Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ก่อนหน้า, หน้า, ก่อน , then กอน, ก่อน, กอนหนา, ก่อนหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ก่อนหน้า, 1995 found, display 1701-1750
  1. อัพภาส : [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อน หรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ใน ภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
  2. อัมพฤกษ์ : [อํามะพฺรึก] น. ชื่อเส้นซึ่งเป็นศูนย์กลางของร่างกาย อยู่ด้านหน้าท้อง; อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาอ่อนแรง.
  3. อัศวมุข, อัศวมุขี : ว. มีหน้าเป็นหน้าม้า. (ส.; ป. อสฺสมุขี).
  4. อัษฎมงคล, อัษฏมงคล : น. สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ อย่าง นิยมดังนี้ ๑. กรอบหน้า ๒. คทา ๓. สังข์ ๔. จักร ๕. ธง ๓ ชาย ๖. ขอช้าง ๗. โคเผือก ๘. หม้อนํ้า. (ส.).
  5. อัสมุขี : ว. มีหน้าเป็นหน้าม้า. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ป. อสฺสมุขี; ส. อศฺวมุขี).
  6. อาการนาม : [อาการะนาม] (ไว) น. คํานามที่บอกกิริยาอาการหรือ ความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคํากริยา หรือคําวิเศษณ์ที่มักมีคํา ''การ'' หรือ ''ความ'' นําหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.
  7. อาจารย์ : น. ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดง ความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง. (ส.; ป. อาจริย).
  8. อาบ : ก. เอานํ้ารดตัวหรือลงในนํ้าทั้งตัว เพื่อแก้ร้อนหรือชําระล้างเ หงื่อไคลเป็นต้น เรียกว่า อาบนํ้า; ชโลม, ทา, ทําให้ซึมซาบ, เช่น อาบนํ้ารัก ลูกศรอาบยาพิษ; ไหลโซม เช่น เหงื่ออาบหน้า.
  9. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  10. อาปะ, อาโป : น. นํ้า, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าของสมาสมักใช้ว่า อาโป เช่น อาโปกสิณ อาโปธาตุ.
  11. อาย ๑ : ก. รู้สึกกระดาก, รู้สึกขายหน้า.
  12. อ้าย ๒ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามี ความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คําใช้ประกอบ หน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคํา บางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้าย น้องชาย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบ หน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวก เพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น. (สามดวง).
  13. อายุ : น. เวลาที่ดํารงชีวิตอยู่, เวลาชั่วชีวิต, ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมา จนถึงเวลาที่กล่าวถึง, ระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อายุใบอนุญาต ยานี้หมดอายุแล้ว, ระยะเวลาที่กําหนดรู้ความยั่งยืนของสิ่งนั้น ๆ เช่น อายุของหิน. (ป.; ส. อายุสฺ หรือ อายุษฺ เมื่อนําหน้าบางคํา, แต่เมื่อนําหน้าอักษรตํ่ากับตัว ห เปลี่ยน สฺ เป็น รฺ เช่น อายุรเวท, แต่ถ้าใช้อย่างบาลีก็ไม่ต้องมี ส หรือ ร).
  14. อารัมภ, อารัมภะ, อารัมภ์ : [อารำพะ] น. การปรารภ มักใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น อารัมภบท อารัมภกถา; การเริ่มต้น, การตั้งต้น, ในคำว่า วิริยารัมภะ = การเริ่มต้นความเพียร; ความเพียร. (ป., ส.).
  15. อาราม ๓ : ว. มุ่งหมายอย่างรีบร้อน, พะวงที่จะทําการใด ๆ, ตั้งหน้าตั้งตา, ใช้นําหน้ากริยา เช่น อารามจะไปเลยลืมกระเป๋าสตางค์.
  16. อ้าวฝน : ว. ร้อนระงมก่อนฝนตก.
  17. อาศิร ๑, อาเศียร : [อาสิระ, เสียนระ] น. การอวยพร. (ส. อาศิสฺ คํานี้เมื่อนําหน้า อักษรตํ่าและตัว ห ต้องเปลี่ยน ส เป็น ร เป็น อาศิร และแผลงเป็น อาเศียร ก็มี; ป. อาสิ ว่า ความหวังดี).
  18. อำแดง : (โบ) น. คํานําหน้าชื่อหญิงสามัญ.
  19. อินทขีล : [ทะขีน] น. เสาหรือหลักหน้าประตูเมือง, หลักเมือง, เสาเขื่อน. (ป.; ส. อินฺทฺร + กีล).
  20. อินทรวงศ์ : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสําเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๗ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลัง เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๓ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช).
  21. อินทรวิเชียร : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๖ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับ สัมผัสกับคําสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคําที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช), แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น (รูปภาพ สัมผัส)
  22. อิ่ม : ก. เต็มแล้ว, พอแล้ว, หายหิว, หายอยาก. ว. เบิกบาน, แช่มชื่น, เช่น หน้าอิ่ม.
  23. อี ๑ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คําใช้ ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบ คําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คําประกอบ หน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้น ไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิง บริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่ เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชน ทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ใน ทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวด อยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).
  24. อี ๒ : น. คําประกอบหน้าชื่อการเล่นบางอย่าง เช่น อีตัก อีขีดอีเขียน; คําประกอบหน้าชื่อท่าในการเล่นบางอย่าง เช่น อีงุ้ม อีเข่า ใน การเล่นสะบ้า อีรวบ อีกาเข้ารัง ในการเล่นหมากเก็บ.
  25. อีโปง ๒, อีโปงครอบ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ยซึ่งเรียกว่า ลูกอีโปง ลักษณะเป็นลูกบาศก์ หน้าทั้ง ๖ ด้านมีภาพนํ้าเต้า ปู ปลา กุ้ง เสือ ไก่ ให้ลูกค้าแทง ถ้าแทงถูกเจ้ามือใช้ ๓ ต่อ.
  26. อีเห็น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว กับชะมดและพังพอน ลําตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทําให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด (Paradoxurus hermaphroditus) อีเห็นหน้าขาว (Paguma larvata) อีเห็นหูขาว (Arctogalidia trivirgata), ปักษ์ใต้เรียก มดสัง หรือ มูสัง, ในบท ประพันธ์ ใช้ว่า กระเห็น ก็มี เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  27. อุณหิส : [อุนนะหิด] น. กรอบหน้า, มงกุฎ. (ป. อุณฺหีส; ส. อุษฺณีษ).
  28. อุตตรายัน : [อุดตฺรา] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ ปรากฏในราววันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวัน ยาวที่สุด เรียกว่า อุตตรายัน (summer solstice), คู่กับ ทักษิณายัน, ครีษมายัน ก็เรียก. (ป. อุตฺตร + ส. อายน).
  29. อุตราภิมุข : [อุดตะรา] ก. บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ. (ป., ส. อุตฺตราภิมุข).
  30. อุ่นเครื่อง : ก. เดินเครื่องยนต์ไว้จนถึงระดับที่เครื่องจะทํางานได้ดี; ออกกําลังกายหรือฝึกซ้อมชั่วขณะก่อนเริ่มการแข่งขัน, ฝึกซ้อม ก่อนแข่งขันจริง.
  31. อุบ ๒ : ก. นิ่งไว้ไม่เปิดเผย เช่น เรื่องนี้อุบไว้ก่อน; ถือเอา, ริบเอา, เช่น อุบเอามาเป็นของตน, ไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลง เช่น ที่รับปาก ไว้แล้ว อุบละนะ. ว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบ บ่นอุบ, อุบอิบ อุบอิบ ๆ หรือ อุบ ๆ อิบ ๆ ก็ว่า.
  32. อุปนิสัย : [อุปะนิไส, อุบปะนิไส] น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาใน สันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้อง ทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจน เกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. (ป. อุปนิสฺสย).
  33. อุปโยคบุรพบท : [อุปะโยคะบุบพะบด, บุระพะบด] น. ในไวยากรณ์ หมายถึงคํานําหน้ากรรมการก.
  34. อุปริ : [อุปะริ, อุบปะริ] คําประกอบหน้าศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า เบื้องบน ข้างบน. (ป., ส.).
  35. อุปสรรค : [อุปะสัก, อุบปะสัก] น. เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่อง ขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค); คำสำหรับใช้เติมข้างหน้า คำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมาย แผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิม เป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตาม ปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
  36. อุปะ : [อุปะ, อุบปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและ สันสกฤต แปลว่า เข้าไป, ใกล้, รอง, เช่น อุปราช อุปนายก. (ป., ส.).
  37. อุ้ม : ก. โอบยกขึ้น, ยกขึ้นไว้กับตัว, เช่น อุ้มเด็ก; หอบไป, พาไป, เช่น เมฆอุ้มฝน. น. ชื่อวัยของเด็กก่อนวัยจูง เรียกว่า วัยอุ้ม.
  38. อุษณีษ์ : น. มงกุฎ; กรอบหน้า. (ส.; ป. อุณฺหีส).
  39. อุสุ : น. ธนู, หน้าไม้, เครื่องยิง. (ป.; ส. อิษ).
  40. อู้ ๑ : ว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด; มาก ในคำว่า บ่นอู้. น. ชื่อซอ ๒ สาย ชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนัง แพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรือ งา สายทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มในเวลาสี เรียกว่า ซออู้.
  41. อูม : ว. โป่งพอง เช่น หน้าอูม, เบ่งนูนขึ้น เช่น บวมอูม.
  42. เอ้แอ่น, เอ้ ๆ แอ่น ๆ : ก. ทําให้เสียเวลา, ทําชักช้า, ทําจริตกิริยาโอ้เอ้; อาการที่ยืนโอนไป โอนมา เอนไปเอนมา หรือ เดินถอยหน้าถอยหลัง.
  43. เอา ๑ : ก. ยึด เช่น เอาไว้อยู่; รับไว้ เช่น เขาให้ก็เอา; พา, นํา, เช่น เอาตัวมา; ต้องการ เช่น ทําเอาชื่อ ทำงานเอาหน้า; ถือเป็นสําคัญ เช่น เจรจาเอา ถ้อยคํา เอาพี่เอาน้อง; (ปาก) คําใช้แทนกริยาอื่น ๆ บางคําได้. ว. เมื่อ ใช้ลงท้ายกริยา เป็นการเน้นกริยาแสดงถึงการตั้งหน้าตั้งตาทําต่อเนื่อง กัน เช่น กินเอา ๆ.
  44. เอางาน : ก. แสดงความเคารพเจ้านายชั้นสูงโดยแบมือเอาสันมือ ลงแล้วกระดกมือขึ้นน้อย ๆ ก่อนรับของ (ใช้แก่การรับของจาก เจ้านายชั้นสูงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม).
  45. เอาปูนหมายหัว : (สํา) ก. ผูกอาฆาตไว้, คาดโทษไว้, เชื่อแน่ว่า จะเป็นไปตามที่คาดหมายไว้, ประมาทหน้าว่าไม่มีทางจะเอาดีได้.
  46. เอียงอาย : ว. แสดงท่าขวยเขินโดยก้มหน้าน้อย ๆ.
  47. เอียน ๑ : ว. ชวนให้คลื่นไส้ (มักใช้แก่รสหวาน). ก. เบื่อมาก เช่น ฉันเอียน หน้าเขาเต็มทีแล้ว.
  48. เอือด : ว. ชื้น เช่น เกลือเอือด ผ้าเอือด. (ถิ่นอีสาน) น. ดินที่มีธาตุเกลือ ปนอยู่และขึ้นเป็นขุยขาวที่หน้าดิน.
  49. แอ้ด ๑ : น. ชื่อจิ้งหรีดขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Gryllidae ลำตัวยาว ไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร ส่วนใหญ่ปีกคู่หลังยาวกว่าปีกคู่หน้า เวลาพับปีกจะเห็นเป็นชายห้อยไปคล้ายมีหางคู่ โดยทั่วไปสีดำ ตลอดทั้งตัว เรียกว่า อ้ายแอ้ดชนิดที่พบเป็นสามัญ ได้แก่ ชนิด Acheta confermata, จิ้งหรีดผี ก็เรียก.
  50. โอด : น. ชื่อเพลงสำหรับใช้เป็นหน้าพาทย์บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ สลบหรือตาย; วิธีดำเนินทำนองเพลงไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งดำเนินไป โดยแช่มช้าโหยหวน และโศกซึ้ง. ก. ร้องไห้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | [1701-1750] | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1995

(0.1324 sec)