จอดเรือเทียบท่า เทียบรถ, เอามาให้ใกล้กัน เช่น เอาเรือเล็กเข้าเทียบเรือใหญ่, เปรียบ เช่น เอาผ้า ๒ ชิ้นมา เทียบสีกัน; จัด, แต่ง, เช่น เทียบสํารับ; (ราชา) ชิมอาหารหรือยา ก่อนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายเพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นพิษ ในคําว่า เทียบเครื่อง เทียบพระโอสถ; ลักษณนามเรียกยาจีนที่จัด เป็นชุด เช่นยาเทียบหนึ่ง ยา ๒ เทียบ.
  18. เทียม ๑ : ก. เอาสัตว์พาหนะผูกเข้ากับยานหรือคราดไถเป็นต้น เช่น เทียมเกวียน
  19. แท่นมณฑล : น. แท่นยกพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าดาดเพดานด้วยผ้าขาว ติดระบายรอบ ใช้ตั้งปูชนียวัตถุและเครื่องใช้เป็นต้นในการเข้าพิธี เฉลิมฉลองตามลัทธิประเพณี.
  20. ธง : น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
  21. ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาค จำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ, ใช้เชิญนำกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัย พระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัย ราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย.
  22. ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอด เรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลัก เป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบมีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มี อีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตราและ อัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยโดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้าย และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา.
  23. ธงสามชาย : น. ธงรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เป็น ๓ ชาย ลดหลั่นกัน มักใช้นำริ้วกระบวน ถ้าใช้เข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธี ผืน ธงทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นหักทองขวางเป็นลวดลาย.
  24. ธรรมนิเวศ : น. การเข้าประพฤติธรรม, การเข้าศาสนา.
  25. นกสองหัว : (สํา) น. คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน.
  26. นย, นยะ : [นะยะ] น. เค้าความที่ส่อให้เข้าใจเอาเอง. (ป., ส.).
  27. นวดแป้ง : ก. ขยําแป้งให้เข้ากัน.
  28. นักกีฬา : น. ผู้ชอบเล่นกีฬา, ผู้เข้าแข่งขันกีฬา; โดยปริยายหมายความว่า ผู้มีนํ้าใจไม่เอาเปรียบผู้อื่น.
  29. นักศึกษา : น. ผู้มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ตํ่ากว่ามัธยมศึกษาตอนปลายตาม หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษา ธิการเทียบเท่า ซึ่งเข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา.
  30. นั่งซัง : ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทําอันตรายได้แล้ว, ขึ้นซัง ก็ว่า.
  31. นั่งทางใน : ก. นั่งเข้าสมาธิเพื่อหยั่งรู้ด้วยพลังจิต.
  32. นั่งปรก : [ปฺรก] ก. นั่งทําใจให้เป็นสมาธิกํากับพระสงฆ์ด้วยกันอีก ๔ รูปซึ่งสวดในพิธีที่มีสวดภาณวาร, นั่งเข้าสมาธิส่งกระแสจิตเข้าไปยัง วัตถุมงคลในพิธีต่าง ๆ.
  33. นัด ๒ : ก. เป่าหรือสูดให้วัตถุที่เป็นผงอย่างยานัตถุ์เข้าในจมูก เช่น นัดยานัตถุ์.
  34. นัย : [ไน, ไนยะ] น. ข้อสําคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้; ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย; แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย; แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง. (ป. นย). นัยว่า [ไน] ว. มีเค้าว่า.
  35. นาก ๒ : น. โลหะผสมชนิดหนึ่ง โดยเอาทองคํา เงิน กับทองแดงผสมเข้าด้วยกัน นิยมใช้ทํารูปพรรณต่าง ๆ. ว. เรียกสีอย่างสีทองปนแดง เช่น ชมพู่สีนาก.
  36. นายหน้า : ( (กฎ) น. บุคคลผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคล ๒ ฝ่ายได้เข้า ทําสัญญากัน.
  37. น้ำเกลือ : น. นํ้าที่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์ละลายอยู่ สําหรับฉีดเข้า หลอดเลือดดํา.
  38. น้ำคัน : น. นํ้าที่ถูกเข้าแล้วเป็นโรคที่ง่ามเท้า.
  39. น้ำตับ : (ถิ่น–อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยําให้เข้ากันแล้วยัดใน ไส้หมู, หมํ้า หรือ หมํ้าตับ ก็เรียก.
  40. น้ำเย็นปลาตาย : (สํา) น. คําพูดที่ไพเราะอ่อนหวานทำให้ตายใจ อาจเป็น โทษเป็นภัยได้,มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าร้อนปลาเป็น.
  41. น้ำร้อนปลาเป็น : (สํา) น. คําพูดที่ตรงไปตรงมาฟังไม่ไพเราะ เป็นการ เตือนให้ระวังตัวแต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย, มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าเย็นปลาตาย.
  42. น้ำเหลือง : น. ของเหลวที่ไหลมาจากเนื้อเยื่อของร่างกาย เข้าสู่หลอด นํ้าเหลือง, ของเหลวสีเหลืองใสที่ไหลออกมาทางแผล.
  43. นิมิต ๒ : น. เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล; (แบบ) อวัยวะสืบพันธุ์. (ป., ส. นิมิตฺต).
  44. นิโรธสมาบัติ : [นิโรดทะสะมาบัด, นิโรดสะมาบัด] (แบบ) น. การเข้าสู่ นิโรธ เป็นวิธีพักผ่อนของพระอรหันต์. (ป. นิโรธสมาปตฺติ).
  45. นิวเคลียส : น. ส่วนใจกลางของอะตอมของธาตุทุกชนิด ส่วนนี้ประกอบด้วยอนุภาค มูลฐานที่สําคัญ ๒ ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน (สําหรับอะตอม ของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน), ส่วนที่สําคัญยิ่งของเซลล์ ลักษณะเหนียวข้นเป็นก้อนประกอบด้วยส่วน ย่อย ๆ อีกหลายชนิด มักอยู่ตอนกลางของเซลล์ที่ยังอ่อนอยู่ และอาจร่น ไปอยู่ริมเซลล์เมื่อแก่เข้า. (อ. nucleus).
  46. นิเวศวิทยา : [นิเวดสะวิดทะยา, นิเวดวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม; (มานุษย) การศึกษาเกี่ยวกับการดัดแปลงวัฒนธรรมของมนุษย์ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม. (อ. ecology).
  47. นึกไม่ถึง : ก. คาดไม่ถึง, ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น, เช่น รู้ว่าเขาจะเข้า มาทำงานด้วย แต่ก็นึกไม่ถึงว่าเขาจะมาเป็นสายให้โจร.
  48. เนียน ๒ : ว. มีเนื้อละเอียดนุ่มนวล เช่น เนื้อเนียน; เรียบสนิท เช่น เข้าไม้ได้เนียนดี.
  49. เนื้อ ๑ : น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
  50. แน่นหนา : ว. มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่าง แน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1990

(0.1226 sec)