Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้าวเจ้า, เจ้า, ข้าว , then ข้าพเจ้า, ขาว, ข้าว, ข้าวเจ้า, จา, เจ้, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้าวเจ้า, 2039 found, display 751-800
  1. นายอำเภอ : ( (กฎ) น. ตําแหน่งเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ ซึ่งเป็น หัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอําเภอ และรับผิดชอบ ในการบริหารราชการของอําเภอ.
  2. นาศ : (แบบ) น. ความเสื่อม, การทําลาย, ความป่นปี้, เช่น บุญแห่งเจ้าจักนาศ จากอาวาศเวียงอินทร์. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส.; ป. นาส).
  3. นาสวน : น. นาข้าวที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีระดับน้ำลึกตั้งแต่ ๑ เมตรลงมา; เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดแข็งเป็นมันว่า ข้าวนาสวน.
  4. นาหว่าน : น. นาชนิดที่หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
  5. น้ำกระสาย : น. นํ้าใช้เป็นเครื่องแทรกยาไทย เช่น นํ้าเหล้า นํ้าซาวข้าว.
  6. น้ำกะทิ : น. นํ้าที่คั้นออกจากมะพร้าวขูด, นํ้าที่คั้นจากมะพร้าวขูดที่ผสม นํ้าตาลปึกกินกับข้าวเหนียวหรือลอดช่องเป็นต้น เช่น ข้าวเหนียวนํ้า กะทิ ลอดช่องนํ้ากะทิ.
  7. นำจับ : (กฎ) ก. นําความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทําการจับกุม ผู้กระทําความผิด.
  8. น้ำตก : น. นํ้าที่ขังอยู่บนเขาตกลงมาที่หน้าผา, เรียกนํ้าที่ทําให้ตกลงมา ในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; อาหารอย่างหนึ่งใช้เนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู หรือเนื้อวัว ย่างพอสุกเล็กน้อยหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วปรุงด้วย พริกป่น หอมแดงซอย ข้าวคั่ว น้ำมะนาว น้ำปลา เป็นต้น; ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสดที่ ใส่เลือดวัวสด.
  9. น้ำตับ : (ถิ่น–อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยําให้เข้ากันแล้วยัดใน ไส้หมู, หมํ้า หรือ หมํ้าตับ ก็เรียก.
  10. น้ำพริก : น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้นใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทน กะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
  11. น้ำพริกเผา : น. นํ้าพริกชนิดหนึ่ง ใช้พริกแห้ง หอม กระเทียม กุ้งแห้ง เป็นต้น เผาหรือทอด แล้วตําให้ละเอียด ปรุงด้วยนํ้าปลา นํ้าตาล ส้มมะขาม ใช้คลุกข้าวหรือทาขนมปัง.
  12. นำร่อง : ก. นําเรือกําปั่นหรือเรือใหญ่และกินนํ้าลึก เช่นเรือสินค้า เข้า หรือออกจากท่าเรือตามร่องน้ำในระยะซึ่งอาจมีอันตรายแก่การเดินเรือ, เรียกเจ้าพนักงานผู้ทําหน้าที่เช่นนั้นว่า พนักงานนําร่อง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า นําร่อง, เรียกเรือเล็กที่ใช้ในการนําร่องว่า เรือนําร่อง; โดยปริยาย หมายถึงการริเริ่มหรือทดลองทำไปก่อน เช่น โครงการนำร่อง.
  13. นิติกรณ์ : (กฎ) น. การรับรองของเจ้าพนักงานว่าเป็นตราสารที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย. (อ. legalization).
  14. นึ่ง : ก. ทําให้สุกหรือร้อนด้วยไอนํ้าร้อนในหวดหรือลังถึงเป็นต้น เช่น นึ่งข้าวเหนียว นึ่งขนม.
  15. โน้ม : ว. เหนี่ยวให้โค้งตํ่าลงมา เช่น โน้มกิ่ง, น้อม หรือ ค้อมตํ่าลง เช่น รวงข้าวโน้มลง.
  16. ใน : บ. ตรงกันข้ามกับ นอก, ไม่ใช่นอก, เช่น ในบ้าน ในเมือง; แห่ง, ของ, เช่น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (ข. ใน ว่า แห่ง, ของ).
  17. ในกรม : (ปาก) น. เรียกเจ้านายที่ทรงกรม, ย่อมาจากคําว่า เสด็จในกรม.
  18. บด ๑ : ก. ทําให้เปลือกแตก เช่น บดข้าวเปลือก, ทําให้แหลก เช่น บดข้าวสุก, ทําให้เป็นผง เช่น บดยานัตถุ์, ทําให้เรียบและแน่น เช่น บดถนน.
  19. บทศรี : [บดทะ-] (กลอน) น. เท้า (ใช้แก่เจ้านาย).
  20. บพิตร : [บอพิด] (แบบ) น. พระองค์ท่าน เช่น บํารุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้ อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคําที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร.
  21. บสำคัญคู่จ่าย : น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน; (กฎ) หลักฐานการจ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน หลักฐานของธนาคารแสดง การจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือหลักฐานการนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากของ ผู้รับที่ธนาคาร และรวมถึงใบนําส่งเงินต่อคลังด้วย.
  22. บอกแขก : ก. บอกเพื่อนบ้านให้มาช่วยกันทํางาน เช่น บอกแขกเกี่ยวข้าว.
  23. บ๊ะจ่าง : น. ชื่ออาหารคาวของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนำมาผัดน้ำมัน มีไส้หมูเค็มหรือหมูพะโล้ กุนเชียง ไข่เค็มเฉพาะไข่แดง กุ้งแห้ง เห็ดหอม เป็นต้น ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ.).
  24. บัดนั้น : ว. คําขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่ไม่ใช่ ตัวเจ้าหรือมิได้เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).
  25. บั้น ๒ : น. ชื่อมาตราตวงข้าว ๒ บั้น เป็น ๑ เกวียน.
  26. บัวลอย ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียว ปั้นเป็นเม็ด กลม ๆ เล็ก ๆ ต้มในนํ้ากะทิผสมนํ้าตาล.
  27. บ้าน : น. ที่อยู่ เช่น เลขบ้าน เจ้าบ้าน, สิ่งปลูกสร้างสําหรับเป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า, บริเวณที่เรือนตั้งอยู่ เช่น เขตบ้าน, หมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน, ถิ่นที่มีมนุษย์อยู่ เช่น สร้างเป็นบ้านเป็น เมือง; (กฎ) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสําหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และหมายความรวมถึงแพหรือเรือซึ่งจอด เป็นประจําและใช้เป็นที่อยู่ประจํา หรือสถานที่หรือยานพาหนะอื่น ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจําได้ด้วย. ว. ที่มีอยู่ตามบ้าน เช่น หนูบ้าน คู่กับ หนูนา หรือที่เลี้ยงไว้ เช่น หมูบ้าน คู่กับ หมูป่า.
  28. บ้านพัก : น. บ้านที่ทางราชการหรือองค์การต่าง ๆ สร้างขึ้นให้เป็น ที่อยู่ชั่วคราวของเจ้าหน้าที่.
  29. บ้าบิ่น ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมกับมะพร้าวและ นํ้าตาลทราย ผิงไฟล่างไฟบน.
  30. บ่าว : น. คนใช้; ชายหนุ่ม; เรียกชายผู้เข้าพิธีสมรสว่า เจ้าบ่าว, คู่กับ หญิง ผู้เข้าพิธีสมรส ซึ่งเรียกว่า เจ้าสาว.
  31. บิณฑ- : [บินทะ-] (แบบ) น. ก้อนข้าว. (ป., ส. ปิณฺฑ).
  32. บิณฑบาต : น. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานํามาใส่บาตร, โดยปริยาย หมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).
  33. บุคคลสิทธิ : [บุกคะละสิด, บุกคนละสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือบุคคล เช่น สิทธิของเจ้าหนี้เหนือลูกหนี้.
  34. บุคลากร : [บุกคะลากอน] น. ตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการ บริหารงานบุคคล เช่นในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นต้น; ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน.
  35. บุพพัณชาติ : [-พันนะชาด] น. พืชที่จะพึงกินก่อน ได้แก่ข้าว ทุกชนิด. (ป. ปุพฺพณฺณชาติ; ส. ปูรฺว + อนฺน + ชาติ).
  36. บุรินทร์ : น. เจ้าเมือง; (กลอน) เมืองใหญ่. (ส. ปุรินฺทฺร; ป. ปุรินฺท).
  37. บุริมสิทธิ : [บุริมมะสิด] (กฎ) น. สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะได้รับ ชําระหนี้อันค้างชําระแก่ตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้ สามัญ.
  38. บูด : ว. มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่าเสีย (ใช้แก่อาหาร) เช่น ข้าวบูด แกงบูด; ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เรียกว่า ทํา หน้าบูด.
  39. เบญจคัพย์ : น. เต้านํ้า อยู่ในหมู่ของใช้ในการพระราชพิธี ตาม ราชประเพณีของไทยใช้สําหรับพระมหากษัตริย์ทรงรับนํ้า อภิเษกหรือใส่นํ้าเทพมนตร์ ซึ่งจะรดถวายให้แก่พระมหากษัตริย์ หรือพระมหากษัตริย์ทรงรดพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งมีพระ ชนนีเป็นเจ้า, บางแห่งเขียนว่า เบญจครรภ.
  40. เบ็ดเสร็จ : [เบ็ดเส็ด] ว. รวมด้วยกัน, รวมหมดด้วยกัน, เช่น รวมเบ็ดเสร็จ ราคาเบ็ดเสร็จ, ครบถ้วนทุกรูปทุกแบบ เช่น สงครามเบ็ดเสร็จ; (โบ) เรียกภาษีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากข้าวที่ส่งออกไปนอก ประเทศว่าภาษีเบ็ดเสร็จ.
  41. เบา : ว. มีน้ำหนักน้อย, ตรงข้ามกับ หนัก; ย่อมเยา เช่น เบาราคา; ค่อย, ค่อย ๆ, เช่น เสียงเบา เดินเบา ๆ, ทุเลา เช่น ไข้เบาลง, ชะลอกําลัง เร็วให้ช้าลง เช่น เบารถ เบาฝีจักร; ที่ให้ผลเร็ว เช่น ข้าวเบา. (ปาก) น. เยี่ยว. ก. ถ่ายปัสสาวะ, เยี่ยว.
  42. เบี้ยปรับ : (กฎ) น. จํานวนเงินหรือการชําระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็น จํานวนเงิน ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เจ้าหนี้เรียกเอาได้เมื่อตนไม่ชําระ หนี้ หรือไม่ชําระหนี้ให้ถูกต้องสมควร; เงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษี อากรจะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจํานวนภาษีอากรที่ต้องชําระ ในกรณีที่ไม่ ปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกําหนดไว้.
  43. เบือ ๒ : น. ข้าวสารที่ตําประสมกับเครื่องแกงเพื่อให้นํ้าแกงข้น เรียกว่า ข้าวเบือ, เรียกสากไม้ที่ใช้ตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกว่า สากกะเบือ, เรียกครกดินที่ใช้ตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกว่า ครกกะเบือ.
  44. โบนัส : น. เงินพิเศษที่รัฐวิสาหกิจ องค์การ บริษัท ห้างร้าน เป็นต้น จ่ายให้ เป็นบําเหน็จรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของตน นอกเหนือจาก เงินเดือนค่าจ้าง, เงินที่ให้เป็นส่วนแบ่งพิเศษแก่ผู้ถือหุ้น. (อ. bonus).
  45. ใบขนสินค้า : (กฎ) น. เอกสารแสดงรายการสินค้า อันได้แก่ ชนิด คุณภาพ ปริมาณ นํ้าหนัก ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและรายการ อื่นตามที่อธิบดีกรมศุลกากรต้องการ ซึ่งผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของ ออกต้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อนําของใด ๆ เข้ามาในประเทศ หรือส่งของใด ๆ ออกนอกประเทศ.
  46. ใบจอง : (กฎ) น. หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดิน ชั่วคราวในเขตท้องที่ที่ยังมิได้ประกาศเขตสํารวจที่ดิน หรือ ในกรณีที่สภาพของที่ดินเป็นแปลงเล็กแปลงน้อย ซึ่งพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นผู้ออกให้.
  47. ใบเบิกร่อง : (กฎ) น. เอกสารที่กรมศุลกากรออกให้แก่เรือที่มีระวาง จดทะเบียนตํ่ากว่า ๒๐๐ ตัน ที่ออกจากท่าเรือกรุงเทพฯ เพื่อส่งมอบ ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อนําเรือผ่านด่านศุลกากรที่ปากนํ้า สมุทรปราการ.
  48. ปติ : น. เจ้า, ผัว. (ป.).
  49. ประโคนธรรพ, ประโคนธรรพ์ : [ปฺระโคนทับ, ปฺระโคนทัน] น. หัวหน้าคนธรรพ์ผู้เป็นเจ้าแห่ง การดนตรี ถือว่าเป็นครูปี่พาทย์, เขียนเป็น ประคนธรรพ หรือ ประคนธรรพ์ ก็มี.
  50. ประชด : ก. แกล้งทําให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2039

(0.1450 sec)