Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้าวเจ้า, เจ้า, ข้าว , then ข้าพเจ้า, ขาว, ข้าว, ข้าวเจ้า, จา, เจ้, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้าวเจ้า, 2039 found, display 251-300
  1. โรงสี, โรงสีข้าว : น. สถานที่สีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารด้วยเครื่องจักร.
  2. ลูกข้าว : น. รวงข้าวที่เกิดออกจากตอต้นข้าวที่เกี่ยวแล้ว.
  3. เล่นเอาเถิดเจ้าล่อ : (สำ) ก. อาการที่หลบไปมาเพื่อไม่ให้พบ เช่น ลูกหนี้เล่นเอาเถิดเจ้าล่อกับเจ้าหนี้.
  4. ส่งข้าวส่งน้ำ, ส่งปิ่นโต : ก. เอาข้าวปลาอาหารเป็นต้นไปให้แก่ผู้ต้องหา หรือนักโทษ เช่น ถ้าติดตะรางใครจะส่งข้าวส่งน้ำให้ ญาติติดคุกเลยต้อง ส่งปิ่นโตให้เป็นประจำ.
  5. หม่อมเจ้า : น. คํานําหน้านามโอรสธิดาในพระองค์เจ้าชั้นพระบรมวงศ์.
  6. หางข้าว : น. ข้าวเปลือกที่ยังมีข้าวลีบปนอยู่มาก; (โบ) จำนวนข้าวที่หลวง เรียกเก็บเป็นภาษี. (พงศ. ร. ๒).
  7. หุงข้าว : ก. เอาข้าวสารและน้ำใส่หม้อตั้งบนเตาไฟให้ร้อนจนเดือดแล้ว ปลงลงเช็ดน้ำ จากนั้นยกขึ้นดงบนเตาไฟจนสุก เรียกว่า หุงเช็ดน้ำ ถ้าเคี่ยว จนน้ำแห้งไปเองโดยไม่ต้องเช็ดน้ำ เรียกว่า หุงไม่ต้องเช็ดน้ำ, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า.
  8. หุงข้าวประชดหมา : (สํา) ก. ทําประชดหรือแดกดัน ซึ่งรังแต่จะเสียประโยชน์, มักพูดเข้าคู่กับ ปิ้งปลาประชดแมว ว่า หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว.
  9. ไหว้เจ้า : ก. ทําพิธีเซ่นเจ้าตามธรรมเนียมจีน.
  10. ออเจ้า : (โบ) ส. คําใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วย เช่น ทชีก็ปรับทุกข์ร้อน ทางจะอวดมีว่า ออเจ้าเอ๋ยออเจ้าเราค่อยมั่งมีขึ้นถึงเพียงนี้มีเสียกว่า ออเจ้า. (ม. คําหลวง ชูชก), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  11. เอาเถิดเจ้าล่อ ๒ : ก. อาการที่ตามจับหรือตามหาผู้ที่หลบหรือเลี่ยง กันไปมา เช่น ตำรวจเอาเถิดเจ้าล่อกับผู้ร้าย.
  12. ลาข้าวพระ : ก. ทําพิธีอย่างหนึ่งเมื่อถอนสํารับพระพุทธ โดยยกมือ ประนมกล่าวคําว่า เสสํ มงฺคลํ ยาจามิ แล้วยกสํารับออกมา.
  13. กระเจ้า : (ถิ่น-พายัพ, ปักษ์ใต้) น. ต้นกระเชา. (ดู กระเชา).
  14. กระรอกน้ำข้าว : ดู เขยตาย.
  15. กระโรกน้ำข้าว : ดู เขยตาย.
  16. กินน้ำตาต่างข้าว : (สำ) ก. ร้องไห้เศร้าโศกจนไม่เป็นอันกิน.
  17. ข้าเจ้า : (ถิ่น-พายัพ) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  18. ข้านอกเจ้าบ่าวนอกนาย : (สำ) น. ผู้ที่กระทำหรือประพฤตินอกเหนือ คำสั่งหรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมา.
  19. ไข่ข้าว : น. ไข่ที่ฟักไม่เป็นตัวต้มแล้วแข็งและเหนียวผิดปรกติ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ขวัญ ก็เรียก. (ดู ขวัญ).
  20. จา : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. พูด, กล่าว.
  21. เจ้ายศ, เจ้ายศเจ้าอย่าง : ว. ถือยศถือศักดิ์.
  22. ช้าหงส์,ช้าเจ้าหงส์ : น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ กล่อมใน พิธีพราหมณ์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์.
  23. ดอกข้าวใหม่ : ดู ชมนาด.
  24. ดอกไม้เจ้า : น. ขุนเพ็ดซึ่งใช้เป็นเครื่องบูชาตามศาลเจ้า.
  25. ตะเกียงเจ้าพายุ : น. ตะเกียงชนิดหนึ่ง เมื่อเผาไส้แล้วสูบลมให้ดันน้ำมันเป็น ไอขึ้นไปเลี้ยงไส้ทำให้เกิดแสงสว่างนวลจ้า.
  26. ถวายข้าวพระ : ก. ทำพิธีอย่างหนึ่ง เมื่อนำสำรับไปถวายพระพุทธ โดยยกมือประนมกล่าวคำว่า อุกาส สูปพฺย?ฺชนสมฺปนฺนํ สาลีนํ โภชนํ สอุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ.
  27. ทรงเจ้าเข้าผี : ก. เข้าผี, ลงผี.
  28. ทุบหม้อข้าว : (สํา) ก. ตัดอาชีพ, ทําลายหนทางทำมาหากิน.
  29. น้ำข้าว : ดูใน นํ้า.
  30. น้ำข้าว : ดู เขยตาย.
  31. น้ำซาวข้าว : น. นํ้าที่ล้างข้าวสารให้สะอาดเมื่อก่อนหุง.
  32. บนข้าวผี ตีข้าวพระ : (สํา) ก. ขอร้องให้ผีสางเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ช่วยเหลือโดยจะแก้บนเมื่อสําเร็จประสงค์แล้ว.
  33. ปลายข้าว : น. ข้าวสารที่เมล็ดแตกหรือแหลก.
  34. ผัดเจ้าล่อ : ก. ผัดให้หลงเชื่อรํ่าไปอย่างขอไปที.
  35. พนักงานเจ้าหน้าที่ : (กฎ) น. บุคคลผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามที่ กฎหมายกําหนด.
  36. พระคุณเจ้า : ส. คําเรียกพระภิกษุที่นับถือ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  37. พระนางเจ้า : น. ตําแหน่งพระมเหสี สูงกว่าพระนางเธอขึ้นไป.
  38. พระเป็นเจ้า : น. เทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร, พระผู้สร้างโลก.
  39. พระผู้เป็นเจ้า : น. เทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร; พระภิกษุที่นับถือ.
  40. แม่เจ้าเรือน : น. หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน, แม่เรือน หรือ แม่เหย้าแม่เรือน ก็ว่า.
  41. แม่เจ้าโว้ย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความประหลาดใจ.
  42. แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก : (สำ) น. หญิงที่ไปติดต่อระหว่างชายหญิง แต่ไม่สำเร็จในที่สุดก็ตกเป็นภรรยาของชายนั้นแทน.
  43. ไม่ได้เบี้ยออกข้าว : (สํา) ว. ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยเลย, ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยแล้ว ยังต้องเสียผลประโยชน์ไปอีก.
  44. ไม่ได้เบี้ยเอาข้าว : (สํา) ว. ไม่ได้อย่างหนึ่งก็ต้องเอาอีกอย่างหนึ่ง, ไม่ยอมกลับมือเปล่า.
  45. ลิงหลอกเจ้า : (สํา) ก. ล้อหลอกผู้ใหญ่เวลาผู้ใหญ่เผลอ.
  46. เลี้ยงไม่เสียข้าวสุก, เลี้ยงไม่เสียหลาย : ก. เลี้ยงแล้วยังใช้ประโยชน์ ได้บ้าง.
  47. เลี้ยงลูกเจ้าเฝ้าคลัง : ก. ทำสิ่งที่มีแต่เสมอตัวกับขาดทุน, ทำดีก็เสมอตัว ทำไม่ดีก็ต้องได้รับโทษ.
  48. เลี้ยงเสียข้าวสุก : ก. เลี้ยงแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร.
  49. หนอนม้วนใบข้าว : ดู ขยอก.
  50. หน้าข้าวตัง : น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้ามอด ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2039

(0.1350 sec)