Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วิช , then วช, วิช, วิชา, วีช .

Royal Institute Thai-Thai Dict : วิช, 205 found, display 101-150
  1. ปีแสง : น. หน่วยวัดระยะซึ่งใช้ในวิชาดาราศาสตร์ โดยกําหนดว่า ระยะ ๑ ปีแสง คือ ระยะที่แสงเคลื่อนที่ไปได้ในเวลา ๑ ปี ซึ่งเป็น ระยะ ๕.๘๗๘๔๘ x ๑๐๑๒ ไมล์ หรือ ๙.๔๖๐๕ x ๑๐๑๒ กิโลเมตร.
  2. เป้าประสงค์ : น. วัตถุประสงค์หรือจุดหมายปลายทางที่บุคคลพยายาม บรรลุถึง เช่น เป้าประสงค์ของวิชานี้เพื่อฝึกทักษะของผู้เรียน.
  3. ผีกระหัง : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิม เป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้ กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของ โสโครก, คู่กับ ผีกระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง.
  4. ฝีไม้ลายมือ : น. ความสามารถในวิชาความรู้.
  5. พยากรณ์ : [พะยากอน] ก. ทํานายหรือคาดการณ์โดยอาศัยหลักวิชา. น. ชื่อคัมภีร์ โหราศาสตร์ว่าด้วยการทํานาย. (ป., ส. วฺยากรณ).
  6. พฤกษศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยต้นไม้.
  7. พลศาสตร์ : [พนละ] น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยการเคลื่อนที่ของ เทหวัตถุที่เป็นของแข็ง แบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ คือ จลนพลศาสตร์ และ จลนศาสตร์. (อ. dynamics).
  8. พลานามัย : น. ภาวะของร่างกายที่แข็งแรง และไม่เป็นโรค; วิชาว่าด้วย การรักษาสุขภาพของร่างกายและจิตใจ.
  9. พาณิชยศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการค้า.
  10. พิทยาคม : น. การเล่าเรียนวิชา, เวทมนตร์. (ส. วิทฺยา + อาคม).
  11. พิทยาธร : น. อมนุษย์พวกหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าเทวดา เชื่อว่ามีวิชา กายสิทธิ์สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ อยู่ในภูเขาหิมาลัย มีหน้าที่ ปฏิบัติพระศิวะ. (ส. วิทฺยาธร).
  12. พื้นฐาน : น. รากฐาน เช่น เขามีพื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษดี, หลัก ความรู้เบื้องต้น เช่น วิชาพื้นฐาน.
  13. ภรตศาสตร์ : [พะรดตะ–] น. วิชาฟ้อนรําทําเพลง.
  14. ภาคทฤษฎี : น. ภาคที่เกี่ยวกับความคิดเห็นอันเนื่องด้วยหลักวิชา, คู่กับ ภาคปฏิบัติ.
  15. ภารตวิทยา : น. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. (ส.).
  16. ภาษาศาสตร์ : น. วิชาที่ศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เช่น เสียง โครงสร้าง ความหมาย โดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ เช่น มีการตั้งสมมุติฐาน เก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล.
  17. ภูมิรัฐศาสตร์ : [พูมิ–] น. วิชาในหมวดสังคมศาสตร์สาขาหนึ่ง มีลักษณะ คล้ายวิชาภูมิศาสตร์การเมือง แต่เน้นหนักไปทางการเมือง.
  18. ภูมิศาสตร์ : [พูมิ–] น. วิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติกับสังคมที่ปรากฏในดินแดนต่าง ๆ ของโลก.
  19. ภูมิศาสตร์กายภาพ : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่อง ลักษณะและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่แวดล้อมตัวมนุษย์.
  20. ภูมิศาสตร์การเกษตร : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับการ กสิกรรม การเลี้ยงสัตว์ การป่าไม้ และการประมง.
  21. ภูมิศาสตร์การเมือง : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่อง เกี่ยวกับการเมืองของรัฐต่าง ๆ ในโลก.
  22. ภูมิศาสตร์ประชากร : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักใน เรื่องเกี่ยวกับประชากรในถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยพิจารณาถึงสภาพทาง ภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรนั้น ๆ เช่น การกระจาย การย้ายถิ่นฐาน ความหนาแน่น.
  23. ภูมิศาสตร์ประวัติ : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงประวัติการเปลี่ยน แปลงต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ของดินแดนใดดินแดนหนึ่งตั้งแต่เริ่มแรกจนถึง ปัจจุบัน, ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ ก็เรียก.
  24. ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงกิจกรรมทาง เศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวกับการครองชีพของมนุษย์ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การใช้.
  25. มนุษยศาสตร์ : [มะนุดสะยะ-, มะนุดสาด] น. วิชาว่าด้วยคุณค่าทาง จิตใจและงานของคนมีศิลปะ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศาสนา และปรัชญา. (ส. มนุษฺย+ศาสฺตฺร). (อ. humanities).
  26. มหาวิทยาลัย : [มะหาวิดทะยาไล] น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ ผู้สําเร็จการศึกษา รวมทั้งดําเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ.
  27. มานุษยวิทยา : [มานุดสะยะ-, มานุด-] น. วิชาว่าด้วยเรื่องตัวคน และสิ่งที่คนสร้างขึ้น. (อ. anthropology).
  28. แม่ไม้ : น. ท่ารำและท่าต่อสู้ที่เป็นหลักในวิชากระบี่กระบองหรือมวย.
  29. ยันตรกรรม : น. วิชาเครื่องกล.
  30. ยาหม้อใหญ่ : (สํา) น. สิ่งที่น่าเบื่อ เช่น วิชาคำนวณเป็นยาหม้อใหญ่.
  31. ยุทธศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการพัฒนาและการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารตามความจำเป็นทั้งในยาม สงบและยามสงคราม. ว. ที่มีความสำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหาร ทั้งในยามสงบและยามสงคราม เช่น จุดยุทธศาสตร์.
  32. รสายนเวท : [ระสายะนะเวด] น. วิชาประสมแร่แปรธาตุ, วิชาเคมียุคเล่นแร่แปรธาตุ. (ส.).
  33. รัฐประศาสนศาสตร์ : [รัดถะปฺระสาสะนะสาด] น. วิชาว่าด้วยการบริหาร และการปกครองประเทศเพื่อให้สัมฤทธิผลตามนโยบายของรัฐอย่างมี ประสิทธิภาพและประหยัด.
  34. รัฐศาสตร์ : [รัดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการเมืองและการปกครองประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.
  35. รากฐาน : น. หลักสำคัญอันเป็นพื้นฐานรองรับ, ส่วนที่เป็นพื้นรองรับ สำหรับพัฒนาต่อไป, เช่น วางรากฐานการศึกษา วิชาคณิตศาสตร์เป็น รากฐานของวิชาวิทยาศาสตร์; พื้นเพ เช่น มีรากฐานมาจากไหน.
  36. รายวิช : น. หน่วยวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่งภาคการศึกษา มีทั้งที่บังคับและให้เลือก. (อ. course).
  37. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  38. ลิงตกต้นไม้ : (สํา) น. ผู้เชี่ยวชาญในวิชาใดก็ตามอาจพลาดพลั้งใน วิชานั้นได้.
  39. เลขคณิต : น. วิชาเกี่ยวกับเซตจํานวนจริงทั้งในภาคทฤษฎีและภาค ประยุกต์.
  40. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  41. วงเล็บปีกกา : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควง คำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่ม เดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น (มีรูปภาพ) ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลข หรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x 5{7 (x 6) + 3x} 28 = 39.
  42. วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
  43. วนศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการทํานุบํารุงรักษา และปลูกป่า.
  44. วัดผล : ก. ทดสอบเพื่อวัดเชาวน์ ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ บุคลิกภาพ เป็นต้น โดยใช้วิธีการแบบใดแบบหนึ่ง เช่น การเรียนรู้ ในสาขาวิชาต่าง ๆ จำเป็นจะต้องวัดผลอย่างสม่ำเสมอ.
  45. วาดเขียน : น. วิชาว่าด้วยการเขียนรูปภาพต่าง ๆ.
  46. วาทศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยศิลปะในการใช้ถ้อยคําสํานวนโวหาร ให้ได้ผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย เช่นพูดโต้แย้ง พูดชวนให้เชื่อถือ. (อ. rhetorics).
  47. วารสารศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการทําหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร และการพิมพ์ประเภทอื่น ๆ.
  48. วิจัย ๒ : น. การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น วิจัยเรื่อง ปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร. ก. ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูล อย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น เขากำลังวิจัยเรื่องมลพิษทางอากาศอยู่. ว. ที่ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น งานวิจัย. (อ. research).
  49. วิชาการ : น. วิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา เช่น บทความวิชาการสัมมนาวิชาการ การประชุมวิชาการ.
  50. วิชาชีพ : น. วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาแพทย์ วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-205

(0.0344 sec)