Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้าวเจ้า, เจ้า, ข้าว , then ข้าพเจ้า, ขาว, ข้าว, ข้าวเจ้า, จา, เจ้, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้าวเจ้า, 2039 found, display 651-700
  1. เฒ่าหัวงู : น. คนแก่หรือคนมีอายุมากที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลอุบายหลอก เด็กผู้หญิงในทางกามารมณ์, คนแก่เจ้าเล่ห์.
  2. ดง ๒ : ก. เอาหม้อข้าวที่เช็ดนํ้าข้าวแล้วขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ เพื่อให้ระอุ.
  3. ดอกมะขาม : น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่ง สีเหลืองคล้ายดอกมะขาม.
  4. ดอง ๔ : น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย ขอฉาย คันฉาย ดองฉาย หรือ ดองหาย ก็เรียก.
  5. ดองฉาย, ดองหาย : น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, ดอง กระดองหาย ขอฉาย หรือ คันฉาย ก็เรียก. (ข. จงฺหาย ว่า ไม้สงฟาง, ดอง ว่า ด้าม, ฉาย ว่า สง).
  6. ดำ ๒ : ก. ปลูกข้าวกล้า, เรียกนาชนิดหนึ่งซึ่งใช้ถอนต้นกล้ามาปลูกว่า นาดํา, คู่กับ นาหว่านซึ่งใช้หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
  7. ดำนา : ก. ปลูกต้นข้าวลงในนา. (ข. ดํา ว่า ปลูก).
  8. ดำรัส : [-หฺรัด] น. คําพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดํารัส, คําพูดของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชดํารัส. ก. พูด (ใช้แก่เจ้านาย). (แผลงมาจาก ตรัส).
  9. ดิบ : ว. ยังไม่สุก เช่น มะม่วงดิบ, ยังไม่สุกด้วยไฟ เช่น เนื้อดิบ ข้าวดิบ; เรียกสิ่ง ที่ยังไม่ได้ทําให้สําเร็จรูปหรือยังไม่ได้เปลี่ยนรูปและลักษณะเดิมว่า วัตถุดิบ, เรียกด้ายที่ยังไม่ได้ฟอกว่า ด้ายดิบ, เรียกผ้าที่ทอด้วยด้ายดิบว่า ผ้าดิบ; โดย ปริยายเรียกชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุว่า คนดิบ, เรียกศพที่ไม่ได้เผาว่า ผีดิบ, เรียกดงที่มีต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มอยู่ทั้งปีว่า ดงดิบ.
  10. ดีฉาน : (โบ) ส. ดิฉัน, ดีฉัน, เป็นคําที่เจ้านายผู้ชายมักใช้กับพระสงฆ์ผู้ทรง สมณศักดิ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  11. แดกงา : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งแล้วเอามาตําคลุกกับงา.
  12. ตก : ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  13. ตกข้าว : น. วิธีการที่นายทุนให้เงินชาวนากู้ก่อนที่จะลงมือ ทำนา โดยตกลงกันว่าชาวนาจะให้ข้าวเปลือกแก่นายทุน แทนเงิน หลังจากนวดข้าวเสร็จแล้ว.
  14. ตกเขียว : น. วิธีการที่นายทุนให้เงินแก่ชาวนาหรือชาวไร่กู้เมื่อ ข้าวในนาลัดใบหรือลำไยมีลูกขนาดหัวแมลงวันแล้ว โดยตกลง กันว่าชาวนาชาวไร่จะให้ข้าวเปลือกหรือลำไยแก่นายทุนแทน เงินหลังจากนวดข้าวแล้วหรือหลังจากเก็บลำไยได้แล้ว, โดย ปริยายหมายถึงการที่พ่อแม่รับเงินจากนายทุนซึ่งจ่ายให้เป็น ค่าตัวเด็กผู้หญิงซึ่งยังเรียนหนังสือไม่จบไว้ล่วงหน้า เมื่อเรียน จบแล้วนายทุนจะมารับตัวเด็กไปเพื่อค้าประเวณีเป็นการใช้ หนี้คืนให้แก่นายทุน.
  15. ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
  16. ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง : น. เครื่องราชบรรณาการที่ทำเป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เป็นคู่ ซึ่งเมืองขึ้นส่งมาถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินทุก ๆ ๓ ปี; เครื่องสักการะ ที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายพระเจ้า แผ่นดินเมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับ พระราชทานตั้งยศ.
  17. ต้นหน : น. เจ้าหน้าที่ชี้ทิศทางเดินเรือทะเลหรือเดินอากาศยาน, (โบ) คนนําทาง เช่น ต้นหนบอกตําบล. (ลอ).
  18. ต้ม ๑ : ก. กิริยาที่เอาของเหลวเช่นนํ้าใส่ภาชนะแล้วทําให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุก เช่น ต้มนํ้า ต้มข้าว ต้มมัน; ทําให้สะอาดและสุกปลั่ง เช่น ต้มผ้า ต้มทอง ต้มเงิน. ว. เรียกสิ่งที่ต้มแล้ว เช่น นํ้าต้ม ข้าวต้ม มันต้ม; (ปาก) โดย undefined ปริยายใช้ว่าล่อลวงให้หลง, ผู้ถูกล่อลวงให้หลง เรียกว่า ผู้ถูกต้ม.
  19. ต้มเปอะ : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้หัวตาลหรือหน่อไม้หรือใบขี้เหล็กเป็นต้น คล้ายแกงขี้เหล็ก แต่ไม่ใส่กะทิ ใส่ข้าวคั่วกับปลาร้าผสมด้วย.
  20. ตรัสสา : [ตฺรัดสา] น. คํายกย่องเรียกเจ้านายฝ่ายในชั้นเจ้าฟ้า. (พระราชวิจารณ์).
  21. ตราแดง : (โบ) น. หนังสือสําคัญซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่นา ใช้ในบางจังหวัด แทนตราจอง แต่ไม่กําหนดเวลา ๓ ปี ออกให้ในสมัยหนึ่งแล้ว งดไม่ออกอีก เพื่อเก็บอากรค่านาเป็นนาคู่โค แทนที่เคยเป็นนาฟางลอย.
  22. ตรีเอกภาพ, ตรีเอกานุภาพ : น. คติความเชื่อในศาสนาคริสต์ที่ว่าพระบิดา พระบุตร และพระจิต (คาทอลิก) หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ (โปรเตสแตนต์) เป็น ๓ บุคคลที่รวมเป็นหนึ่ง ซึ่งความจริงก็คือพระเป็นเจ้าองค์เดียวกันนั่นเอง.
  23. ต่อ ๓ : (กลอน) ก. รบ เช่น ซึ่งเจ้ามาต่อด้วยพ่อได้. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  24. ต้อง : ก. ถูก เช่น ต้องชะตา ต้องใจ; เป็นกริยาช่วยบอกความแน่ใจหรือบังคับ เช่น ต้องกิน ต้องนอน ต้องทํา. น. เรียกต้นข้าวในนาที่โศกใบเหลืองไป ซึ่งถือกัน ว่าถูกผีกระทําว่า ข้าวต้อง.
  25. ตะแง้ : น. เรียกแขนงของทะลายหมากหรือแขนงของรวงข้าว ว่า ตะแง้หมาก ตะแง้ข้าว, ระแง้ ก็เรียก.
  26. ตะลุมพุก ๑ : น. ไม้ท่อนกลม ๆ มีด้ามคล้ายค้อน แต่ใหญ่กว่ามาก สําหรับตําข้าว; ไม้ท่อนขนาดเล็กที่ มีด้ามสั้น ตัวสั้น สําหรับทุบผ้าให้เรียบ, กระลุมพุก ก็ใช้.
  27. ตั๊กแตน : [ตั๊กกะ-] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวยาว มีขนาดต่าง ๆ กัน อาจมีปีกหรือ ไม่มีก็ได้ พวกที่มีปีกจะมี ๒ คู่ คู่แรกค่อนข้างหนา ยาวและแคบ คู่หลังบางและกว้างใหญ่ พับไป อยู่ใต้ปีกคู่แรกได้ ปากเป็นชนิดกัดกิน อกมีลักษณะต่างกันมาก อาจกว้างใหญ่ แคบ ยาว หรือสั้นก็มี ขาอาจ เหมือนกันหมด หรือมีขาหน้าหรือขาหลังใหญ่กว่าคู่อื่น ๆ เช่น ตั๊กแตนผี (Aularchis miliaris) ในวงศ์ Acrididae ตั๊กแตนตําข้าว (เช่น ชนิด Hierodula membranaceus) ในวงศ์ Mantidae ตั๊กแตนใบไม้ (เช่น ชนิด Phyllium pulcherifolium) ในวงศ์ Phasmidae.
  28. ตั๋ว : น. บัตรบางอย่างที่แสดงสิทธิของผู้ใช้ เช่น ตั๋วรถ ตั๋วหนัง. (จ.). ตั๋วเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งสั่งให้จ่ายเงินหรือสัญญาว่าจะจ่ายเงิน ตามกฎหมาย มี ๓ ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค. ตั๋วเงินคลัง น. ตั๋วเงินซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นหลักฐานการ กู้เงินระยะสั้นของรัฐบาล. ตั๋วเงินจ่าย (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายลูกหนี้ที่ต้องใช้เงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องหนี้สิน. ตั๋วเงินรับ (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายเจ้าหนี้ที่จะได้รับเงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องทรัพย์สิน. ตั๋วรูปพรรณ (กฎ) น. เอกสารแสดงตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะ. ตั๋วแลกเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คํามั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน.
  29. ถนิม : [ถะหฺนิม] น. เครื่องประดับ เช่น ถนิมพิมพาภรณ์, ในโลกนี้ถนิมเจ้า เอกแท้นางเดียว. (นิทราชาคริต), ธารถนิมทองถ่องเถือก. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ใช้ว่า สนิม ก็มี เช่น สร้อยสนิมพิมพาภรณ์.
  30. ถวาย : [ถะหฺวาย] ก. ให้, มอบให้, เช่น ถวายของ (ใช้แก่พระสงฆ์หรือ เจ้านาย); ให้ดู, ให้ชม, เช่น รําถวายมือ เล่นถวายตัว, แผลงเป็น ดงวาย หรือ ตังวาย ก็ได้.
  31. ถวายกร : ก. ไหว้เจ้านาย, รําให้เจ้านายชม.
  32. ถวายตัว : ก. มอบตัวแก่เจ้านาย.
  33. ถวายพระพร : คําเริ่มที่พระสงฆ์พูดกับเจ้านายและเป็นคํารับ.
  34. ถ่อ ๒ : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยลูกค้าแทงประตูตรงข้ามกันได้ ๒ ประตู คือ หน่วยกับ ๓ หรือ ๒ กับ ครบโปออกประตูใดประตูหนึ่งที่ ลูกค้าแทง เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน.
  35. ถอนสายบัว : ก. ถวายคํานับแบบผู้หญิง โดยยืนตรงแล้วชักขา ข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังพร้อมกับย่อเข่าและก้มศีรษะเล็กน้อย เป็นการแสดงความเคารพของสตรีต่อเจ้านายชั้นสูง.
  36. ถ้อย : น. คําพูด, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ถ้อยคำ เจ้าถ้อยหมอความ เป็นถ้อยร้อยความ.
  37. ถั่วแปบ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Dolichos lablab L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีม่วงฝักแบน ๆ; ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเหนียวต้ม คลุกกับมะพร้าว มีไส้ถั่วเขียวเราะเปลือกนึ่ง มีลักษณะแบน ๆ คล้ายถั่วแปบ โรยงา นํ้าตาล.
  38. ถึงแก่พิราลัย : ก. ตาย (ใช้แก่สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าประเทศราช หรือ ผู้อื่นที่มีฐานันดรเทียบเท่า).
  39. ถึงชีพิตักษัย : ก. ตาย (ใช้เฉพาะหม่อมเจ้า).
  40. เถียง ๒ : (ถิ่น–อีสาน) น. เรือนพักชั่วคราวในทุ่งนา สําหรับอยู่เฝ้าข้าว.
  41. ไถกลบ : ก. ไถให้ดินปิดทับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่หว่านลงไปเมื่อไถแปรเสร็จ แล้ว (ใช้แก่การทํานาหว่าน).
  42. ไถ่บาป : ก. ช่วยให้พ้นบาป (ใช้แก่พระเยซูที่อุทิศชีวิตช่วยมนุษย์ให้พ้น บาปตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า โดยยอมถูกตรึงไม้กางเขน); (ปาก) ชดใช้ในสิ่งที่เคยทำไม่ดีไว้.
  43. ทด : ก. กันไว้, กั้นไว้, ทําให้นํ้าท่วมท้นขึ้นมาด้วยทํานบเป็นต้น เช่น ทดนํ้า; แทน, เป็นคําใช้เข้าคู่กันว่า ทดแทน เนื้อความกลายเป็น ตอบแทน, บางทีใช้ ทด คําเดียว เช่น ทดข้าวทดปลา; เพิ่ม. น. สิ่งที่ใช้กั้นนํ้า.
  44. ทยา ๒ : [ทะ-] ว. ดี, สําคัญ, ต้องการ, เช่น ของทยาของเจ้าตะเภาทอง. (ไกรทอง), กูจะให้ขนมเข่งของทยา กินอร่อยหนักหนาประสาจน. (สังข์ทอง), ทายา ก็ใช้.
  45. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  46. ทรงเครื่อง : ก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิด ประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง; (ราชา) ตัดผม (ใช้แก่เจ้านาย).
  47. ทรงเครื่องใหญ่, ทรงพระเครื่องใหญ่ : (ราชา) ก. ตัดผม (ใช้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน). ทรงเจ้า ก. ทําพิธีเชิญเจ้าเข้าสิงคนทรง. น. เรียกคนสําหรับทรงเจ้า ว่า คนทรงเจ้า.
  48. ทรพี ๑ : [ทอระ-] น. เครื่องตักข้าวและแกงมีรูปร่างคล้ายช้อน แต่ใหญ่กว่า ทําด้วยทองเหลืองเป็นต้น, ทัพพี ก็ว่า. (ส. ทรฺวี; ป. ทพฺพิ).
  49. ทรภิกษ์ : น. การขาดแคลนอาหาร, ข้าวยากหมากแพง.
  50. ทราบเกล้าทราบกระหม่อม : (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลเจ้านาย ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป), ใช้ย่อว่า ทราบเกล้าฯ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2039

(0.1440 sec)