Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้าวเจ้า, เจ้า, ข้าว , then ข้าพเจ้า, ขาว, ข้าว, ข้าวเจ้า, จา, เจ้, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้าวเจ้า, 2039 found, display 1151-1200
  1. สังฆการี : น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ในงานหลวง.
  2. สังฆภัต : น. ข้าวที่ทายกถวายแก่สงฆ์ มักเรียกว่า ข้าวสงฆ์ โดยปรกติ ทายกนําอาหารไปถวายแก่สงฆ์ที่วัด และพระทําอปโลกนกรรมแบ่งกัน. (ป.).
  3. สังฆาธิการ : น. พระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองคณะสงฆ์นับตั้งแต่ ตําแหน่งเจ้าคณะภาคลงมาจนถึงตําแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส เรียกว่า พระสังฆาธิการ.
  4. สัญญาบัตร : น. ใบตั้งยศ บรรดาศักดิ์ หรือสมณศักดิ์ซึ่งพระเจ้าแผ่นดิน ทรงตั้ง เช่น นายทหารสัญญาบัตร พระราชาคณะสัญญาบัตร พระครูสัญญาบัตร, ถ้าเป็นใบที่เจ้ากระทรวงตั้ง เรียกว่า ใบประทวน.
  5. สัด ๑ : น. ภาชนะรูปทรงกระบอก ทําด้วยไม้หรือสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ตวงข้าว; เครื่องตวงบางชนิดในสมัยโบราณ ใช้ตวงดินปืนบรรจุปากกระบอก ปืน; ชื่อมาตราตวงโบราณ ๒๕ ทะนาน เป็น ๑ สัด มีอัตราเท่ากับ ๑ ถัง หรือ ๒๐ ลิตร.
  6. สัทธาจริต : ว. มีความเชื่อเป็นเจ้าเรือน, มีนิสัยเชื่อง่าย, เช่น เขาเป็นคน สัทธาจริตเชื่ออะไรง่าย. (ป.).
  7. สัมผัส : ก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายาม ให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไป ข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้ เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).
  8. สัมผัสอักษร : น. สัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น จําใจจําจากเจ้า จําจร. (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง. (หลัก ภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ).
  9. สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
  10. สัสดี : [สัดสะดี] น. ผู้รวบรวมบัญชีคน, เจ้าหน้าที่บัญชีทหาร; การรวมบัญชีคน.
  11. สัสสะ : [สัดสะ] น. ข้าวกล้า. (ป.; ส. ศสฺย).
  12. สากกะเบือ : น. สากไม้สําหรับตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกเป็นต้น, ใช้คู่กับ ครกกะเบือ.
  13. สากิยมุนี : น. ศากยมุนี, พระนามของพระศากยพุทธเจ้า. (ป.).
  14. หก ๑ : ก. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม เช่น หกต่ำหกสูง น้ำหก ข้าวหก, โดย ปริยายเรียกอาการเช่นนั้น เช่น กระดานหก.
  15. หน่วงเหนี่ยว : [หฺน่วงเหฺนี่ยว] ก. รั้งตัวไว้, ดึงถ่วงไว้, กักไว้, เช่น เจ้าหน้าที่ หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ต้องหา.
  16. หนัก : ว. มีน้ำหนักมาก, ตรงข้ามกับ เบา; แรง เช่น ฝนตกหนัก, รุนแรง เช่น รบหนัก ไข้หนัก, มาก เช่น บุญหนักศักดิ์ใหญ่; ที่ให้ผลช้ากว่าปรกติ เช่น ทุเรียนหนัก ข้าวหนัก.
  17. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ : (กฎ) น. หนังสือคํารับรองจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ออกให้ผู้มีสิทธิในที่ดิน เพื่อแสดง ว่าได้ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นแล้ว.
  18. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  19. หน้ากระฉีก : น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้ เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
  20. หน้ามอด : น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้าข้าวตัง ก็ว่า.
  21. หน้าเลือด : ว. ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะ เห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด, หน้าโลหิต ก็ว่า.
  22. หนี้ : น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง, หนี้สิน ก็ว่า; (กฎ) นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทําการหรือ งดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation); โดยปริยายหมายถึง การที่จะต้องตอบแทนบุญคุณเขา.
  23. หนี้สูญ : น. หนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีทางที่จะได้รับชําระหนี้จากลูกหนี้ได้.
  24. หม้อ : น. ภาชนะประเภทหนึ่ง มีรูปทรงต่าง ๆ สำหรับใส่ของหรือใช้งานบางอย่าง, เรียกตามสิ่งที่ใช้ทำก็มี เช่น หม้อดิน หม้อทองเหลือง หม้ออะลูมิเนียม, เรียก ตามสิ่งที่บรรจุก็มี เช่น หม้อข้าว หม้อน้ำมนตร์, เรียกตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ สอยก็มี เช่น หม้อตุ๋น หม้อนึ่ง.
  25. หมอ ๒ : (ปาก) ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เรียกเด็กด้วยความเอ็นดูว่า หมอนั่น หมอนี่, ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เรียกผู้ใหญ่ด้วยความหมั่นไส้เป็นต้น, (ใช้แก่ผู้ชาย), เช่น อย่าไปฟังหมอนะ, บางทีก็ใช้ว่า อ้ายหมอนั่น อ้าย หมอนี่ หรือ เจ้าหมอนั่น เจ้าหมอนี่.
  26. หม้อแกงลิง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Nepenthes ampullaria Jack ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบ ขึ้นในป่าพรุทางภาคใต้ ปลายใบเปลี่ยนเป็นรูปกระเปาะมีฝาปิด ใช้ดักจับ แมลง, หม้อข้าวหม้อแกงลิง หรือ หม้อแกงค่าง ก็เรียก.
  27. หม่อม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตร ชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คํานําหน้าชื่อราชนิกุล ราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตําแหน่ง, คํานําหน้าชื่อหญิงสามัญ ซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาค ทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คํานําหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมี ตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่า หม่อมบุนนาค.
  28. หม่อมฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับเจ้านายที่มีศักดิ์เสมอกันหรือ สําหรับผู้หญิงใช้พูดกับเจ้านาย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  29. หม่อมราชวงศ์ : น. คํานําหน้าชื่อบุตรของหม่อมเจ้า.
  30. หม่อมห้าม : น. หญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย, ใช้คํานําหน้านามว่า หม่อม.
  31. หม่า : (ปาก) ก. กิน เช่น ในห้องมีของกินมาก เข้าไปหม่าเสียซิ; ปล่อยไว้ไม่เป็น ระเบียบ เช่น เสื้อผ้าข้าวของไม่เก็บ หม่าไว้เต็มห้อง; หมัก, แช่ให้อ่อนตัว, เช่น หม่าข้าว หม่าแป้ง หม่าปูน.
  32. หมาย : น. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมาย เกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคําสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงาน สั่งให้กระทําการ หรือห้ามกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกําหนด เช่น หมายหัว กระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.
  33. หมายเกณฑ์ : (กฎ) น. หนังสือสั่งเกณฑ์ซึ่งเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ ออกไปถึงผู้ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน ที่ถูกเกณฑ์.
  34. หมายค้น : (กฎ) น. หมายอาญาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจค้น เพื่อยึดสิ่งของ หรือจับกุมบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ หรือเพื่อช่วยบุคคลซึ่งถูกหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย.
  35. หมายจับ : (กฎ) น. หมายอาญาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องหาหรือจําเลย.
  36. หมายบังคับคดี : (กฎ) น. หมายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอต่อ ศาลเพื่อให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล.
  37. หมายรับสั่ง : น. หมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติการพระราชพิธีเป็นการภายในตอนล่างสุดของหมายเขียนว่า ''ทั้งนี้ให้จัดการตามหน้าที่และกำหนดวันตามรับสั่งอย่าให้ขาดเหลือ ถ้าสงสัยให้ถามผู้รับรับสั่งโดยหน้าที่ราชการ''.
  38. หมายอาญา : (กฎ) น. หนังสือบงการซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สั่งให้เจ้าหน้าที่จับ ขัง จําคุก หรือปล่อย ผู้ต้องหา จําเลยหรือนักโทษ หรือให้ทําการค้น รวมทั้งสําเนาหมายเช่นนี้ อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคําบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับ แล้วด้วย.
  39. หม้ำ, หม้ำตับ : (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือและเครื่องหอมขยําให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, นํ้าตับ ก็เรียก.
  40. หมูแนม : น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือ โขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้ เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรส เปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับ ผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลก หรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วย ข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.
  41. หยาบ, หยาบ ๆ : ว. ไม่ละเอียด เช่น ทรายหยาบ แป้งหยาบ; ไม่สุภาพ เช่น กิริยาหยาบ พูดหยาบ, ไม่เรียบร้อย เช่น เก็บข้าวของสุมไว้หยาบ ๆ, สาก ๆ เช่น ฝ่ามือฝ่าเท้าหยาบ.
  42. หลบหนี้ : ก. หลบไม่ยอมพบเจ้าหนี้.
  43. หลวงจีน : น. ชื่อสมณศักดิ์พระสงฆ์จีนตั้งแต่ระดับพระคณานุกรมของ เจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ จนถึงผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ เช่น หลวงจีนวินยานุกร หลวงจีนคณาณัติจีนพรต หลวงจีนใบฎีกา.
  44. หล่อน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สําหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้ง บุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  45. หลาม ๒ : ก. เอาของใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟให้สุก เช่น หลามข้าว, เรียก ข้าวเหนียวที่บรรจุในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผาให้สุกว่า ข้าวหลาม; ล้นแผ่ เลยออกมา เช่น คนไปฟังปาฐกถาล้นหลามออกมานอกห้อง, โดยปริยาย หมายความว่า ใหญ่เกินพอดี เช่น พุงหลาม.
  46. หว่าน : ก. โปรย เช่น หว่านทาน, สาดให้กระจาย, เช่น หว่านข้าวเปลือก, โดย ปริยายหมายความว่า แจกจ่ายไปทั่ว ๆ เช่น หว่านเงิน.
  47. หอคำ : น. เรือนของเจ้าผู้ครองแคว้นฝ่ายเหนือ.
  48. ห่อน : ว. เคย เช่น ไป่ห่อนเหลือคิดข้า คิดผิด แม่นา. (ลอ), ในคําประพันธ์บาง คราวใช้แทน ไม่ เช่น สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร แต่พี่นี้อาวรณ์ ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ. (เห่ชมนก).
  49. หอบ ๑ : ก. เอาแขนทั้ง ๒ ข้างรวบสิ่งของไป; ขนสมบัติย้ายไป เช่น หอบข้าว หอบของ หอบลูกหอบเต้า; พัดพาไป เช่น ลมหอบเมฆฝนไปหมด. น. ปริมาณของฟืนหรือผักหญ้าเป็นต้นที่พอ ๒ แขนรวบได้ เรียกว่า หอบหนึ่ง.
  50. หอบังคับการ : น. ที่ซึ่งผู้บังคับการเรือและนายทหารเรือร่วมกันปฏิบัติงาน ควบคุมและสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจําเรือแผนกต่าง ๆ ปฏิบัติภารกิจตาม ที่ได้รับมอบหมาย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | [1151-1200] | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2039

(0.1424 sec)