Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้าวเจ้า, เจ้า, ข้าว , then ข้าพเจ้า, ขาว, ข้าว, ข้าวเจ้า, จา, เจ้, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้าวเจ้า, 2039 found, display 51-100
  1. ข้าวบิณฑ์ : น. ข้าวตอกปั้นเป็นรูปทรงคล้ายดอกบัวตูม.
  2. ข้าวบุหรี่ : น. ข้าวหุงอย่างวิธีของแขกมีเครื่องปรุงและเนื้ออยู่ในตัว. (กะบุลี แปลว่า ข้าวปรุงอย่างแบบชาวกรุงกาบุล).
  3. ข้าวเบา : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลเร็วกว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวง ในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคมและเก็บเกี่ยวได้ใน ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวเหนียว หางยี ๗๑ พันธุ์ข้าวน้ำสะกุย ๑๙, พายัพและอีสานว่า ข้าวดอ.
  4. ข้าวเบือ : น. ข้าวสารที่ตําละเอียด ใช้ประสมกับนํ้าแกงเพื่อให้นํ้าแกงข้น.
  5. ข้าวปลูก : น. ข้าวเปลือกที่เก็บไว้สําหรับทําพันธุ์.
  6. ข้าวปัด : น. ข้าวเหนียวต้มที่ห่อด้วยใบไม้เช่นใบมะพร้าวอ่อนหรือใบเตย มักทําถวายพระในเทศกาลออกพรรษา, ข้าวต้มปัด ก็ว่า.
  7. ข้าวป่า : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Oryza วงศ์ Gramineae เช่น ข้าวละมาน (O. minuta J. Presl) มักขึ้นแซมต้นข้าว.
  8. ข้าวเปลือก ๑ : น. เมล็ดข้าวที่ยังไม่ได้เอาเปลือกออก.
  9. ข้าวเปลือก ๒ : ดู เทียนข้าวเปลือก ที่ เทียน๓.
  10. ข้าวเปียก : น. ข้าวที่ต้มและกวนให้เละ, ข้าวที่ต้มกับนํ้ากะทิเจือเกลือ เล็กน้อย กวนให้สุกจนข้นหรือเละ มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ.
  11. ข้าวผอก : น. ข้าวห่อหรือข้าวที่บรรจุกระบอกไปกินกลางวัน.
  12. ข้าวผัด : น. ข้าวสุกผัดกับน้ำมันใส่หมูเป็นต้น.
  13. ข้าวฟ่าง : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิด ในวงศ์ Gramineae คือ ข้าวฟ่าง หางหมา [Setaria italica (L.) Pal.] ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร เมล็ด ขนาดเมล็ดงา และข้าวฟ่างสมุทรโคดม หรือข้าวฟ่างหางช้าง [Sorghum bicolor (L.) Moench.] ต้นสูงประมาณ ๒ เมตร เมล็ด ขนาดเมล็ดพริกไทย.
  14. ข้าวยาคู : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยเมล็ดข้าวอ่อนตําแล้วคั้น เอานํ้าตั้งไฟจนสุก ใส่น้ำตาล เรียกว่า ข้าวยาคูน้ำ, ถ้าเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ข้าวยาคูแห้ง.
  15. ข้าวละมาน : (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Oryza minuta J. Presl ในวงศ์ Gramineae เป็นข้าวป่าชนิดหนึ่ง มักขึ้นแซมต้นข้าว.
  16. ข้าวสวย : น. ข้าวที่หุงสุกแล้ว, ข้าวสุก ก็เรียก.
  17. ข้าวสามเดือน : น. ชื่อข้าวเบาพันธุ์หนึ่งซึ่งได้ผลเร็วกว่าข้าวเบาพันธุ์อื่น เก็บเกี่ยวได้ภายใน ๓ เดือนหลังจากปลูก.
  18. ข้าวสุก : น. ข้าวที่หุงสุกแล้ว, ข้าวสวย ก็เรียก.
  19. ข้าวเสียแม่ซื้อ : น. ข้าวปั้นเป็นก้อน แล้วทาปูน ขมิ้น เขม่า คราม เป็นต้น จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยน ข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อทิ้งให้แม่ซื้อ.
  20. ข้าวหมก : น. อาหารชนิดหนึ่งของมุสลิม ประกอบด้วยข้าวสวย ปรุงด้วยเครื่องเทศและขมิ้น มีเนื้อไก่หรือเนื้อแพะหมกในข้าว.
  21. ข้าวหมาก : น. ของกินอย่างหนึ่ง ทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งแล้วหมัก กับแป้งเชื้อ.
  22. ข้าวหัวโขน : น. ข้าวตากคั่วคลุกนํ้าตาลปึก.
  23. ข้าวเหนียวดำ : น. ชื่อข้าวเหนียวพันธุ์หนึ่งเมล็ดสีดํา ๆ.
  24. ข้าวเหลือเกลืออิ่ม : (สํา) น. บ้านเมืองที่บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร.
  25. ข้าวใหม่ : น. ข้าวที่เก็บเกี่ยวใหม่ในปีนั้น ๆ; ชื่อหนึ่งของดอกชมนาด.
  26. ข้าวใหม่ปลามัน : (สํา) น. อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี, นิยมเรียก ช่วงเวลาที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน.
  27. ข้าวใหม่ใหญ่ : น. ชื่อไข้ชนิดหนึ่ง มีอาการคล้ายไข้ข้าวใหม่น้อย.
  28. ข้าวฮาง : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัด เอามาคั่วตากแดด ให้แห้งแล้วตําและนึ่ง.
  29. เจ้ากรม : น. หัวหน้ากรมในราชการฝ่ายทหาร, (โบ) หัวหน้ากรมในราชการ ฝ่ายพลเรือน เช่น เจ้ากรมสวนหลวง. (สามดวง), หัวหน้ากรมของเจ้าต่างกรม.
  30. เจ้ากรรม : น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรมนายเวร ก็ว่า. ว. ที่ทำให้ผิดหวังหรือได้รับความเดือดร้อน เช่น รถเจ้ากรรมเกิดเสียขึ้น กลางทางเลยไปไม่ทัน เด็กเจ้ากรรมวิ่งมาชนเกือบหกล้ม. อ. คำกล่าวแสดง ความผิดหวังเพราะเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิดมาก่อนเป็นต้น เช่น เจ้ากรรม แท้ ๆ รถมาเสียเอาตอนฝนตกเสียด้วย.
  31. เจ้ากรรมนายเวร : น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรม ก็ว่า.
  32. เจ้าขรัว : น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ๊สัว หรือ เจ้าสัว ก็เรียก.
  33. เจ้าขุนมุลนาย, เจ้าขุนมูลนาย : น. ผู้บังคับบัญชา, เจ้านาย ก็ว่า.
  34. เจ้าคณะ : น. หัวหน้าคณะสงฆ์, คําเรียกตําแหน่งผู้ปกครองคณะสงฆ์ ระดับตําบล อําเภอ จังหวัด และภาค เป็นต้น ว่า เจ้าคณะตําบล เจ้าคณะ อําเภอ เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะภาคตามลําดับ.
  35. เจ้าครอก : (โบ) น. เจ้าโดยกําเนิดหรือที่สถาปนาขึ้น, เรียกพระราชโอรส และพระราชธิดาชั้นเจ้าฟ้าว่า เจ้าครอกฟ้า, เรียกพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า ว่า เจ้าครอก.
  36. เจ้าจอมมารดา : น. เจ้าจอมที่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาแล้ว.
  37. เจ้าจำนวน : (โบ) น. เจ้าหน้าที่เก็บภาษีอากร.
  38. เจ้าเซ็น : น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่ง ที่ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคม สมเขาสรวล คําสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
  39. เจ้าท่า : (กฎ) น. เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจหน้าที่ควบคุมและตรวจตราการ เดินเรือ การใช้เรือ การจอดเรือ ร่องนํ้า ทางเดินเรือ และกิจการท่าเรือ.
  40. เจ้าที่ ๑ : น. พระภูมิ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พระภูมิเจ้าที่. เจ้าที่ ๒, เจ้าที่เจ้าทาง น. เทวดารักษาพื้นที่และหนทาง.
  41. เจ้าทุกข์ : น. ผู้ที่เสียหายได้รับทุกข์หรือเดือดร้อน, ผู้ที่ไม่มีความสุขใจ. ว. ที่มีหน้าเศร้าอยู่เสมอ เช่น เด็กคนนี้อาภัพ หน้าตาเจ้าทุกข์.
  42. เจ้าไทย : (โบ) น. พระสงฆ์; เจ้านายชั้นผู้ใหญ่; เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู. (จารึกวัดช้างล้อม).
  43. เจ้านาย : น. เจ้า; ผู้บังคับบัญชา, เจ้าขุนมุลนาย หรือ เจ้าขุนมูลนาย ก็ว่า.
  44. เจ้าบ่าว : น. ชายผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าสาว.
  45. เจ้าประคุณ : น. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้ เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมา จาก เจ้าพระคุณ).
  46. เจ้าพนักงาน : (กฎ) น. บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ ไม่ว่าเป็น ประจําหรือชั่วคราว และหมายความรวมถึงบุคคลผู้ทําหน้าที่ช่วยราชการ ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นเจ้าพนักงานเฉพาะกรณีด้วย.
  47. เจ้าพนักงานบังคับคดี : (กฎ) น. เจ้าพนักงานศาลหรือพนักงานอื่น ผู้มี อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในอันที่จะปฏิบัติการเพื่อคุ้มครอง สิทธิของคู่ความในระหว่างพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษา หรือคําสั่งของศาล.
  48. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตําแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่ พิทักษ์ทรัพย์สินและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นี้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล.
  49. เจ้าพระคุณ : ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี.
  50. เจ้าฟ้า : น. สกุลยศสำหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาซึ่งพระมารดา เป็นพระราชธิดาหรือพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์; เรียกเจ้าผู้ครอง แคว้นไทยถิ่นอื่น เช่น เจ้าฟ้าเชียงตุง.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2039

(0.1236 sec)